Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)
อาการชักที่สัมพันกับการมีไข้ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อระบบประสาท
ปัจจัยเสี่ยง
อายุ เคยชักตอนอายุก่อน 1 ปี
ความผิดปกติของระบประสาทก่อนการชัก
ไข้ร่วมกับการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ
อาการ
อุณหภูมิสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส เกิดใน 24 ชม. ที่เริ่มมีไข้ เกิดในเด็ก 3 เดือน - 5 ปี
ชนิดของการชักจากไข้สูง
Simple febrile seizure
ชักทั้งตัว เกิดสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที ไม่ชักซ้ำ ก่อนหลังชัก ไม่มีอาการทางระบบประสาท
Complex febrile seizure
ชักเฉพาะที่ นานกว่า 15 นาที มีการชักซ้ำ หลังชักมีอาการผิดปกติของระบบประสาท มีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดลมชัก
โรคลมชัก (Epilepsy)
ทำให้เกิดอาการชักซ้ำ ๆ ครั้งที่ 2 ห่างกันมากกว่า 24 ชั่วโมง ผลจากเซลล์ประสาทสมองปล่อยคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ
สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อระบบส่วนกลาง พัฒนาการทางสมอง และอื่น ๆ ถ้ามีพยาธิสภาพภายในสมองจัดอยู่ในกลุ่ม Symtomatic epilepsy
อาการและอาการแสดง
Preictal period
ระยะก่อนชัก จะมีอาการนำมาก่อน และมีอาการเตือน คือ ปวด ชา เห็นภาพหลอน เป็นต้น
Peri-ictal period
เกิดไม่นานเกินครึ่งชั่วโมง เกิดทันที ไม่เกิน 5 นาที
Postictal peroid
ชักสิ้นสุดลง อาจเกิดนานหลายวัน มีอาการคือ สับสน อ่อนแรงเฉพาะที่ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉพาะที่ การเคลื่อนไหวร่างกายอัตโนมัติขณะชัก เช่น เคี้ยวปาก กระพริบตาถี่ ๆ
Interictal peroid
ช่วงเวลาระหว่างการชัก อาจพบคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
เยื่อหุ้มสมองชั้นในสุดและอแรคนอยด์ที่อยู่รอบ ๆ สมอง ไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองถูกทำลาย เกิดจากเชื้อ นิวโมคอคคัส H. Influenzae และเมนิงโกคอคคัส
เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย
มีอาการไข้สูง หนาวสั่น คอแข็ง (Nuchal rigidity) ตรวจพบ Kernig sign และ Brudzinski sign ให้ผลบวก
คอแข็ง (Stiff neck)
ตรวจดู Kernig’s sign
ได้ผลบวก (โดยให้ผู้ป่วยนอนหงายขาตรง งอข้อสะโพกข้างใดข้างหนึ่งให้โคนขาตั้งฉากกับแนวราบ แล้วค่อยๆ จับขาเหยียดข้อเข่าออกให้ตรง ผู้ป่วยจะปวดและตึงที่ขามาก) และมี
Brudzinski’s sign
ได้ผลบวก (โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย แล้วประคองศีรษะผู้ป่วยขึ้นให้คางชิดอก ผู้ป่วยจะงอเข่าและสะโพกเข้าหาตัวทันที)
ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitides
การตรวจวิเคราะห์ยืนยันเชื้อก่อโรคกาฬหลังแอ่น
วิธีทางชีวเคมี PCR
วิธีตรวจหาค่า Minimum inhibition concentration (MIC)
วิธี Seminested-PCR
วิธีการติดต่อ
ติดต่อจากคนสู่คน โดยน้ำมูกน้ำลาย (droplet) ระยะฟักตัวประมาณ 2 - 10 วัน
แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย
เชื้อเจริญใน Nasopharynx ทำใ้หเกิดการอักเสบเล็กน้อย พบมากที่สุด
แพร่เชื้อเข้ากระแสเลือดทำให้เลือดเป็นพิษ
พบผื่น เลือดออกตามผิวหนัง อาจพบเลือดออกในลำไส้ ต่อมหมวกไต
แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เชื้อเข้าเยื่อหุ้มสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการและอาการแสดง
ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง จ้ำเลือด (pink macules)
การรักษา
Glucocorticoid therapy ก่อนการให้ยาปฏิชีวนะ 15 นาที
ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone/PGS/Chloramphenicol
การรักษาแบบประคับประคองและตามอาการ
การป้องกันผู้สัมผัสโรค
ผู้ที่อญุ่ในบ้านเดียวกันหรือผู้ใกล้ชิดต้องได้รับยาป้องกัน คือ Rifampicin หรือ Ceftriaxone หรือ Ciprofloxacin
ให้ความรู้ในการป้องกันโรคแก่ประชาชน
ให้วัคซีนป้องกันโรค
ถ้าต้องเดินทางไปในที่ ๆ มีการระบาดให้ฉีดวัคซีนป้องกัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงติดโรค
ภาวะน้ำคั่งในกระโหลกศีรษะ (Hydrocephalus)
อาการสำคัญ
ศีรษะโต กระหม่อมหน้าโป่งตึง ศีรษะโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับทรวงอก ปวดศีรษะ ซึม ไม่ดูดนม อาเจียนพุ่ง
การรักษา
รักษาด้วยยาขับปัสสาวะ Acetazolamide ช่วยลดการสร้างน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง ประมาณ 25 - 50 %
การรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดใส่สายรบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย (ExternalVentricularDrainage, EVD)
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองสู่ช่องในร่างกาย เช่น ช่องท้อง ช่องปอด ช่องหัวใจ
ภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
อาการ
กระหม่อมหน้าโป่งตึง มีรอยแยกของกระโหลกศีรษะมากขึ้น อาเจียน กระโหลกศีรษะโตมาก จอประสาทตาบวม
การรักษา
รักษาเฉพาะ
รักษาจากสาเหตุ เช่น เนื้องอก การอุดกั้นของทางเดินน้ำไขสันหลัง
การรักษาเบื้องต้น
กรณีมี IICP สูงอย่างเฉียบพลัน
จัดท่านอนศีรษะสูง 15 - 30 องศา เพื่อช่วยให้การไหลเวียนกลับของน้ำไขสันหลังกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น
ใส่ท่อหลอดลมคอและช่วยหายใจ เพื่อลดความดัน PaCO2 ในหลอดเลือดแดง
ให้ยาขับปัสสาวะ และรักษาความผิดปกติที่เกิดต่อเนื่องจากพยาธิสภาพเดิมหรือที่เกิดร่วม เช่น ภาวะสมองบวม
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการสำคัญ
มีก้อนที่หลัง หรือที่หน้าผาก แขนขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ มีไข้ร่วมกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
Spina bifida
มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลัง
Spina bifida occulta
เกิดเป็นช่องโหว่ระหว่างแนวกระดูกสันหลัง
ไม่จำเป็นต้องรักษา
Spina bifida cystica
มีการยื่นของกระดูกไขสันหลัง เห็นเป็นถุงหรือก้อน แบ่งเป็น
Meningocele
ไม่มีเนื้อเยื่อประสาทและไขสันหลัง ไม่เกิดอัมพาต
Myelomeninggocele
ก้อนมีเยื่อหุ้มสมอง น้ำไขสันหลังและไขสันหลัง อันตราย อาจทำให้เกิดความพิการ
ต้องผ่าตัดภายใน 24 - 48 ชั่วโมง ภายหลังเกิด เพื่อลดการติดเชื้อ
การวินิจฉัย
ประวัติมารดาไม่ได้รับโฟลิคขณะตั้งครรภ์ ได้ยากันชัก ประเภท Valporic acid
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับสติปัญญาบกพร่อง
อาการสำคัญ
ไม่รู้สึกตัว เกร็งเมื่อถูกกระตุ้น การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ ดูดกลืนบกพร่อง มีประวัติสมองขาดออกซิเจน Cerebral palsy มีการเจริญเติบโตช้า ปัญญาอ่อน
ประวัติ
มารดามีการติดเชื้อขณะคลอด เช่น หัดเยอรมัน
สมองพิการ (CP : Cerebral palsy)
กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Splastic)
Splastic quadriplegia
กล้ามเนื้อแขนขา 2 ข้าง คอ ลำตัวอ่อนผิดปกติ
Splastic diplegia
แขนขา ทั้ง 2 ข้าง ขาเป็นมากกว่าแขน
Splastic hemiplegia
ผิดปกติที่แขนขาซึกใดซีกหนึ่ง
Athetoidsis
การเคลื่อนไหวผิดปกติตลอดเวลาขณะตื่น
Ataxia cerebral palsy
เดินเซ ล้มง่าย ทรงตัวไม่ดี
Mixed type
หลายอย่างร่วมกัน
การะพยาบาลเด็กที่ไม่รู้สึกตัว
ระบบหายใจ
เป้าหมายคือ ทำทางเดินหายใจให้โล่ง
จัดท่านอนตะแคงข้าง พเื่อป้องกันการสำลัก
ดูแลไม่ให้มีอาหารและเศษอาหารอยู่ในช่องปาก
ดูดเสมหะ
แรงดันภายในสมอง
เป้าหมายคือ แรงดันในสมองไม่เพิ่มขึ้น
จัดท่านอนให้สูง 15 - 30 องศา สะโพกงอไม่เกิน 90 องศา
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงดันในสมองเพิ่ม เช่น การก้มหรือเงยคือเต็มที่
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา รบกวนให้น้อยที่สุด