Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอดเฉียบพลัน (Precipitate labor) - Coggle Diagram
การคลอดเฉียบพลัน
(Precipitate labor)
ความหมาย
การคลอดที่เกิดขึ้นเร็วผิดปกติใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมง หรือใช้เวลาทั้งหมดในการคลอดประมาณ 2-4 ชั่วโมง เปิดขยายของปากมดลูกในระยะปากมดลูกขยายเร็ว 5 เซนติเมตร/ชั่วโมงในผู้คลอดครรภ์แรก (1 เซนติเมตร ทุก 12 นาที)และมากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมงผู้คลอดครรภ์หลัง (1 เซนติเมตร ทุก 6 นาที)
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
แรงต้านทานของเนื้อเยื่อที่ช่องคลอดไม่ดี
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติโดยเกิดขึ้นเองหรือจากการให้ยาเร่งคลอดมากผิดปกติ
ผู้คลอดครรภ์หลังเนื้อเยื่อต่างๆมีการยืดขยายมาก จึงทำให้ส่วนต่างๆ ได้แก่ คอมดลูก พื้นเชิงกรานช่องคลอดและฝีเย็บหย่อนตัว
ผู้คลอดที่มีเชิงกรานกว้าง
เคยมีประวัติการคลอดเฉียบพลัน
ผู้คลอดไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอดหรือไม่รู้สึกอยากเบ่ง ซึ่งพบได้น้อยมาก
ทารกตัวเล็กหรืออายุครรภ์น้อยกว่ากำหนด ทำให้เคลื่อนต่ำลงมาได้ง่าย
ผู้คลอดที่ไวต่อการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
อาการและอาการแสดง
มีอาการเจ็บครรภ์เป็นอย่างมาก
มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างถี่และรุนแรง
มากกว่า 5 ครั้งในเวลา 10 นาที
ตรวจภายในพบปากมดลูกมีการเปิดขยายเร็ว
ครรภ์แรกปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร/ชั่วโมงครรภ์หลังปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร หรือมากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมง
การวินิจฉัย
ระยะเวลาในการเจ็บครรภ์
และคลอดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง
อัตราการเปิดขยายของปากมดลูก เปิดมากกว่า 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์แรก และเปิด
มากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์หลัง
มีการหดรัดตัวของมดลูกถี่และรุนแรงการหดรัดตัวทุก 2 นาทีหรือบ่อยกว่านั้นและระยะเวลาของการหดรัดตัวของมดลูกนานมากกว่า 90 วินาทีหรือไม่มีการคลายตัวในระยะที่ควรเป็นระยะพัก
ความดันภายในโพรงมดลูกประมาณ
50-70 มิลลิเมตรปรอท
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
เนื้อเยื่อบริเวณช่องทางคลอดเกิดการฉีกขาด ปากมดลูก ช่องคลอด ฝีเย็บ
มีการติดเชื้อที่แผลฉีกขาด
ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีเลือดออกจากแผล
และระยะหลังคลอด กล้ามเนื้อมดลูกอ่อนล้าจึงหดรัดตัวไม่ดี
อาจเกิดภาวะน้ำครำ่อุดตัน
มดลูกแตกจากมดลูกหดรัดตัวรุนแรง
เกิดการคั่งของเลือดใต้ชั้นผิวหนังที่ฉีกขาด
อาจเกิดมดลูกปลิ้นเนื่องจาก
ความดันในโพรงมดลูกลดลงอย่างรวดเร็ว
ต่อทารก
เลือดออกในสมอง
(subdural hemorrhage)
อาจมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อแขนถูกดึงมากเกินไปทารกไม่สามารถยกมือได้ แขนข้างที่เป็นจะบิดไปติดกับลำตัวฝุามือหันไปทางด้านหลัง กางแขนออกไม่ได้ ภาวะนี้เรียกว่า Erb’palsy
อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน (asphyxia)
ทารกได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการ
กระทบกระแทกเพราะการช่วยคลอดไม่ทัน
สายสะดือขาดขาดเนื่องจาก
สายสะดือสั้นหรือรกยังไม่ลอกตัว
ทารกอาจสำลักน้ำคร่ำได้
ทารกอาจเกิดการติดเชื้อ
เนื่องจากไม่ได้เตรียมทำความสะอาดก่อนคลอด
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ถ้าให้การช่วยเหลือช้า ทารกอาจเกิดภาวะหนาวสั่น
หรือการช่วยฟื้นคืนชีพช้าทำให้เสียชีวิต
การรักษา
ให้การดูแลตามอาการ ถ้าประสบกับการคลอดเฉียบพลันให้ช่วยคลอด
การให้ยา
รายที่ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรหยุดให้และดูแลอย่างใกล้ชิดอาจให้ยาช่วยยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
รายที่มีการคลอดเฉียบพลันภายหลังคลอด แพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้ยา methergin หลังคลอดเพื่อปูองกันการตกเลือด
การผ่าตัดคลอดทำในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกแตก หรือน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือดของผู้คลอด
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1
ช่องทางคลอดอ่อนมีโอกาสฉีกขาดมาก
ผิดปกติเนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
หยุดการให้ยา Oxytocinในมารดาที่มีอาการแสดงภาวะที่จะคลอดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อลดปัจจัยส่งเสริมให้เกิดภาวะคลอดเฉียบพลัน
กระตุ้นและควบคุมให้มารดาหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบาๆ เข้าออกทางปากและจมูก เมื่อปากมดลูกิดหมด เพื่อลดความรู้สึกอยากเบ่ง
ไม่ทอดทิ้งผู้คลอดให้อยู่ตามลำพังพิจารณาการย้ายผู้คลอดเพื่อเตรียมการคลอดโดยเร็ว
ประเมิน probable signได้แก่ Interval สั้น Duration ยาวมีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด ฝีเย็บโปุงตึง รูทวารหนักเปิดขยาย หากมีอาการแสดงเหล่านี้ ให้ตรวจภายใน เพื่อเตรียมคลอดทันท
ประเมินความรู้และให้ข้อมูลที่จำเป็น เทคนิคการหายใจและการฝึกผ่อนคลาย เพื่อเตรียมมารดาให้ความร่วมมือเมื่อเกิดความจำเป็นในภาวะฉุกเฉินทางการคลอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2
เจ็บครรภ์มาก เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวแรงและถี่มาก
กิจกรรมการพยาบาล
ช่วยนวดบริเวณหลังและต้นขา เพื่อการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อและช่วยให้มารดามีความสุขสบายขึ้น
สอนเทคนิคการหายใจและการผ่อนคลาย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดที่มารดาเผชิญอยู่
จัดให้มารดานอนตะแคงซ้าย เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวประสานกันดี ป้องกันภาวะขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อมดลูกและทารก
อยู่เป็นเพื่อนให้กำลังใจแก่ผู้คลอด หรือหมั่นดูอาการอย่างสม่่ำเสมอ
ดูแลความสะอาดของร่างกาย และจัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด เพื่อให้มารดาได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอและมีความสุขสบาย
ไม่ควรให้ยาบรรเทาปวด เพราะจะทำให้การคลอดดำเนินไปเร็ว และยาจะกดศูนย์หายใจของทารก
การประเมินสภาพ
ภาวะจิตสังคม
ประเมินความวิตกกังวล
การตรวจร่างกาย
การตรวจภายใน
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์
ร่วมกับการ monitor EF
การซักประวัติ
ประวัติการคลอดเฉียบพลันการคลอดเร็วในครรภ์ก่อน ความไวต่อการเร่งคลอด