Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
ความหมายของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคที่มีการสึกกร่อนหรือเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนของข้อเข่า(degenerative-articular สุวรรณี สร้อยสงค์ Reg 11 Med J Vol. 33 No. 2 199 cartilage disease)ซึ่งกระบวนการสึกกร่อนเกิดขึ้นอย่างช้าๆ บริเวณกระดูกอ่อนที่ปลายกระดูกข้อเข่า หมอนรองกระดูกและเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูกข้อเข่าทำให้กระดูกอ่อนบางลงมีสูญเสียกระดูกอ่อนที่ปกคลุมเนื้อกระดูกแข็ง (exposed bone) ส่งผลให้กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) หนาตัวและเกิดกระดูกงอกใหม่ (bone spur หรือ osteophyte) ลักษณะเป็นก้อนแข็ง ขรุขระเหมือนเดือยกระดูกร่วมกับเยื่อบุข้อ(synovial membrane) สร้างนํ้าไขข้อลดลงส่งผลให้เกิดแรงเสียดสีต่อกระดูกข้อเข่ามากขึ้น ต่อมาทำให้ช่องระหว่างกระดูกข้อเข่าแคบลง (joint space narrowing) ดังนั้น ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีอาการปวดเมื่อขยับข้อ ข้อฝืด มีเสียงดังในข้อเมื่อเคลื่อนไหวและข้อผิดรูป
ชนิดของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (primary หรือ idiopathic osteoarthritis of knee)
เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน ข้อเกิดการชำรุดหรือสึกหรอ(wear and tear)ตามอายุที่เพิ่มขึ้นหรือการใช้งานของข้อไม่มีประวัติความเจ็บป่วยที่เกิดกับข้อเข่าโดยตรงซึ่งผู้สูงอายุในครอบครัวหรือชุมชนประสบโรคข้อเข่าเสื่อมชนิดนี้
โรคข้อเข่าเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (secondary osteoarthritis of knee)
เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่ทราบสาเหตุจากความผิดปกติที่สามารถระบุได้ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุและมีการบาดเจ็บที่ข้อเข่ามีการบาด เจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่น กีฬา โรคข้ออักเสบติดเชื้อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรค เกาต์ และความผิดปกติของข้อแต่กำเนิด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
เพศและอาย
นํ้าหนักตัวมากเกินไปหรือโรคอ้วน
การใช้งานอิริยาบถ อาชีพที่ต้องยกของ
หนักอาชีพที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ
ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ
เช่น ข้อเข่าหลวม
ปัจจัยด้านอาหาร
ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม
ระยะที่ 1 : ข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น(minor osteoarthritis of knee) มีสูญเสียกระดูกอ่อนเล็กน้อย (minor disruption) จะเริ่มมีอาการตึงเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางหรือตื่นนอนในตอนเช้าโดยระยะเวลาของการข้อฝืดตึงไม่เกิน 30 นาที
ระยะที่ 3 : ข้อเข่าเสื่อมปานกลาง(moderate osteoarthritis of knee)บริเวณกระดูกอ่อนสึกกร่อนหลุดร่อนผิวไม่เรียบมีรอยแตกเป็นส่วนๆและเกิดกระดูกงอกขนาดใหญ่ เกิดเสียงในข้อเข่าจากการเสียดสีของกระดูกมากขึ้นมีอาการขัดและเจ็บปวดข้อเข่าขณะเดินระยะนี้จะเริ่มมีอาการข้อเข่าหลวมจากเอ็นรอบข้อ เข่ายืดและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงลดลง ข้อฝืดแข็งมากขึ้น
ระยะที่ 2 : ข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อย(mild osteoarthritis of knee)กระดูกอ่อนเริ่มมีการสึกกร่อนและ เริ่มเกิดกระดูกงอก(osteophytes or bone spurs)ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดข้อเล็กน้อย อาการตึงขัดข้อเข่ามากขึ้นและมีเสียงดังในข้อเข่าจากการเสียดสีของกระดูกขณะเคลื่อนไหว
ระยะที่ 4: ข้อเข่าเสื่อมรุนแรง(severe osteoarthritis of knee)กระดูกอ่อนสึกกร่อนหลุดร่อน ผิวไม่เรียบ มีรอยแตกมากขึ้นและเกิดกระดูกงอกขนาดใหญ่จำนวนมาก กล้ามเนื้อรอบเข่าอ่อนแรงและช่องระหว่างข้อแคบ ชิดติดกัน ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดเข่ามาก ข้อเข่าผิด รูปและข้อเข่าหลวมมาก ข้อติดแข็ง
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการปวดข้อเข่า (knee pain) ปวดเมื่อ
งอเข่า เดินขึ้น-ลงบันได หรือยืนกิจกรรมนาน ๆ
อาการข้อฝืด (stiffness) มักมีอาการ
หลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากนั่งพักนานๆ
อาการเข่าบวม (swelling) อาการนี้เป็นๆ
หายๆ
อาการข้อเข่าอ่อนแรงและไม่มั่นคง (weakness and instability) กล้ามเนื้อรอบๆ เข่าไม่มีแรง และ
ข้อเข่ายึด
อาการมีเสียงดังในข้อ (crepitus)
อาการของข้อเข่าเป็นๆ หายๆ ไม่คงที่
(Fluctuating symptoms)
การประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุโรค
ข้อเข่าเสื่อม
การซักประวัติและตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
โรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่
ซักประวัติอาการปวดข้อเข่า (knee
pain) ข้อฝืด (stiffness) โดยเฉพาะข้อฝืดตอนเช้า
ชั่งนํ้าหนัก วัดส่วนสูงเพื่อประเมินค่าดัชนีมวลกาย (body mass index:)อ้วนหรือภาวะโภชนาการเกิน BMI ≥23 kg/m2
สังเกตท่าทางการเดิน การทรงตัว และ
การตรวจข้อเข่า
ประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมโดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมแบบ Oxford knee score
การประเมินความสามารถในการปฏิบัติ
กิจวัตรประจำวัน
การติดตามผลภาพเอ็กซเรย์
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
การรักษาด้วยยา (Pharmacological
treatment)
1.1 กลุ่มยาที่ควบคุมอาการของโรค (sym
ptom-modifying drugs)
1.2 กลุ่มยาที่ปรับเปลี่ยนและชะลอการ
เสื่อมของกระดูกอ่อน (structural modifying drugs)
การผ่าตัด เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพหรือจะผ่าตัดแบบใดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและแนวการ รักษาของแพทย์
การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
การให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การดำเนินของโรคข้อเข่าเสื่อมการชะลอความ เสื่อมและความรุนแรงของข้อเข่า
ประเมินอาการปวดข้อเข่าและลดอาการปวดข้อเข่าในกรณีที่ผู้สูงอายุปวดเข่าอย่างรุนแรงหรือข้อเข่าอักเสบควรให้พักข้อประคบความเย็นเพื่อลดการอักเสบของข้อเข่า ส่วนการประคบความร้อนจะทำได้ เมื่อมีอาการปวดเข่าและการอักเสบของข้อลดลง
แก้ไขปัจจัยหรือสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
ได้แก่
1 ภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วน ผู้สูงอาย
2 การปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถ
ในชีวิตประจำ วัน ลักษณะงานที่ทำ
หลีกเลี่ยงการเดินขึ้น - ลง
การออกกำลังกายและออกกำลังกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าเพิ่มความแข็งแรงของข้อ
การสวมอุปกรณ์พยุงเข่าหรือสนับเข่า (knee
support)
การใช้เครื่องช่วยพยุง (assistive device)
เพื่อลดแรงกระทำต่อข้อเข่า
แนะนำ ผู้สูงอายุและครอบครัว ทราบถึงผลดี
ของการปรับสิ่งแวดล้อมในบ้าน