Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - Coggle Diagram
การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
บทที่3 วิธีการดำเนินการวิจัย (Research method)
3.1 การออกแบบารวิจัย (Research design)
3.1.1 ประชากร (Population)
3.1.2 วิธีการสุ่มตัวอย่างและกลุ่มตัวอย่าง (Sampling technique and sample)
3.1.3 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย (Variables of the research study)
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research instrument)
3.2.1 การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย (Development of research instrument)
3.2.2 คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย (Quality of the research study)
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัย (Data collection)
3.4 การวิเคราะห์และการแปลผลข้อมูล (ถ้ามี) (Data analysis and interpretation (if any))
3.5 การวิเคราะห์ทางสถิติ (Statistical analysis)
3.6 ขั้นตอนการศึกษาวิจัย (Phases of the research study)
ประชากร (Population)
กลุ่มของสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของ สิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ประชากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ประชากรที่นับได้ (Finite Population) หมายถึงประชากรที่มีจำนวนจำกัดหรือมีขนาดพอที่จะนับจำนวนแน่นอนได้ เช่น จำนวนนักเรียน จำนวนพนักงานของบริษัท
ประชากรที่นับไม่ได้ (Infinite Population) หมายถึง ประชากรที่มีจำนวนไม่สิ้นสุดหรือมีขนาดใหญ่จนมาสามารถนับจำนวนที่แน่นอนได้ เช่น จำนวนเมล็ดข้าวสารในกระสอบ จำนวนปลาในแม่น้ำ เป็นต้น
กลุ่มตัวอย่าง (Sample)
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ตัวแทนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยเลือกมาศึกษา เพื่อนำผลสรุปจากการศึกษาไปบรรยายลักษณะของสิ่งที่ศึกษาหรือสรุปอ้างอิงคุณลักษณะของประชากร
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) หมายถึงวิธีการเลือกประชากรส่วนหนึ่งมาศึกษา
การสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) หมายถึงการกลุ่มตัวอย่างของทุกหน่วยของประชากรที่มีโอกาสเลือกเท่าๆกัน
หน่วยตัวอย่าง (Sample Unit) คือ องค์ประกอบย่อยของประชากร
ความหมายของค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติ
ค่าพารามิเตอร์ (Parameters) หมายถึง ค่าต่าง ๆ ที่คำนวณได้จากประชากร เช่น ค่าเฉลี่ยของประชากร แทนด้วยสัญลักษณ์ μ (มิว) เบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร แทนด้วยสัญลักษณ์ σ (ซิกม่า )
ค่าสถิติ (Statistic) เป็นค่าตัวเลขที่คำนวณได้จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อใช้สรุป หรือ บรรยายแสดงลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง แทนด้วยสัญลักษณ์ X (เอ็กซ์บาร์) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของของกลุ่มตัวอย่าง แทนด้วยสัญลักษณ์ S.D. (เอสดี)
ลักษณะกลุ่มตัวอย่างที่ดี
การเป็นตัวแทน (Representation) หมายถึง ผู้ที่จะถูกเลือกมาเป็นตัวอย่าง จะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติเหมือนหรือใกล้เคียงกับประชากรที่ต้องการศึกษา การเป็นตัวแทนที่ดี
ความเหมือนกัน (Homogeneous) ถ้าประชากรมีความเหมือนกันมากความแตกต่างของสมาชิกมีน้อย แสดงถึง ความแปรปรวนในกลุ่มตัวอย่างมีน้อย ก็ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย
ความแม่นยําชัดเจน ถ้าต้องการความแม่นยําชัดเจนในเรื่องที่ จะศึกษาค้นคว้า ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่เพื่อให้ผลการศึกษาเกิดความแม่นยำมากขึ้น
ปัจจัยในการพิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ถ้าประชากรมีความแตกต่างน้อย ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยได้ แต่ถ้าประชากรมีลักษณะที่แตกต่างกันมาก ควรใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างให้ มากขึ้น
จำนวนตัวแปรที่ศึกษา ถ้ามีการศึกษาตัวแปรหลายๆ ตัวและมีการเปรียบเทียบตัวแปรด้วยก็ยิ่งต้องใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมากๆ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างกระจาย เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้
ลักษณะของเรื่องที่วิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยบางประเภทไม่จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เช่น การวิจัยเชิงทดลอง
ค่าใช้จ่าย เวลา แรงงาน ถ้ามีจำนวนเงินมากพอก็สามารถใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น ถ้ามีจำนวนเงินน้อยก็อาจกำหนดขอบเขตของประชากร และกลุ่มตัวอย่างให้น้อยลง
ขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ยินยอมให้เกิดขึ้นจากการสุ่มตัวอย่าง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของการวิจัย ถ้าปัญหานั้นมีความสำคัญมาก
วิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง (หน่วยวิเคราะห์)
วิธีที่ 1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น
(Probability selection)
การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)
การสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ (Systematic random sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม หรือพื้นที่ (Area or cluster random sampling)
การสุ่มแบบแบ่งชั้นหรือสุ่มตามระดับชั้นภูมิ (Stratified random sampling)
การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling)
วิธีที่ 2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Non-probability selection)
การสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling)
การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling)
การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling)
การสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience sampling)
การสุ่มแบบอาสาสมัคร (Volunteer sampling)
การสุ่มแบบสโนว์บอลล์ (Snowball sampling)
การกำหนดขนาดหรือจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง
วิจัยเชิงคุณภาพ
1.1 การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) อาจใช้จำนวน 8-12 คน/กลุ่ม
.2 การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept interview) จำนวนกลุ่มตัวอย่างขึ้นอยู่กับความชัดเจน หรือได้ข้อมูลจนข้อมูลอิ่มตัว (Saturation data)
1.3 Delphi technique อาจใช้ 17-25 คน/รอบ
วิจัยเชิงปริมาณ
1.) การกำหนดโดยใช้เกณฑ์หรือการประมาณการจากจำนวนประชากร
2.) การใช้ตารางสําเร็จรูป
2.1 ตารางสําเร็จรูปทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973)
2.2 ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970)
2.3 การใช้สูตรคำนวณ
ความคลาดเคลื่อน
(error สัญลักษณ์ที่ใช้คือ e) หมายถึง การที่กำหนดการสุ่มตัวอย่างซึ่งจะยอมให้ค่าสถิติที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแตกต่างไปจากค่าพารามิเตอร์ของประชากรได้มากที่สุดเท่าใด
ประโยชน์ของการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การใช้กลุ่มตัวอย่างทำให้เสียงบประมาณหรือเงินน้อยลงเพราะจำนวนคนที่ศึกษามีน้อยกว่าประชากรทั้งหมด
ประหยัดเวลา และแรงงาน การใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยจะช่วยประหยัดเวลา และแรงงานในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล
ยืดหยุ่นได้และสะดวกในการปฏิบัติ การศึกษาบางกรณีคุณภาพสินค้าจำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างมาไม่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วทำลายวัตถุที่เป็นหน่วยศึกษาเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติบางประการ
ช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว การศึกษากับประชากรทั้งหมดจะทำให้เกิดความยุ่งยากในแง่ของการบริหารงาน