Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรควัณโรค - Coggle Diagram
โรควัณโรค
อาการและอาการแสดง
- อาการเฉพาะที่ เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หอบ พบ ได้ประมาณร้อยละ 50
-
-
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็น acid fast bacillus (AFB) ย้อมติดสีแดง ซึ่งจะมีอยู่ในปอดของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา
การติดต่อของโรควัณโรค
สำหรับในเด็กมักจะได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่เป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ โดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน เชื้อจะกระจายอยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไป บางครั้งเชื้ออาจผ่านจากแม่ไปยังลูกในท้องโดยผ่านทางรกได้
ระยะฟักตัวของโรควัณโรค
จากเมื่อแรกรับเชื้อจนถึงเมื่อให้ผลทดสอบทูเบอร์คิวลินเป็นบวกประมาณ 2-10 สัปดาห์ ระยะที่มีโอกาสเกิดอาการของโรคได้มากที่สุดคือ ใน 2 ปีแรกหลังติดเชื้อโดยทั่วไปแล้วถ้าไม่ได้รับการรักษาเชื้อที่เข้าไปจะซ่อนตัวอยู่เงียบๆ โดยไม่ทำให้เกิดอาการของโรค
การป้องกัน
- ในผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ที่ตรวจได้ผลทูเบอร์คิวลินบวกแพทย์จะพิจารณาให้ยาป้องกัน Isoniacid นาน 2-3 เดือน
- ให้วัคซีน BCG ป้องกัน ในประเทศที่มีโรควัณโรคชุกชุม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เริ่มให้ BCG วัคซีนตั้งแต่แรกเกิด วัคซีน BCG ถึงแม้จะมีประสิทธิผลแตกต่างกันจากการศึกษาในที่ต่างๆ ตั้งแต่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ไปจนถึงร้อยละ 80 แต่ที่ได้ผลชัดเจน คือ ป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรงแบบแพร่กระจาย และวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง ในประเทศไทยให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่กำลังมีอาการไอ และยังไม่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค
การรักษา
- ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol
- การรักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรค
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยทางคลินิก
- ภาพรังสีทรวงอก มีความผิดปกติ เข้าได้กับวัณโรค รูปแบบมีได้ตั้งแต่ต่อมน้ำเหลืองที่ ขั้วปอดโตอย่างเดียว หรือมีแผลในเนื้อปอดร่วมด้วย หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือเป็นชนิด military ฯลฯ ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอกทั้งด้านหน้าและด้านข้าง
- ประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยที่กำลังเป็นวัณ โรคปอด โดยเฉพาะชนิดเสมหะย้อมพบเชื้อ
- ปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน 10 มม. (ยก เว้นในรายที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือรายที่สัมผัสใกล้ ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอด ใช้เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มม.) ในรายที่ได้รับวัคซีน บีซีจี มาแล้วเมื่อได้รับเชื้อวัณ โรคเพิ่มเติมมักจะมีปฏิกิริยา 15 มม.)
- การวินิจฉัยแยกโรคที่คล้ายคลึงอื่นๆ ออกไป
- อาการและอาการแสดงที่เข้าได้กับ วัณโรค