Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง - Coggle Diagram
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
การรักษา
- การดูแลผิวแบบพื้นฐาน ควรปฏิบัติเป็นประจำจะช่วยลดการกำเริบของผื่น
- ลดการใช้สบู่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ทุกครั้งที่อาบน้ำ
- หลังอาบน้ำต้องซับตัวหมาด ทาครีมหรือโลชั่นทุกครั้งหลังอาบน้ำ (สามารถทาครีมระหว่างวันเพิ่มได้เมื่อผิวแห้งหรือคัน)
- อาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่เกิน 5-15 นาที วันละ 1-2 ครั้ง
- หลีกเหลี่ยงสารก่อความระคายเคืองแก่ผิว เช่น เหงื่อ น้ำลาย สารเคมี น้ำหอม แอลกอฮอล์ ทราย หญ้า เสื้อผ้าที่หนาไม่ระบายอากาศ เสื้อผ้าเนื้อหยาบ เสื้อผ้าขนสัตว์ เป็นต้น
- ยาฆ่าเชื้อชนิดรับประทาน ใช้เมื่อมีการติดเชื้อทางผิวหนังหลายตำแหน่ง หรือ เป็นบริเวณกว้างร่วมไปกับผื่นผิวหนังอักเสบ
- ยาแก้คันชนิดรับประทาน เพื่อลดการเกาที่อาจจะทำให้เกิดแผลและมีการติดเชื้อทางผิวหนังตามมาได้
- ยาฆ่าเชื้อชนิดทา ใช้เมื่อมีการติดเชื้อทางผิวหนังร่วมไปกับผื่นผิวหนังอักเสบ
- การทำความสะอาดผื่นที่มีน้ำเหลืองแห้งกรัง โดยการใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือประคบไปที่ผื่นนาน 10-15 นาที แล้วเอาออก ทั้งนี้ เพื่อช่วยเอาสะเก็ดน้ำเหลืองบนผื่นออก ช่วยให้การทายามีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
- การรักษาอื่นๆ ในกรณีผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่รักษายากและไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาข้างต้น แพทย์อาจพิจารณาการรักษาอื่นๆ เช่น ยาต้านการอักเสบหรือยากดภูมิคุ้มกันชนิดรับประทาน การฉายแสง เป็นต้น
-
- การรักษาเพื่อป้องกันการกำเริบ
ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาเพื่อป้องกันหรือลดการกำเริบของผื่นได้ เรียกว่า การรักษาแบบ proactive ทำได้โดยใช้ยาทาต้านการอักเสบทาบริเวณที่มีการเกิดผื่นกำเริบบ่อย เช่น บริเวณข้อพับแขนขา โดยทาสัปดาห์ละ 2-3 วันในช่วงที่ผื่นสงบอยู่
การป้องกัน
ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการป้องกันโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แต่เชื่อว่าการทาครีมหรือโลชันตั้งแต่ช่วงทารกจะช่วยลดการเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้การดำเนินโรคของผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ มีช่วงกำเริบและมีช่วงที่ผื่นสงบ และการกำเริบของผื่นจะลดลงได้เมื่ออายุมากขึ้นและกว่า 80% จะหายได้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
การวินิจฉัยโรค
กุมารแพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวเป็นหลักและทั่วไปไม่ต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยกเว้นกรณีที่รักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมได้ โดยวินิจฉัยจากประวัติการแพ้อาหาร หรือสารสัมผัสที่สัมพันธ์กับการเกิดผื่น
-
-