Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกปลิ้น (Inversion of the uterus or uterine inversion) - Coggle Diagram
มดลูกปลิ้น
(Inversion of the uterus or uterine inversion)
ความหมาย
ภาวะที่ยอดมดลูกรั้งลงมาส่วนล่างของโพรงมดลูก ซึ่งอาจพ้นปากมดลูกออกมา หรือดผล่ออกมาถึงปากช่องคลอด
ชนิด
แบ่งตามระดับความรุนแรง
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (Complete inversion)
ยอดมดลูกเคลื่อนพ้นปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงปากช่องคลอด
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ และเคลื่อนต่ำลงมานอกปากช่องคลอด (prolapsed of complete inverted uterus)
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete inversion)
ยอดมดลูกเคลื่อนต่ำลง แต่ยังไม่พ้นปากมดลูก
แบ่งตามระยะเวลาของการเกิด
Acute uterine inversion
เกิดภายใน 24 hr. หลังคลอด
Subacute uterine inversion
เกิด 24 hr.หลังคลอด จนถึง 1 เดือนหลังคลอด
Chronic uterine inversion
เกิดตั้งแต่ 1 เดือนหลังการคลอด
สาเหตุ
สาเหตุส่งเสริม
มีพยาธิสภาพที่มดลูก เช่นผนังมดลูกบางและยืดมาก
ผนังมดลูกหย่อน พบมดลูกปลิ้นภายหลังคลอดที่มีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ขณะไอ จาม
สาเหตุฉุกเฉิน
การล้วงรก (Manual removed of placenta)
การเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การเบ่งคลอด
รกเกาะแน่น (An abnormally adherent placenta)
การปฏิบัติการคลอดระยะที่ 3 ไม่ถูกต้อง เช่น การกดบริเวณยอดมดลูกมากเกินไป, ทำคลอดโดยดึงสายสะดือแรงเกินไป หรือทำคลอดเด็กที่สายสะดือสั้นโดยเฉพาะเมื่ใช้คีมช่วยคลอด
อาการและอาการแสดง
พบยอดมดลูกเป็นแอ่งคล้ายปล่องภูเขาไฟหรือไม่พบยอดมดลูก
มีอาการปวดท้องรุนแรง ถ้ารกไม่ลอกตัว หรือรกติดแน่น
shock จากการปวด และการเสียเลือดมาก
รายที่เรื้อรัง ผนังเยื่อบุมดลูกจะแห้งและเป็นแผลทำให้เกิดตกขาว เลือดออกกะปริบกะปรอย อาจมีอาการปวดหลังถึงอุ้งเชิงกรานและถ่ายปัสสาวะขัดหรือรู้สึกถ่วงที่ช่องคลอด
ผลกระทบ
มารดา
มีเลือดออกอย่างรุนแรง เจ็บปวดมาก หรือshock จากการเสียเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ทารก
ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า
รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
การพยาบาล
ใช้ผ้าชุบ NSS หรือ น้ำยา Hibitane solution คลุมมดลูกบริเวณที่ปลิ้นออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้มดลูกแห้ง
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา เช่น Pethidine or Morphine เพื่อลดความเจ็บปวด
จัดท่าเพื่อลดการดึงรั้งของรังไข่ โดยยกปลายเตียงให้สูงขึ้นหรือจัดให้นอนท่า trendelenberg's position or Knee chest position
ให้สารน้ำทางหลอดลเือดดำเพื่อทดแทนเลือดที่สูญเสียไปและแก้ไขภาวะ shock
หลังแก้ไขภาวะ shock ได้แล้ว จัดท่าให้ผู้คลอดนอนท่า Lithotomy เพื่อให้ผู้คลอดได้รับการดมยาสลบและดันมดลูกกลับเข้าที่และล้วงรก
ดูแลให้ได้รับ oxytocin 20 unit ใน NSS 1000 ml. และหรือ Methergin 0.2 mg. เข้าหลอดเลือดดำ
เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะ ทุก 4 hr.
สังเกตและบันทึกปริมาณเลือดทีออกทางช่องคลอด
บันทึก V/S ทุก 2-4 hr.
การรักษา
ให้ oxytocin 20 unit ใน NSS 1000 ml. และหรือ Methergin 0.2 mg. ทางหลอดเลือดดำ
ถ้ารกลอกตัวและแยกออกจากมดลูกแล้วให้ดันมดลูกเข้าที่ทันที
ไม่ผ่าตัด
John maneuver (ทำง่าย สำเร็จสูง)
ดันมดลูกโดยให้อุ้งมืออยู่บริเวณยอดมดลูก ส่วนนิ้วที่เหลือหุบไว้บริเวณรอยต่อระหว่างมดลูกและคอมดลูก ใช้อุ้งมือดันมดลูกขึ้นไปตามทิศทางแนวของอุ้งเชิงกรานจนกระทั่งมดลูกเคลื่อนขึ้นไปพ้นช่องเชิงกราน
ผ่าตัด
มีหลายวิธี เช่น Huntington, Haultain, Ocejo, Spinelli
ตรวจช่องทางคลอดและเย็บซ่อมแซม
หากมดลูกมีการหดเกร็ง (Spasm) ให้ Terbutaline or Magnesium sulfate เพื่อให้มดลูกคลายตัว ก่อนดันมดลูกกลับเข้าที่
กรณีรกยังไม่คลอด : ให้ทำคลอดรกก่อน แต่หากรกยังติดอยู่กับส่วนของมดลูกที่ปลิ้นลงมาไม่ควรทำคลอดรก ควรแก้ไขภาวะ shock และให้ดมยาสลบก่อน ป้องกันการเสียเลือด
รีบแก้ไขภาวะ shock
ให้ Ringer's lactate solution or NSS 1000 ml. ทางหลอดเลือดดำ
เจาะหาหมู่เลือดและให้เลือดทดแทน
พิจารณาให้ morphine 2-4 mg. ทางหลอดลือดดำกรณีที่ปวดมาก
ให้ยาสลบ (General anesthesia) โดย วิสัญญีแพทย์
แจ้งให้ Pt.ทราบว่าเกิดภาวะมดลูกปลิ้น ต้องทำการดันมดลูกกลับเข้าที่
ตรวจ V/S และเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
ให้ยาป้องกันการติดเชื้อและให้ยาจำพวกเหล็ก รักษาภาวะโลหิตจาง
การวินิจฉัย
การตรวจทางหน้าท้อง
รายที่มดลูกปลิ้นชนิดไม่สมบูรณ์ : ยอดมดลูกมีรอยบุ๋มเป็นหลุมหรือคล้ายปล่องภูเขาไฟ
รายที่มดลูกปลิ้นชนิดสมบูรณ์ : คลำไม่พบยอดมดลูก
การตรวจภายใน
คลำได้ก้อนเื้อบริเวณปากมดลูกหรือคลำได้ก้อนในช่องคลอดหรือก้อนโผล่ออกมานอกช่องคลอด ถ้ารกยังไม่หลุดก็จะเห็นรกติดกับก้อนนั้น
อาการและอาการแสดง
การตกเลือด
อาการ shock สัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับอาการเสียเลือดก็ได้
อาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง เพราะ เมื่อมดลูกปลิ้นเกิดการกระตุ้นปลายประสาทบริเวณ ligamenta lata กล้ามเนื้อมดลูกหรือบริเวณเยื่อบุช่องท้อง