Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่1-11, นางสาวปัณฑิตา รักษาพล เลขที่ 34 - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่1-11
ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504-2509
เน้นการขยายสถานบริการ สาธารณสุขได้แก่โรงพยาบาลและสถานีอนามัยให้เป็นพื้นฐานในการ
พัฒนาประเทศมีการก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่ๆแต่ยังไม่เน้นหนักในส่วนภูมิภาคเท่าที่ควร
ด้านอนามัยปราบปรามและควบคุมโรคติดต่อนั้นได้ดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ยกเว้นในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และพยาบาลในชนบทห่างไกล
ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554
แนวคิดน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพและยึดหลักการสุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดี
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียงเพื่อสร้างให้สุขภาพดีบริการดีสังคมดีชีวิตมีความสุขอย่างพอเพียง
พันธกิจ
สร้างเอกภาพทางความคิดสร้างจิตสำนึกสุขภาพใหม่สร้างระบบจัดการที่โปร่งใสสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์
1.การสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการจัดการระบบสุขภาพ
2.การสร้างวัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขในสังคมแห่งสุขภาวะ
3.การสร้างระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่ผู้รับบริการอุ่นใจผู้ให้บริการมีความสุข
4.การสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามสุขภาพ
5.การสร้างทางเลือกสุขภาพที่หลากหลายผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากล
6.การสร้างระบบสุขภาพฐานความรู้ด้วยการจัดการความรู้
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2510-2514
เน้นการวางแผนกำลังคนและการกระจายการพัฒนาสู่ชนบทเร่งรัดการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขการปรับปรุงบริการสาธารณสุขโดยขยายขอบเขตการบริการด้าน สาธารณสุขแก่ประชาชนในชนบทห่างไกล
มีการบังคับนักศึกษาแพทย์ให้ทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็นครั้งแรกในพศ. 2508
ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2515-2519
เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้นกำหนดนโยบายประชากรเป็นครั้งแรกมุ่งเน้นการอนามัยแม่
และเด็ก การวางแผนครอบครัว การควบคุมโรคติดต่อ การปรับปรุงและขยายการบริการรักษา
มีการทดลองรูปแบบการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม
มีนโยบายให้บริการรักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้มีรายได้น้อยเป็นครั้งแรกพ.ศ. 2518
ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524
มุ่งเน้นที่การแก้ไขและลดช่องว่างของปัญหาสาธารณสุขการให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสานแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงตั้งเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 ด้วยกลยุทธ์สาธารณสุขมูลฐานในพ.ศ. 2522 โรคติดต่อบางอย่างลดลงจนไม่เป็นปัญหา
เริ่มมีโรงพยาบาลประจำอำเภอแทนศูนย์การแพทย์และอนามัยและมีโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
โรคขั้นพื้นฐานในครั้งแรกมีการอบรมผสส./อสม.
ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529
การจัดตั้งโรงพยาบาลระดับอำเภอให้ครบทุกอำเภอรวมทั้งยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ให้เป็นสถานี
อนามัยทั้งหมด
เน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออกเน้นการพัฒนาชนบทอย่างผสมผสานโดยชุมชนมีส่วนร่วมภายใต้ระบบของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.)
ฉบับที่7 พ.ศ. 2535-2539
เน้นการพัฒนาคุณภาพบริการและการแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน
การพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพ
เน้นการพัฒนาสถานีอนามัยให้เป็นจุดเชื่อมของงานสุขภาพดีถ้วนหน้า
ฉบับที่ 9 พ ศ 2545–2549
มีระบบภูมิคุ้มกันที่ให้หลักประกันและคุ้มครองสุขภาพของประชาชน
มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและใช้อย่างรู้เท่าทันโดยเน้นภูมิปัญญาไทยและการพึ่งตนเอง
มีรากฐานที่เข้มแข็งจากการมีความพอเพียงทางสุขภาพในระดับครอบครัวชุมชน
มีความรอบคอบและรู้จักความพอประมาณอย่างมีเหตุผลในการเงินการคลังเพื่อสุขภาพทุกระดับ
มีการบูรณาการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูและคุ้มครองผู้บริโภค
มีคุณธรรม จริยธรรม คือความซื่อตรงไม่โลภมากรู้จักพอ
ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530-2534
ขยายสถานบริการสาธารณสุขให้ครบตามเป้าหมายการยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและรณรงค์ควบคุมโรคเอดส์เพื่อไม่ให้กระทบความมั่นคงของชาติ
เริ่มแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ
ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2554-2559
หลักการมุ่งพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการอภิบาลระบบสุขภาพ
วิสัยทัศน์
ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีร่วมสร้างระบบสุขภาพพอเพียงเป็นธรรมนำสู่สังคมสุขภาวะ
พันธกิจ
พัฒนาระบบสุขภาพพอเพียงโดยยึดหลักธรรมาภิบาลสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยคุกคามและสร้างเสริมการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนรวมถึงการใช้ภูมิปัญญาไทยมี 5 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์
1.ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีสุขภาพในการสร้างสุขภาพตลอดจนการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพบนพื้นฐานภูมิปัญญาไทย
2.ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัยและการจัดการภัยพิบัติอุบัติเหตุและภัยสุขภาพ
3.ยุทธศาสตร์มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรงทั้งร่างกายจิตใจสังคม และปัญญา
4.ยุทธศาสตร์เสริมสร้างระบบบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานในทุกระดับเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพในทุกกลุ่มเป้าหมายและพัฒนาระบบส่งต่อที่ไร้รอยต่อ
5.ยุทธศาสตร์สร้างกลไกกลางระดับชาติในการดูแลระบบบริการสุขภาพและพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ
ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544
ศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเทคโนโลยีสาธารณสุข
ปฏิรูประบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข
เสริมสร้างและปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมอนามัยให้เหมาะสม
นางสาวปัณฑิตา รักษาพล เลขที่ 34