Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้้าคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด - Coggle Diagram
ภาวะน้้าคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
ความหมาย
ภาวะที่มีน้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา ซึ่งจะเข้าไปในหลอดลมฝอยในปอด แล้วไปอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ ปอดทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารประกอบน้ำคร่ำ
อาการและอาการแสดง
5.เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (pulmonary edema)
6.เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
4.หายใจลำบาก (dyspnea)
7.ความดันโลหิตต่ำมาก (low blood pressure)
3.คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล
8.ชัก
2.เหงื่อออกมาก
9.หมดสติ (Unconscious) และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
1.มีอาการหนาวสั่น (chill)
10.ถ้าเกิดอาการนานกว่า1ชั่วโมง ผู้คลอดยังมีชีวิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการเข็งตัวของเลือดเสียไป และเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการแก้ไขภาวะการหดรัดตัวของมดลูกที่ดีพอ
การวินิจฉัย
1.การวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง
1.3 เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง( cardiovascular collapse)
1.4 เลือดออก
1.2 อาการเขียว
1.5 ไม่รู้สติ
1.1 ระบบหายใจล้มเหลว ( respiratory distress)
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1 การตรวจหาเซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน(lanugo hair) เมือกของทารกหรือเซลล์จากรก
2.1.1 การชันสูตรศพ(autopsy) พบได้ร้อยละ 75
2.1.2 เลือดจากกระแสเลือดไปปอดของมารดา หรือจากในสายของซีวีพี(CVP line) พบได้ ประมาณร้อยละ 50
2.1.3 เสมหะ
2.2 การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ส่วนใหญ่จะไม่พบความผิดปกติแต่อาจพบลักษณะpulmonary edema
2.3 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จะพบลักษณะtachycardia STและ T wave เปลี่ยนแปลง และ มีRV strainได้
2.4 ตรวจการไหลเวียนของเลือดในปอดอาจพบความบกพร่องในการกำซาบ(perfusion defect) ได้
2.5 การตรวจหา Sialy 1TH antigen จะพบมีระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเปื้อน
ผลกระทบ
มารดา
ทำให้ผู้คลอดเสียชีวิตจากการเสียเลือด ช็อค พบว่าร้อยละ39ของผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นภายใน1ชั่วโมง หลังจากเริ่มปรากฏอาการ และยังพบว่า1ใน 3 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด มักเสียชีวิตภายใน30นาทีถ้ามี ผู้รอดชีวิตมักมีอาการทางระบบประสาท เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
ทารก
พบว่ามารดาที่หัวใจและปอดหยุดทำงานโอกาสรอดของทารกมีค่อนข้างน้อย โดยทั่วไปโอกาสรอด
ของทารกมีประมาณร้อยละ 70 แต่เกือบครึ่งของทารกที่รอดชีวิตจะมีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท
การป้องกัน
3.การกระตุ้นการเจ็บครรภ์ ในรายที่เด็กตายในครรภ์โดยใช้Oxytocindrip ควรทำอย่างระมัดระวัง
ดูอาการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด และไม่ควรเจาะถุงน้ำก่อนมดลูกเปิดหมดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือด เนื่องจากเส้นเลือดฉีกขาดจากการเจาะถุงน้ำ
5.ในรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำ การตรวจภายในควรจะกระทำอย่างระมัดระวัง
2.การเจาะถุงน้้ำควรทำอย่างระมัดระวังไม่ให้ถูกปากมดลูก เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดที่ปากมดลูกฉีกขาดและจะทำให้น้้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือดได้
1.ขณะเจ็บครรภ์คลอด ไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป ควรจะหดรัดตัวแต่ละครั้งนานไม่ควรเกิน 60 นาที ระยะห่างประมาณ2 - 3นาทีต่อครั้ง
4.ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ(stripping าคร่membranesา) จากคอมดลูก
เพราะจะทำให้เลือดดำบริเวณปากมดลูกด้านในฉีกขาดได้
6.ถ้าผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่มากเกินกำหนด ผู้คลอดพักได้น้อย ควรรายงานแพทย์เวรทราบทุกครั้ง
การรักษา
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้นอนFowler ‘ s position ให้ออกซิเจน100% และถ้ามี ระบบการหายใจล้มเหลวให้ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
2.ดูแลระบบการไหลเวียนเลือดเพื่อแก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำโดยการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
3.ดูแลการหดรัดตัวของมดลูก โดยให้ยาoxytocin หรือ methergin ทางหลอดเลือดดำ
4.ถ้าทารกยังไม่คลอด ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารก เละรีบให้การช่วยเหลือโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างเร่งด่วน
5.เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอดถ้ามีความดันโลหิตต่ำ เช่น Dopamine, Norepinephrine,
6.เจาะเลือดเพื่อประเมินความเข้มข้นของเลือดและการแข็งตัวของเลือด
7.รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (DIC)โดยให้ยาHeparin
8.ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด
การพยาบาล
1.เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำาคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
2.ถ้ามีอาการและอาการแสดง คือ มีภาวะชักเกร็งโดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนมีภาวะเขียวทั่วทั้งตัว หรือเริ่มเขียวเป็นบางส่วนของร่างกาย ควรปฏิบัติดังนี้
2.5 สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
2.6 เตรียมช่วยเหลือการคลอดโดยคีมหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
2.4 เฝ้าระวังการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี และกลไกการ แข็งตัวสูญเสียไป
2.7เตรียมช่วยฟื้นคืนชีพ ในรายที่เกิดหัวใจล้มเหลว(cardiac arrest)
2.3 ให้สารน้ำและเลือดตามแผนการรักษา
2.8 ใช้เครื่องช่วยหายใจใน 2 -3 วันแรก ภายใต้การดูแลในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก (intensive care unit) เพื่อดูแลระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
2.2 ให้ออกซิเจน
2.9 ดูแลและให้กำลังใจต่อครอบครัว ถ้ามารดาและทารกเสียชีวิต
2.1 จัดให้มารดานอนในท่า fowler
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด เนื่องจากมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
1.เฝ้าระวังในมารดาที่ได้รับยาเร่งคลอดอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของลักษณ หดรัดตัวของมดลูก
2.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกถ้ารุนแรงผิดปกติควรรายงานแพทย์
3.ในมารดาที่ถุงน้ำคร่ำแตก ถ้าลักษณะของน้ำคร่ำมีขี้เทา ควรสังเกตการปลี่ยนแปลงของมารดาอย่างใกล้ชิด
4.สังเกตอาการแสดงระยะแรก ได้แก่อาการหอบเหนื่อย อาการเขียว
5.ประเมินเสียงหัวใจของทารกในครรภ์
6.ให้การพยาบาลมารดาด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและเต็มใจให้การดูแลช่วยเหลือ
เสี่ยงต่อการตกเลือดอย่างรุนแรงและเกิดภาวะช็อค เนื่องจากการขาดกลไกการแข็งตัวของเลือด
1.ให้สารน้ำและให้เลือดตามแผนการรักษา
2.งดน้ำและอาหารเตรียมช่วยเหลือการคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการโดยด่วน
3.สังเกตอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืดเหงื่อออกใจสั่น ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ
4.เตรียมช่วยมารดาในภาวะฉุกเฉิน ทั้งด้านการหายใจ การตกเลือด
5.บันทึกจำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินการทำหน้าที่ของไต
6.บันทึกสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 15 นาที
เกิดภาวะขาดออกซิเจนทั้งมารดาและทารก เนื่องจากการหดเกร็งของหลอดเลือดที่ปอดมารดา
2.ให้ออกซิเจนให้เพียงพอ
3.บันทึกV/S ทุก 15 นาที
1.จัดท่านอนFowler’s position
4.ฟังและบันทึกเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุกนาที
5.ดูแลมารดาอย่างใกล้ชิดตลอดเพื่อประคับประคองทางด้านจิตใจของมารดา