Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
ท่าทาง (posturing) ของเด็กในภาวะไม่รู้สึกตัว
Decorticate posturing
เด็กนอนหงาย งอเเขนทั้ง 2 ข้างเข้าหาตัว กำมือเเน่นเเละงอข้อมือทั้ง 2 ข้างส่วนขาทั้ง 2 ข้าง เหยียดปลายเท้าออกเเละงอปลายเท้าเข้าหากัน
พบในเด็กหมดสติที่มีการทำลายของเนื้อสมองส่วน cerebral cortex อย่างรุนเเรง
Decerebrate posturing
เด็กนอนหงายเเขนทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกเเละคร่ำเเขนลงบิดข้อมือออกด้านข้างขาทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกเเละเเยกออกจากกัน
พบในเด็กหมดสติที่สมองส่วน Midbrain ไม่สามารถทำงานได้ปกติ
ภาวะไม่รู้สึกตัว ร่วมกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ
อาการสำคัญ
ชักเกร็ง ซึม ไม่ดูดนม
กรณีที่1
ไม่มีไข้ เกิดจากสมองได้รับบาดเจ็บ (Head Injury) เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) โรคลมชัก (Epilepsy)
กรณีที่2
มีไข้ เกิดการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง สมองเเละไขสันหลัง (Meningitis ; Encephalitis;Tetanus)
กรณีที่ 3
มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียล มีอากการของ Febrile convulsion ชักจากไข้สูง
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)
ปัจจัยเสี่ยงของชักซ้ำ
1.อายุ โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการชักครั้งเเรกในช่วงอายุก่อน 1ปี
2.มีความผิดปกติของระบบประสาทก่อนมีอากราชัก
3.ประวัติการชักของสมาชิกในครอบครัว
4.ไข้ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อ
สาเหตุ
การติดเชื้อในระบบต่างๆที่ไม่ใช่ระบบประสาท เช่น ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ
อาการ
อาการชักเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส เกิดขึ้นภายใน 24 ชม.
ชนิดของการชักจากไข้สูง
Simple febrike seizuer
มีไข้ร่วมกับชัก ชักเเบบทั้งตัว(generalized seizure) ไม่เกิน 15 นาที ไม่มีการชักซ้ำ ก่อน-หลัง ชักไม่มีอาการทางระบบประสาท
Complex febrile seizure
การชักเเบบเฉพาะที่หรือทั้งตัวนานเกิน 15 นาที เกิดการชักซ้ำ หลังชักจะมีความผิดปกติทางระบบประสาท
มีอัตราเสี่ยงสูงที่เกิดโรคลมชัก
โรคลมชัก (Epilepsy)
ภาวะทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชักซ้ำๆอย่างน้อย 2ครั้งขึ้นไป เเละอาการชักครั้งที่ 2 ต้องห่างกันมากกว่า 24 ชม.เซลล์ประสาทสมองปล่อยคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ มีอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อลาย การรับความรู้สึก
อาการเเละอาการเเสดง
preictal period ระยะก่อนอาการชัก
อาการนำ
ไม่มีอาการจำเพาะระหว่างการเกิดจะไม่มีอาการเปลี่ยนเเปลงของคลื่นไฟฟ้าสมอง
อาการเตือน
มีอาการปวดชา เห็นภาพหลอนเป็นต้น
Ictal event ระยะที่เกิดอาการชักมีระยะเวลาตั้งเเต่วินาทีจนถึงนาทีมักจะไม่นานเกินครึ่งชั่วโมง
1.เกิดขึ้นทันทีทันใด เกิดในระยะเวลสั้นๆไม่เกิน 5 นาทีเเละหยุดเอง
2.เกิดขึ้นเองเเต่บางครั้งมีปัจจัยกระตุ้น
3.ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันทุกครั้ง
postictal peroid ระยะเวลาที่การชักสิ้นสุด
มีการเปลี่ยนเเปลงคลื่นไฟฟ้าสมองระยะนี้อาจเกิดนานหลายวินาทีถึงหลายวันก็ได้ส่วนใหญ่ไม่เกิน 24 ชม. มีอาการสับสน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
เป็นการอักเสบเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมองชั้นในสุดเเละอเเรคนอยด์ที่อยู่รอบๆสมองเเละไขสันหลังเเละเยื่อหุ้มสมองถูกทำลาย
เกิดจากการติดเชื้อเเบคทีเรีย 3 ตัว
Haemophilus influenzae
Neisseria meningitidis
Streptococcus peumoniae
อาการเเละอาการเเสดง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเเบคทีเรีย
มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนเเรง ปวดข้อ ชักเเละซึมลงจนหมดสติ มีอาการคอเเข็ง
ตรวจพบ Kernig sign เเละ Brudzinski sign ให้ผลบวก
การตรวจน้ำไขสันหลัง
ค่าปกติของน้ำไขสันหลังจะไมีสี
ความดันระหว่าง 75-180 มม. น้ำ
ไม่มีเม็ดเลือดเเดงเเละเม็ดเลือดขาว
โปรตีน 15-45 mg/100ml
กลูโคส 50-75 mg/100ml
คลอไรด์ 700 -750 mg/100ml
Culture & Latex agglutination
โรคไข้กาฬหลังเเอ่น(Meningococcal Meningitis)
เชื้อสาเหตุ
เชื้อเเบคทีเรีย Neisseria meningitides เชื้อเเบคทีเรียเเกรมลบรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว
ระยะติดต่อ
ผู้ที่สามารถเเพร่เชื้อได้ คือ ผู้ที่ไม่มีอาการ (พาหะ)เเละผุ้ป่วยสามารถเเพร่โรคได้จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในน้ำมูก น้ำลายเเล้ว
อาการเเละอาการเเสดง
ส่วนใหญ่มาด้วยอาการสำคัญ 2 อย่างได้เเก่
Meningococcemia
Acute Meningococcemia
อาการเกิดอย่างฉับพลัน มีอาการปวดศีรษะ เจ็บคอเเละไอ ปวดตามข้อเเละตามกล้ามเนื้อ
Chronic Meningococcemia
พบได้น้อย ส่วนใหญ่มักมีไข้ ผื่นตามผิวหนัง อาจเป็นผื่นเเดงจ้ำ ปวดเเละเจ็บข้ออยู่เป็นเดือน ไข้จะเป็นๆหายๆ
Fulminant Meningococcemia
เป็นอย่างรุนเเรง ระบบไหลเวียนโลหหิตไม่ทำงาน อาจช็อคถึงเสียชีวิตได้ อาการไข้สูงทันทีอ่อนเพลียมาก
Meningitis
มีไข้ ปวดศีรษะ คอเเข็ง ซึมเเละซับสน อาการจะเเย่ลงอย่างรวดเร็ว อาจพบอาการเเสดงถึงการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง
การรักษา
Glucocorticoid therapy
ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone / PGS /Chloramphenicol
การรักษาเเบบประคับประคองเเละตามอาการอื่นๆ
ภาวะน้ำคั่งในกระโหลกศีรษะ (Hydrocephalus)
อาการสำคัญ
ศีรษะโตเเต่กำเนิด กระหม่อมหน้าโปร่ง ศีรษะโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับทรวงอก (OF circumference>C ciecumference 2.5 cm. ) ปวดศีรษะ ซึม ไม่ดูดนม อาเจียนพุ่ง
อาการเเสดงทางคลินิก
1.หัวบาตร (Cranium enlargement)
2.ความดันในกระโหลกศีรษะสูง
3.หัวโตกว่าปกติเมื่อเทียบกับ Growth curve ปกติ
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา ยาขับปัสสาวะ
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย (Ventriculostomy)
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองสู่ช่องในร่างกายผ่าตัดใส่สายระบายจาก
โพรงสมองลงช่องท้อง(Ventriculo-atrial shunt)
โรคเเทรกซ้อนจาการผ่าตัด
1.การทำงานผิดปกติของสายระบายน้ำในโพรงสมอง (Shunt malfunction)มีการอุดตันหรือระบายมากเกิน
2.การติดเชื้อของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
3.การอุดตันสายระบายน้ำในโพรงสมอง
4.ภาวะระบายน้ำในโพรงสมองมากเกิน
5.ภาวะโพรงสมองตีบเเคบ
6.ภาวะเลือดออกในศีรษะเกิดเลือดออกในโพรงสมอง
7.ไตอักเสบ
Spina Bifida
เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังมีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลัง พบบ่อยที่สุดบริเวณ Lumbosacrum
เเบ่งเป็น 2 ชนิด
1.Spina bifida occulta
ผิดปกติกระดูกสันหลังส่วน Vetebral arches ไม่รวมตัวกันเกิดเป็นช่องโหว่ระหว่างเเนวกระดูกสันหลัง
2.Spina bifida cystica
ผิดปกติของการปิดของส่วนโค้งกระดูกสันหลังทำให้มีการยื่นของกระดูกสันหลังให้เห็นเป็นถุงหรือก้อน มี 2 ชนิด
Meningocele : ประกอบไปด้วยเยื่อหุ้มสมองน้ำไขสันหลัง ไม่มีเนื้อเยื่อประสาทไขสันหลัง ไม่เกิดอัมพาต
Myelomeningocele : กระดูกสันหลังผิดปกติ มีก้อนยื่นออกมา พบบ่อย อันตรายเเละเกิดความพิการ
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับสติปัญญาบกพร่อง
อาการสำคัญ
ไม่รู้สึกตัว เกร็งเมื่อกระตุ้น หายใจไม่มีประสิทธิภาพ การดูดกลืนบกพร่อง เลี้ยงไม่โต ข้อติดเเข็ง พัฒนาการล่าช้า
มีประวัติ สมองขาดออกซิเจน Cerebral palsy