Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สายสะดือย้อย (Prolapsed of the umbilical cord), cord-pnvasa-praeviaafe-3…
สายสะดือย้อย
(Prolapsed of the umbilical cord)
ความหมาย
ภาวะที่สายสะดือลงมาอยู่ข้างๆ หรือต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ หรือสายสะดือโผล่ออกมาภายนอกช่องคลอด
ชนิดของสายสะดือย้อย
สายสะดือย้อยลงมาต่ำกว่าปกสายสะดือส่วนนี้จะถูกกดกับช่องทางคลอดได้เมื่อทารกเคลื่อนต่ำลงหรือเมื่อมดลูกหดรัดตัวถุงน้ำคร่ำอาจจะแตกหรือไม่แตกติ
สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์
และถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์มักจะอยู่ในช่องคลอด หรือบางรายจะออกมานอกช่องคลอด และถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
สาเหตุ
ทารกท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้นชนิดมีเท้ายื่นเป็นส่วนน า ท่าขวาง
ภาวะที่มีการผิดสัดส่วนของส่วนนำทารกกับช่องทางคลอด
การตั้งครรภ์แฝด / ครรภ์แฝดน้ำ
ทารกไม่ครบกำหนด
การตั้งครรภ์หลัง
การเจาะถุงน้ำหรือถุงน้ าแตกก่อนที่ส่วนนำจะลงสู่ช่องเชิงกราน
สายสะดือยาวกว่าปกติ
รกเกาะต่ำ หรือสายสะดือเกาะบริเวณริมขอบรก
อาการและอาการแสดง
คลำพบสายสะดือจากการตรวจภายใน
อาจจะจับได้ชีพจรบนสายสะดือเต้นเป็นจังหวะ
เห็นสายสะดือโผล่พ้นช่องคลอดออกมา
เสียงหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) อาจจะช่วยในการวินิจฉัยสายสะดือย้อยชนิด Forelying cord หรือ occult prolapsed cord
ผลกระทบ
ต่อมารดา
มีผลกระทบทางด้านจิตใจ
ของมารดาถ้าทารกในครรภ์เสียชีวิต
ต่อทารก
ทารกจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน
เนื่องจากสายสะดือถูกส่วนนำกดทับ
การรักษา
การช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน
จัดให้ผู้คลอดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าสายสะดือย้อย
นอนในท่านอนหงายยกก้นสูง
(Trendelenburg position)
นอนตะแคงยกก้นสูง
(Elevate Sim’s position)
นอนในท่าโก้งโค้ง
(Kneechest position)
สอดมือเข้าไปในช่องคลอด แล้วดันส่วนนำไว้ไม่ให้
ส่วนนำเคลื่อนลงมากดสายสะดือ
ให้ออกซิเจนแก่มารดา อาจจะทำให้ทารก
ได้รับออกซิเจนมากขึ้น
หากสายสะดือย้อยออกมานอกช่องคลอด
ให้ใช้ก๊อซชุบน้ าเกลือ NSSป้องกันไม่ให้สายสะดือแห้ง
ท าให้กระเพาะปัสสาวะโป่งตึงโดยการใส่น้ าเกลือปัสสาวะโป่งตัวขึ้นจะช่วยดันมดลูกและส่วนนำของทารก
การช่วยเหลือการคลอด
ถ้าทารกในครรภ์มีชีวิตอยู่ปากมดลูกเปิดหมด
ศีรษะทารกลงมาต่ำให้ช่วยคลอดด้วยคีม
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
กรณีที่ทารกในครรภ์เสียชีวิตคลอดทางช่องคลอด ยกเว้นกรณีที่มีการผิดสัดส่วน
Breech extractionกรณีที่เป็นท่าก้น ปากมดลูกเปิดหมด
ใช้เครื่องดึงสุญญากาศ
ในรายที่เป็นครรภ์หลัง
ในครรภ์หลังที่ปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 7-8 เซนติเมตรขึ้นไปชนิด Forelying cordท่าของทารกปกติมีความก้าวหน้าของการคลอดเร็วทารกไม่มีภาวะขาดออกซิเจนพยายาม
ไม่ให้ถุงน้ าแตก อาจจะรอเพื่อให้คลอดเองทางช่องคลอด
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1
เสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อย
เนื่องจากทารกอยู่ในท่าผิดปกต
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน
ให้การช่วยเหลือมารดา เพื่อความร่วมมือและคลาย
ความวิตกกังวลในมารดา
ตรวจภายในด้วยความนุ่มนวล
และระมัดระวังไม่ให้ถุงน้ำแตก
ในมารดาที่ทารกอยู่ในท่าผิดปกต
ฟังและบันทึกเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุก 1 ชั่วโมง ในระยะปากมดลูกเปิดช้า (latentphase) และทุก 30 นาที ในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (active phase) แต่ถ้าเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์มากกว่า 160 ครั้ง/นาที หรือน้อยกว่า 110 ครั้ง/นาที ต้องรายงานแพทย์
ให้มารดาสังเกตลักษณะของน้ าคร่ า หากมี thin หรือ thick meconium stainedจัดให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจนตรวจภายใน เพื่อประเมินภาวะสายสะดือย้อย และรายงานแพทย์เพื่อให้การ
ช่วยเหลือต่อไป
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2
เสี่ยงต่อการเกิดสายดือย้อย
เนื่องจากมีน้ าเดินก่อนการเจ็บครรภ์
อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนให้การช่วยเหลือมารดาเพื่อความร่วมมือและคลายความวิตกกังวลในมารดาที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อย เนื่องจากมีน้ าเดินก่อนการเจ็บครรภ์
ดูแลให้มารดานอนพักห้ามลุกจากเตียงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสายสะดือย้อย
ฟังและบันทึกเสียงหัวใจทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ทุก 30 นาที เพื่อประเมินภาวะสายสะดือย้อย