Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4.1.2 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ สำ - Coggle Diagram
บทที่4.1.2 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์
สำ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (Premature rupture of membrane :PROM)
การมีถุงน้ำรั่วหรือแตกก่อนเริ่มมีการเจ็บครรภ์ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงโดยไม่จำกัดอายุครรภ์ เรียกว่า PROM
สาเหตุ
ปากมดลูกปิดไม่สนิท(cervical incompetence) หรือปากมดลูกสั้น ความยาวของปากมดลูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิเมตร ซึ่งตรวจโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด(Murray, Mckinney & Gorrie, 2002:748)
ปัจจัยส่วนบุคคลหรือพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ เช่น มีเศรษฐานะต่ำ สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน รับประทานอาหารไม่ถูกต้องกับภาวะโภชนาการ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินซี มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งในระยะตั้งครรภ์
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ(chorioamnionitis) ที่เกิดก่อนแล้ว อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
มีการอักเสบติดเชื้อที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด เช่น สเตปโตคอดคัส กลุ่มบี(group B streptococous) ซึ่งเป็นเชื้อสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์(perinatal infection) ในมารดาและทารก
ครรภ์แฝด(twins) และครรภ์แฝดน้ำ(hydramnios) ทำให้มดลูกมีความตึงตัวสูงจึงอาจทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรคทารกก่อนคลอด เช่น การเจาะถุงน้ำคร่ำ
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง ส่วนนำ หรือ ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานมารดา ทำให้ส่วนนำผิดที่ส่วนล่างของเชิงกรานไม่สนิท เมื่อมีแรงดันเกิดขึ้นในโพรงมดลูก แรงดันนั้นจะผ่านมาที่ถุงน้ำคร่ำส่วนล่างทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกได้
รกลอดตัวก่อนกำหนด(abruptio placenta) หรือรกเกาะต่ำ(placenta previa
การวินิจฉัย
การซักประวัติ มีประวัติน้ำไหลออกจากช่องคลอดก่อนเข้าสู่ระยะคลอด ซึ่งต้องวินิจฉัยแยกจากน้ำที่เกิดจากการอักเสบในช่องคลอดหรือน้ำปัสสาวะ
การตรวจร่างกาย (Speculum เห็นน้ำคร่ำไหลจากปากมดลูกซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุดโดยใช้สเปคคูลัม (speculum examination) พบมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณแอ่งหลังของช่องคลอด(posterior fornix) หรือ เมื่อกดบริเวณยอดมดลูกลงมาพร้อมกับให้ผู้คลอดเบ่ง หรือไอ(cough test)จะเห็นน้ำไหลออกจากปากมดลูก (หลีกเลี่ยงการใส่นิ้วมือตรวจในช่องคลอดและปากมดลูก )
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แนวทางการรักษา
ในรายที่มีการติดเชื้อ รักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์และคลอดโดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุครรภ์ โดยการใช้ออกซิโตซิน(oxytocin) หยดเข้าหลอดโลหิตดำ ถ้าไม่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอดให้คลอดทางช่องคลอดได้ แต่เมื่อให้oxytocin แล้วยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์และถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วมานานมากกว่า 48 ชั่วโมง ควรผ่าตัดนำเด็กออกทางหน้าท้อง(cesarean section) เพื่อป้องกันอันตรายจากการติดเชื้อ ทั้งนี้เพราะการคลอดที่เกิดภายหลังถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกนานเกิน 18-24 ชั่วโมงมีอัตราการติดเชื้อสูงควรพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ
ในรายที่ไม่มีการติดเชื้อ พิจารณาให้การรักษาโดยการคำนึงถึงอายุครรภ์ ดังนี้
2.1 อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ให้การรักษาแบบประคับประคอง(conservative) โดยให้สตรีตั้งครรภ์นอนพักในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อโดยการตรวจเลือดหาส่วนประกอบของเลือด( complete blood count:CBC) เพื่อดูจำนวนเกล็ดเลือดร่วมทั้งจำนวนเม็ดเลือดขาว ดูการทำหน้าที่ของปอดของทารกในครรภ์ วัดความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิและฟังเสียงหัวใจทารกทุก 4 ชั่วโมง งดการตรวจทางช่องคลอดเพื่อลดโอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อ จนเมื่ออายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ และไม่มีการติดเชื้อจึงจะกระตุ้นให้เกิดการคลอด
2.2 อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ปล่อยคลอด และควรให้คลอดภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจต้องให้ยากระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ร่วมด้วย ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามของการให้ออกซิโทซิน แต่ถ้ากระตุ้นไม่ได้ผลควรทำผ่าตัดนำเด็กออกทางหน้าท้อง
การให้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) เช่น เด็กซาเมธาโซน(dexamethasone)
อาการและอาการแสดง
ประวัติ น้ำไหลออกทางช่องคลอด
สัญญาณชีพ เปลี่ยนแปลง กรณีมีการติดเชื้อในโพรงมดลูกร่วม ได้แก่ ชีพจรเร็ว มีไข้มากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส
น้ำคร่ำสีขุ่น มีกลิ่นเหม็น
CBC พบ เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ
กดเจ็บที่มดลูก
อุลตราซาวนด์ พบน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ หรือลดลง
FHS น้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที กรณีสายสะดือถูกกดจากภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligo hydramnios)
กรณีน้ำคร่ำรั่วบ่อยๆ จนเกิดภาวะ Oligohydramnios อาจเกิดการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ร่วมด้วย
อาจเกิดระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
การพยาบาล
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
2.1 เป็นการประเมินอายุครรภ์เพื่อให้ได้อายุครรภ์ที่แน่นอน โดยอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน เช่น ใช้วิธีการคำนวณกำหนดคลอดโดยใช้กฎของเนเกลเล (Nagele’s rule)
2.2 คลำได้ส่วนของทารกชัดเจนและหรือตรวจพบทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ
2.3 ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
2.4 ตรวจบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ พบว่าเปียกชื้น มีน้ำไหลออกมา
2.5 ตรวจวัดสัญญาณชีพ เช่น ถ้าร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกิน 37.8 องศาเซลเซียส ชีพจรมากกว่า 100 ครั้ง/นาที แสดงว่ามีการติดเชื้อ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1ผลการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง(ultrasound) และหรือ ผลการทดสอบความสมบูรณ์ของการทำหน้าที่ของปอดทารกในครรภ์ โดยการเจาะหน้าท้องเพื่อนำน้ำคร่ำส่งตรวจ(Shake test) พบว่ายังไม่ครบกำหนดคลอดและปอดทารกยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
3.2 ผลของการนำน้ำในช่องคลอดหรือที่ปากมดลูกไปทดสอบด้วยกระดาษไนตราซีน(nitrazine test ) พบว่ากระดาษเปลี่ยนเป็นสีฟ้าหม่น หรือสีกรมท่า
3.3 ผลการตรวจดูผลึกของน้ำคร่ำที่นำมาป้ายลงบนแผ่สไลด์ แล้วทิ้งให้แห้งส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าตกผลึกเป็นรูปใบเฟิร์น
ภาวะปริมาณน้ำคร่ำผิดปกติ
การสร้างน้ำคร่ำในแต่ละวัน ประกอบด้วย transudate จากผิวหนังทารกและรก สารน้ำจากทางเดินหายใจ ซึ่งมีปริมาณ 100 มล.ต่อวัน ปัสสาวะของทารกในครรภ์ประมาณ 7-10 มล./กก./ชม. และน้ำคร่ำจะลดลงโดยการกลืนของทารกในอัตราที่มากถึง 1 ลิตร/วัน ปริมาณน้ำคร่ำขึ้นกับความสมดุลในการไหลเวียน โดยมีส่วนเกี่ยวข้องหลัก ๆ คือการกลืนของทารกและการขับปัสสาวะ
การวัดปริมาณน้ำคร่ำ
วัดด้วยความรู้สึก (subjective) เป็นการแปลผลด้วยประสบการณ์ของผู้ตรวจว่ามีน้ำคร่ำมาก น้อย หรือปกติ โดยทั่วไปถือว่าถ้าเห็นน้ำคร่ำล้อมรอบตัวทารกทั้งหมดก็แสดงว่าเพียงพอ วิธีนี้มีข้อดีที่ใช้เวลาน้อย แต่ต้องอาศัยทักษะ และมีความแปรปรวนระหว่างบุคคลได้มาก
วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ (single deepest pocket, SDP หรือ maximum vertical pocket, MVP) ตรวจหาตำแหน่งของแอ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ไม่มีสายสะดือหรือตัวเด็กอยู่ให้วัดในแนวดิ่ง โดยต้องมีที่ว่างในแนวนอนอย่างน้อย 1 ซม ถ้ามีขนาด 2 ซม หรือน้อยกว่า ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios) ถ้ามีแอ่งใหญ่เกิน 8 ซม. ถือว่าเป็นครรภ์แฝดน้ำ (polyhydramnios) ถ้าอยู่ระหว่าง 2.1-8 ซม ถือว่าปกติ
ดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ (amniotic fluid index, AFI) ค่านี้ได้จากการผลรวมของค่าที่ได้จากการวัดแอ่งน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดจากการแบ่งหน้าท้องมารดาเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กันโดยอาศัยแนวของสะดือและ linea nigra ถ้าน้อยกว่า 5 ซม.ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย ถ้ามากกว่า 25 ซม.ถือว่าเป็นครรภ์แฝดน้ำ เกณฑ์ที่ใช้อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยตามแต่ละสถาบัน เช่น AFI น้อยกว่า 6 หรือ 7 ในการวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือ มากกว่า ในการวินิจฉัยครรภ์แฝดน้ำ
ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติหรือครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios)
สาเหตุ
1) สาเหตุที่เกี่ยวกับทารก (ร้อยละ 20) โดยแบ่งออกเป็นความพิการของทารก ซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการกลืนของทารกตั้งแต่ความผิดปกติของระบบประสาทลงมาถึงการอุดกั้นของทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่ มีปัญหาในการกลืนน้ำคร่ำ ทารกไม่มีกะโหลก (anencephaly) เนื้องอกที่หน้า (epinagthus), ปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip / palate) และการตีบตันของทางเดินอาหาร เช่น หลอดอาหาร หรือดูโอดีนั่มตีบตัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น spina bifida myotonic dystrophy นอกจากนี้ยังมีภาวะไส้เลื่อนกระบังลม (diaphragmatic hernia) เป็นต้นความผิดปกติอื่น ๆ เช่น trisomy 18, ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
2) สาเหตุที่เกี่ยวกับมารดา (ร้อยละ 20) ได้แก่ มารดาเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะในรายที่ควบคุมไม่ดีซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 25 ทารกในครรภ์จะมีภาวะ hyperglycemia ส่งผลต่อระบบ osmotic ทำให้สร้างปัสสาวะมากขึ้น ( polyuria ) และถ้าทารกมีภาวะ macrosomia จะมีการเพิ่มขึ้นของ cardiac output และ ปริมาตรของเลือดในร่างกาย ส่งผลให้ glomerular filtration rate เพิ่มขึ้น
3) สาเหตุที่เกี่ยวกับรก เช่น เนื้องอกของรก chorioangioma
4) ไม่ทราบสาเหตุ เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด
การวินิจฉัยและการตรวจค้น
การวินิจฉัยจากประวัติการโตเร็วของมดลูก อาการผิดปกติที่เกิดจากการกดเบียด หรือ ผลจากการตึงตัวของมดลูกจาก over distension ต่ออวัยวะใกล้เคียงเช่น ผลต่อระบบการหายใจทำให้หายใจลำบาก
การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกาย
การวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวด์
ผลกระทบ
ภาวะครรภ์แฝดน้ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ที่สัมพันธ์กับการขยายขนาดของมดลูก(uterine over distention) เช่น มารดาหายใจลำบาก คลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อน
การรักษา
การดูดน้ำคร่ำออก (amnioreduction)
การรักษาด้วยยา
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
สาเหตุ
ทารกในครรภ์มีความผิดปกติของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไตตีบ มีถุงน้ำในท่อไต มีการอุดตันของทางออกกระเพาะปัสสาวะ
ความผิดปกติของโครโมโซม
รกเสื่อมสภาพ
ทากเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การรั่วของน้ำคร่ำก่อนกำหนดเป็นเวลานาน
การใช้ยาขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ยากลุ่ม prostaglandin synthase inhibitor
การวินิจฉัยจากประวัติและตรวจร่างกาย
ภาวะน้ำคร่ำน้อยมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติแก่มารดา บางครั้งจึงวินิจฉัยได้ยากก่อนคลอด นอกจากบางรายที่ให้ประวัติว่ามีน้ำเดินทางช่องคลอด มดลูกไม่ค่อยโตขึ้น ความสูงของมดลูกน้อยกว่าอายุครรภ์ การตรวจทางหน้าท้องจะคลำได้ส่วนของทารกได้ง่าย
การวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
สามารถประเมินในเชิงคุณภาพ ซึ่งบอกได้เพียงว่าปกติหรือลดลง และเชิงปริมาณซึ่งวิธีที่ใช้บ่อยคือ วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ(Single deepest pocket, SDP) ได้ 2 ซม. หรือน้อยกว่า หรือ วัดดัชนีน้ำคร่ำ (Amniotic fluid index, AFI)ได้ 5-8 ซม. หรือน้อยกว่า
การรักษา
การรักษาขึ้นกับสาเหตุ รายที่สัมพันธ์กับความพิการรุนแรงมักจะแนะนำให้เลือกยุติการตั้งครรภ์ รายที่มีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ที่เกิดจาก UPI มักจะเน้นการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์และให้คลอดในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยทั่วไปไม่มีการรักษาในระยะยาว แต่สามารถเพิ่มปริมาณน้ำคร่ำได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มีรายงานการให้ พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณน้ำคร่ำได้
ภาวะน้ำคร่ำอุดตัน (Amniotic Fluid Embolism ,AFE)
พยาธิสรีรวิทยา
กลไกสำคัญของโรคเชื่อว่าเป็นปฏิกิริยา anaphylaxis ต่อองค์ประกอบของน้ำคร่ำที่เข้าไปและช็อค ตามมา มากกว่าที่จะเป็นการอุดตันโดยสารจากน้ำคร่ำ (เซลล์ผิวหนัง trophoblast เป็นต้น) แต่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อสาร mediator โดยเฉพาะ leukotriene เกิด vasospasm แบบปฏิกิริยาภูมิแพ้พยาธิสรีรวิทยาของภาวะน้ำคร่ำอุดตันพอจะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ระยะแรก เมื่อน้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือดในบริเวณปอดจะก่อให้เกิดการหดเกร็งของหลอดเลือดและเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในปอด (pulmonary hypertension) ร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง ระยะต่อมาจะเกิดภาวะล้มเหลวของระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยมี left ventricular failure เป็นกลไกสำคัญ ทำให้เกิดปอดบวมน้ำ และมี pulmonary capillary wedge pressure เพิ่มสูงขึ้นตามมา
อาการและอาการแสดง
การเกิดภาวะ AFE จะต้องมีสามองค์ประกอบด้วยกันคือ ถุงน้ำคร่ำต้องแตกแล้วและมีทางติดต่อกันของน้ำคร่ำกับเส้นเลือดมารดา โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกช่วยขับน้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือด มารดาเริ่มมีการเจ็บครรภ์ จะมีหายใจหอบเหนื่อย ความดันโลหิตลดต่ำ ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง อาจรุนแรงทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ มีผลให้ทารกขาดออกซิเจน นอกจากนี้ภาวะดังกล่าวยังพบได้บ่อยในสตรีครรภ์หลัง ๆ ที่มีอายุมาก และทารกมีขนาดใหญ่ การให้ยา oxytocin หรือภาวะมดลูกหดรัดตัวอย่างรุนแรง ไม่ได้เป็นสาเหตุชักนำให้เกิดภาวะ AFE แต่กลับช่วยลดเวลาที่น้ำคร่ำรั่วเข้าสู่กระแสเลือดของมารดาลง ทั้งนี้เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกทุกครั้งจะทำให้เส้นเลือดที่มดลูกหดรัดตัวตามไปด้วย มีโอกาสเกิดได้ในช่วงเจ็บครรภ์ จนถึง 48 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ร้อยละ 70 เกิดในช่วงก่อนคลอด อาจเกิดตามหลังการทำหัตถการต่าง ๆ เช่น ทำแท้ง เจาะน้ำคร่ำ เติมน้ำคร่ำ การกระแทกหรือบาดเจ็บที่ท้อง ถอดไหมที่เย็บปากมดลูก หรือการล้วงรก
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Fetal Growth Restriction or Intrauterine growth restriction)
การจำแนก
Symmetrical IUGRทารกในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้าในทุกอวัยวะ ซึ่งความผิดปกติมักเกิดตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ โดยอาจเป็นผลจากการได้รับสารเคมี การติดเชื้อไวรัส หรือรวมไปถึงการที่มีโครโมโซมผิดปกติ ทำให้เกิดการลดลงของทั้ง cell number and size
Asymmetrical IUGR
ทารกในกลุ่มนี้จะมีขนาดเล็กในทุกระบบอวัยวะ ยกเว้นขนาดศีรษะที่ปกติหรือมีผลกระทบน้อยกว่าส่วนอื่นๆ โดยสาเหตุในกลุ่มนี้มักเกิดในช่วงระยะท้ายของการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะ placental insufficiency จากภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อเฉพาะ cell size เท่านั้น จากภาวะนี้ทำให้ทารกมีการปรับตัว เกิดภาวะ brain sparing phenomenon ขึ้น
Combined type
หมายถึง ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าแบบผสมผสาน ซึ่งการเกิดภาวะแบบนี้จะมีผลต่อทารกในครรภ์มากกว่าทั้งขณะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอด
สาเหตุ
สาเหตุจากมารดา
สาเหตุจากตัวทารก
สาเหตุจากรก
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย (Physical examination)
แม้ว่าจะมีบางรายงานกล่าวว่าการวัด fundal height จะไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนเพียงพอในการคัดกรองภาวะทารกโตช้าในครรภ์ แต่ทาง ACOG ก็แนะนำให้ใช้การวัดความสูงของยอดมดลูก (fundal height) ระหว่าง GA 24-38 weeks
การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) โดยทำทุก 3-4 สัปดาห์ (ไม่ถี่กว่าทุก 2 สัปดาห์)
การวัดค่า parameter ต่างๆ
การวินิจฉัยหลังคลอด
ทำโดยการเทียบน้ำหนักคลอดกับค่ามาตรฐานในแต่ละอายุครรภ์ โดยใช้ค่าน้ำหนักที่ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นไทล์ อย่างไรก็ตามหากใช้วิธีนี้ในรายที่เป็น constitutional small อาจถูกวินิจฉัยเป็น IUGR ด้วย ทางกุมารแพทย์จึงมีการใช้การวัดสัดส่วนทารกมาช่วยในการวินิจฉัย
แนวทางการดูแลรักษา
ปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ guideline ในเรื่องความถี่ของการตรวจสุขภาพติดตามทารกในระยะฝากครรภ์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ดังนั้นควรใช้ clinical judgment ร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้ว หากการตรวจ biophysical profile (BPP) ปกติร่วมกับการตรวจ Doppler end-diastolic flow ปกติ การตรวจสุขภาพทารกเพียงสัปดาห์ละครั้ง หรือเว้นสัปดาห์ก็เพียงพอ