Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา ระบบประสาท, นางสาวกัลญา บุญโพธิ์ ห้อง A เลขที่ 6…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา
ระบบประสาท
บทบาทของพยาบาลในการดูแลเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท
การรวบรวมข้อมูลภาวะสุขภาพ
การประเมินสัญญาณชีพ
การประเมินทางระบบประสาท
การตรวจพิเศษต่างๆ
การดูแลเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท
การให้ค าแนะน าบิดามารดาของผู้ป่วยเด็กโรคระบบประสาท
เป้าหมายการพยาบาลเด็กไม่รู้สึกตัว
การทำทางเดินหายในให้โล่ง
จัดท่านอนของเด็กให้เหมาะสม โดยให้นอนตะแคงข้าง
ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปาก
ดูดเสมหะให้เด็กเป็นระยะๆ
เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ
แรงดันในสมองไม่เพิ่มขึ้น
จัดให้เด็กนอนศีรษะสูง ประมาณ 15 – 30 องศา
หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่จะทำให้แรงดันภายในสมองเพิ่ม
จัดท่านอนให้ข้อสะโพกงอไม่เกิน 90 องศา
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
วางแผนการพยาบาล โดยให้มีการรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด
วัดรอบศีรษะทุกวัน , สังเกต-บันทึกพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของเด็ก
เด็กแสดงอาการเจ็บปวดพยาบาลควรดูแลให้ยาแก้ปวด
การดูแลขั้นพื้นฐาน
ด้านอาหาร
ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
ดูแลให้เด็กได้รับอาหารทางหลอดเลือดด าตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณน้ำดื่ม และปัสสาวะทุกวัน
ด้านการขับถ่าย
ดูแลให้เด็กได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับแผนการรักษา
ทำความสะอาดผิวหนังทุกครั้งหลังการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือกางเกงทุกครั้งที่เด็กขับถ่าย
ด้านความสะอาด
อาบน้ำให้เด็กทุกวัน
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน ผิวหนัง และเล็บสม่ำเสมอ
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหว
ภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจ
หมั่นพลิกตะแคงตัวเด็กทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลไม่ให้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ
ก่อนและหลังสัมผัสเด็ก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนกับตา
ประเมินอาการระคายเคืองหรืออักเสบของตา
ถ้าตาแห้ง อาจต้องใช้น้ าตาเทียม
ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง
หมั่นเปลี่ยนท่านอน หรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
ดูแลผิวหนังให้สะอาดและชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา
ควรทาครีมบำรุงผิวหนัง (lotion) และนวดผิวหนังทุกวัน
ความไม่รู้สึกตัว
เป็นภาวะการทำงานของสมองที่ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะรุนแรง
ระดับความรู้สึกตัว
ระดับความรู้สึกตัวดี (full consciousness)
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี รับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ เป็นปกติ
ความรู้สึกสับสน (confusion)
รู้สึกสับสน มีปัญหาในการตัดสินใจ
การรับรู้ผิดปกติ (disorientation)
ไม่รับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่
ระดับความรู้สึกง่วงงุน (lethargy / drowsy)
สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย มีอาการง่วงงุน พูดช้า เมื่อกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าหรือปลุกผู้ป่วยจะตอบสนองได้ปกติ
ระดับความรู้สึก stupor
ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หลับลึก สามารถตอบสนองที่มีการกระตุ้นรุนแรงได้
ระดับหมดสติ (coma)
ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่มีการตอบสนอง
ท่าทาง (Posture)
Decorticate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย งอแขนทั้ง 2 ข้าง เข้าหาตัว กำมือแน่นและ งอข้อมือทั้ง 2 ข้าง ส่วนขาทั้ง 2 ข้าง เหยียดปลายเท้าออก และงอปลายเท้าเข้าหากัน
พบในเด็กหมดสติที่มีการท าลายของเนื้อสมองส่วน cerebral cortex อย่างรุนแรง
Decerebrate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย แขนทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและคว่ าแขนลงโดยบิดข้อมือออก ขาทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและแยกออกจากกัน
นอนแบบนี้จะพบในเด็กหมดสติที่สมองส่วน Midbrain ไม่สามารถทำงานได้ปกติ
Glasgow coma scale
การสนองตอบด้วยการลืมตา (Eye opening : E)
ลืมตาเอง 4 คะแนน
ลืมตาเมื่อเรียกหรือได้ยินเสียงพูด 3 คะแนน
ลืมตาเมื่อเจ็บปวด 2 คะแนน
ไม่ลืมตาเมื่อได้รับการกระตุ้น 1 คะแนน
การตอบสนองการพูด (Verbral response : V)
กรณีเด็กอายุ 0 – 4 ปี
มองตาม/ร้องเสียงดัง/พูดจ้อ 5 คะแนน
เปล่งเสียงตามพัฒนาการ / ร้องไห้แต่หยุด 4 คะแนน
ร้องไห้ตลอด/กรีดร้องเมื่อเจ็บ 3 คะแนน
ส่งเสียงครางเมื่อเจ็บหรือกระวนกระวาย 2 คะแนน
ไม่เปล่งเสียงหรือไม่ตอบสนอง 1 คะแนน
กรณีเด็กอายุ 5 – 18 ปี
พูดได้ไม่สับสน 5 คะแนน
พูดได้แต่สับสน 4 คะแนน
พูดโดยไม่สอดคล้องกับคำถาม 3 คำถาม
เปล่งเสียงได้แต่ไม่เป็นคำพูด 2 คะแนน
ไม่เปล่งเสียง 1 คะแนน
ในกรณีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ หรือใส่ Tracheostomy ให้ใส่อักษร T
การตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหว (Motor response : M)
กรณีเด็กอายุ 0 – 4 ปี
เคลื่อนไหวได้เอง 6 คะแนน
ชักแขนขาหนีเมื่อจับ 5 คะแนน
ชักแขนขาหนีเมื่อเจ็บ 4 คะแนน
แขนขามีอาการเกร็งแบบศอกงอ 3 คะแนน
แขนมีการเกร็งแบบศอกเหยียด 2 คะแนน
ไม่เคลื่อนไหวเลย 1 คะแนน
กรณีเด็กอายุ 5 – 18 ปี
ทำตามคำสั่งได้ 6 คะแนน
เคลื่อนไหวเมื่อรู้สึกเจ็บหรือทราบ 5 คะแนน
ชักแขนขาหนีเมื่อเจ็บ 4 คะแนน
แขนขามีอาการเกร็งแบบศอกงอ 3 คะแนน
แขนมีการเกร็งแบบศอกเหยียด 2 คะแนน
ไม่เคลื่อนไหวเลย 1 คะแนน
ภาวะไม่รู้สึกตัว ร่วมกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ
อาการสำคัญ คือ ชักเกร็ง ซึม ไม่ดูดนม
กรณีที่ 1 ไม่มีไข้ ความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง โรคลมชัก
โรคลมชัก (Epilepsy)
ภาวะทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชักซ้ำ ๆ มีอาการผิดปกติของกล้ามเนื อลาย การรับความรู้สึก อวัยวะภายใน พฤติกรรมผิดปกติ และความรู้สึกตัวลดลง
อุบัติการณ์
พบได้บ่อยในเด็กโรคระบบประสาท
อัตราการเกิดพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุ
ทราบสาเหตุ
ติดเชื้อทางระบบประสาทส่วนกลาง โรคระบบประสาท โรคพันธุกรรม โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
ไม่ทราบสาเหตุ
จากความผิดปกติของ Neurotransmission ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีน
กลุ่มที่หาสาเหตุไม่ได้
มีพยาธิสภาพภายในสมอง
อยู่ในกลุ่ม Symtomatic epilepsy
อาการและอาการแสดง
Preictal period ระยะก่อนอาการชัก
อาการนำ (Seizure prodromes)
มีอาการชัก อาจเกินนานหลายนาที ชั่วโมงก่อนชัก ไม่มีอาการจำเพาะ
อาการเตือน (Aura)
ลักษณะอาการเตือนแตกต่างกันตาม เช่น มีอาการปวด ชา เห็นภาพหลอน
Ictal event หรือ Peri-ictal period ระยะที่เกิดอาการชัก มักจะไม่นานเกินครึ่งชั่วโมง
เกิดขึ้นทันทีทันใด
เกิดในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 5 นาทีและหยุดเอง
เกิดขึ้นเองแต่บางครั้งมีปัจจัยกระตุ้น และเกิดเหมือนกันทุกครั้ง
Postictal peroid ระยะเวลาเมื่อการชักสิ้นสุดลง
มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมอง ระยะนี้อาจเกิดนาน แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
Postical paralysis หรือ Todd’s paralysis กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉพาะที่
Automatism การเคลื่อนไหวร่างกายไปโดยอัตโนมัติขณะชัก เช่น เคี้ยวปาก กระพริบตาถี่ๆ
Interictal peroid คือ ช่วงเวลาระหว่างการชัก
โดยทั่วไปจะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่อาจพบคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติ
ชนิดของโรคลมชักและกลุ่มอาการชัก
อาการชักเฉพาะที่ (Partial / Focal seizure)
ชักเฉพาะที่แบบมีสติ
ขณะชักผู้ป่วยรู้ตัวตลอดเวลา
อาการชักเฉพาะที่แบบขาดสติ
ขณะชักจะสูญเสียการรับรู้สติ
อาการชักเฉพาะที่ตามด้วยอาการชักทั้งตัว
อาการชักแกร็งกระตุกทั้งตัว แล้วค่อยๆกระจายไปที่ต่างๆ
อาการชักทั้งตัว (Generalized seizures)
อาการชักเหม่อ (Absence)
กลุ่มอาการชักเหม่อแบบตรง
เหม่อลอยไม่รู้สึกตัว ระยะเวลาที่เกิดอาการประมาณ 5 – 10 วินาที
อาการชักเหม่อที่มีอาการกระตุกหรือสะดุ้งเป็นช่วงเวลาสันๆ
อาการชักเหม่อที่ไม่รู้ตัวหรือไร้สติเท่านั้น
อาการชักเหม่อที่มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ
อาการเกร็งกระตุก (Tonic clonic seizures)
ชักเกร็งกระตุกทั้งตัวผู้ป่วยจะหมดสติ ร่วมกับมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อทั้งตัวนานไม่เกิน 30 วินาที โดยทั่วไปอาการจะมีระยะเวลารวมไม่เกิน 5 นาที
อาการชักกระตุก (Clonic seizures)
ชักมีลักษณะกระตุกเป็นจังหวะของอาการชัก
อาการชักเกร็ง (Tonic seizures)
มีอาการจะมีลัษณะแขนขาเหยียดตรง อาจเกิดทันทีหรือค่อยเป็นไปผู้ป่วยไม่รู้สติ เสี่ยงต่ออันตรายขณะชัก
อาการชักตัวอ่อน (Atonic seizures)
เสียความตึงตัวของกล้ามเนื้ออย่างทันทีเมื่อเกิดอาการชัก ประมาณ 1-2 วินาที
อาการชักสะดุ้ง (Myoclonic seizures)
มีการหดตัวของกล้ามเนื ออย่างรุนแรงและรวดเร็วมาก อาการคล้ายสะดุ้ง
กรณีที่ 2 มีไข้ ความผิดปกติที่สมองทีเกิดจากการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง สมองและไขสันหลัง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
เป็นการอักเสบเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมองชั นในสุดและอแรคนอยด์ที่อยู่รอบๆ สมองและไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองถูกทำลาย
สาเหตุ
จากเชื อแบคทีเรีย 3 ตัว คือ Haemophilus influenzae, Neisseria meningitidis, Streptococcus peumoniae
อุบัติการณ์
มักจะเกิดในช่วงหน้าหนาว เกิดจากเชื้อ นิวโมคอคคัส H. Influenzae และเมนิงโกคอคคัส ซึ่งพบได้ทั่วโลก พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุระหว่าง 2 เดือน ถึง 7 ปี เชื้อมักจะเข้าทางหูชั้นกลางอักเสบ โพรงอากาศจมูกอักเสบ
อาการและอาการแสดง
ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดข้อ ชักและซึมลงจนหมดสติ
ตรวจพบ Kernig sign และ Brudzinski sign ให้ผลบวก
มีอาการที่แสดงว่าเส้นประสาทสมองถูกรบกวนหรือท าลาย (คู่ที่ 3, 4, 5, 6, 7, 8)
Babinski ได้ผลบวก
ที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส
พบผื่นแดงที่ผิวหนัง จุดเลือดออก มีเลือดออกที่ต่อมหมวกไตด้วย
พบNeutrophilถึง ร้อยละ 85-95CSFประมาณ 1,000-100,000 เซลล์/คิวบิคมิลลิเมตร
การตรวจน้ำไขสันหลัง
ค่าปกติของน้ าไขสันหลัง ปกติจะไม่มีสี ความดันระหว่าง 75 – 180 มม.น้้ำ
ไม่มีเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว โปรตีน 15 – 45 mg / 100 ml
กลูโคส 50 – 75 mg / 100 ml , คลอไรด์ 700 – 750 mg / 100 ml
Culture & Latex agglutination
ชนิดของเยื่อหุ้มสมองเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เฉียบพลันจากแบคทีเรีย
เฉียบพลันจากไวรัส
วัณโรค
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitides เป็นเชื้อแกรมลบ
การติดต่อ
เชื้อกระจายจากช่องปาก ช่องจมูกจากคนหนึ่งสู่อีกคนโดยตรง ผ่านระบบทางเดินหายใจเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคได้ 3 แบบ
แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย ทำให้เกิดการอักเสบเฉพาะที่
แบบเชื้อแพร่เข้ากระแสเลือดหรือเลือดเป็นพิษ ผื่น เลือดออกตามผิวหนัง
แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการและอาการแสดง
ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง อาจมีผื่นแดง จ้ำเลือด
Acute Meningococcemia อาการเกิดอย่างฉับพลัน มีอาการปวดศีรษะ ไอนำมาก่อนตามด้วยไข้สูง หนาวสั่น ปวดตามข้อและตามกล้ามเนื้อ
Chronic Meningococcemia พบได้น้อย ส่วนใหญ่มักมีไข้ ผื่นตามผิวหนัง ปวดและเจ็บข้ออยู่เป็นเดือน ไข้จะเป็นๆ หายๆ
Fulminant Meningococcemia เป็นอย่างรุนแรง ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ทำงาน อาจ ช็อคถึงเสียชีวิตได้
Meningitis มีอาการไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง ซึมและสับสน อาการจะแย่ลงอย่างรวดเร็ว
การรักษา
Glucocorticoid therapy ก่อนการให้ยาปฏิชีวนะ 15 นาที
ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone /PGS/Chloramphenicol
การรักษาแบบประคับประคองและตามอาการอื่นๆ
การป้องกัน
บุคคลที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วยในบ้านเดียวกันต้องได้รับยาป้องกัน ได้แก่ Rifampicin
โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองน้ำมูก น้ำลาย จากปากหรือจมูกของผู้ป่วย
ใช้วัคซีนป้องกันโรค ใน Serogroups A, C, Y และ W135 ทั้งผู้ใหญ่และเด็กโต
การป้องกันสำหรับผู้สัมผัสโรค รีบให้ยาฆ่าเชื้อแก่ผู้สัมผัสที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยทันที
การรักษา ยา penicillin และ chloramphenical
กรณีที่ 3 มีไข้สูง เกิน 38 °c อายุ ประมาณ 6 เดือน – 5 ปี ไม่มีการติดเชื้อของระบบประสาท หรือ ขักจากการมีไข้สูง
ภาวะชักจากการมีไข้สูง
อาการชักที่สัมพันธ์กับการมีไข้ โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชือของระบบประสาทในเด็กที่อายุมากกว่า 1 เดือน
ปัจจัยเสี่ยงของการชักซ้ำ
อายุ โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการชักครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 1 ปี
มีความผิดปกติของระบบประสาทก่อนมีอาการชัก
ประวัติการชักของสมาชิกในครอบครัว
ไข้ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อ
สาเหตุ
การติดเชื้อในระบบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ระบบประสาท
อาการ
มีอาการชักเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
เกิดขึ้นภายใน 24 ชม.แรกที่เริ่มมีไข้
ชนิดของภาวะชักจากการมีไข้สูง
Simple febrile seizure (primary febrile seizure)
มีไข้ร่วมกับชักในอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี
การชักเป็นแบบทั้งตัว
เกิดช่วงสั้น ๆไม่เกิน 15 นาที
ไม่มีการชักซ้ำ
ก่อน – หลัง ชักไม่มีอาการทางระบบประสาท
Complex febrile seizure
การชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว
ระยะเวลาการชักเกิดนานมากกว่า 15 นาที
เกิดการชักซ าในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
เกิดการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
หลังชักจะมีความผิดปกติของระบบประสาท
มีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคลมชัก
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับความดันในสมองสูง
โรคอุทกเศียร : น้้าไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
อาการสำคัญ
ศีรษะโตแต่กำเนิด,กระหม่อมหน้าโป่ง,ศีรษะโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอก
ปวดศีรษะ ซึม ไม่ดูดนม อาเจียนพุ่ง
อาการแสดงทางคลีนิก
1.หัวบาตร(Cranium enlargement)
2.หัวโตกว่าปกติเมื่อเทียบกับGrowth curve ปกติ
3.รอยต่อกะโหลกศีรษะแยกออกจากกัน
4.รอยเปิดกะโหลกโป่งตึง
5.หนังศีรษะบางและเห็นเส้นเลือดดำ
6.เสียงเคาะกะโหลกเหมือนหม้อแตก
7.อาการแสดงของความดันในกะโหลกศีรษะสูงปวดศีรษะ , ตามัว , อาเจียน
8.ตากลอกลงล่าง กลอกขึ้นบนไม่ได้
9.ตาเขเข้าในมองไปด้านข้างไม่ได้เนื่องจากCN 6TH Palsy
10.รีเฟลกซ์ไวเกิน
11.การหายใจผิดปกติ
12.การพัฒนาการช้ากว่าปกติ
13.สติปัญญาต่ำกว่าปกติ,ปัญญาอ่อน
14.เด็กเลี้ยงยากไม่รับประทานอาหาร
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา ยาขับปัสสาวะ Acetazolamide
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองสู่ช่องในร่างกาย
โรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ผิดปกติของสายระบายน้ำในโพรงสมองมีการอุดตันหรือระบายมากเกิน
ติดเชื้อของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
ภาวะโพรงสมองตีบแคบ
.ภาวะเลือดออกในศีรษะ
ไตอักเสบ
การรักษา IICP
รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิด IICP เช่น เนื้องอก
การรักษาเบื้องต้น กรณีมีIICPสูงอย่างเฉียบพลัน
การจัดท่านอนนอนราบศีรษะสูง 15 – 30 องศา
แพทย์จะรักษาโดยการใส่ท่อหลอดลมคอและช่วยหายใจ
การให้ยาขับปัสสาวะ (Diuretic) ทางหลอดเลือดดำ
การรักษาความผิดปกติที่เกิดต่อเนื่องจากพยาธิสภาพเดิมหรือที่เกิดร่วม
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการสำคัญ
มีก้อนที่หลัง หรือที่หน้าผาก ขาอ่อนแรง ปัสสาวะ อุจจาระ ตลอดเวลา
ไม่ได้รับวัคซีน
ไม่มีประวัติการคลอดในรพ. เป็นชนต่างด้าว
Spina Bifida
เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังมีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลัง พบบ่อยที่สุดที่บริเวณ lumbosacrum
มี hydrocephalus ร่วมด้วยร้อยละ 80-90
ประเภทของ spina bifida
Spina bifida occulta
ผิดปกติกระดูกสันหลังส่วน Vetebral arches ไม่รวมตัวกัน
เกิดเป็นช่องโหว่ระหว่างแนวกระดูกสันหลัง
Spina bifida cystica
ผิดปกติของการปิดของส่วนโค้งกระดูกสันหลัง ทำให้มีการยื่นของไขสันหลัง ออกมาให้เห็นเป็นถุงหรือก้อน
Meningocele
ก้อนหรือถุงน้ำประกอบไปด้วยเยื่อหุ้มสมอง น้ำไขสันหลัง ไม่มีเนื้อเยื่อประสาทไขสันหลัง
Myelomeningocele หรือ Meningomyelocele
กระดูกสันหลังผิดปกติ มีก้อนยื่นออกมา ก้อนหรือถุงพบบ่อย อันตรายและเกิดความพิการ พบระบบการขับถ่ายผิดปกติ เท้าปุก การหดรั งของข้อ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
มารดาไม่ได้รับกรดโฟลิคขณะตั้งครรภ์
การตรวจร่างกาย
แขนขาอ่อนแรง พบก้อนหรือถุงตามแนวกระดูก
การตรวจพิเศษ
การตรวจระดับ alpha fetoprotein ขณะตั้งครรภ์
ใช้ไฟฉายส่องบริเวณก้อนหรือถุง
การรักษา
spida bifida occulta ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่ชนิด
Cystica ต้องผ่าตัดภายใน 24 – 48 ชั่วโมงภายหลังเกิด
การป้องกัน
ให้กรดโฟลิคแก่หญิงตั้งครรภ์จะช่วยลดการเกิดโรคได้
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับสติปัญญาบกพร่อง
อาการสำคัญ
ไม่รู้สึกตัว เกร็งเมื่อกระตุ้น หายใจไม่มีประสิทธิภาพ
การดูดกลืนบกพร่อง เลี้ยงไม่โต ข้อติดแข็ง
พัฒนาการล่าช้า
มีประวัติ สมองขาดออกซิเจน นึกถึง Cerebral palsy
สมองพิการ Cerebral palsy
กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Splastic)
Splastic quadriplegia
ผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขา 2 ข้าง
คอและลำตัวอ่อนผิดปกติ ศีรษะเล็ก น้ำลายไหล
Splastic diplegia
ผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขาทั้ง 2 ข้าง
Splastic hemiplegia
ผิดปกติที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่ง
Extrapyramidol cerebral palsy (athetoidsis)
เคลื่อนไหวผิดปกติตลอดเวลาขณะตื่น
กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
Ataxia cerebral palsy
มีเดินเซ ล้มง่าย ทรงตัวได้ไมดี สติปัญญาปกติ
Mixed type
อาการและอาการแสดง
มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า โดยเฉพาะด้านการเคลื่อนไหว
ปัญญาอ่อน
อาการอื่นๆ ร่วม เช่น ชัก หูหนวก ตาบอด
การประเมินสภาพ
ซักประวัติ : มารดามีการติดเชื้อขณะคลอด
ประเมินร่างกาย : เส้นรอบศีรษะไม่เพิ่มขึ้น ท่าทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ
นางสาวกัลญา บุญโพธิ์ ห้อง A เลขที่ 6 รหัสนักศึกษา 613601006