Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะมดลูกแตก (Uterine rupture / Rupture of the…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะมดลูกแตก
(Uterine rupture / Rupture of the uterus)
ความหมาย
ภาวะที่มีการฉีกขาดของผนัง มดลูก ในขณะตั้งครรภ์หลังจากทารกโตพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้ หรือหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และเกิดการฉีก ขาดระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างเจ็บครรภ์ หรือระหว่างการคลอด *โดยไม่รวมการแตกหรือฉีกขาดในการ ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการทะลุของมดลูกที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
อุบัติการณ์
พบได้แตกต่างกันตั้งแต่ 1 : 100 – 1 : 11,000 ของการคลอด
โดยใน กลุ่มที่ไม่มีแผลที่ตัวมดลูกมาก่อน อุบัติการณ์จะต่ำกว่ากลุ่มที่มีแผลที่ตัวมดลูกอย่างชัดเจน
ลักษณะของมดลูกแตก
มดลูกแตกไม่สมบูรณ์
(Incomplete rupture)
รอยแตก มีการฉีกขาด ของชั้นกล้ามเนื้อมดลูกเท่านั้น ไม่ทะลุชั้น peritoneum
มดลูกปริ (Dehiscence)
อาจไม่พบอาการอะไรเลย ในรายที่เคยผ่าตัดมดลูก แผลเก่าอาจปริแยก จากกันโดยเยื่อหุ้มรกยังไม่แตก>>อาการอาจดำเนินอย่างค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ในระยะคลอดมดลูกปริ อาจจะกลายเป็นมดลูกแตกได้
มดลูกแตกสมบูรณ์
(Complete rupture)
รอยแตกทะลุชั้นเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) >>>ทารกมักจะหลุดเข้าไปอยู่ในช่องท้อง
ชนิดของมดลูกแตก
การแตกของมดลูกที่เป็นปกติ
เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน
(Traumatic rupture of the intact uterus)
จากการทำสูติศาสตร์หัตถการต่าง ๆ /การกดดันบริเวณยอดมดลูกเพื่อช่วยเหลือการคลอด
การแตกเองของมดลูก
(Spontaneous rupture of the intact uterus)
การแตกเองของ มดลูกเป็นภาวะที่ค่อนข้างรุนแรง เพราะมีอันตรายต่อมารดาและทารกมาก พบได้บ่อยในมารดาตั้งครรภ์หลัง อายุมาก ได้รับยากกระตุ้นการหดรัดของมดลูก
การแตกของแผลเป็นที่ตัวมดลูก
(Rupture previous uterine scar)
ชนิดclassical มดลูกจะแตกใน ระหว่างตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3
ชนิด low transverse จะแตกในระหว่างการเจ็บครรภ์ จะรุนแรงกว่าเพราะอาจมีการฉีกขาดของกระเพาะปัสสาวะ ตัวหลุดออกนอกมดลูกเข้าไปอยู่ใน ช่องท้อง แต่บางรายอาจพบแค่มดลูกปร
สาเหตุ
เคยผ่านการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตรจำนวนมาก (grand multiparty)
การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ในปริมาณมาก
การบาดเจ็บบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง (severe abdominal trauma) จากการได้รับอุบัติเหตุ
รกฝังตัวลึกชนิด placenta percreta หรือ placenta increta
การทำสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
เช่น การทeคลอดด้วยคีม การทeคลอดท่าก้น การหมุนเปลี่ยน ท่าเด็กจากภายใน สูติศาสตร์หัตถการทำลายเด็ก
การคลอดติดขัด (obstructed labor)
cephalopelvic disproportion, contracted pelvis, hydrocephalus ,ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่า ขวาง, มีก้อนเนื้องอกขวางอยู่ เช่น เนื้องอกรังไข่หรือมดลูก ครรภ์แฝด
รอยแผลผ่าตัดเดิม จากแผลผ่าท้องคลอด หรือแผลผ่าตัดอื่นๆ * ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของมดลูกแตกเกิดขึ้นในรายที่มีแผลที่ตัวมดลูก
การวินิจฉัย
ประวัติ: ปวดท้องอย่างเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน Shock ทั้งที่ไม่มีเลือดออกมาจากช่องคลอด ร่วมกับมีประวัติเคยได้รับการผ่าตัดคลอด คลอดยาก หรือได้รับการเร่งคลอด
ผลกระทบ
ต่อมารดา
Matertal death อัตราตายของมารดาจากมดลูกแตกเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการเสียเลือดทั้งก่อนและหลังคลอด และเกิดการติดเชื้อ
Cystotomy
sever blood loss
Admit ICU
ต่อทารก
Acidosis
Asphyxia
Perinatal death มีอัตราการตายปริกำนิดของทารกจากภาวะมดลูก แตกร้อยละ 50-70 เนื่องจากทารกขาดออกซิเจน
Admit NICU
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการดูแลตั้งแต่เกิดภาวะมดลูกแตกจนถึงการผ่าตัดรักษา
การรักษา
NPO
ถ้ามีภาวะช็อค ให้ Ringer's lactate solution เตรียมเลือดให้พร้อมและให้ออกซิเจน
ในรายที่รอยแตกไม่มาก ไม่กระรุ่งกระริ่ง ต้องการมีบุตรอีก>>>จะเย็บซ่อมเเซมมดลูด
กรณีที่เย็บซ่อมแซมไม่ได้>>>ตัดมดลูกทิ้ง กรณีที่เลือดออกไม่หยุดอาจจะต้องทำ bilateral hypogastrics arteries ligation
ให้เลือด และยาปฏิชีวนะ
ในกรณีที่ทารกเสียชีวิต ต้องให้การดูแลสุขภาพจิตของผู้คลอดและครอบครัว
เตรียมผู้คลอดเพื่อผ่าตัด (Exploratomy laparotomy) และตามกุมารแพทย์เพื่อช่วยฟื้นคืนชีพทารก
การผ่าตัด
ถ้าเย็บซ่อมแซมได้และไม่ต้องการมีบุตร>>>ให้ทำหมัน
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะมดลูกแตก
มารดาที่มีประวัติการคลอดยาก เคยผ่าตัดมดลูก และได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการ>>>ควรแนะนำให้ฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอในระยะตั้งครรภ์ และแนะนำให้มาคลอดที่โรงพยาบาล
มารดาที่เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เมื่อตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ครั้งแรกควรส่งพบแพทย์ เพื่อประเมินสภาพและ อายุครรภ์
ถ้าอายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ ต้องส่งพบแพทย์ตรวจพิเศษด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) เพื่อคาดคะเนกำหนดคลอด และเพื่อนัดมารดามาคลอด
ควรแนะนำให้คุมกำเนิด และเว้นระยะในการ ตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปี
การพยาบาลในระยะคลอด
2.1ผู้คลอดที่มีประวัติเสี่ยง
ต่อภาวะมดลูกแตก
ตรวจการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาที เพื่อประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ถ้าพบว่าผิดปกติ คือ I<2นาที D>90วินาที Bandl's ring ท้องแข็งตลอดเวลา กระสับกระส่ายปวดท้องมาก เเน่นอึดอัด ในท้องฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้ยิน ควรรายงานแพทยื
บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก15นาที
NPO
2.2เมื่อพบว่าผู้คลอด
มีอาการนำของมดลูกแตก ปฏิบัติดังนี้
หากให้ Oxytocin ให้หยุดทันที
รีบรายงานแพทย์ทันที
ให้ออกซิเจน 5 ลิตร/นาที แก่ผู้คลอด
บันทึกอัตราการเต้นขิองหัวใจทารกทุก 5 นาที
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมเพื่อรับการผ่าตัด
เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
2.3 เมื่อพบว่าผู้คลอด
มีอาการของมดลูกแตกแล้ว
รายงานแพทย์ทราบทันที
ให้การพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะช็อค คือ
-NPO
-จัดท่านอนหงายศีรษะต่ำ
-รักษาความอบอุ่นของร่างกาย
-ให้สารน้ำ Ringer Lactase Solution ทางหลอดเลือดดำ
-ให้ออกซิเจน 5 LPM
-เจาะเลือดหากลุ่มเลือดและขอเลือดทดแทนโดยเร็ว
-เตรียมผู้คลอดผ่าตัด
-vital sings ทุกๆ 5-15 นาที
-บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุกๆ5นาที
-เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
-ปลอบโยนให้กำลังใจผู้คลอด
2.4 ให้การพยาบาล
เพื่อประคับประคองด้านจิตใจ
อธิบายแนวทางการรักษาพยาบาลให้ผู้คลอดและญาติเข้าใจเพื่อลดความวิตกกังวล
ในกรณีทารกเสียชีวิต ให้การยอมรับและให้โอกาสมารดาและครอบครัวแสดงอาการโศกเศร้า สูญเสีย และหากมารดาและครอบครัวต้องการดูทารก ควรอนุญาต
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้คลอดและญาติเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและความร่วมมือในการรักษา
การประเมินสภาพ
กระสับกระส่าย กระวนกระวาย ชีพจรเบา หายใจไม่สม่ำเสมอ
อัตราการเต้นของหัวใจทารกไม่สม่ำเสมอและหายไป
คลำส่วนของทารกชัดเจน
มีเลือดออกทางช่องคลอด
ปวดท้องรุนแรง สัมผัสหน้าท้องไม่ได้
ตรวจมดลูก พบมดลูกหดรัดตัว I<2นาที ,D>90 วินาที, resting period<1 นาที หรือ Bandl's ring
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกแตก เนื่องจากเคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อ
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากมดลูกปริหรือแตก
มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลหรือกลัว เนื่องจากมีภาวะมดลูกปริหรือแตก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค เนื่องจากเสียเลือดมากจากภาวะมดลูกแตก
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่และรุนแรง
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงเตือนว่ามดลูกจะแตก
(threatened uterine rupture)
มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา (tetanic uterine contraction) ไม่สัมพันธ์กับความก้าวหน้า ของการคลอด
ปวดท้องน้อยบริเวณเหนือหัวเหน่าอย่างรุนแรง
กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว หายใจไม่สม่ำเสมอ
กดเจ็บบริเวณเหนือหัวเหน่า โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก
พบ Bandl’s ring หรือ pathological retraction ring จากการตรวจหน้าท้องเห็นมดลูก เป็นสองลอน
จากการตรวจภายในช่องคลอด>>>พบปากมดลูกลอยสูงขึ้น เนื่องจากถูกดึงรั้งขึ้นไปและ อาจพบปากมดลูกบวม
อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ไม่สม่ำเสมอ
อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
2.อาการและอาการแสดงของมดลูกแตก
(uterine rupture)
การตรวจภายใน>>>ส่วนนำถอยกลับ /ส่วนนำลอยสูงขึ้น /ตรวจไม่ได้ส่วนนำ /อาจคลำพบรอยแตกของมดลูก
อาจคลำได้ก้อนหยุ่น ๆ ข้างมดลูก ถ้ามีเลือดเข้าไปขังอยู่ใน broad ligament
เสียงหัวใจทารกจะเปลี่ยนแปลง หรือหายไปขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของมดลูกที่แตก
สวนปัสสาวะอาจได้เลือดปนในปัสสาวะ ถ้ามีการฉีกขาดของกระเพาะปัสสาวะ
คลำส่วนของทารกได้ชัดเจนมากขึ้น
ปวดท้องอย่างรุนแรง รู้สึกอึดอัดเนื่องจากเลือด น้ำคร่ำและตัวทารก ก่อความระคาย เคืองต่อเยื่อบุช่องท้อง
มีอาการช็อกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของมดลูกแตก
ถ้ามีภาวะ hypovolemic shock มารดาจะมีอาการกระสับกระส่าย ชีพจร เบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำเหงื่อออก ตัวเย็น หายใจไม่สม่ำเสมอ และหมดความรู้สึก
บางรายพบมีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกต
อาการปวดท้องน้อยจะทุเลาลง ภายหลังจากที่มารดาบางรายบอกว่ารู้สึกเหมือนกับมี การแยกออกของอวัยวะในช่องท้อง
พยาธิสภาพ
-มดลูกหดรัดตัวกี่และรุนแรงในระยะตั้งครรภ์และระยะเจ็บครรภ์คลอด>>>กล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างถูกดึงให้บางและยืดออก
-แต่ในรายที่มดลูกแตกอาจเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอด>>>กล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างยืดขยาย/บางมาก>>>เกิดเป็นสองลอนทางหน้าท้อง เรียก pathological retraction ring/ Bandl's ring>>>ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน >>มดลูกแตกถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ
นายศรายุทธ์ มีแก้ว รหัส 601001115