Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๖ การบริหารการพยาบาล
นางสาววณิชญา เสงี่ยมวิบูล (603101081)…
บทที่ ๖ การบริหารการพยาบาล
นางสาววณิชญา เสงี่ยมวิบูล (603101081)
-
โครงสร้างการบริหารสุขภาพ
ระดับปฐมภูมิ (Primary care level) เป็นบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมากที่สุด มีการรักษาดูแลในภาวะที่ไม่ซับซ้อนจึงเน้นที่ความครอบคลุมมีการบริการผสมผสาน
ระดับทุติยภูมิ (Secondary care level) เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับที่สูงขึ้นเน้นการบริการรักษาพยาบาลโรคที่ยากซับซ้อนมาก
ระดับตติยภูมิ (Tertiary care level) และศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Tertiary Care and Excellent Center) เป็นการบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงมีความสลับซับซ้อนมากมีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาเฉพาะทางสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์
-
-
หลักการจัดหอผู้ป่วย
๑ ความเป็นสัดส่วน (Privacy)จัดบริเวณและสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้มีพื้นที่ในการให้การพยาบาลได้สะดวกไม่เปิดเผยผู้ป่วย และญาติสามารถเยี่ยมได้ใกล้ชิด
๒ ความปลอดภัย (safety) ต้องป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ มีไม้กั้นเตียง พื้นห้องน้ำไม่ลื่น มีราวจับแสงสว่างเพียงพอ
๓ การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ (Infection control) ให้ถูกต้องตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 10
๔ ควบคุมเสียง (noise control) ไม่ให้มีเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วยหัวหน้าหอผู้ป่วยจะต้องจัดเตียงสำหรับผู้ป่วย
-
-
การนิเทศงานการพยาบาล
-
องค์ประกอบของผู้นิเทศ
ความสามารถด้านเทคนิค หมายถึง ความสามารถในการใช้ความรู้ต่างๆ เทคนิคการปฏิบัติการพยาบาลการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลอย่างคล่องตัวเพื่อสามารถแนะนำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้
ความสามารถด้านวิชาการ ผู้นิเทศการพยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจผิดหลักการและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลด้วยการเป็นผู้มีความพร้อมด้านความรู้
ความสามารถด้านการสอน แนะนำและให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือผู้ที่รับการนิเทศได้เกิดความรู้ความเข้าใจงานที่ปฏิบัติ สามารถพัฒนางานที่ได้รับการนิเทศแล้วให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ความสามารถด้านมนุษย์ คือ ความสามารถในการเข้าใจคน รู้ว่าจะทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างไร และเข้าใจหลักการหรือทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์
ความสามารถด้านบริหารงาน ได้แก่ ความสามารถในการวางแผน จัดการและสั่งการให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงาน
ระบบการดูแลผู้ป่วย
๑ ระบบการดูแลเป็นรายบุคคล (case method or total patient care) มีหลักการดูแลคือพยาบาล ๑คนจะให้การดูแลทุกอย่างสำหรับผู้ป่วยรายนั้น ๆ
๒ ระบบการทำงานเป็นหน้าที่ (functional nursing) การมอบหมายงานจะเน้นที่หน้าที่และกิจกรรมเป็นสำคัญโดยบุคลากรแต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบหน้าที่๑-๒อย่างเช่นพยาบาลวิชาชีพมีหน้าที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ
๓ ระบบการพยาบาลเป็นทีม (team nursing) ระบบนี้ต้องการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยและบุคลากรปรับปรุงคุณภาพการบริหารพยาบาลให้ดีขึ้นโดยนำพยาบาลวิชาชีพที่มีจำนวนจำกัดทำงานร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้การพยาบาลหลายระดับระบบนี้จะมีประสิทธิภาพ
๔ ระบบการพยาบาลแบบเจ้าของไข้ (primary nursing) โดยที่พยาบาลวิชาชีพ ๑คนจะทำหน้าที่เป็นตัวจักรสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลตั้งแต่แรกรับเข้าไว้ในโรงพยาบาลจนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
๕ ระบบการจัดการด้านผู้ป่วย (Case Management) เป็นระบบที่มุ่งเน้นการดูแลที่มีคุณภาพสูงสุดและค่าใช้จ่ายที่ประหยัดคุ้มค่าซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ Florence Nightingale