Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.1 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
บทที่ 4.1 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์เกินกำหนด
การตั้งครรภ์เกินกำหนด (Postterm pregnancy, Prolonged pregnancy) หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม (294 วัน) หรือมากกว่า โดยเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (Last menstrual period : LMP)
สาเหตุ
ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ (Prepregnancy body mass index : BMI) ≥ 25 kg/m2
ครรภ์แรก (Nulliparity) พบได้มากกว่าครรภ์หลัง
มีประวัติเคยตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน
อายุของหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์เกินกำหนดสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า แต่หากหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ที่ตั้งครรภ์เกินกำหนด ทารกที่คลอดออกมามักมีลักษณะของการคลอดเกินกำหนดที่รุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อย
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ปัจจุบัน เช่น pre-eclampsia เลือดมาเลี้ยงที่มดลูกและรกมักไม่เพียงพอ เมื่อเกิดร่วมกับการตั้งครรภ์เกินกำหนด จะทำให้อัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้น
ลักษณะทารกที่คลอดจากครรภ์เกินกำหนด
รกเสื่อมสภาพ (Placental dysfunction)
ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (Fetal distress) และน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Fetal-Growth restriction)
ผลกระทบของการตั้งครรภ์เกินกำหนดต่อทารก
Morbidity and Mortality
ทารกตัวโตกว่าปกติ (Macrosomia)
ขี้เทาปนในน้ำคร่ำ และปัญหาการสำลักขี้เทา (Meconium staining and Pulmonary aspiration)
การตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ก่อนคลอด
Non stress test (NST)
Biophysical profile (BPP) หรือ Modified BPP
Contraction stress test (CST)
การวัดปริมาณน้ำคร่ำด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
การชักนำคลอด (Induction of labor)
ความพร้อมของปากมดลูก (Cervical ripening)
ระดับของส่วนนำ (Station of vertex)
การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
การตั้งครรภ์ในสตรีที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี โดยถืออายุ ณ เวลาที่คลอดบุตร ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น adolescents คือช่วงอายุ 15-19 ปี และ younger adolescents คือช่วงอายุ 10-14 ปี
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ปัจจัยทางด้านสังคมประชากร
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและเป็นประจำเดือนเร็วขึ้น
ทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลงไป
การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม
ผลกระทบของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ผลกระทบทางด้านร่างกาย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าการตั้งครรภ์ในหญิงที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมีได้ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การแท้งบุตรและการคลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบทางด้านจิตใจ เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมักจะมีอารมณ์แปรปรวนง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม
ผลกระทบด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม การตั้งครรภ์ในขณะวัยรุ่นยังอยู่ในวัยเรียน อาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน บางคนอาจหยุดการศึกษาไปเลย
ผลกระทบของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อบุตร หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ยังไม่พร้อมในการตั้งครรภ์ มักมีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาโดยการทำแท้ง หรือไปรับการฝากครรภ์ล่าช้าหรือไม่ได้รับการฝากครรภ์เลย จึงเป็นสาเหตุทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด
แนวทางการดูแลหรือการให้การพยาบาลมารดาวัยรุ่น
การประเมินพันธกิจของการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
การประเมินภาวะสุขภาพ จากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การประเมินความรู้พื้นฐาน ด้านความรู้และทัศนคติ
การประเมินระดับสนับสนุนทางสังคมของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
หญิงตั้งครรภ์อายุมาก (elderly pregnancy)
หญิงที่มีการตั้งครรภ์ที่มีอายุครบ 35 ปี ก่อนถึงวันกำหนดคลอด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในหญิงอายุมาก
ปัจจัยด้านสังคมประชากร ปัจจุบันพบว่าหญิงจำนวนมากมีเป้าหมายที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทำให้สตรีกลุ่มนี้มีการสมรสและการตั้งครรภ์ล่าช้า
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้คู่สมรสจำนวนมากรอจนกว่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคงก่อนที่จะมีบุตร
ปัจจัยด้านการแพทย์ ความก้าวหน้าและความสำเร็จเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่แก้ไขภาวะมีบุตรยาก ทำให้หญิงที่มีบุตรยากสามารถตั้งครรภ์ได้เมื่ออายุมากขึ้น
ผลกระทบของการตั้งครรภ์ในหญิงที่มีอายุมาก
การแท้งบุตร
การตั้งครรภ์แฝด
การเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์
การคลอดก่อนกำหนด
ปัญหาการคลอดยาก
การพยาบาล
การประเมินพัฒนกิจของการตั้งครรภ์
การประเมินภาวะสุขภาพ จากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การประเมินความรู้พื้นฐาน
การประเมินระบบสนับสนุนทางสังคม
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
ปัจจัยด้านพฤติกรรมการคุมกำเนิด ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
ปัจจัยด้านจิตสังคม เช่น การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการถูกข่มขืน การตั้งครรภ์ในวัยเรียน
ปัจจัยด้านชีวภาพ เช่น มารดาที่มีโรคแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์มีความพิการหรือมีความผิดปกติทางโครโมโซม
ปัจจัยด้านสังคมประชากร ได้แก่ ปัจจัยด้าน อายุ อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร
การพยาบาล
การประเมินทางการพยาบาล โดยการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
การประเมินพัฒนกิจของการตั้งครรภ์
การประเมินภาวะสุขภาพ
การประเมินความรู้พื้นฐาน
การประเมินการสนับสนุน
หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมารดาที่ติดสารเสพติดลักษณะจะคล้ายๆกับการตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์อื่นๆ