Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกปลิ้น (Inversion of the uterus or uterine inversion) - Coggle Diagram
มดลูกปลิ้น
(Inversion of the uterus or uterine inversion)
ความหมาย
ภาวะที่ยอดมดลูกรั้งลงมาส่วนล่างของโพรงมดลูก ซึ่งอาจพ้นปากมดลูกออกมาหรือโผล่ออกมาถึงปากช่องคลอด
ชนิดของมดลูกปลิ้น
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete inversion)
ยอดมดลูกเคลื่อนต่ำลงแต่ยังไม่พ้นปากมดลูก
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (complete inversion) ยอดมดลูกเคลื่อนพ้นปากมดลูกแต่ยังไม่ถึงปากช่องคลอด
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์และเคลื่อนต่ำลงมานอกปากช่องคลอดลงมา นอกปากช่องคลอด (prolapsed of complete inverted uterus)
พยาธิสภาพ
เมื่อเกิดการปลิ้นของมดลูกภายหลังทารกคลอดหรือภายหลังคลอดรกแล้ว
ปากมดลูกและมดลูกส่วนล่างจะมีการหดรัดตัวเป็นวงแหวนล้อมรอบส่วนของมดลูกที่หย่อนตัวลงมาทําให้บรเิวณที่ถูกรัดไว้นั้นขาดเลือดไปเลี้ยงเกิดการบวมและมีเนื้อตาย ในที่สุดเนื้อตายนั้นจะหลุดออกมา
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกมาทันทีภายหลังคลอดในกรณีที่รกคลอดแล้ว
มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ถ้ารกยังไม่ลอกตัวหรือรกติดแน่น
มีอาการช็อคจากการปวดและการเสียเลือดมาก
การตรวจภายในจะคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูกหรือคลําได้ก้อนในช่องคลอดหรือก้อนโผล่ออกมานอกช่องคลอดถ้ารกยงัไม่หลุดก็จะเห็นรกติดกับก้อนเนื้อนั้น
การตรวจหน้าท้องในรายที่เป็นมดลูกปลิ้นชนิดไม่สมบูรณ์
จะพบว่ายอดมดลูกเป็นแอ่งหรือคล้ายปล่องภูเขาไฟในรายที่มดลูกปลิ้นสมบูรณ์จะคลําไม่พบยอดมดลูก
ผลกระทบ
มารดา
เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกปลิ้น คือเลือดออกอย่างรุนแรง เจ็บปวดมากหรือช็อคจากการเสียเลือดและอาจเป็นอันตรายถึงขั้น เสียชีวิตได้
ทารก
ทำให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า
รวมถึงการสรา้งเสริมสัมพันธภาพระหวา่งมารดาและทารกล่าช้า
การรักษา
การช่วยเหลือการคลอดรกอย่างถูกวิธีการตรวจภายในหลังจากทําคลอดรกและหลังการเย็บแผลสามารถประเมินสภาพได้รวดเร็ว
ให้สารน้ำและให้เลือดอย่างเพียงพอ หรือการฉีดมอร์ฟีนเพื่อระงับอาการปวด
ดันมดลูกกลับภายใต้การดมยาสลบโดยใช้ฮาโลเธน (halothane) เพื่อให้ทุกส่วนของร่างกายคลายตัวและอาจให้สารคลายตัวของมดลูกด้วยกลุ่มของโทโคไลซีส (tocolysis)
ถ้ารกลอกตัวแล้วให้เริ่มทําการดันมดลูกกลับได้ทันทีถ้ารกยังไม่ลอกตัวใหเ้ซาะรกออกก่อนและใช้ฝ่ามือส่วนปลายและนิ้ว หงายขึ้น แล้วดันยอดมดลูกที่ปลิ้นมาอยู่ข้างนอก ให้กลับเข้าไปตามแนวแกนของช่องทางคลอด
เมื่อดันเข้าที่แล้วให้ oxytocin
ทันทีเพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี
ให้ยาป้องกันการติดเชื้อและให้ายกลุ่มธาตุเหล็กรักษาภาวะเลือดจาง
ในกรณีที่ไม่สามารถดันกลับคืนได้ต้องผ่าตัดทางหน้าท้องช่วยทันที
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อการป้องกันการเกิดภาวะมดลูกปลิ้น
1.1 ห้ามดึงสายสะดือ เพื่อให้รกคลอดก่อนการตรวจสอบว่า รกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้ว
1.2 ก่อนทาคลอดรก ต้องตรวจสอบว่า รกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้วทุกครั้ง จากนั้นหากมีอาการแสดงของรกลอกตัว ให้คลึงมดลูกให้มีการหดรัดตัวกลมแข็งก่อนทำคลอดรกหรือไล่ก้อนเลือด
1.3 เมื่อรกคลอดออกมาแต่เยื่อหุ้มรกยังค้างอยู่ ผู้ทําคลอดควรคลํายอดมดลูกว่าหดรัดตัวแข็ง ก่อนที่จะดึงรกเพื่อรั้งให้เยื่อหุ้มรกส่วนที่เหลือลอกออกมา
1.4 หลังทําคลอดรกคลึงให้มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง เพื่อป้องกันการตกเลือด
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและให้เลือด เพื่อป้องกันภาวะช็อคจากการเสียเลือด
2.1 ดูแลมดลูกที่ปลิ้นมานอกปากช่องคลอดให้ชุ่มชื้นไม่แห้งโดยใชผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือคลุมและกดผนังมดลูกที่ปลิ้น ไม่ให้เลือดไหลออกมามาก ในขณะรอแพทย์มาดันมดลูกกลับ
2.2 รายงานแพทย์เพื่อมาดันมดลูกกลับ
2.3 ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
2.4 สังเกตภาวะช็อค ได้แก่ เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ หากมีอาการให้รายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดามีโอกาสเกิดมดลูกปลิ้น
เนื่องจากทําคลอดรกไม่ถูกวิธีและ/หรือการฝังตัวของรกแน่นกว่าปกติ
มารดามีโอกาสตกเลือดหรือช็อค เนื่องจากมีภาวะมดลูกปลิ้น
มารดาปวดมดลูกมาก เนื่องจากมดลูกปลิ้น
มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลและกลัว
เนื่องจากภาวะมดลูกปลิ้น
สาเหตุ
ทําคลอดรกในขณะที่รกยังไม่ลอกตัว หรือรกเกาะแน่น
ดันยอดมดลูกที่หน้าท้องมารดามากเกินไปในการช่วยทําคลอดรก
มดลูกและปากมดลูกอยู่ในภาวะคลายตัว
การดึงสายสะดือแรงเกินไป
รกเกาะบรเิวณส่วนยอดของมดลูก
สาเหตุส่งเสริม
6.1 มีพยาธิสภาพที่มดลูก เช่น ผนังมดลูกบางและยืดมาก
6.2 ผนังมดลูกหย่อน