Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage), images (8), รกน้อย,…
ภาวะตกเลือดหลังคลอด
(Postpartum Hemorrhage)
ความหมาย
ภาวะที่มีการเสียเลือดหลังคลอดตั้งแต่ 500 มิลลิลิตรขึ้นไปหลังการคลอดระยะที่ 3 (ภายหลังรกคลอด) หรือเมื่อความเข้มข้นของเลือดลดลงร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว มีภาวะโลหิตจาง สูญเสียเลือดไม่ถึง 500 มิลลิลิตร ก็อาจจะช็อค
ชนิดของการตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Early or immediate postpartum hemorrhage) เป็นการตกเลือด
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง (Late or Delay postpartum hemorrhage) เป็นระยะที่เกิดขึ้นภายหลังคลอด 24 ชั่วโมงไปจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
การวินิจฉัย
ระยะเเรก/ปฐมภูมิ
ตรวจชิ้นส่วนของรกที่อาจค้างอยู่ โดยการตรวจรกที่คลอดแล้วอย่างละเอียดหรือการใช้มือตรวจภายในโพรงมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุการตกเลือดหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
เกิดเลือดคั่งที่เอ็นยึดมดลูกจะไม่ปรากฏเลือดไหลออกมาให้เห็นภายนอก
มดลูกปลิ้นพบว่า มีเลือดพุ่งออกมาให้เห็น อาจมีมีลิ่มเลือดสีแดงคล้ำปนออกมาด้วย
การฉีกขาดของหลอดเลือดฝอยไหลไม่หยุดตามจังหวะของซีพร
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี จะมีเลือดสีคล้ำลิ่มเลือดปน และจะหยุดเมื่อมดลูกหดรัดตัวดี
การฉีกขาดของช่องทางคลอด เลือดจะเป็นสีแดงสด
มีเศษรกค้าง
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี คลำมดลูกนุ่ม ไม่ตึงตัว มีเลือดคั่งอยู่ภายในโพรงมดลูก ระดับของมดลูกจะสูงและโต
การมีเลือดออกซึ่งอาจไหลออกมาให้เห็นทางช่องคลอดหรืออาจไม่มีเลือดออกมาให้เห็น
มีภาวะตกเลือด หน้าซีด ชีพจรเต้นเร็ว ระยะแรกจะหายใจเร็ว ต่อมาจะหายใจช้า ใจสั่น เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ความดันหิตต่ำ หมดสติ เสียชีวิต
ระยะหลัง/ทุติยภูมิ
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกทางช่องคลอด
อาการ คล้ายกับการตกเลือดหลังคลอด
เกิดอาการภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด
ผลของการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
ภูมิต้านทานโรคต่ำติดเชื้อได้ง่าย
เกิด Necrosis ของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Sheehan 's syndrome)
ภาวะซีด อ่อนเพลีย สุขภาพทรุดโทรม
สาเหตุ
ระยะเเรก/ปฐมภูมิ
การฉีกขาดของช่องทางคลอด (Trauma)
การคลอดเร็วผิดปกติทำให้ช่องทางคลอดปรับตัวหรือขยายตัวไม่ทันเกิดการฉีกขาด
การตัดเย็บที่ไม่ถูกวิธี
การทำคลอดและการช่วยคลอดที่ไม่ถูกต้อง ต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการ
มีปัญหาเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของทารก ทำให้เกิดมดลูกแตกได้
มดลูกบางกว่าปกติ ผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดหลายครั้ง เคยผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง แผลฉีกขาดที่เกิดที่มดลูกอาจฉีกที่ปากมดลูกและช่องคลอด
รกหรือเศษรกค้างภายในโพรงมดลูก (Tissue)
การมีรกค้าง
การมีเศษรกค้างปัจจัยเสริมให้มีเศษรกค้าง
ความผิดปกติของรก
การมีรกน้อย
การทำคลอดรกผิดวิธี
การหดรัดตัวของมดลูก (Tone)
การมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
การติดเชื้อของมดลูกทำให้มีการอักเสบบวมมีสารคัดหลั่งส่งผลให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
การคลอดยากหรือการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
มีภาวะทุพโภชนาการ โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง รวมทั้งมีประวัติการตกเลือด หรือการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การใช้ยาบางชนิด
การหดรัดตัวที่ไม่สม่ำเสมอของกล้ามเนื้อ ได้แก่ Hour-glass Contraction มดลูกส่วนบนมีการหดรัดตัว แต่ส่วนล่างอ่อนปวกเปียก เมื่อรกที่เกาะอยู่ที่ส่วนบนลอกตัวจะ ทำให้มีเลือดออกได้
คลอดบุตรหลายครั้งโดยเฉพาะมากกว่า 5 ครั้ง
Constriction ring มดลูกส่วนบนและส่วนล่างจะขวางกั้นรกไว้ แม้รกจะลอกตัวแล้ว โดยที่มดลูกส่วนบนมีการคลายตัวจึงมีเลือดออกได้และขังอยู่ในมดลูกส่วนบน
กล้ามเนื้อมดลูกมีการยืดขยายมากผิดปกติ
สาเหตุอื่นที่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก ได้แก่ มีก้อนเลือดหรือมีเศษรกค้างมีเนื้องอกในโพรงมดลูกหรือเคยได้รับการผ่าตัดมดลูก
การเจ็บครรภ์คลอดที่เนินนานหรือการคลอดเร็วเกินไป
ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (Thrombin)
ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติโรคเลือดต่างๆ
ระยะหลัง/ทุติยภูมิ
ภาวะติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด
มีก้อนเลือดหรือเศษรกค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก
สาเหตุร่วม ได้แก่ ภาวะมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกร่วมกับการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
เลือดออกจากแผลของมดลูกภายหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมะเร็งไข่ปลาอุก
การป้องกัน
ระยะคลอด
ทำคลอดในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 อย่างถูกต้อง
หลีกเลี่ยงการทำสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
ระวังการให้ยาแก้ปวด เพราะอาจเกิดผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจรกและช่องทางคลอดอย่างละเอียด
ดูแลไม่ให้เกิดการคลอดยาวนาน
ระยะหลังคลอด
ให้ Oxytocin ต่อภายหลังการคลอดอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
กระตุ้นให้บุตรดูดนมมารดาทันทีหลังคลอดเพื่อกระตุ้นให้ฮอร์โมน Oxytocin
กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะภายใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ระยะก่อนคลอด
การซักประวัติอย่างละเอียด เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอด
การตรวจร่างกาย หาภาวะโลหิตจาง
การรักษา
การตกเลือดก่อนรกคลอด
ให้ยา Oxytocin 10-20 unit เข้าทางกล้ามเนื้อเมื่อไหล่หน้าหรือศีรษะทารกคลอด
ทำคลอดรกโดยวิธี Cord traction
ใส่สายสวนปัสสาวะ
ตรวจรกที่คลอดอย่างละเอียด
เจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับความเข้มข้น
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจวัดความดันโลหิตชีพจรการหายใจ
การตกเลือดภายหลังรกคลอด
ดูแลผู้ป่วยภายหลังเกิดการตกเลือดหลังคลอดอย่างใกล้ชิด
ตรวจหาระดับความเข้มข้นของเลือด
คำนวณหา Intake และ Output
ตรวจวัดชีพจรความดันโลหิตการหายใจและระดับความรู้สึกตัว
ให้ยาปฏิชีวนะ
ให้ยาบำรุงเลือดและอาหารที่มีประโยชน์
ถ้าอายุมากหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว ให้ตัดมดลูกออก ถ้าอายุน้อยและยังต้องการมีบุตรอีก ให้ทำการผ่าตัดผูกหลอดเลือด Internal hypogastric เพื่อเก็บมดลูกไว้
กรณีมีการฉีดขาดของช่องทางคลอด มดลูกหดรัดตัวดี แต่ยังมีเลือดไหลออกมาเรื่อย ๆ และสีแดงสดให้ใช้เครื่องถ่างขยายช่องคลอด ให้เห็นภายในช่องคลอดและปากมดลูกได้ ตรวจหารอยฉีกขาด ให้เย็บรอยฉีกขาดจนเลือดหยุด
ตรวจภายใน ล้วงมดลูก ให้ดมยาสลบ งดการฮาโลเทน ว่ามีก้อนเลือดหรือเศษรกค้างอยู่หรือไม่ ถ้ามีเอาออกให้หมดหรือขูดมดลูกเพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น และถ้าพบว่ามดลูกมีรอยฉีกขาดหรือทะลุให้รีบผ่าตัดเปิดช่องท้องทันที
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีและมีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดตลอดเวลา
ให้ 5%D / W หรือ 5% D / NSS หรือ Ringer (RLS) ร่วมกับ Oxytocin และขอเลือดเตรียมไว้ 2-4 unit
ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำ
สวนปัสสาวะออกให้หมด ให้กระเพาะปัสสาวะว่างไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
วางกระเป๋าน้ำแข็งบริเวณหน้าท้องและคลึงให้มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
กรณีทำตามแล้วเลือดยังออกเรื่อย ๆ
ทำ Bimanual compression
กรณีการตกเลือดหลังคลอดทันที่จากการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี ให้ยากระตุ้นการหดตัวของมดลูก
ตรวจเลือดหา Venus clotting time, clot retraction time และ clot lysis
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
ถ้ามีการติดเชื้อในโพรงมดลูก ให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะ
ถ้ามีเลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด ให้ทำความสะอาดและเย็บแผลให้เลือดหยุด ถ้าเนื้อเยื้อที่แผลยุ่ยมาก เย็บแล้วเลือดไม่หยุด ให้กดไว้หรือใช้ผ้าก๊อซอัดไว้ในช่องคลอดร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
ถ้ามีเศษรกค้าง หรือมีก้อนเลือดอยู่ในโพรงมดลูกให้ Oxytocin แล้วขูดมดลูก ด้วยความระมัดระวัง จากผนังมดลูกมีลักษณะนุ่มและทะลุได้ง่าย
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกายตามระบบต่างๆ
มีเลือดสดออกทางช่องคลอด
ซีด ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่าย
การมีรกหรือเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
การมีเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือด ลักษณะ สี กลิ่น
การบวมเลือดของอวัยวะสืบพันธ์
ความสามารถในการเข้าอู่ของมดลูก ประเมินจากระดับยอดมดลูก
มีอาการติดเชื้อ
ตรวจทางช่องคลอดพบเศษเยื่อหุ้มรกที่ปากมดลูก
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก มักคลำได้นุ่ม ตรวจระดับยอดมดลูกอาจถึงระดับสะดือหรือเหนือสะดือ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, การตรวจหาหมู่เลือดและการตรวจเลือดเพื่อประเมินการแข็งตัวของเลือดเช่น Platelets, PT, PTT, Fibrinogen depression
การซักประวัติ
ประวัติทางสูติศาสตร์
ประวัติความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์
ประวัติส่วนตัว
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาวิตกกังวลกลัวอันตรายจากการตกเลือดหลังคลอด
มารดาต้องการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
มารดาเกิดการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
การพยาบาล
การพยาบาลขณะตกเลือด
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
ให้ออกซิเจน
ดูแลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจการมีเลือดออกและการหดรัดตัวของมดลูก
คลึงมดลูกให้แข็งตัว
ช่วยเหลือแพทย์ในการตรวจหาเศษเยื่อหุ้มรกค้าง
บันทึกปริมาณสารน้ำที่ได้รับ จำนวนเลือด จำนวนปัสสาวะที่ออก
ตรวจสอบผลการตรวจเลือด
อธิบายพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น
ติดตามปริมาณน้ำคาวปลา สี กลิ่น จากจำนวนผ้าอนามัย
ถ้ามีเลือดออกไม่หยุด รายงานแพทย์
จัดท่าให้นอนราบ
ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาที
ระยะหลังการตกเลือด
แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด
แนะนำอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
แนะนำการคลึงมดลูก
กระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับบุตร
ระวังอุบัติเหตุ
ดูแลให้รับประทานอาหารและยาวิตามินธาตุเหล็กตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตปริมาณเลือด
การป้องกันการตกเลือด
เตรียมสารน้ำ ยา และอุปกรณ์กู้ชีวิต
ตรวจหากลุ่มเลือด
ระมัดระวังการทำคลอดทุกระยะให้ถูกวิธี
ดูแลในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดอย่างใกล้ชิด
ประเมินปัจจัยเสี่ยง