Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด,…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
การรักษา
- ถ้าทารกยังไม่คลอด ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารก เละรีบให้การช่วยเหลือโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างเร่งด่วน
- เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอดถ้ามีความดันโลหิตต่ำ เช่น Dopamine, Norepinephrine,Epinephrine
- ดูแลการหดรัดตัวของมดลูก โดยให้ยา oxytocin หรือ methergin ทางหลอดเลือดดำ
- ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้นอน Fowler ‘ s position ให้ออกซิเจน 100% และถ้ามี
ระบบการหายใจล้มเหลวให้ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
- เจาะเลือดเพื่อประเมินความเข้มข้นของเลือดและการแข็งตัวของเลือด
- ดูแลระบบการไหลเวียนเลือด เพื่อแก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มปริมาตรเลือด พลาสมา และสารไฟบริโนเจน แก้ไขภาวะสารไฟบริโนเจนในเลือดต่ำ เพื่อลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง โดยเลือดที่ใช้จะต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับบริจาคอาจให้ยากระตุ้นหัวใจ เช่น Dopamine
- รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (DIC) โดยให้ยา Heparin
- ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด อาจมีการชั่งน้ำหนักของผ้าอนามัย น้ำหนัก 1 กรัม เท่ากับปริมาณการเสียเลือด 1 มิลลิลิตร
พยาธิสรีรวิทยา
ส่วนประกอบของน้ำคร่ำจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของผู้คลอด ผ่านเข้าสู่หัวใจและปอด ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดฝอยในปอด ทำให้หลอดเลือดเกิดการหดเกร็ง เลือดที่ไหลผ่านปอดมาสู่หัวใจซีกซ้ายลดลงทันทีทันใดทำให้เลือดที่จะถูกบีบออกจากหัวใจข้างซ้ายลดลงทันที เกิดภาวะช็อคจากหัวใจ (cardiogenic shock) ความดันในหลอดเลือดปอดสูงขึ้น เกิดเลือดคั่งในปอด ส่งผลให้หัวใจซีกขวาไม่สามารถบีบตัวดันเลือดให้ผ่านปอดได้ เนื่องจากภายในปอดมีแรงดันสูง จึงเกิดภาวะปอดบวมน้ำตามมา
ความหมาย
ภาวะที่มีน้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของมารดืซึ่งจะเข้าไปในหลอดลมฝอยในปอด แล้วไปอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอด
ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารประกอบน้ำคร่ำ เช่น ไขบริเวณลำตัวของทารก ผม เซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน ขี้เทา
-
-
การพยาบาล
- เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอดซึ่งมักจะพบได้ในระยะของการคลอดและทันทีหลังคลอด เช่น การให้ยาเร่งคลอด การเจ็บครรภ์คลอดที่รุนแรงการเจาะถุงน้ำ และการตกเลือดหลังคลอด เพื่อปูองกันการเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
- ถ้ามีอาการและอาการแสดง คือ มีภาวะชักเกร็งโดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนมีภาวะเขียวทั่วทั้งตัว หรือเริ่มเขียวเป็นบางส่วนของร่างกาย ควรปฏิบัติดังนี้
-
-
-
-
-
2.8 ใช้เครื่องช่วยหายใจใน 2-3 วันแรก ภายใต้การดูแลในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก(intensive care unit) เพื่อดูแลระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
-
-
ปัจจัยส่งเสริม
1.การเร่งคลอด ใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
2.ทารกตายในครรภ์ เป็นเวลานาน ทำให้มีการเปื่อยยุ่ย ขาดง่าย
3.การคลอดเฉียบพลัน
4.รกเกาะต่ำ
5.รกลอกตัว
6.มดลูกแตก
7.การบาดเจ็บในช่องท้อง
8.การผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
9.มารดามีบุตรหลายคน
10.มารดาตั้งครรภ์หลังที่มีอายุมากกว่า 35 ปี 11.น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
12.การเบ่งคลอดขณะถุงน้ำคร่ำไม่แตก
13.การเจาะถุงนน้ำคร่ำ
14.การรูดเพื่อเปิดขยายปากมดลูก
15.การตรวจวินิจฉัยน้ำคร่ำก่อนคลอด
16.การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายในและภายนอกครรภ์
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อมารดา
ทำให้ผู้คลอดเสียชีวิตจากการเสียเลือด ช็อค พบว่า ร้อยละ 39 ของผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากเริ่มปรากฏอาการ และยังพบว่า 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด มักเสียชีวิตภายใน 30 นาที ถ้ามีผู้รอดชีวิตมักมีอาการทางระบบประสาท เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
ผลกระทบต่อทารก
โดยทั่วไปโอกาสรอดของทารกมีประมาณร้อยละ 70 แต่เกือบครึ่งของทารกที่รอดชีวิตจะมีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท
การป้องกัน
- ในรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำ การตรวจภายในควรจะกระทำอย่างระมัดระวัง
- ถ้าผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่มากเกินกำหนด ผู้คลอดพักได้น้อย ควรรายงานแพทย์เวรทราบทุกครั้ง
- ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ (stripping membranes) จากคอมดลูก
เพราะจะทำให้เลือดดำบริเวณปากมดลูกด้านในฉีกขาดได้
- การกระตุ้นการเจ็บครรภ์ ในรายที่เด็กตายในครรภ์โดยใช้ Oxytocin drip ดูอาการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด และไม่ควรเจาะถุงน้ำก่อนปากมดลูกเปิดหมดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือด เนื่องจากเส้นเลือดฉีกขาดจากการเจาะถุงน้ำ
- การเจาะถุงน้ำควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ถูกปากมดลูก เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดที่ปากมดลูก
ฉีกขาดและจะทำให้น้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือดได้
- ขณะเจ็บครรภ์คลอด ไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป ควรจะหดรัดตัวแต่ละครั้งนานไม่ควรเกิน
60 นาที ระยะห่างประมาณ 2-3 นาทีต่อครั้ง
อาการและอาการแสดง
1.มีอาการหนาวสั่น
2.เหงื่อออกมาก
3.คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล
4.หายใจลำบาก เกิดภาวะหายใจล้มเหลว
5.เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด
6.เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
7.ความดันโลหิตต่ำมาก
8.ชัก
9.หมดสติ
10.ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชั่วโมง ผู้คลอดยังมีชีวิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดเสียไป และเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรง
-