Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด, ; - Coggle Diagram
สัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด
บทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ระยะตั้งครรภ์
ยอมรับการตั้งครรภ์
ครอบครัวคอยให้กำลังใจ
การปรับบทบาทการเป็นบิดา มารดา
ยอมรับความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
ระยะคลอด
*ส่งเสริมให้การคลดดผ่านไปอย่างปลดดภัย
ให้ข้อมูล เป็นสื่อกลางระหวา่งผู้คลอดและครอบครัว
ลดความวิตกกังวลของผู้คลอด
สร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจ
ระยะหลังคลอด
*ส่งเสริมให้มารดาสัมผัส โดยกอดทารกทันทีหลังคลอด ในระยะsensitive period
*Rooming in โดยเร็วที่สุด
ให้คำแนะนําในการดูแลบุตร
ตอบสนองความต้องการของมารดา
กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธกับทารก
เป็นตัวแบบในการสร้างสัมพันธภาพกับทารก
ให้มารดา ทารก บิดาได้อยู่ด้วยกันตามลําพัง
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด
Attachment(สัมพันธาภาพ)ความรู้สึกรัก ใคร่ผูกพันระหว่างทารกกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู
ฺBonding(ความผูกพัน)กระบวนการผูกพันทางอารมณ์ที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีต่อทารกฝ่ายเดียว
การพัฒนาสัมพันธภาพในระยะหลังคลอด
ในระยะแรกหลังคลอดทันทีมารดาจะแสดงความรักความผูกพันกับลูกตั้งแต่นาทีแรกหลังคลอดจนกระทั้งถึง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่มารดามีความรู้สึกไวที่สุด Sensitive periodและทารกมีความตื่นตัวจึงเป็นช่วงเวลาสําคัญที่ก่อให้เกิดความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาทารก
กระบวนการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ระยะก่อนการตั้งครรภ์
ขั้นที่1การวางแผนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
ขั้นที่ 2การยืนยันการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 3การยอมรับการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 4การรับรู้การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
ขั้นที่ 5การยอมรับว่าทารกในครรภ์เป็นบุคคลคนหนึ่ง
ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
ขั้นที่6การสนใจดูแลสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์และการแสวงหาการคลอดที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 7การมองดูทารก
ขั้นที่ 8การสัมผัสทารก
ขั้นที่ 9การดูแลทารกและให้ทารกดูดนม
พฤติกรรมของมารดาและทารกที่แสดงถึงการขาดสัมพันธภาพ(Lack of attachment Lack of attachment Lack of attachment Lack of attachment )
ไม่สนใจมองบุตร สีหน้าเมินเฉยหรือหันหน้าหนี
2.ไม่ตอบสนองต่อบุตร เช่น ไม่สัมผัส ไม่ยิ้ม ไม่ดมกอดทารก เป็นต้น
พูดถึงบุตรในทางลบ
4.แสดงท่าทางหรืคําพูดที่ไม่พึงพอใจขณะดูแลบุตร
ขาดความสนใจในการซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุตรและการเลี้ยงดูบุตร
การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ความสนใจในการดูแลตนเองของตนเองและทารก
พฤติกรรมปฏิสัมพันธระหว่างมารดาและทารก
ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดา
ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของทารก
พฤติกรรมปฏิสัมพันธระหว่างมารดาและทารก ในระยะแรกเกิด
1.การสัมผัส (Touch ,Tactile sense )
คือความสนใจของมารดาในการสัมผัสบุตรโดยจะเริ่ม สัมผัสบุตรด้วยการใช้นิ้วสัมผัสแขนขาจากนั้นจะบีบนวดสัมผัสตามลําตัวทารกจะมีการจับมือและดึงผมมารดาเป็นการตอบสนอง
2.การประสานสายตา (Eye to eye contact )
คือ พัฒนาการด้านความเชื่อมั่น ความไว้วางใจและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
การใชเ้สียง (Voice )
คือ การตอบสนองเริ่ม ทันทีที่ทารกเกิดมารดาจะรอฟังเสียงทารกร้องครั้งแรก เพื่อยืนยันภาวะสุขภาพของทารก
การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามเสียงพูด(Entrainment )
คือการที่ทารกจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายเป็นจังหวะสัมพันธ์กับเสียงพูดสูงต่ำของมารดา เช่น ขยับ แขน ขา ยิ้มิ หัวเราะ เป็นต้น
จังหวะชีวภาพ (Biorhythmcity)
หลังคลอดทารกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างจากในครรภ์ของมารดามารดาจะช่วยทารกให้สร้างจังหวะชีวภาพได้โดยขณะที่ทารกร้องไห้มารดาอุ้มทารกไว้แนบอก ทารกจะรับรู้เสียงการเต้นของหัวใจมารดาซึ่งทารกจะคุ้นเคยตั้งแต่ในครรภ์ทําให้ทารกมีความรู้สึกมั่นคงยิ่งขึ้น
การรับกลิ่น (Odor )
คือ มารดาจากลิ่นกายของทารกได้ตั้งแต่แรกคลอดและแยกกลิ่นทารกออกจากทารกคนอื่น ได้ภายใน 3-4 วัน หลังคลอดในเวลา 6 – 10วัน หลังคลอด
การให้ความอบอุ่น (Body warmth หรือ Heat)
คือ หลังทารกคลอดทันทีได้รับการเช็ดตัวให้แห้งห่อตัวทารกและนําทารกให้มารดาโอบกอดทันทีทารกจะไม่เกิดการสูญเสียความร้อนและทารกจะเกิดความผ่อนคลายเมื่อได้รับความอบอุ่นจากมารดา
การให้ภูมิคุ้มกันทางน้ำนม(T and B lymphocyte )
คือ ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันในนมแม่ ได้แก่ T lymphocyte, B lymphocyte, และ Immunoglobulin A ช่วยป้องกันและทําลายเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
การให้ภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจ(Bacteria nasal flora )
คือ ขณะที่มารดาอุ้มโอบกอดทารกจะมีการถ่ายทอดเชื้อ โรคในระบบทางเดินหายใจ (normal flora )ของมารดาสู่ทารกเกิดภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันทารกติดเชื้อจากสิ่ง แวดล้อมภายนอก
;