Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกระดูกพรุน (OSTEOPOROSIS), นางสาวกาญจนา ลาวัล เลขที่ 60 ห้อง A รุ่นที่…
โรคกระดูกพรุน (OSTEOPOROSIS)
กิจกรรมการพยาบาล
กระตุ้นให้ออกกำลังกาย โดยวิธี weight bearing exercise แนะให้เห็นถึงประโยชน์การออกกำลังกาย
ให้ลดพฤติกรรมเสี่ยงเช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ดื่มกาแฟ
ให้รับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง เช่น นม เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
แนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยงในการหกล้มได้ง่าย เนื่องจากการหกล้มเพียงเล็กน้อยจะส่งเสริมให้เกิดการหักของกระดูก
ดูแลให้ร่างกายได้รับแสงแดดในยามเช้า 30 นาที 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์
ใช้ความร้อนร่วมกับการนวดและพริกตะแคงตัวอย่างระมัดระวัง
จัดท่านอนให้ถูกต้อง โดยหนุนหมอนเตี้ยๆ พยุงบริเวณคอและหัวไหล่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง
ให้รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม
ให้ยาบรรเทาปวด และยายับยั้งการสลายกระดูก
พยาธิสภาพการเกิดโรคกระดูกพรุน
พยาธิสภาพการเกิดภาวะกระดูกพรุน ในวัยหลังหมดประจำเดือน ( Type I )
ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
มีการหลั่ง interleukin-1 และ tumor necrosis factor-alpha จาก monocytes
เพิ่มการทำงานของ osteoclast
การหลั่ง Parathyroid hormone ลดลง
วิตามินดีในรูป 1,25 dihydroxy vitamin D ลดลง
การดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็กลดลง
ไตเพิ่มการขับแคลเซียม
เพิ่มการสูญเสียมวลกระดูก
พยาธิสภาพการเกิดการเกิดภาวะกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ ( Type II )
การสูงอายุ
ปฏิกิริยาการดูดซึมของลำไส้ต่อ 1,25 dihydroxy vitamin D ลดลง
การดูดซึมแคลเซียมลดลง
ปริมาณแคลเซียมในกระแสเลือดลดลง
เพิ่มการหลั่ง Parathyroid hormone
การทำหน้าที่ของไตลดลง และร่างกายได้รับแสงแดดน้อย
การสังเคราะห์ 1,25 dihydroxy vitamin D ลดลง
การสร้างกระดูกใหม่ลดลง
เพิ่มการสูญเสียมวลกระดูก
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งเป็นช่วงที่ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด
การสูบบุหรี่ การดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
การดื่มกาแฟมากๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น โค้ก ชา เป็นต้น ก็ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
สาเหตุจากกรรมพันธุ์ หากสมาชิกในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย มีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน โอกาสที่บุตรหลานจะเป็นโรคกระดูกพรุนจะสูงถึง 80% ส่วน 20% ที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งเป็นภาวะปกติของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง
การได้รับปริมาณแคลเซียมต่ำในวัยชรา จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง
การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย ทำให้อาการโรคกระดูกพรุนรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา
การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี ทำให้มีการทำลายเซลล์กระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุน
ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ในบ้านเรามักจะไม่มีปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี
การได้รับยาบางอย่าง เช่น ออร์ติโซน สเตียรอยด์ ยากันชัก ยาลดกรดจำพวก antacid เป็นต้น จะลดความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้
อาการของโรคกระดูกพรุน
ส่วนสูงลดลง กระดูกข้อหรือกระดูกสะโพกอาจหักได้ง่าย มีอาการปวดกระดูกเรื้อรัง หรือหลังค่อม
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
เบื้องต้นแพทย์จะตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย หากมีอาการปวดหลังเนื่องจากการทรุดตัวของกระดูกสันหลัง มีประวัติกระดูกหัก และมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การตัดรังไข่ การใช้ยาสเตียรอยด์ หรือมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ประจำเดือนหมดแล้ว การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ไม่ค่อยออกกำลังกาย จะมีแนวโน้มที่เป็นโรคกระดูกพรุนค่อนข้างสูง
หากตรวจร่างกายจะพบว่าส่วนสูงลดลง มีความผิดปกติของแขนขาซึ่งเกิดจากกระดูกหัก หากถ่ายภาพรังสี จะพบหมอนรองกระดูกสันหลังและกระดูกสันหลังยุบเข้าไปทั้งด้านบนและล่าง
ส่วนการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density; BMD) จะใช้เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก Dual energy X-ray absorptiometry (DXA) และจำเป็นต้องมีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสม แพทย์ถึงจะส่งตัวให้ตรวจ
การรักษา โรคกระดูกพรุน
นอกจากนั้นการออกกำลังกาย การใช้เครื่องพยุงหลัง และการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ก็จะช่วยเสริมสร้างให้อาการดีขึ้นด้วย
แพทย์จะให้ยายับยั้งการสลายกระดูกจำพวก Bisphosphanate ยาเสริมสร้างกระดูก ฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจนหลังหมดประจำเดือน และยาบรรเทาปวด
นางสาวกาญจนา ลาวัล เลขที่ 60 ห้อง A รุ่นที่ 26