Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4.1 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
บทที่4.1 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis gravidarum)
เป็นส่วนหนึ่งของอาการที่เรียกว่าแพ้ท้อง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปกติพบในช่วงไตรมาสแรกของของการตั้งครรภ์ เริ่มมีอาการประมาณปลายสัปดาห์ที่ 4-6 อาการดีขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์
สาเหตุ
ระดับของฮอร์โมนที่สร้างจากรก Human chorionic gonadotropin และ estrogen สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเดือนแรกๆของการตั้งครรภ์ และทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก
ผลของฮอร์โมน Progesterone ทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง อาหารคั่งค้างอยู่นาน ยิ่งกระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ มีผลทำให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้
สภาพจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ไม่ปกติ เช่น สตรีตั้งครรภ์กลัวการคลอดบุตร ไม่อยากตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจและครอบครัว ก็อาจแสดงโดยการคลื่นไส้ อาเจียน ตรงกันข้ามสตรีตั้งครรภ์ที่อยากมีบุตรหรือดีใจมากไปก็อาจมีอาการแพ้ท้องมากเช่นกัน
ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน
ปัจจัยส่งเสริม
อายุน้อย ครรภ์แรก
การตั้งครรภ์แฝด ซึ่งรกใหญ่กว่าปกติ
ครรภ์ไข่ปลาอุก ซึ่งรกเจริญผิดปกติแต่ไม่มีตัวเด็ก
เคยมีประวัติ คลื่นไส้ อาเจียน ในขณะตั้งครรภ์ก่อน
มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต
เป็นสตรีที่มีลักษณะอารมณ์ตึงเครียดมาก่อน
พยาธิสภาพ การเกิดภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรง มีการดำเนินเช่นเดียวกับอาการอาเจียนโดยทั่วไป
ผลต่อมารดาและทารก
ทางชีวภาพ มีไข้ ขาดน้ำ น้ำหนักตัวลด มีอาการขาดสารอาหาร
ผิวหนัง แห้งแตก ความตึงตัวและความยืดหยุ่นไม่ดี อาจตัวเหลือง
ตาเหลือง ขุ่นลึก มองภาพไม่ชัดเจน
ช่องปากและทางเดินอาหาร ลิ้นเป็นฝ้า ขุ่น หนา แตกเป็นแผลมีเลือดออกที่เยื่อบุช่องปาก ท้องผูก
อาการและการตรวจพบ
น้ำหนักตัวลดจากการขาดอาหารและน้ำ ท้องผูก
ภาวะขาดน้ำ ผิวหนังเหี่ยว ซีด เป็นมัน
Ketoacidosis
สิ่งตรวจพบจากเลือด ระดับฮีมาโตคริตจะเพิ่มเพราะน้ำเลือดเข้มขึ้น
การตรวจพบอย่างอื่น ในระยะสุดท้ายอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ตัวเหลือง อาจจะอาเจียนเป็นเลือดได้
การดูแลรักษา
ให้ดื่มของอุ่นๆ ทันทีที่ตื่นนอน เช่น นมชง โอวัลตินหรือน้ำอุ่น ประมาณครึ่งถึงหนึ่งถ้วย แล้วนอนต่อ
อีกประมาณ 15 นาที ก่อนจะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ทั้งนี้เพื่อมิให้กระเพาะอาหารว่างเปล่า อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากขึ้น ในช่วงเช้าที่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติค มีความตึงตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหารบีบตัวมากขึ้นกว่าปกติ
แนะนำให้รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปังปิ้ง หรือขนมปังแครกเกอร์ อาหารที่มีกลิ่น
หรืออาหารที่ทอดมีไขมันมากควรงดเว้น ระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ไม่ควรดื่มน้ำร่วม แต่ควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง
การตั้งครรภ์แฝด (Multiple pregnancy)
การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป การเรียกชื่อจึงแตกต่างกันออกไป แล้วแต่จำนวนทารก ได้แก่ แฝดคู่ (Twins) แฝดสาม (Triplets) แฝดสี่ (Quadruplets) แฝดห้า (Quintuplets) แฝดหก (Sextuplets)
สาเหตุ
กรรมพันธุ์ (Heredity)
เชื้อชาติ (Race) ชาวนิโกร (ผิวดำ)
อายุและจำนวนครั้งของการคลอดบุตร
ภาวะทุพโภชนาการอาจลดการเกิดครรภ์แฝด
ยากระตุ้นดารตกไข่
ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ความสูงของร่างกายซึ่งพบว่าคนสูงจะมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น
การวินิจฉัย
ประวัติ เช่น มีประวัติครรภ์แฝดในครอบครัว
การตรวจร่างกายและหน้าท้อง
2.1 น้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ
2.2 มีอาการบวมมากโดยเฉพาะที่ขา
2.3 ขนาดมดลูกโตมากกว่าระยะของการขาดประจำเดือน
2.4 คลำพบได้ Ballottement หรือคลำได้ทารกมากกว่าหนึ่งคน
2.5 คลำได้ส่วนเล็ก (Small part) มากกว่าธรรมดา
2.6 คลำได้ส่วนใหญ่ (large part) สามแห่งหรือมากกว่า
2.7 พบมีครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios)
2.8 ฟังเสียงหัวใจทารกได้ 2 แห่ง
ภาวะแทรกซ้อนในมารดา
โลหิตจาง (Anemia)
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Gestation hypertension)
การคลอดก่อนกำหนด (Premature labor)
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอด
Vasa previa
รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placentae)
การดูแลสุขภาพสตรีตั้งครรภ์แฝด
ระยะตั้งครรภ์ แนะนำให้มาฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกของการตั้งครรภ์ และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง เพื่อป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อน
2 . ระยะคลอด ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดโดยการผ่อนคลาย นวด ลูบหน้าท้อง การควบคุมการหายใจ
ระยะหลังคลอด เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด โดยประเมินชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต การหดรัดตัวของมดลูก
ทารกตายในครรภ์ (Dead fetus in utero)
สาเหตุที่ทำให้ทารกตายในครรภ์
โรคที่เกิดเนื่องจากการตั้งครรภ์ ได้แก่ preeclampsia หรือ eclampsia รกเกาะตํ่าและรกลอกตัวก่อนกำหนด
2 .โรคที่เกิดร่วมกับการตั้งครรภ์ ได้แก่ เบาหวาน ภาวะโลหิตจาง
โรคติดเชื้อ ได้แก่ มาลาเรีย ไทฟอยด์ ปอดบวม หัดเยอรมัน เริม และคางทูม
ภาวะผิดปกติของทารก ได้แก่ IUGR , hydrops fetalis
อาการและอาการแสดง
1.หญิงตั้งครรภ์ให้ประวัติว่าเด็กไม่ดิ้น มีเลือดหรือมีน้ำสีน้ำตาลออกทางช่อง น้ำหนัก ตัวลดลง เต้านมดัดตึงน้อยลง นุ่มและเล็กลง
2.ตรวจหน้าท้อง พบระดับมดลูกตํ่ากว่าอายุครรภ์
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย HF < GA , ฟัง FHS ไม่ได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ Spalding’s sign Deuel sign
แนวทางการรักษา
รอให้เจ็บครรภ์และคลอดเอง
การทำให้ครรภ์สิ้นสุดลง
ในรายที่มีภาวะเลือดไม่แข็งตัว การใช้ heparin จะได้ผลดี
การพยาบาล
ประเมินความเศร้าโศกของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวโดยซักถามความรู้สึก
2.ประเมินประสบการณ์ การแก้ปัญหา
ประเมินระบบสนับสนุน ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labour)
สาเหตุของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การติดเชื้อของน้ำคร่ำ
ความผิดปกติของทารกหรือรก
เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งในระยะหลังของการตั้งครรภ์
มดลูกขยายโตกว่าปกติ มักพบจากการตั้งครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
กลไกการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหน
กล้ามเนื้อมดลูก (myometrium) จากการกระตุ้นของฮอร์โมน progesterone, estrogen และการยืดขยายของมดลูก
ปากมดลูก (cervix) ในระยะใกล้คลอดส่วนประกอบที่สำคัญของปากมดลูก คือ collagen fibers
ฮอร์โมน progesterone และฮอร์โมน estrogen เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดพบว่าฮอร์โมน progesterone มีระดับลดลง
ฮอร์โมน oxytocin ปกติที่เยื่อหุ้มเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกมีตัวรับ oxytocin (oxytocin receptor) ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น
ฮอร์โมน prostaglandin ออกฤทธิ์ให้มดลูกหดรัดตัว กระตุ้นการสร้างการเชื่อมต่อกันของเซลล์กล้ามเนื้อ และส่งเสริมการออกฤทธิ์ของ oxytocin
การตรวจหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
อายุน้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
ตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา
น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ และเพิ่มน้อยในระยะตั้งครรภ์
สูบบุหรี่และใช้สารเสพติด เช่น โคเคน เฮโรอีน
เคยมีประวัติแท้ง โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในไตรมาสที่ 2 หรือไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
มีการอักเสบ ติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
มดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้นเรื่อยๆ ก่อนครบกำหนดคลอด
ครรภ์แฝด
มีฮีโมโกลบินน้อยกว่า 9 กรัม/100 มิลลิลิตร
คอมกลูกส่วนในเปิดมากกว่าหรือเท่ากับ 1 นิ้วมือ เมื่ออายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์
มีประวัติคลอดก่อนกำหนด
มีประวัติทารกตายในครรภ์ หรือตายในระยะแรกเกิด
แนวทางการรักษาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ตรวจหาข้อห้ามสำหรับดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ
สังเกตภาวะการหดรัดตัวของมดลูก
การยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด( Tocolysis )
การยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นการระงับหรือยับยั้งการคลอดให้ มีการตั้งครรภ์ต่อไป จนกว่าอายุครรภ์จะครบกำหนดคลอดเท่ากับหรือมากกว่า37สัปดาห์ จากที่ได้ กล่าวไว้ว่า การคลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุของอัตราการตายคลอดและพิการของทารกแรกเกิด สูงถึง 75 - 85 % หรืออาจจะกล่าวได้ว่าประมาณ 10 % ของการคลอด ทั้งหมด
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
เพื่อช่วยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนดคลอด
เพื่อลดอุบัติการณ์ การตายและทุพพลภาพของทารกแรกเกิด