Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
APH (Antepartum Hemorrhage) ภาวะตกเลือดก่อนคลอด - Coggle Diagram
APH (Antepartum Hemorrhage) ภาวะตกเลือดก่อนคลอด
การประเมินและรักษาขั้นต้น
ประเมินสภาวะและกู้ชีพมารดาก่อนทารกเสมอ (โดยพิจารณาตามปริมาณการเสียเลือด) ได้แก่
ตรวจสัญญาณชีพ และปริมาณปัสสาวะ (อาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะถ้าเสียเลือดมาก)
เปิดเส้นเลือดด้วยเข็มเบอร์ใหญ่ (ขนาดเข็มเบอร์ 18 เป็นอย่างน้อย)
ให้น้ำเกลือชนิด crystalloid (Ringer lactate Solution หรือ 0.9% Normal saline solution)
ให้ออกซิเจน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เช่น CBC / Platelets, Cross match, PT / PTT
การประเมินสาเหตุ
วินิจฉัยแยกโรคเบื้องต้นจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย
ห้ามตรวจภายในและห้ามตรวจทางทวารหนัก ถ้ายังไม่แน่ใจว่ามีภาวะรกเกาะต่ำหรือไม่
การตรวจอัลตราซาวด์ (ช่วยวินิจฉัยรกเกาะต่ำ และรกลอกตัวก่อนกำหนดในบางราย)
ตรวจภายในหารอยโรคเฉพาะที่ (ในกรณีที่ไม่มีรกเกาะต่ำ)
ประเมินสภาวะทารกในครรภ์ :
การตรวจอัลตราซาวด์อย่างรวดเร็วเพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจทารก
การทำ FHR monitoring เช่น Non stress test (NST) ในกรณีสภาวะมารดาคงที่
ภาวะตกเลือดก่อนคลอด หมายถึง การมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังพ้นระยะแท้ง (ส่วนใหญ่นับตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์) เกิดจากสาเหตุดังแสดงในตารางที่ 1 ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะสาเหตุที่พบได้บ่อย และทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อมารดาและทารก ได้แก่ รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด มดลูกแตก และการแตกของ vasa previa
แบ่งเป็น2ระยะ
ระยะครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ คือ 20 สัปดาห์แรก มักเกิดจากแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก และการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
ระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
คือ 20 สัปดาห์หลัง มักเกิดจากภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
สาเหตุของภาวะตกเลือดก่อนคลอด
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ (obstetric causes)
รกเกาะต่ำ (placenta previa)
รกลอกตัวก่อนกำหนด (placental abruption)
มดลูกแตก (uterine rupture)
การแตกของ vasa previa
Excessive bloody show
สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ (non-obstetric causes)
เส้นเลือดขอดช่องคลอดแตก (varicose veins rupture)
รอยโรคหรือแผลที่ปากมดลูก (cervical lesion)
ปากมดลูกหรือผนังช่องคลอดอักเสบ (infection)
มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer)
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะตกเลือดก่อนคลอด
1.สังเกตอาการตั้งแต่ขณะเริ่มมีเลือดออกทางช่องคลอด ระยะเวลา จำนวนและลักษณะของเลือดที่ออกว่าเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีเศษเนื้อเยื่อหรือชิ้นเนื้อปน หรือมีมูกปน
มีเลือดไหลตลอดเวลา หรือไหลกระปริบกระปรอย มีอาการไม่สุขสบายร่วมด้วยหรือไม่ เช่น อาการปวดท้อง ปวดบิด หรือปวดตื้อๆ หรือปวดเฉียบพลัน หรือมีอาการเวียนศีรษะ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าว ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
เข้มงวดกับการนอนพักลดการกระเทือนจากการเคลื่อนไหวเมื่อเลือดหยุดไหลแล้วยังจำเป็นต้องจำกัดกิจกรรมต่างๆเป็นเวลาหลายวัน
ไม่ทำงานหนักเกินไป ไม่เดินทางไกลๆติดต่อกันเป็นเวลานานๆ และไม่ออกกำลังกายหักโหม
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลังเลือดหยุดไหลแล้วอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์
และห้ามสวนอุจจาระ หรือสวนล้างช่องคลอด เพราะจะกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ส่งเสริมภาวะสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และได้สัดส่วน เพื่อป้องกันภาวะเลือดจาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีธาตุเหล็ก โปแตสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว ไข่ นม งดสูบบุหรี่ งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการติดเชื้อ
โดยการดูแลความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกมากขึ้น มดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น มีอาการปวดท้อง
มีน้ำคร่ำซึมออกมาทางช่องคลอด หรือลูกดิ้นน้อยลง ควรมาพบแพทย์ทันที
มาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด