Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักในเด็ก - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักในเด็ก
พัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิด
ช่วง 3 เดือน
ชันคอ ยกศีรษะจากพื้น เมื่อนอนคว่ำทำเสียงอือ อา ในลำคอ
ช่วง 4 เดือน
พลิกตะแคงตัวได้ หันตามเสียงเรียก กำของเล่นเองได้
ช่วง 6 เดือน
นั่งทรงตัวได้นาน สนใจฟ้องคนพูด ร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลกหน้า
ช่วง 12 เดือน
เดินโดยช่วยจูงมือเด็กทั้ง 2 ข้าง ดื่มน้ำจากถ้วยเล็กๆได้
ช่วง 15 เดือน
พูดคำที่มีความหมายได้อย่างน้อย 4 คำ เริ่มร่วมมือในการแต่งตัว
กระดูกหัก
โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกแยกออกจากกันหรือมีบางส่วนติดกันหรือเป็นเพียงแตกร้าว
ข้อเคลื่อน
มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากเบ้า ซึ่งการบาดเจ็บของข้อและกระดูกส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบกระดูก หลอดเลือด น้ำเหลือง เส้นประสาทและเส้นเอ็นได้รับอันตราย
กระดูกเด็กมีลักษณะแตกต่างจากผู้ใหญ่
เยื่อหุ้มกระดูกมีความแข็งแรงและสามารถสร้างกระดูกได้ดี
แผ่นเติบโตมีความอ่อนแอกว่าเอ็น เอ็นหุ้มข้อ และเยื่อหุ้มข้อ
เมื่อมีการแตกหักบริเวณนี้
เยื่อบุโพรงกระดูกสามารถสร้างกระดูกได้เร็ว
ปัญหาการวินิจฉัยกระดูกหักในเด็กที่ไม่แน่ชัดหรือมีความเชื่อถือได้ยาก
การบวมของแขนและขาซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังกระดูกหักหรือข้อเคลื่อน
การไหลเวียนของเลือดบริเวณแขน ขา จากการใส่เฝือกอาจเกิดภาวะ Volk man’s ischemic contracture
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง เช่น รถชน ถูกตี และตกจากที่สูง
เกิดจากแรงกระตุ้นทางอ้อม เช่น หกล้ม และอาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพของโรคที่ทำให้กระดูกบางแตกหักได้ง่าย เช่น มะเร็งกระดูก กระดูกอักเสบ
อาการ
มีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณที่กระดูกมีพยาธิสภาพ
อาการบวม เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณกระดูกที่หักหรือกระดูกเกยกัน
รอยจ้ำเขียว เนื่องจากเลือดซึมจากชั้นในมาชั้นผิวหนัง
อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป
การติดของกระดูกเด็ก
สิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อประสานรอยร้าวหรือรอยแตกของกระดูก ซึ่งองค์ประกอบ คือ Collagen fiber, Osteoclasts
กระดูกหักที่พบบ่อย
กระดูกไหปลาร้าหัก
อาการ ; ปวดหรือบวมข้างที่เป็น, Crepitus คลำได้เสียงกรอบแกรบ, ไหล่ตก
การรักษา ; เด็กทารกจะตรึงแขนข้างที่หักให้นิ่งและมัดแขน
ให้ข้อศอกงอ 90 องศาติดกับลำตัว พันนาน 10-14วัน
เด็กอายุมากกว่า 3 ปีใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องคอ
ห้อยแขนให้ข้อศอก 90 องศาและพันแขนให้ติดลำตัวด้วยผ้ายืด
คล้องแขนไว้นาน 2-3 สัปดาห์
กระดูกต้นแขนหัก
ทารกแรกเกิด ; เกิดในรายที่คลอดติดไหล่แล้วผู้ทำคลอดสอดนิ้วเข้าไปเกี่ยวออกมา
เด็กโต ; เกิดการล้มแล้วต้นแขนหรือข้อศอกกระแทกพื้นโดยตรงซึ่งจะพบว่าหัวไหล่บวม ช้ำ เวลาที่จับไหล่หรือแขนให้เคลื่อนไหวจะเกิดอาการเจ็บปวด
กระดูกข้อศอกหัก
พบบ่อยในเด็ก เนื่องจากเด็กพลัดตกหกล้มได้ง่ายและบ่อย
การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส
พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เกิดจากการหยอกล้อแล้วดึงแขนหรือหิ้วแขนเด็กมาตรงๆ ในขณะที่ข้อศอกเหยียดและแขนท่อนปลายคว่ำมือ
กระดูกปลายแขนหัก
พบบ่อยในเด็กตั้งแต่เริ่มหัดเดินจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเกิดจากการหกล้มเอามือเท้าฟาดพื้น, ตกจากที่สูง
กระดูกต้นขาหัก
พบได้ทุกวัยและเกิดมากกับเด็กเพศชาย
ตำแหน่งที่พบ ; ช่วงกลางของกระดูกต้นขา
ภยันตรายต่อข่ายประสาท Brachial plexus จากการคลอด
ข่ายประสาท brachial plexus เป็นการรวมตัวของรากประสาทไขสันหลัง
ventral rami ระดับ C5-T1 เป็นเส่นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกจากบริเวณไหล่จนถึงปลายมือ ซึ่งเมื่อมีภยันตรายต่อข่ายประสาทจะเกิดอาการแขนอ่อนแรง
สาเหตุ ; เกิดจากข่ายประสาทถูกดึงยึด เช่น ภาวะคลอดติดไหล่
การวินิจฉัย ; การสังเกตแขนที่ผิดปกติ, เคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ
การรักษา ; ส่วนใหญ่มีการฟื้นตัวของเส้นประสาทโดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
การพยาบาล
การพยาบาลต้องคำนึงถึงอวัยวะอื่นๆที่อาจได้รับบาดเจ็บด้วย โดยเฉพาะระบบที่อาจทำให้เด็กได้รับอันตรายจนถึงชีวิตได้ เช่น ระบบหายใจ การสูญเสียเลือด
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินลักษณะการบาดเจ็บ
เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
จัดกระดูกให้อยู่นิ่งตามแผนการรักษา
เข้าเฝือกปูน
ดึงกระดูก
ผ่าตัด open reduction internal fixation
การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
ด้านร่างกาย
เตรียมผิวหนังเฉพาะที่
ดูแลความสะอาดร่างกาย
ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ประเมินอาการของระบบประสาทและหลอดเลือด
ให้สารน้ำทางหลอดเลือด
ผล lab / X-ray
ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยและญาติให้คำแนะนำเกี่ยวกับการผ่าตัดแก่ผู้ป่วย
สภาพแวดล้อมในห้องผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัดโดยสังเขป
การปฏิบัติตัวภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึก
การไออย่างมีประสิทธิภาพ
โรคแทรกซ้อนและการป้องกัน
Volkmann’s ischemic contracture