Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติด้านการรับรู้ ความคิดและด้านสติปัญญา - Coggle Diagram
ความผิดปกติด้านการรับรู้ ความคิดและด้านสติปัญญา
โรคจิตเภท
(schizophrenia)
การวินิจฉัยแยกโรค DSM-5
A.
ลักษณะอาการแสดง มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่
2 อาการขึ้นไป นาน 1เดือน
และ
ต้องมีอย่างน้อย 1 อาการในข้อ 1,2, หรือ 3
1.delusions
2.hallucinations
3.disorganized speech
4.grossly disorganized or catatonic behaviour
5.negative symptoms
B.
บทบาทหน้าที่ทางสังคม/อาชีพ ความสามารถในการทํากิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน การคบหาพูดคุยกับผู้อื่นแย่ลง มาก หรือไม่สนใจดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างมาก
C.
ระยะเวลาการเกิดอาการ มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมีระยะอาการกําเริบ (ตาม ข้อ A) นานอย่างน้อย 1 เดือน และระยะที่เหลืออาจเป็นระยะเริ่มมีอาการ หรือระยะอาการหลงเหลือ
D.
ต้องไม่ใช่ Schizoaffective Disorder และMood Disorders
E.
อาการไม่สบายของผู้ป่วยต้องไม่เกิดจากการใช้สารเสพติดหรือยาทางการแพทย์ หรือโรคทางกาย
F.
ในกรณีที่เคยมีประวัติป่วยด้วยกลุ่มโรค Autistic Spectrum Disorder หรือ มีความผิดปกติด้านการสื่อสารมาตั้งแต่วัยเด็กมา ก่อน จะวินิจฉัยว่าเป็น Schizophrenia ร่วมเมื่อมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนอย่างชัดเจนอย่างน้อย 1เดือน
ลักษณะอาการของโรคจิตเภท
อาการด้านบวก
(positive symptom)
อาการหลงผิด
(delusion)
หลงผิดคิดว่ามีคนปองร้าย (persecutory delusions)
หลงผิดคิดว่าคู่ครองนอกใจ หรือมีชู้ (jealousy delusion) โ
หลงผิดว่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวล้วนแต่เกี่ยวโยงกับตนเอง (delusions of reference)
หลงผิดคิดว่าตนเองเป็นเทพ หรือเป็นบุคคลสําคัญกลับชาติมาเกิด (grandiose delusions)
หลงผิดคิดว่ามีบุคคลอื่นมาหลงรัก (erotomanic delusions)
หลงผิดเกี่ยวกับอาการทางกาย (somatic delusion)
หลงผิดที่มีเนื้อหาแปลกประหลาด (bizarre delusions)
อาการประสาทหลอน
(hallucination)
Visual hallucination เห็นภาพหลอน
Auditory hallucination หูแว่ว ผู้ป่วยจะได้ยินเสียงคนพูด ตําหนิ หรือด่าตน หรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตัวผู้ป่วย
Olfactory hallucination ได้กลิ่นแปลก ๆ โดยที่ผู้อื่นไม่ได้กลิ่นนั้น
Gustatory hallucination เกิดความรู้สึกมีรสแปลกๆ เกิดขึ้น เช่น มีรสหวาน รสขมที่ลิ้น
Tactile hallucination ความรู้สึกเหมือนมีอะไร มาไต่ผิวหนัง รู้สึกคันผิวหนัง โดยที่ไม่มีสิ่งเร้าจริง
อาการหวาดระแวง
(paranoid)
มีความคิดหวาดระแวงจะ คอยมองบุคคลอื่นว่าไม่เป็นมิตรกับตน หรือจะมาคุกคาม มาทําร้ายตนตลอดเวลา บุคคลจะไวต่อการรับรู้และจะแปล เจตนาผิดจึงทําให้บุคคลต้องมีการป้องกันตนเองไว้ก่อน โดยอาจโต้เถียง หรือทําร้ายบุคคลอื่นก่อน
อาการผิดปกติด้านการพูด
(disorganized speech)
circumstantiality พูดวกวนไม่เข้าเรื่อง ไม่เข้าประเด็น
loosening of association พูดเรื่องหนึ่ง ไม่ทันจบก็เปลี่ยนเรื่องทันทีโดยที่อีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเดิม หรืออาจเกี่ยวเพียงเล็กน้อย
irrelevant answer ตอบไม่ตรงคําถามเลย
incoherent speech การวางคําในตัวประโยคเองจะสับสนไปหมดทําให้ฟังไม่เข้าใจ
clang association ใช้รูปแบบการพูดที่ใช้คําให้มีเสียงคล้องจองกันและรับ สัมผัสกันแต่ไม่มีความหมายอะไร
echolalia การเลียนแบบโดยพูดคําซ้ํากับคําพูดของคนอื่นหรือเลียน เสียง
Lack of insight ผู้ป่วยจะไม่คิดว่าตนเองผิดปกติ
อาการด้านพฤติกรรม
(disorganized behavior)
ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นจากความหลงผิด หรือประสาทหลอน ทําให้ขาดความสนใจตนเองและสิ่งรอบตัว ไม่อาบน้ํา ผมเผ้ารุงรัง แต่ง กายสกปรก กลางคืนไม่นอน เดินไปเดินมา หรือมีท่าทางแปลกๆ บางครั้งตะโกนหรือโวยวายหรือหัวเราะขึ้นมากะทันหัน กลายเป็นคนหงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย
อาการด้านลบ
(negative symptom)
Alogia or poverty of speech (content of speech) ผู้ป่วยจะพูดน้อยหรือไม่พูดเลย เนื้อหาที่พูดจะมีน้อย หรือมีการหยุดชะงัก หรือ ใช้เวลานานกว่าจะตอบคําถาม หรือไม่พูดเลย โดยไม่มีความผิดปกติทาง สรีระ
Affective flattening ผู้ป่วยเฉยเมย ไม่แสดงออกทางอารมณ์(affective flattening) แต่โดยรวมแล้วการแสดงออกทางอารมณ์ลดลง
Avolition การขาดแรงจูงใจ หรือเฉื่อยชาในการทําตามเป้าหมายต่างๆ ไม่สนใจเรียนหรือ ทํางาน ผู้ป่วยอาจนั่งเฉยๆ ทั้งวันโดยไม่ทําอะไร ไม่สนใจเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคล
Anhedonia-asociality ไม่รู้สึกสนุกสนาน และเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ไม่ค่อยแสดงออก หรือไม่สนใจคบหาสมาคมกับใคร ใครชวนไปไหนมักปฏิเสธ
แนวทางการรักษา
การบำบัด
การรักษาด้านร่างกาย
การรักษาด้วยยา
ยาในกลุ่ม antipsychotics ส่วนอาการอื่นๆ ให้ยารักษาตามอาการ โดยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่องกัน
การรักษาด้วยไฟฟ้า
การรักษาด้านจิตสังคม
การทําจิตบําบัด (supportive psychotherapy)
การฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน ทักษะการดําเนินชีวิตทางสังคม ทักษะด้านอาชีพ เป็นต้น
การให้ความรู้คําแนะนําเกี่ยวกับโรค (psychoeducation)
กลุ่มบําบัด (group therapy)
สิ่งแวดล้อมเพื่อการบําบัด (Milieu therapy)
การพยาบาล
ส่งเสริมให้ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลและปฏิบัติกิจวัตรประจําวันได้อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
สามารถรับประทานอาหารร่วมกับบุคคลอื่นได้และไม่เกิดการภาวะพร่องโภชนาดการ
ดูแลให้นอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ
ดูแลปลอดภัยจากการถูกทําร้ายหรือทําร้ายบุคคลอื่น
จัดสิ่งแวดล้อมและทำการบำบัดเพื่อให้อาการหลงผิด ประสาทหลอนและภาวะหวาดระแวงลดลง
ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการหลงผิด ประสาทหลอนและภาวะหวาดระแวง
ส่งเสริมให้มีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
Dissociative disorders
การวินิจฉัยแยกโรค DSM-5
Dissociative identity disorder
Dissociative amnesia
Depersonalization/derealization disorder
Other specified dissociative disorder ผู้ป่วยมีอาการที่เข้าได้กับโรคในกลุ่ม Dissociative Disorders แต่ไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัยของโรคใดๆ โดยแพทย์เลือกที่จะระบุเหตุผลที่ชัดเจน
Other unspecified dissociative disorder ผู้ป่วยมีอาการที่เข้าได้กับโรคในกลุ่ม Dissociative Disorders แต่ไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัยของโรคใดๆ โดยแพทย์เลือกที่จะไม่ระบุเหตุผลที่ชัดเจน หรือกรณีมีข้อมูลไม่
Dissociative identity disorder
บุคคลจะมี
บุคลิกภาพแตกต่างกันตั้งแต่ 2 บุคลิกขึ้นไป
สลับเปลี่ยนกันมีบทบาทต่อพฤติกรรมโดยผู้ป่วยจะจําลักษณะข้อมูลสําคัญของอีกบุคลิกหนึ่งไม่ได้
ลักษณะอาการ
มีลักษณะการคงอยู่ของเอกลักษณ์หรือบุคลิกภาพที่แตกต่างกันมากกว่าสองเอกลักษณ์ (บุคลิกภาพ)
มีช่องว่างของความทรงจําเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจําวัน ข้อมูลส่วนบุคคล และ เหตุการณ์ความ เจ็บปวดในอดีตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อาการที่เกิดขึ้นทําให้เกิดความทุกข์ หรือเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตทางสังคม การประกอบอาชีพ หรือการ ทําหน้าที่ในด้านต่างๆ
Dissociative Amnesia
ความจําเสื่อมแบบแยกส่วน มีความลําบากในการจําข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับ ตนเอง จะเกิดบ่อยครั้งเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และสามารถ
เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา ชั่วโมงก่อน วันก่อน อาจเป็นเดือน หรือปีที่ผ่านมา
เกิดจากการที่บุคคลรู้สึกสะเทือนใจอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์ที่เจ็บปวดรุนแรง หรือสถานการณ์ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นกับตนเอง
ลักษณะอาการของ
Localized Amnesia บุคคล
ไม่สามารถระลึก
ถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงได้
Selective Amnesia บุคคลสามารถ
ระลึกเหตุการณ์ที่เจ็บปวดนั้นได้บางส่วนในช่วงเวลาหนึ่ง
เช่น ความร้ายแรงของสงครามหรือการถูกทารุณกรรมตั้งแต่วัยเด็กที่เกิดหลายเดือนหรือหลายปี
Generalized Amnesia เป็นการ
ลืมอย่างสมบูรณ์
เกี่ยวกับประวัติชีวิตของตนเอง อาจลืมเอกลักษณ์ หรือตัวตนของตนเอง
Depersonalization / Derealization Disorder
Depersonalization:
จะรู้สึกว่า ความคิด ความรู้สึก ร่างกาย หรือการกระทําหนึ่งๆไม่ใช่ของตน เหมือนตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์อยู่ภายนอก
Derealization:
รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ใช่ความจริง อาจอธิบายว่า เป็นเหมือนความฝันขมุกขมัวดูเหมือนไม่มีชีวิตหรือาจมีการมองเห็นที่บิดเบือนไป (Visually distorted)
การบําบัดรักษา
และการช่วยเหลือตามบทบาทของพยาบาล
การบําบัดทางด้านร่างกาย
ใช้ยารักษาตามอาการเพื่อประคับประคอง เช่น ใช้ยาต้านเศร้าและยาคลายกังวลในการรักษาอาการซึมเศร้า อาการวิตกกังวลและอาการ panic
การบําบัดด้านร่างกายจึงเน้นการฟื้นฟูและประคับประคองด้านร่างกาย เช่น การฟื้นฟูอวัยวะที่ paralysis การสูญเสียการพูด และการเดินลําบาก เพื่อช่วยผู้ป่วยสามารถทํากิจกรรมต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับความสามารถ ชเดิม
การบําบัดทางด้านจิตใจ
การให้การปรึกษา
การบําบัดทางจิต
การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม
(Cognitive behavioral therapy: CBT
and dialectical behavioral therapy: DBT)
ภาวะเพ้อ (Delirium)
การวินิจฉัยแยกโรค DSM-5
A.
มีความผิดปกติของความสนใจหรือความตั้งใจ (attention) และความรู้สึกตัว (awareness)
B.
ความผิดปกติเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากระดับควาสนใจ และความรู้สึกตัวเดิม ร่วมกับความรุนแรงมีแนวโน้มขึ้นๆลงๆในแต่ละวัน
C.
มีความผิดปกติของความคิด (cognition) เช่น ด้านความจํา ด้านภาษา หรือการรับรู้ทางประสาท สัมผัส (perception)
อาการนําก่อนที่จะมีอาการ
ตามเกณฑ์การวินิจฉัย
3 วันก่อนเกิดภาวะเพ้อ
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการรับรู้วันเวลาสถานที่บกพร่อง (disorientation)
มีปัญหาด้านความจํา (memory disturbance)
มีปัญหาอาการทางกาย
1 วันก่อนเกิดภาวะเพ้อ
มีความผิดปกติของวงจรการหลับและตื่น (sleep-wake cycle) โดยง่วงตอนกลางวันและตื่นเวลากลางคืน ผู้ป่วยมักกระวนกระวาย เช่น รื้อค้นผ้าปูที่นอน หรือพยายาม ลงจากเตียงตลอดเวลา
เชื่องช้าหรือไม่ค่อยรู้สึกตัว (stupor) การตัดสินใจเสียและไม่ร่วมมือในการรักษา อาจส่งเสียงดัง ร้องตะโกน พูดพึมพํา หรือร้องคร่ําครวญด้วยความเจ็บปวด
sun downing ความกลัวมักเป็นรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืนเนื่องจากไม่สามารถแยกแยะเวลาและสถานที่ได้
แนวทางการรักษา
ดูแลด้านกิจวัตรประจําวันทั่วไป บรรเทาความไม่สุขสบาย
มีการป้องกันอุบัติเหตุ และจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
ควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิดขณะมีอาการเพ้อ
สอนและกระตุ้นให้ครอบครัวมีทักษะในการสื่อสารทางบวกกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ มีความอดทนและไม่แสดงอาการรําคาญหรือกดดันผู้ป่วย
ถ้าอาการสับสนฉียบพลัน
ใช้ยากลุ่มคลายกังวล เช่น ให้ Lorazepam เพื่อให้ผู้ป่วยนอนหลับ
ไม่ควร
ให้ยานอนหลับ
เพราะจะทําให้ผู้ป่วยสับสนมากขึ้น
Vitamin B complex เพื่อช่วยในการเผาผลาญของเซลล์ประสาทให้กลับมาทําหน้าที่ตามปกติ ได้เร็วขึ้นลดอาการสับสนของผู้ป่วย
ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
การวินิจฉัยความผิดปกติ (DSM-4-TR)
1. ความผิดปกติของความสนใจหรือความตั้งใจ (attention)
เช่น การมุ่งจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่าง ต่อเนื่องลดลง ไม่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเร้าหลายตัวได้ มีการเปลี่ยนความสนใจได้ง่าย
2. ด้านการทําหน้าที่เชิงนามธรรมเสีย (disturbance in executive functioning)
พบว่า ไม่สามารถใช้ ทักษะในการบริหาร ไม่สามารถวางแผนการทํางาน ตัดสินใจ และติดตามงานให้สําเร็จตามแผนได้ การแก้ไข ปัญหาต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทํางานที่มีหลายขั้นตอนให้สําเร็จ
3. ด้านการเรียนรู้และความจํา (learning and memory)
มีปัญหาทั้งความจําระยะสั้นและระยะยาว ไม่สามารถระลึกได้มีปัญหาด้านเข้าใจ และการแยกแยะสิ่งของ ไม่ทราบว่าสิ่งที่เห็น ได้ยินหรือสัมผัสเป็นอะไร (agnosia)
4. ด้านภาษา (language)
มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดคลุมเครือวกวนหรือพูดไม่ได้เลย
5. ด้านความสามารถในการเคลื่อนไหว (perceptual-motor)
มีความผิดปกติในการประสานงานระหว่าง การรับรู้กับการเคลื่อนไหวอย่างมีวัตถุประสงค์ที่เคยทําได้มาก่อน เช่น การทํากิจวัตร และช่วยเหลือ ตนเอง หรือการขับรถ เป็นต้น
6. ด้านการรู้คิดทางสังคม (social cognition)
ความสามารถที่จะเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลอื่นลดลง พฤติกรรมการแสดงออกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ มักไม่คํานึงถึง ความรู้สึกของผู้อื่น
ลักษณะอาการของภาวะสมองเสื่อม
ระยะแรก (Early Stage
) เป็นระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ในระยะ นี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่นาน หรือพูดซ้ําเรื่องที่เพิ่งเล่าให้ฟัง ขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคมอย่างเห็นได้ชัด ไม่ค่อยมีสมาธิ หรือสนทนาไม่ต่อเนื่อง
ระยะกลาง (Middle Stage)
ในระยะนี้การสูญเสียการรับรู้ในระดับสูงเริ่มได้รับผลกระทบ มี ความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ความสามารถในการสรุป ประเด็นความคิด เพื่ออธิบายความต้องการของตนเองทําได้ยากขึ้น ความบกพร่องในการใช้ภาษา (ไม่สามารถสื่อ ถึงความต้องการได้) การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมจะเห็นได้ชัดเจน แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม หงุดหงิดง่าย
ระยะสุดท้าย (Late Stage)
ในระยะนี้สภาพร่างกายและสติปัญญาจะเสื่อมลงอย่างมาก ต้อง พึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา หวาดระแวงจําใครไม่ได้ และพูดไม่ได้ เคลื่อนไหวช้า หรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้ ไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้เลยแม้แต่การทํากิจวัตรประจําวัน
แนวทางการรักษา
การปฏิบัติการดูแลให้แก่ผู้ป่วยร่วมกับญาติผู้ดูแล
ปรับเปลี่ยนที่พักของผู้ป่วยให้เกิดความปลอดภัย เป็นระเบียบ
แนะนําให้ครอบครัวและผู้ดูแลยอมรับอาการหลงลืมของผู้ป่วย ไม่กดดันผู้ป่วยจากการ สูญเสียความจํา
สื่อสารกับผู้ป่วยด้วยความอดทน ไม่ใช้เสียงดัง พูดสั้นๆทีละเรื่องด้วยประโยคเข้าใจง่าย ไม่เร่งรัดเอาคำตอบ
สอนและกระตุ้นให้ครอบครัวและผู้ดูแลมีทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
การการดูแลให้แก่ผู้ป่วยโดยตรง
กรณีที่รับการบําบัดด้วยยา ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาครบตามแผนการรักษา
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีการกระตุ้นความจํา ความสนใจ และความรู้สึกคุ้นเคย เช่น จัดอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆจัดให้อยู่ที่เดิม เช่น จัดทําตารางการดูแลประจําวัน บอกให้ทราบถึงเวลาสถานที่ บุคคลทุกวัน และ ไม่ควรเปลี่ยนกิจวัตรประจําวันบ่อย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจําวันด้วยตนเอง
จัดกิจกรรมส่งเสริมการทํางานของสมองให้ผู้ป่วย (cognition tasks) และกระตุ้นความจํา เช่น เกมส์จับคู่ เกมส์บิงโก การ์ดฝึกสมองทายปัญหา
ควรฝึกให้ผู้ป่วยมีการเข้านอนตรงเวลา
จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสนใจและการรับรู้สิ่งแวดล้อมและสังคมรอบตัว เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง อ่านหนังสือพิมพ์ พูดคุยเหตุการณ์ประจําวัน กระตุ้นให้บอกชื่อประเภทของสิ่งของ
Neurodevelopmental
disorders
สติปัญญาบกพร่อง
(Intellectual Disability: ID)
ภาวะที่มีระดับสติปัญญาต่ํากว่าเกณฑ์เฉลี่ย(IQ < 70) ร่วมกับความบกพร่อง ของพฤติกรรมการปรับตัว ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัยเมื่อเปรียบเทียบกับเด็ก
ก่อนอายุ 18 ปี
เกณฑ์ในการวินิจฉัยตาม DSM-5
1.ความสามารถทางปัญญาหรือเชาวน์ปัญญาบกพร่อง เช่นมีปัญหาในการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การวางแผน การคิดเชิงนามธรรม การตัดสินใจ การเรียนรู้ทางวิชาการ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งยืนยันโดยการประเมินอาการทางคลินิก และการทดสอบเชาว์ปัญญา
2.ทักษะการปรับตนบกพร่อง ไม่สามารถทำได้ตามเกณฑ์อายุ และตามเกณฑ์มาตรฐานของสังคมและวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดปัญหาและมีข้อจำกัดในการดำรงชีวิตประจำวันด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านร่วมกัน เช่นการสื่อสาร การเข้าสังคมและการใช้ชีวิตอิสระ ปัญหาการปรับตัวเกิดขึ้นทั้งที่บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน และชุมชน
ความบกพร่องในข้อ 1 และข้อ 2 เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการตั้งแต่ช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น
อาการและอาการแสดง
Severe ID
มีพัฒนาการหลายด้านล่าช้าอย่างค่อนข้างชัดเจน สามารถหัดให้ทํางานง่ายๆ ขั้นพื้นฐานได้โดยมีผู้ดูแล
ควบคุมอย่างใกล้ชิด
แต่เด็กเหล่านี้จะไม่สามารถฝึกอาชีพได้
Moderate ID
มักมีพัฒนาการด้านการสื่อสารล่าช้า ช่วยเหลือตนเองได้ ดําเนินชีวิตในสังคมได้โดยมี
ผู้คอยดูแล
Mild ID
เด็กจะมีพัฒนาด้านสังคมและการสื่อสารได้ตามเกณฑ์ รับทราบความรู้ง่ายๆ ต่เด็กกลุ่มนี้ยังจําเป็นต้อง
ได้รับความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาบางประการ
Profound ID
จะมีพัฒนาการทุกด้านล่าช้าอย่างชัดเจนตั้งแต่วัยทารกต้องอาศัยการฝึกและการให้การ
ช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด
แนวทางการช่วยเหลือ
เน้นให้การช่วยเหลือ ดูแล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว
ส่งเสริมให้มีทักษะในการดูแลตนเองได้
ใช้เทคนิคปรับพฤติกรรม ในการจัดโปรแกรมสอนหรือพัฒนาทักษะทางสังคม
ใช้ภาษาที่พูดง่าย สั้น
จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดถัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งชุมชน สามารถขอความช่วยเหลือหรือขอการสนับสนุนจากแหล่งประโยชน์
การบกพร่องด้านการเรียน
(Specific Learning Disorders: SLD)
มีความสามารถในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเรียนผิดปกติ โดยความสามารถด้านการอ่าน การคํานวณ และ/หรือการเขียน
ต่ำกว่า
ความสามารถตามอายุ ระดับการศึกษา และสติปัญญา
โดยไม่ได้เกิดจากความบกพร่อง
ของการมองเห็น การได้ยิน ปัญหาทางอารมณ์ ระบบประสาท สติปัญญา หรือการขาดโอกาสทางการศึกษา
เกณฑ์ในการวินิจฉัยตาม DSM-5
A.
มีความยากลำบากในการเรียนและใช้ทักษะการเรียน
อย่างน้อย 1 ข้อ หลังจากการให้ความช่วยเหลือเต็มที่อย่างน้อย 6 เดือน
อ่านหนังสือผิดพลาดหรืออ่านช้าด้วยความล าบาก (เช่น อ่านผิดพลาด อ่านได้ช้า อ่านด้วยการเดาค ามีความยากล าบาก ในการผสมคำ)
มีความลำบากในการแปลความหมายของสิ่งที่อ่าน( เช่น อ่านได้ถูกต้องแต่เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้ ไม่เข้าใจ ความสัมพันธ์ หรือไม่เข้าใจความหมายลึกซึ้ งที่ซ่อนอยู่ในสิ่งที่อ่าน)
มีความลำบากในการสะกดคำ ( เช่น เติมคำใหม่ อ่านข้าม เอาพยัญชนะหรือสระอื่นมาแทน)
มีความลำบากในการเขียนหนังสือ ( เช่น วางรูปประโยคผิดพลาด สะกดคำผิด มีปัญหาในการเขียนเรียงความ แสดง ความคิดออกมาในรูปแบบการเขียนลำบาก)
มีความลำบากเกี่ยวกับการเรียงตัวเลข ความหมายของตัวเลข การคิดคำนวณ ( เช่น ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลข ค่า ของตัวเลข ความสัมพันธ์ การนับเลขด้วยนิ้ ว การทดเลข การบวก ลบ คูณ หาร )
มีความลำบากเกี่ยวกับ mathematical reasoning ( เช่น มีความลำบากในการนำหลักการคิดคำนวณไปใช้งาน ไปพิสูจน์ความจริงหรือนำไปแก้ปัญหา)
B.
ทักษะการเรียนที่บกพร่อง มีความแตกต่างชัดเจนเปรียบเทียบกับความสามารถในเด็กที่อายุเท่ากัน และมีผลกระทบต่อการ เรียน การท างานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งจะต้องยืนยันข้อมูลจากการใช้เครื่องมือวัดความสามารถที่มีมาตรฐาน (achievement test) หรือ comprehensive clinical assessment ร่วมกับประวัติการเรียน รายงานครูและผลการเรียน สำหรับบุคคลที่อายุ 17 ปีขึ้นไป ใช้เอกสารที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์(สมุดพก เอกสารงานที่ทำportfolio และสรุปผล การประเมินเก่า) มาทดแทน standardized assessment
C.
ปัญหาการเรียนนี้ จะปรากฏในช่วงเด็กวัยเรียน(school -age years) แต่แสดงอาการจะชัดเจนเมื่อถึงช่วงที่ต้องใช้ความ สามารถด้านการเรียนเต็มที่ เช่น ในห้องสอบ ในการทำรายงานเร่งด่วน(ในช่วงdeadline) ที่ต้องใช้การอ่านการเขียน หรือในช่วงที่เร่ง เรียนอย่างหนัก
D.
ปัญหาการเรียนนี้ ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม intellectual Disability, uncorrected visual or auditory acuity, mental disorders, neurological disorders(pediatric stroke or motor disorders, vision & auditory disorder), psychosocial adversity, lack of proficiency in the language of academic instruction หรือ inadequate educational instruction
อาการและอาการแสดง
Impairment in Reading หรือ Dyslexia
มีความสามารถในการอ่านต่ํากว่าเด็กทั่วไป ที่อยู่ในชั้นเดียวกัน มักมีประวัติพัฒนาการด้านการพูดล่าช้า เรียนรู้และจดจําตัวอักษรได้ช้า และเด็กไม่สามารถจําและเขียนชื่อตนเองได้
Impairment in Mathematics หรือ Dyscalculia
เด็กจะมีความสามารถในการคิดคํานวณ ต่ํากว่าเด็กทั่วไปที่อยู่ในชั้นเดียวกัน ไม่เข้าใจสัญลักษณ์(บวก ลบ คูณ หาร) ดูนาฬิกาไม่เป็น
Impairment in Written Expression Disorder หรือ Dysgraphia
สะกดคําผิดหรือเขียนผิดหลักไวยากรณ์ เขียนตัวหนังสือกลับด้านเหมือนภาพสะท้อนจากกระจกเงา
แนวทางในการพยาบาลและการดูแล
การให้การศึกษาพิเศษ
การแก้ไขปัญหาแทรกซ้อนในเรื่องของอารมณ์และพฤติกรรม
ให้ความรู้แก่พ่อแม่และครู เกี่ยวกับลักษณะอาการและสาเหตุของโรคว่าไม่ได้เกิดจากระดับสติปัญญาหรือเด็กไม่มีความรับผิดชอบ
จัดแผนการศึกษารายบุคคล (IEP)
ช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การสร้างสัมพันธภาพ และมีความรู้สึกภูมิในในตนเอง
โรคพฤติกรรมเกเร
(Conduct Disorder: CD)
กลุ่มอาการของเด็กที่มีความผิดปกติในการเข้าสังคม (Social) การสื่อสาร (Communication) และการมีพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ
เกณฑ์ในการวินิจฉัยตาม DSM-5
ความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมและการ สื่อสารได้แก่
ทักษะทางสังคมบกพร่องไม่มีอารมณ์ ร่วมกับคนอื่น เช่น ไม่แสดงอารมณ์ตื่นเต้น ไม่เล่นสนุก ด้วยกัน ไม่ริเริ่มการสื่อสารกับคน หรือริเริ่มเข้าหาคน แบบแปลกๆ เช่น เข้าไปพูดคนเดียว
บกพร่องทาง ภาษากาย เช่น สีหน้าเรียบ ไม่แสดงอารมณ์ทางสีหน้า ไม่แสดงภาษากายเช่น ไม่สบตา ไม่ชี้บอกไม่เข้าใจภาษา กายคนอื่น
บกพร่องด้านสัมพันธภาพกันคน แยก ตัวไม่สนใจคนอื่นไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนไม่มีเพื่อนสนิท
พฤติกรรมซ้ำๆ ความสนใจแคบ
ใช้ภาษาซ้ำๆ ท่าทางซ้ำๆ เช่น ถามซ้ำๆเล่นเสียง ทำเสียงแปลกๆ ตบมือ กระโดดไปมา เอามือปิดหูหมุนตัว หรือเล่นของเล่นแบบซ้ำๆเช่น หมุนล้อ เรียงของ เปิด ปิดไฟ เปิดปิดประตูซ้ำๆ ไปมา
ยึดติดกับกิจวัตร ทำ อะไรในรูปแบบเดิมๆ กินอาหารซ้ำๆ ไม่ชอบการเปลี่ยน แปลง
ยึดติดกับวัตถุ สิ่งของ ต้องถือสิ่งของชิ้น เดิมๆ ไว้ในมือตลอด มีความกลัวแปลกๆ เช่น กลัวห้องน้ำ กลัวเสียง
มีความผิดปกติด้านระบบประสาท สัมผัส (sensory) เช่น ไม่ชอบการสัมผัส การกอด มอง สิ่งของหมุน จ้องมองไฟ เลียสิ่งของ ดมของ
อาการและอาการแสดง
ไม่มีการยิ้มแย้มขณะเข้าสังคม (Social Smile)
ไม่มีการสบตา (Eye Contact)
ไม่มีความวิตกกังวลเมื่อต้องแยกจาก (Separation Anxiety)
การเล่นหรือการทํากิจกรรมจะมีลักษณะไม่ยืดหยุ่น ทําซ้ําๆ มีพิธีรีตอง
ชอบของที่หมุนได้หรือสั่นได้
แนวทางในการพยาบาล
และการดูแลช่วยเหลือ
เป้าหมาย
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดพฤติกรรมปัญหาที่ไม่พึ่ง และกระตุ้น พัฒนาการตามวัย
เป้าหมายระยะยาว
พัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง สร้างมนุษยสัมพันธ์ การเรียน และการประกอบอาชีพ
การฝึกพ่อแม่ของเด็ก ให้มีความสามารถกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กตามขั้นตอน
กิจกรรมบําบัด/พฤติกรรมบําบัด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์และพัฒนาการเรียนรู้
การศึกษาพิเศษ
กระตุ้นให้เด็ก ASD ได้เข้ากลุ่่มในวัยเดียวกัน
ฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยการใช้กิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมเข้าจังหวะ ละครบำบัด ดนตรี การออกกำลังกาย
โรคซนสมาธิสั้น
(Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder: ADHD)
อาการและอาการแสดง
1. Inattention Type:
มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติ
2. Hyperactive:
อยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ
3. Impulsive Type:
หุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจในการทําสิ่งต่างๆ
แนวทางการรักษา
การรักษาด้วยยา
CNS stimulants เช่น การใช้ Dextroamphetamine ในเด็กอายุ มากกว่า 3 ปี
การใช้ Methylphenidate ในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี
การรักษาทางจิตสังคม
จิตบําบัดรายบุคคล พฤติกรรมบําบัด การให้คําปรึกษา และการให้ความ ช่วยเหลือด้านการเรียน
แนวทางในการพยาบาล
สำหรับมารดา
ดูแลการตั้งครรภ์ให้ปกติ และฝากครรภ์ให้ถูกต้อง
การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
การใช้พฤติกรรมบําบัดในการจัดการและลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การสร้างสัมพันธภาพเชิงบําบัดรายบุคคล
การจัดกิจกรรมบําบัดที่เสริมสร้างพัฒนาการของเด็กตามวัย
การฝึกการคิด ควบคู่กับการปรับพฤติกรรม
เกณฑ์ในการวินิจฉัยตาม DSM-5
มีอาการที่ทำให้เกิดปัญหาและเป็นมากกว่าที่ควรจะพบได้ในระดับพัฒนาการของผู้ป่วยต่อไปนี้อย่างน้อย 6 ข้อ เป็น เวลานานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน ในกลุ่มอาการขาดสมาธิ(inattention) และ/หรือ อาการอยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น (hyperactivity-impulsivity)
อาการขาดสมาธิ (inattention)
ขาดความละเอียดรอบคอบ หรือทำงานผิดจากความสะเพร่า
ขาดความตั้งใจที่ต่อเนื่องในการทำงานหรือการเล่น
ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย
ไม่ทำตามคำสั่งหรือทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ(โดยไม่ใช่เพราะดื้อหรือไม่เข้าใจ)
ขาดการจัดระเบียบในการทำงานหรือในกิจกรรมต่างๆ
มักหลีกเลี่ยงหรือไม่อยากทำงานที่ต้องตั้งใจพยายาม (เช่น การทำการบ้าน)
ทำของที่จำเป็นต้องใช้หายบ่อยๆ(เช่น อุปกรณ์การเรียน)
วอกแวกตามสิ่งเร้าได้ง่าย
ขี้ลืมเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
อาการอยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น (hyperactivity-impulsivity)
มักยุกยิกหรือนั่งไม่นิ่ง
มักนั่งไม่ติดที่ เช่นลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในที่ที่ควรนั่งอยู่กับที่ 3. มักวิ่งไปมาหรือปีนป่ายมากเกินควร (หรือมีแค่อาการกระวนกระวายสำหรับผู้ที่เป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่)
เล่นหรือใช้เวลาว่างอย่างเงียบๆไม่ค่อยได้
มักไม่อยู่เฉยหรือแสดงออกราวกับติดเครื่องยนต์ไว้ตลอดเวลา
พูดมากเกินไป
มักพูดโพล่งตอบโดยไม่ทันฟังคำถามจนจบ
มักไม่ค่อยรอจนถึงคิวของตน
ขัดจังหวะผู้อื่น เช่นพูดแทรก หรือสอดแทรกการเล่นของผู้อื่น
อาการความบกพร่องในบางข้อเริ่มปรากฏตั้งแต่ก่อนอายุ7 ปี
อาการความบกพร่องเกิดขึ้นในอย่างน้อย 2 สถานการณ์ขึ้นไป เช่นเป็นทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
อาการที่เป็นทำให้เกิดความบกพร่องที่ชัดเจนในด้านสังคม การเรียน หรืออาชีพการงานของผู้ป่วย
ไม่ได้เป็นจากโรคทางจิตเวชอื่นๆเช่น pervasive developmental disorder, psychotic disorder, mood disorder,anxiety disorder, dissociative disorder หรือ personality disorder
โรคพฤติกรรมเกเร
(Conduct Disorder: CD)
เด็กที่มี
อายุต่ำกว่า 18 ปี
ที่มีรูปแบบของพฤติกรรม ในลักษณะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม
พฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นหรือสัตว์ พูดโกหก หลอกลวง
หรือ มีพฤติกรรมลักขโมย จี้ ปล้น ข่มขืน จะกระทําผิดหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่นซ้ําๆ
ติดต่อกันนานกว่า 12 เดือน
อาการและอาการแสดง
ต้องมีอาการอย่างน้อย 3 อย่างในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
และในช่วงเวลา 6 เดือน ต้องมี อาการอย่างน้อย 1 เดือน
ก้าวร้าวและทําร้ายบุคคล
ทําลายทรัพย์สิน
หลอกลวง หรือลักขโมย
ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์อย่างร้ายแรง
แนวทางในการทางพยาบาล
และการดูแลช่วยเหลือ
พฤติกรรมบําบัด
ครอบครัวบําบัด
การฝึกทักษะวิชาชีพ
การรักษาด้วยยา
Haloperidot: รักษาพฤติกรรมก้าวร้าว
Lithium: รักษาพฤติกรรมก้าวร้าว
Stimulants: รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น
SSRls: รักษาผู้ป่วยที่มีอาการ Impulsivity
การให้คำแนะนำการเลี้ยงดุแก่ผู้ปกครองและครูที่โรงเรียนในการจัดการปัญหาพฤติกรรมต่างๆของเด็ก
เปิดดอกาสให้ปรับเปลี่ยนพลังความคับข้องใจ ความโกรธ เป็นพลังสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย เช่น การเล่นกีฬา และเล่นดนตรี เป็นต้น
ส่งเสริมตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง การพัฒนาเอกลักษณ์แห่งตนอย่างเหมาะสมด้วยการเสริมสร้างประสบความสำเร็จ การประเมินศักยภาพของตนเอง และการตั้งเป้าหมายของชีวิต
ความผิดปกติทางการรับประทาน
(Feeding and Eating Disorders)
โรคคลั่งผม
(Anorexia nervosa)
ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกังวลและคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับรูปร่างและน้ําหนักตัวอย่างมาก
เกณฑ์การวินิจฉัย DSM-5
A.
จํากัดการบริโภคอาหารเมื่อเทียบกับความต้องการของร่างกายจนส่งผลให้น้ําหนักตัวต่ํากว่า เกณฑ์ปกติอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งในบริบทของอายุ เพศ พัฒนาการ และสุขภาพทางกาย ซึ่งน้ำหนักต่ำกว่าน้ำหนักที่น้อยที่สุดของน้ำหนักปกติหรือคือน้ำหนักที่ต่ำกว่าน้ำหนักที่ควรจะเป็น
B.
กลัวน้ําหนักเพิ่มขึ้นหรือกลัวอ้วนอย่างมาก หรือมีพฤติกรรมที่ขัดขวางการเพิ่มขึ้นของน้ําหนัก ถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนักต่ำกว่าปกติอย่างชัดเจนแล้วก็ตาม
C.
มีการรับรู้น้ำาหนักตัวหรือรูปร่างของตนเองผิดปกติ หรือการประเมินตนเองขึ้นอยู่กับน้ําหนักตัว หรือรูปร่างมีเป็นอย่างมาก หรือขาดความตะหนักเกี่ยวกับอันตรายของการมีน้ําหนักตัวต่ํากว่า
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ด้านร่างกาย
น้ําหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผอมจนผิวหนังหุ้มกระดูก
ด้านจิตใจ
ไม่พึงพอใจในรูปร่างและภาพลักษณ์ของตนเอง รู้สึกผิดถ้ารับประทานอาหารเข้าไป
ด้านพฤติกรรม
แยกตัวหรือหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร
โรคล้วงคอ
(Bulimia Nervosa)
รู้สึกกังวลและคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างและน้ําหนักของตนเอง
แต่จะมีพฤติกรรมการกินที่เรียกว่า Binge eating (ทานปริมาณมากเกิน) และพยายามคุมน้ำหนักโดยการล้วงคอ
เกณฑ์การวินิจฉัย ตามเกณฑ์ของ DSM-5
A. มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มากผิดปกติ (Binge eating)
มีการกินอาหารในช่วงเวลาหนึ่ง (เช่น ช่วงเวลา 2 ชั่วโมง) ในปริมาณที่มากกว่าคนทั่วไป จะกินได้อย่างชัดเจนภายใต้สถานการณ์ที่คล้ายกัน และมีช่วงเวลาที่เท่ากัน
มีความรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมการกินอาหารได้ในช่วงเวลานั้น (เช่น รู้สึกว่าหยุดกิน ไม่ได้ หรือไม่สามารถควบคุมชนิดและปริมาณอาการที่กินได้ เป็นต้น)
B. มีพฤติกรรมที่ชดเชยเพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ําหนักที่ไม่เหมาะสม เช่น การทําให้ตนเอง อาเจียน การใช้ยาระบายหรือยาขับปัสสาวะ หรือยาอื่นๆในทางที่ผิด อดอาหาร หรือออกกําลัง กายอย่างหักโหม เป็นต้น
C. ทั้งพฤติกรรมการกินอาหารที่มากผิดปกติและพฤติกรรมชดเชยที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในระยะเวลา 3 เดือน
D. มีการประเมินตนเองขึ้นอยู่กับเรื่องน้ําหนักตัวหรือรูปร่างเป็นอย่างมาก
E. ความผิดปกตินี้ไม่ได้เกิดเฉพาะช่วงที่เป็น Anorexia Nervosa เท่านั้น
กลุ่มที่มีอาการสงบ (In full remission) เป็นกลุ่มที่หลังจากที่มีอาการต่างๆ ครบถ้วนตามเกณฑ์ วินิจฉัย แล้วไม่พบอาการตามเกณฑ์ข้อใดอีกในช่วงเวลาหนึ่ง
กลุ่มที่มีอาการสงบบางส่วน (Partial remission) เป็นกลุ่มที่หลังจากที่มีอาการต่างๆ ครบถ้วนตาม เกณฑ์วินิจฉัย แล้วจะพบเพียงบางอาการเท่านั้นที่ยังคมีอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
อาการและอาการแสดง
ด้านร่างกาย
น้ําหนักเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ต่อมน้ําลายบวม ฟันเสื่อมสภาพ มีฟันกระรอกขึ้น
ด้านจิตใจ
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ซึมเศร้า วิพากษ์วิจารณ์ตนเองอย่างรุนแรง การมีคุณค่าในตนเองขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนัก
ด้านพฤติกรรม
จะมีพฤติกรรมการกินอย่างมากมาย และควบคุมคนเองไม่ได้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะพยายามควบคุมน้ําหนักโดยการล้วงคอให้อาเจียน
(ล้วงคอให้อาเจียนทําอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในระยะเวลา 3 เดือน)
อาจใช้ยาระบายหรือยาขับปัสสาวะ
แนวทางในการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร และสารน้ําอย่างเพียงพอ
ป้องกันการเกิดอันตรายที่อาจเกิดจากความดันโลหิตต่ํา อาการอ่อนเพลีย
วางแผนจัดโปรแกรมการออกกําลังกายอย่างเหมาะสม ร่วมกับผู้ป่วย แพทย์และนักกายภาพบําบัด
ทำจิตบำบัดรายบุคคล/กลุ่ม เพื่อให้เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปร่าง
จัดกิจกรรมบำบัดที่ช่วยส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเอง
พฤติกรรมบำบัด เช่น ฝึกสมาธิ การฝึกสติให้ยับยั้งชั่งใจ