Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวการณ์คลอดเฉียบพลัน (Precipitate labor),…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวการณ์คลอดเฉียบพลัน
(Precipitate labor)
ความหมาย
การคลอดที่เกิดขึ้นเร็วผิดปกติ ใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 3 ชั่วโมง หรือใช้เวลาทั้งหมดในการคลอดประมาณ 2-4 ชั่วโมง และมีการเปิดขยายของปากมดลูก ในระยะปากมดลูกขยายเร็ว 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ผู้คลอดที่มีเชิงกรานกว้าง
เคยมีประวัติการคลอดเฉียบพลัน
ผู้คลอดครรภ์หลัง เนื้อเยื่อต่างๆมีการยืดขยายมาก
ผู้คลอดไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอดหรือไม่รู้สึกอยากเบ่ง ซึ่งพบได้น้อยมาก
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติ
ทารกตัวเล็กหรืออายุครรภ์น้อยกว่ากำหนด ท าให้เคลื่อนต่่ำลงมาได้ง่าย
แรงต้านทานของเนื้อเยื่อที่ช่องคลอดไม่ดี
ผู้คลอดที่ไวต่อการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
อุบัติการณ์
พบได้ประมาณร้อยละ 2 ของการคลอด ร้อยละ 93 ของผู้คลอดกลุ่มนี้มักเป็นผู้คลอดที่ผ่านการ คลอดมาแล้ว
อาการเเละอาการเเสดง
มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างถี่และรุนแรง มากกว่า 5 ครั้งในเวลา 10 นาที
ตรวจภายในพบปากมดลูกมีการเปิดขยายเร็ว ครรภ์แรกปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง ครรภ์หลังปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร หรือมากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมง
มีอาการเจ็บครรภ์เป็นอย่างมาก
การวินิจฉัย
อัตราการเปิดขยายของปากมดลูก เปิดมากกว่า 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์แรก และเปิด มากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์หลัง
มีการหดรัดตัวของมดลูกถี่และรุนแรง มีการหดรัดตัวทุก 2 นาทีหรือบ่อยกว่านั้น
ระยะเวลาในการเจ็บครรภ์และคลอดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง
ความดันภายในโพรงมดลูกประมาณ 50-70 มิลลิเมตรปรอท
ภาวะเเทรกซ้อนต่อมารดา
อาจเกิดภาวะน้ำคร่่ำอุดตัน
มดลูกแตกจากมดลูกหดรัดตัวรุนแรง
ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีเลือดออกจากแผล และระยะหลังคลอด
เกิดการคั่งของเลือดใต้ชั้นผิวหนังที่ฉีกขาด
มีการติดเชื้อที่แผลฉีกขาด
อาจเกิดมดลูกปลิ้นเนื่องจากความดันในโพรงมดลูกลดลงอย่างรวดเร็ว
เนื้อเยื่อบริเวณช่องทางคลอดเกิดการฉีกขาด
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
สายสะดือขาดขาดเนื่องจากสายสะดือสั้นหรือรกยังไม่ลอกตัว
ถ้าคลอดออกมาทั้งถุงน้ าคร่ า (caul delivery) ทารกอาจสำลักน้ำคร่ำได้
ทารกได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการกระทบกระแทกเพราะการช่วยคลอดไม่ทัน
ทารกอาจเกิดการติดเชื้อเนื่องจากไม่ได้เตรียมทำความสะอาดก่อนคลอด
อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน (asphyxia) เลือดไหลผ่านไปยังรกได้น้อย ทารกจึง
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ถ้าให้การช่วยเหลือช้า ทารกอาจเกิดภาวะหนาวสั่น หรือการช่วยฟื้นคืนชีพช้าทำให้เสียชีวิต
อาจมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อแขนถูกดึงมากเกินไป ภาวะนี้เรียกว่า Erb’palsy
เลือดออกในสมอง (subdural hemorrhage) ทารกที่เกิดจากการคลอดแบบนี้มีโอกาสเกิดภาวะปัญญาอ่อนมากกว่าทารกปกติ
การพยาบาล
ให้การดูแลตามอาการ กรณีที่จะมีภาวะคลอดเฉียบพลัน
2.2 ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณฝีเย็บ เพื่อปูองกันการฉีกขาดของฝีเย็บและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
2.3 ในกรณีที่มารดาไม่สามารถหยุดเบ่ง และศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว ให้กางขา มารดาออก เพื่อปูองกันศีรษะทารกถูกหนีบ
2.1 กระตุ้นให้มารดาใช้เทคนิคการหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบา ๆ
2.4 จับให้ทารกนอนศีรษะต่ำ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และดูดน้้ำคร่ำในปากและจมูก ทารกออก เพื่อปูองกันทารกสำลักน้้ำคร่่ำ
ระยะหลังคลอดให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
มารดาที่มีประวัติการคลอดเร็ว ต้องระมัดระวังในการให้การพยาบาล เพื่อการปูองกันการคลอด เฉียบพลัน
1.2 ประเมินการเปิดขยาย และความบางของปากมดลูกเมื่อมารดาอยากเบ่ง
1.3 พิจารณาย้ายมารดาเข้าห้องคลอด ในมารดาที่มีประวัติการคลอดเร็วควรย้ายเข้าห้อง คลอดเมื่อปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร
1.1. ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก และฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ทุก 30 นาที
แนะน าการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา เพื่อปูองกันการติดเชื้อหลังคลอด
การรักษา
การให้ยา รายที่ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ควรหยุดให้และดูแลอย่างใกล้ชิด แพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้ยา methergin หลังคลอดเพื่อปูองกันการตกเลือด
การผ่าตัดคลอด ทำในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกแตก (uterine rupture) หรือ น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือดของผู้คลอด (amniotic fluid embolism)
ให้การดูแลตามอาการ ถ้าประสบกับการคลอดเฉียบพลันให้ช่วยคลอด
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย
2.2 ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
2.3 การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ร่วมกับการ monitor EF
2.1 การตรวจภายใน เพื่อประเมินอัตราการเกิดขยายของปากมดลูก
ภาวะจิตสังคม ได้แก่ ประเมินความวิตกกังวล และความหวาดกลัวของผู้คลอดเกี่ยวกับภาวะ สุขภาพของทารกเนื่องจากการคลอดเร็ว
1.การซักประวัติ ได้แก่ ประวัติการคลอดเฉียบพลัน หรือการคลอดเร็วในครรภ์ก่อน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกอาจได้รับอันตรายจากการคลอดเฉียบพลัน
อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดเฉียบพลัน
เจ็บครรภ์มาก เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวแรงและถี่มาก
วิตกกังวล/กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
ช่องทางคลอดอ่อนมีโอกาสฉีกขาดมากผิดปกติ เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
นางสาวนัทฐธิดา ด้วงทองกุล 601001060