Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกปลิ้น (Inversion of the uterus or uterine inversion), Classification…
มดลูกปลิ้น (Inversion of the uterus or uterine inversion)
ความหมาย
ภาวะที่ยอดมดลูกรั้งลงมาส่วนล่างของโพรงมดลูก ซึ่งอาจพ้นปากมดลูกออกมา หรือโผล่ออกมาถึงปากช่องคลอด
อุบัติการณ์
อัตราการเกิดมดลูกปลิ้นพบได้ประมาณ 1 : 2,000 ของการคลอด เกือบทั้งหมดเกิดจากการดึงสายสะดือในการช่วยทาคลอดรก
ชนิดของมดลูกปลิ้น
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (complete inversion) ยอดมดลูกเคลื่อนพ้นปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงปากช่องคลอด
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ และเคลื่อนต่ำลงมานอกปากช่องคลอด (prolapsed of complete inverted uterus)
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete inversion) ยอดมดลูกเคลื่อนต่ำลง แต่ยังไม่พ้นปากมดลูก
พยาธิสภาพ
เมื่อเกิดการปลิ้นของมดลูกภายหลังทารกคลอดหรือภายหลังคลอดรกแล้ว ปากมดลูกและมดลูกส่วนล่างจะมีการหดรัดตัวเป็นวงแหวนล้อมรอบส่วนของมดลูกที่หย่อนตัวลงมา ทำให้บริเวณที่ถูกรัดไว้นั้นขาดเลือดไปเลี้ยงเกิดการบวมและมีเนื้อตาย ในที่สุดเนื้อตายนั้นจะหลุดออกมา
สาเหตุ
ทำคลอดรกในขณะที่รกยังไม่ลอกตัว หรือรกเกาะแน่น
ดันยอดมดลูกที่หน้าท้องมารดามากเกินไป ในการช่วยทำคลอดรก
การดึงสายสะดือแรงเกินไป
มดลูกและปากมดลูกอยู่ในภาวะคลายตัว
รกเกาะบริเวณส่วนยอดของมดลูก
สาเหตุส่งเสริม
6.1 มีพยาธิสภาพที่มดลูก เช่น ผนังมดลูกบางและยืดมาก
6.2 ผนังมดลูกหย่อน
อาการและอาการแสดง
มีอาการช็อคจากการปวด และการเสียเลือดมาก
การตรวจหน้าท้องในรายที่เป็นมดลูกปลิ้นชนิดไม่สมบูรณ์ จะพบว่ายอดมดลูกเป็นแอ่ง หรือคล้ายปล่องภูเขาไฟ
มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ถ้ารกยังไม่ลอกตัว หรือรกติดแน่น
การตรวจภายใน จะคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูก มีก้อนโผล่ออกมานอกช่องคลอด
มีเลือดออกมาทันทีภายหลังคลอดมากผิดปกติ
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อมารดา
เลือดออกอย่างรุนแรง เจ็บปวดมาก หรือช็อคจากการเสียเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ผลกระทบต่อทารก
ทำให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า รวมถึงการสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
การรักษา
ให้สารน้าและให้เลือดอย่างเพียงพอ หรือการฉีดมอร์ฟีนเพื่อระงับอาการปวด
ดันมดลูกกลับภายใต้การดมยาสลบ
การช่วยเหลือการคลอดรกอย่างถูกวิธี การตรวจภายในหลังจากทำคลอดรก และหลังการเย็บแผลสามารถประเมินสภาพได้รวดเร็ว
ดันมดลูกกลับได้ทันที ถ้ารกยังไม่ลอกตัวให้เซาะรกออกก่อน และใช้ฝุามือส่วนปลายและนิ้วหงายขึ้น แล้วดันยอดมดลูกที่ปลิ้นมาอยู่ข้างนอก ให้กลับเข้าไปตามแนวแกนของช่องทางคลอด
เมื่อดันเข้าที่แล้วให้ oxytocin ทันทีเพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี
ผ่าตัดทางหน้าท้องช่วยทันที
ให้ยาป้องกันการติดเชื้อ และให้ยากลุ่มธาตุเหล็กรักษาภาวะเลือดจาง
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อการป้องกันการเกิดภาวะมดลูกปลิ้น
1.2 ก่อนทำคลอดรก ต้องตรวจสอบว่ารกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้วทุกครั้ง
1.3 ในการช่วยทำคลอดรกไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม เมื่อรกคลอดออกมาแต่เยื่อหุ้มรกยังค้างอยู่ผู้ทำคลอดควรคลายอดมดลูกว่าหดรัดตัวแข็ง ก่อนที่จะดึงรก
1.1 ห้ามดึงสายสะดือ เพื่อให้รกคลอดก่อนการตรวจสอบว่ารกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้ว
1.4 หลังทำคลอดรก คลึงให้มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง เพื่อป้องกันการตกเลือด
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดาหรือให้เลือด เพื่อป้องกันภาวะช็อคจากการเสียเลือด
2.1 ดูแลมดลูกที่ปลิ้นมานอกปากช่องคลอดให้ชุ่มชื้นไม่แห้ง
2.2 รายงานแพทย์ เพื่อมาดันมดลูกกลับ
2.3 ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
2.4 สังเกตภาวะช็อค ได้แก่ เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตต่า
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดามีโอกาสตกเลือดหรือช็อค เนื่องจากมีภาวะมดลูกปลิ้น
ตรวจดูปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด เพื่อประเมินปริมาณการสูญเสียเลือด
รายงานแพทย์ เพื่อดันมดลูกกลับหรือผ่าตัดมดลูก
บันทึกสัญญาณชีพทุก 1ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง
บันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออก เพื่อประเมินการทางานของไต
ให้สารน้ำหรือเลือดทดแทนตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะช็อค
สังเกตอาการ หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตลดลง
มารดาปวดมดลูกมาก เนื่องจากมดลูกปลิ้น
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะช็อคจากความเจ็บปวดที่รุนแรง
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
มารดามีโอกาสเกิดมดลูกปลิ้น เนื่องจากทำคลอดรกไม่ถูกวิธีหรือการฝังตัวของรกแน่นกว่าปกติ
คลึงมดลูกให้แข็งก่อนปฏิบัติการช่วยคลอดรก และเมื่อรกคลอดออกมาแต่เยื่อหุ้มรกยังค้างอยู่
หลังคลอดรกคลึงให้มดลูกหดรัดตัวแข็งเสมอ
ตรวจสอบอาการแสดงการลอกตัวของรกอย่างสมบูรณ์
ประเมินลักษณะมดลูก โดยคลายอดมดลูกบริเวณหน้าท้อง
มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลและกลัว เนื่องจากภาวะมดลูกปลิ้น
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและเต็มใจช่วยเหลือ เพื่อให้มารดาเกิดความมั่นใจและมีความอบอุ่นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
เปิดโอกาสให้มารดาและครอบครัวซักถามข้อสงสัย ระบายความรู้สึกโดยรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อประเมินระดับความวิตกกังวลและความกลัวของมารดาและครอบครัว
อธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนให้การช่วยเหลือ เพื่อความร่วมมือและคลายความวิตกกังวลและความกลัว