Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Substance-related and Addictive Disorders, ความผิดปกติในการเสพติด …
Substance-related and Addictive Disorders
ยานอนหลับและยาคลายกังวล
ลักษณะทางคลินิก
Sedative, Hypnotic or Anxiolytic Dependence
ผู้ป่วยที่รับประทาน triazolam ซึ่งมีฤทธิ์ สั้น ดูดซึมเร็วและไม่มี active metabolites
Sedative, Hypnotic or Anxiolytic Intoxication
พฤติกรรมทางเพศ อย่างไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย มีปัญหาด้านกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมหรือ หน้าที่การงาน
อาการทางกายที่พบร่วม ได้แก่ พูดไม่ชัด เสียการทรงตัว นัยน์ตากระตุก ความจำเสีย ขาดสมาธิ มีอาการ incoordination ซึ่งจะมีผลต่อการขับรถ
Sedative, Hypnotic or Anxiolytic Withdrawal
หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูง หรืออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น มือสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล คลื่นไส้อาเจียน และพลุ่ง พล่านกระวนกระวาย
การรักษา
รักษาอาการพิษ และอาการขาดสาร
อาการพิษ จะอยู่นาน 6-48 ชั่วโมง ให้การรักษาเหมือนผู้ป่วยอาการเพ้อ และรักษาตามอาการ
อาการขาดสาร โดยการ ลดขนาดยาลงมาทีละน้อย ให้ฟีโนบาร์บิทาลทดแทน และให้ยากลุ่มคลายกังวลที่มีฤทธิ์นาน เช่น diazepam ทดแทน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดสุรา และ benzodiazepine แล้วค่อย ๆ หยุดในเวลา 1-2 สัปดาห์
รักษาด้านจิตใจ
สนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วยในการหยุดยา และให้ความมั่นใจว่าอาการขาดยาไม่เป็นอันตราย และหายไปในที่สุด
ให้ผู้ป่วยได้ปรับตัวและแก้ไขปัญหาชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ตรวจโดยใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการทางจิตเวช
Caffeine
ลักษณะอาการทางคลินิก
Caffeine dependence
ผู้ที่ติดคาเฟอีนจะมีอาการเหล่านี้ อย่าง น้อย 3 ใน 4 อาการ
ภาวะดื้อคาเฟอีน (caffeine tolerance) พบว่า มีการเพิ่มปริมาณการ ดื่มที่มากขึ้น เพื่อให้ได้ฤทธิ์ในการกระตุ้น ระบบประสาทหรือ เกิดความสบายใจ ดังเดิม
มีความต้องการดมื่คาเฟอีนตลอด หรือไมส่ามารถลดปริมาณการดมื่ได้
เมื่อหยุดดมื่จะเกิด caffeine withdrawal
มีการใช้คาเฟอีนอยู่ ถึงแม้ว่าจะมี ผลข้างเคยีงต่อ ร่างกายหรือจติใจ
Caffeine Intoxication
กระวนกระวาย ตื่นเต้น นอนไม่หลับ หน้าแดง ปัสสาวะมาก และมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร
Caffeine Withdrawal
ด้านร่างกาย อาการปวดศีรษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย หาวมากกว่าปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ต้องการดื่มมากกว่าปกติ ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนัก ตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ด้านจิตอารมณ์ ความคิด พบมีอารมณ์เกียจคร้าน ซึมลงเล็กน้อย
การรักษา
ลดปริมาณคาเฟอีนที่ดื่มลงมาตามลำดับ จนสามารถหยุดดื่มในที่สุด ไม่ควรหยุดให้คาเฟอีนทันที
Alcohol – Related Disorders
การ ช่วยเหลือ รักษา
alcohol intoxication
จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมทสี่งบ
ส่วนใหญ่จะคอยให้อาการสงบ ในกรณีที่รุนแรงมาก อาจถึงชีวิตได้ ควรทำ hemodialysis
ระวังการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ในกรณีที่วุ่นวายไม่ สงบ อาจให้ diazepam แต่ระวังการเสริมฤทธิ์ alcohol
ผู้ป่วยบางรายใช้สารเสพติดอื่นร่วม
ในกรณีที่ให้ glucose IV ควรให้ thiamine 100 มก.ร่วม
ใช้ Group support จะมีส่วนช่วยผู้ป่วยได้มาก
alcohol withdrawal
ให้ยากลุ่มคลายกังวล (benzodiazepine) เช่น diazepam หรือ lorazepam
การรักษาทางด้านจิตสังคม
การบำบัดแบบสั้น (Brief intervention)
การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม (Cognitive behavioral therapies: CBT)
การทำพฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapies)
การรักษาอื่นๆ เช่น family therapy, group therapy, self-help group
การรักษาอาการ Delirium Tremens (DT)
การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ เพ้อ (Delirium ) โดยรีบรักษาภาวะขาดสุรา
1) การให้ยา Benzodiazepine ในขนาดที่เพียงพอจะควบคุมภาวะเพ้อ ได้ แล้วค่อยๆ ปรับขนาดลง
2) การให้วิตามินร่วมด้วย ที่สำคัญคือ วิตามินบี 1 ในรูปฉีด เพราะวิตามินบี 1 มีความสำคัญต่อระบบประสาทอย่างมากทั้งสมองและระบบ ให้ตัวอื่นไปด้วยพร้อมกัน การให้ Folic acid เชื่อว่าจะป้องกันการเกิดการ ชักหลังหยุดสุรา (Withdrawal seizure)
3) การดูแลเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่แคลอรี่และ มีคาร์โบไฮเดตสูง
4) เฝ้าระวังภาวะขาดน้ำ ซึ่งมักจะเกิดเนื่องจากผู้ป่วยมีเหงื่อออกมาก มีไข้ จึงควรให้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือทางเส้นเลือดเพิ่ม
5) เฝ้าระวังในเรื่องความปลอดภัย ทั้งจากการทรงตัวที่ไม่ดี และอาการ ประสาทหลอนของผู้ป่วย อาจทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่น
alcohol dependence
การใช้วิธีการล้างพิษ (Detoxification)
Disulfuram (Antabuse) รับประทานก่อนดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อผู้ป่วยดื่มสุราจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเป็นพิษอย่างรุนแรง
รักษาทางด้านจิตสังคม
การให้คำแนะนำและให้การปรึกษา
การปรับความคิดหรือมุมมองใหม่ (Cognitive therapies: CT)
ก ารบำบัดแบบสั้ น (Brief interventions)
ลักษณะอาการ
alcohol intoxication
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 151-300 mg%
ประสาทรับความรู้สึกเสีย กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์ กัน เดินเซ พูดอ้อแอ้ มองเห็นภาพไม่ชัด ระยะการ ตัดสินใจช้าลงมาก
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 300 mg%
กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน ตาพร่า มองเห็น ภาพซ้อน แขนขาเกร็ง
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50-150 mg%
การตัดสินใจช้าลง สมองส่วนควบคุมการคิดถูกกดการ ทำงาน การมองเห็น และการทำงานร่วมกันของ กล้ามเนื้อเสียเล็กน้อย
alcohol withdrawal
ระดับเล็กน้อย
มือสั่นเหงื่อออกมาก หงุดหงิด ปวดมึนศีรษะ ใจสั่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ เมื่อผู้ป่วยได้ดื่มสุรา/รับประทานยาที่กดระบบ ประสาทอาการเหล่านี้จะหมดไป
ระดับปานกลาง
มีอาการกระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง ตัวสั่น/ มือสั่นมาก ขึ้น ชีพจรเต้นเร็ว >120 ครั้ง/นาที คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง มาก
ระดับรุนแรง
อาจเกิดอาการชักจากการขาดสุรามีลักษณะเกร็ง กระตุกทั่วร่างกาย (grand mal seizure) โดยทั่วไปอาการจะเกิดเมื่อระดับ alcohol ลดลง อย่างรวดเร็ว ใน 24-48 ชั่วโมง
alcohol dependence
ต้องดื่มทุกวัน แต่ปริมาณไม่มาก ผู้ป่วยกลมุ่นี้ มักไม่ทราบว่าตนเองตดิสรุา จนมเีหตุการณ์ บางอย่างที่ทำให้ต้องหยุดดื่ม จึงทราบว่าตนติดสรุา
เมื่อดื่มแล้วไมส่ามารถหยุดดnj,ได้ ต้องดื่มในปริมาณมาก แต่จะมีบางครั้งอาจ หยุดดื่มได้ชั่วระยะหนึ่ง เช่น เมื่อเจ็บป่วย หรือ ขาดเงิน
Nicotine
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการติดนิโคติน (Nicotine Dependence)
รู้สึกว่าอารมณ์ดีขึ้น ความเครียดลดลง
ผู้ป่วยอาจมีอาการทางกายไม่พึงประสงค์ คือ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายไหลมากขึ้น ซีด อ่อนแรง ปวดท้อง ท้องเดิน มีนงง ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว
อาการขาดนิโคติน (Nicotine Withdrawal)
มีอาการไม่สบายหลังหยุดหรือลดเสพนิโคติน โดยมีอาการต่อไปนี้ รู้สึก ไม่สบายใจ หรือ มีอารมณ์เศร้า นอนไม่หลับ หงุดหงิด หรือ โกรธง่ายวิตกกังวล สมาธิ เสีย กระวนกระวาย หรือขาดความอดทน หัวใจเต้นช้าลง และรับประทานจุหรือ น้ำหนักเพิ่ม
การรักษา : 5A , nicotine gum
Inhalants
Inhalant Dependence
ลักษณะอาการ
นอนไม่หลับ มือสั่น หงุดหงิด เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ และแปลสิ่งเร้าผิด
การรักษา
ป้องกันไม่ให้เปลี่ยนไปใช้สารที่รุนแรงกว่า โดยการให้การปรึกษา การให้ ความรู้ร่วมกับการรักษาทางจิตอื่น ๆ
Inhalant Intoxication
ลักษณะอาการ
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ทำร้ายบุคคลอื่น อารมณ์ครื้นเครงหรือ อารมณ์เฉยเมย การตัดสินใจเสีย
หนีเรียน การเรียนตกต่ำ หรือต้องพักการเรียน
อาการทางกายร่วม เช่น เวียนศีรษะ มองภาพไม่ชัด หรือมองเห็นภาพเป็นคู่ นัยน์ตากระตุก การ ทรงตัวเสีย พูดไม่ชัด มือสั่น ท่าเดินไม่มั่นคง หมดเรี่ยวแรง
การรักษา
ในระยะที่มีอาการพิษจากสาร ไม่ควรให้การรักษาด้วยยาทุกชนิดเพราะจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
ให้อาหาร วิตามินและน้ำ อย่างเพียงพอ
รักษาโดยการใช้จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด และครอบครัวบำบัด
Cocaine
อาการติดโคเคน (Cocaine Dependence)
ลักษณะอาการ
ทำให้เกิดอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานมากที่สุด ทำให้ ผู้ป่วยเสพสารระยะสั้นเกิดอาการติดสาร
อาการแรก ที่แสดงว่าติดโคเคน คือ ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจที่จะไม่ เสพเมื่อมีโคเคน
อาการพิษโคเคน (Cocaine Intoxication)
ลักษณะอาการ
ผู้ที่อาการพิษเรื้อรังจะมีอารมณ์ เฉยเมยร่วมกับความรู้สกึอ่อนเพลีย หรือมีอารมณ์เศร้า และแยกตัวเอง
ครื้นเครง สนุกสนาน ชอบพบปะผู้คนมีกิจกรรมมาก กระวนกะวาย ภาวะตื่นตัว มนุษย สัมพันธ์อ่อนไหว พูดมาก วิตกกังวล เครียด รู้สึกตัว เองมีความสำคัญมา
อาการขาดโคเคน (Cocaine Withdrawal)
ลักษณะอาการ
หงุดหงิดโกรธง่าย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่ หลับ หรือหลับมาก รับประทานจุ ความคิดและการเคลื่อนไหว เชื่องช้า หรือพลุ่งพล่านกระวนกระวาย อารมณ์เฉยเมยและมี ความรู้สึกอยากเสพโคเคนมาก
อาการขาดสารเฉียบพลัน : ผู้ป่วยรู้สึกไมส่บายใจ อย่างรุนแรง อ่อนเพลียไม่มีแรงและมีอาการเศร้า
การรักษา ใช้ยารักษาโรคจิต ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์เพิ่ม dopaminergic transmission (amantadine ใช้รักษาอาการอยากโคเคนได้ดี)
Cannabis (กัญชา)
ลักษณะทางคลินิก และการรักษา
Cannabis Dependence
ผู้ป่วยที่ติดกัญชามักจะเสพมากเป็นพัก ๆ และมักไม่เกิดอาการติดสารทางสรีรวิทยา
ผู้ป่วยอาจมีอาการทางกาย เช่น ไอเรื้อรัง หรือ ง่วงนอนมาก
การรักษา เน้นการรักษาด้านจิตสังคม โดยการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ คือ การหยุด และการรักษาประคับประคอง
Cannabis Intoxication
ด้านจิตอารมณ์ ความคิด ผู้ป่วยมักมีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน หัวเราะแบบไม่มีเหตุผล รู้สึกง่วง นอน ผ่อนคลาย มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ามาก ถูกชักจูงง่าย ขาดการควบคุมตัวเอง การตัดสินใจเสีย เกิดภาพลวงตา และมีจิตใจที่ดุร้ายผิดปกติได้
การรักษา
.
การใช้ยา: ใช้ยากลุ่มคลายวิตกกังวล และ ยารักษาโรคจิต
ช่วยให้ผู้ป่วยสงบ ให้ความมั่นใจว่าอาการจะหายไปได้ในไม่ช้า
จัดให้อยู่ในบรรยากาศที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวน
ด้านร่างกาย ตาแดง รับประทานจุ ปากแห้ง และหัวใจเต้นเร็ว
ด้านพฤติกรรม แยกตัวจากสังคม
Cannabis Withdrawal
ผู้ป่วยมีอารมณ์เศรา้ โกรธ ก้าวร้าว วิตก กังวล
เน้นการรักษาแบบประคับประคองตาม อาการ
นอนไม่หลับ ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักตัวลด ปวดท้อง เหงื่อออกมาก มีไข้ ปวดศีรษะ
Amphetamines
Amphetamines Intoxication
ลักษณะ อาการ
รู้สึก สบายผิดปกติ ร่วมกับอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน มีพลัง การ เปลี่ยนแปลงการเข้าสังคม เช่น ชอบพบปะสังสรรค์ มี กิจกรรมมาก กระวนกระวาย มีความรู้สึกตื่นตัวสูง หงุดหงิดง่าย พูดมาก วิตกกังวล เครียด
ในรายที่มีอาการพิษเรื้อรัง อารมณ์จะเป็นแบบเฉย ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย หรือมีอารมณเ์ศร้า แยกตัว
การรักษาตามอาการ
1.เน้นป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
2.ลดอาการกระวนกระวายโดยให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ มีสิ่งกระตุ้นน้อยโดยทั่วไปอาการจะหายภายใน 1-3 วัน
3.เฝ้าระวังอาการชัก และภาวะเลือดออกมาก อาจ ประคบด้วยน้ำเย็น
Amphetamines withdrawal
ลักษณะอาการ
อาการที่สำคัญ ด้านร่างกาย นอนไม่หลับ หรือ หลับมาก รับประทานจุ เชื่องช้า หรือพรุ่งพล่าน กระวนกระวาย
ด้านจิตอารมณ์ ความคิด มีความรู้สึกไม่สบาย หดหู่ อ่อนเพลีย ฝันร้าย ไม่แสดง อารมณ์ และอยากเสพยาอย่าง รุนแรง
การรักษาแบบประคับประคอง และบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น
Amphetamines Dependence
ลักษณะ อาการ
ก้าวร้าว หรือ รุนแรง และมีอาการวิตก กังวลอย่างมากเป็นอยู่ชั่วคราว มีความคิดหวาดระแวง
การรักษา
เน้นการรักษาทางจิต สังคม ป้องกันการกลับ เป็นเสพซ้ำ และการ ประคับประคอง
Amphetamines-Induced Psychotic Disorder
ลักษณะอาการ
อาการหูแว่ว หรือหลงผิดในขณะที่เสพจนเกิด อาการพิษ ผู้ป่วยคิดว่ามีคนปองร้าย
การรักษา
อาการขาดสารโดยให้ยา ต้านเศร้า กลุ่ม Tricyclics เช่น Imipramine
รักษาด้านจิตสังคมร่วม โดยการทำ ครอบครัวบำบัด จิตบำบัดรายบุคคล จิตบำบัด รายกลุ่ม
เฮโรอิน (Heroin)
ลักษณะทางคลินิก
อาการติดฝิ่น (Opioid Dependence)
ขาดการยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ได้เป็นไปเพื่อการรักษาโรค หรือในกรณีที่ ผู้ป่วยมีโรคทางกายต้องอาศัยฝิ่นในการรักษาใช้ในขนาดที่สูงเกินกว่าการรักษา ผู้ป่วยมักวางแผนเพื่อให้ได้ฝิ่นมาไว้และเสพ
อาการพิษฝิ่น (Opioid Intoxication)
มีอาการร่าเริงสนุกสนานในระยะแรก แล้วเปลี่ยนมาเป็นเฉยเมย
อาการได้รับยาเกินขนาด ได้แก่ หมดสติ ไม่ รู้สึกตัว Coma หายใจช้า อุณหภูมิร่างกายต่ำ (ตัวเย็น) หัวใจเต้นช้า (Bradycardia) ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทาง อายุรกรรม เพราะผู้ป่วยจะถูกกดการหายใจอย่างรุนแรง เกิดภาวะ Shock
อาการขาดฝิ่น (Opioid withdrawal)
ด้านร่างกาย อาจมีคลื่นไส้ หรืออาเจียน ไวต่ออาการปวด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตาม ตัวโดยเฉพาะหลังและขา น้ำตา น้ำมูกไหล ม่านตาขยาย ขนลุกหรือ เหงื่อออกมาก ท้องเดิน หาว มีไข้และนอนไม่หลับ
ด้านจิตอารมณ์ ความคิด วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย อยากเสพฝิ่น และพยายามหาฝิ่นมาสูบ
การรักษา
naloxone ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยฉีดซ้ำทุก 3 ชั่วโมง
ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นทันที แม้ในรายที่มี อาการหมดสติ
การล้างพิษ: ยาที่นิยมในการล้างพิษ มี 2 ชนิด คือ เมธาโดน (methadone) และคลอดินิน (clodinine)
คลอดินิน ใช้รักษาความดันโลหิตสูง และอาการขาดฝิ่นได้ดี แต่ไม่ช่วยลดอาการอยากเสพ
การให้ฝิ่นระยะยาว
การให้เมธาโดนระยะยาว
การให้ naltrexone ต้องได้รับการล้างพิษโดยสมบูรณ์แล้วก่อน
ความผิดปกติในการเสพติด
(Addictive Disorders)
Gambing disorder
การวินิจฉัยโรค
ผู้ที่เป็นโรคติดการพนันมีพฤติกรรมต่อไปนี้ 4 ข้อขึ้นไปใน 1ปีที่ผ่านมา และ แม้แต่มีพฤติกรรมเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ปัญหาจากการเล่นพนัน
1.1 ต้องเพิ่มจํานวนเงินในการเล่นพนันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ความตื่นเต้นที่ต้องการ
1.2 เมื่อพยายามลดหรือหยุดเล่น จะมีความรู้สึกกระวนกระวายและหงุดหงิด
1.3 ไม่ประสบความสำเร็จในความพยายามซ้าแล้วซ้ำเล่าในการควบคุม ลด หรือหยุดเล่นการ พนัน
1.4 หมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับการพนัน (เช่นการทบทวนประสบการณ์การพนันที่ผ่านมา การ วางแผนการพนันต่อไป การคิดวิธีหาเงินเพื่อเล่นพนัน)
1.5 บ่อยครั้งเล่นการพนันเมื่อเกิดความทุกข์ เล่นเพื่อหลบเลี่ยงปัญหา เพื่อไม่ให้คิดถึงปัญหา ของตน หรือ เพราะรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ
1.6 เมื่อเสียเงินจาการเล่นพนัน บ่อยครังจะกลับมาเล่นต่อไปเพื่อได้เงินที่เสียไปคืนมา
1.7 พูดปดเพื่อปกปิดการเล่นพนันของตนเอง เมื่อมีผู้ถามถึงการเล่นพนัน
1.8 การเล่นพนัน ทําให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ในสังคมและหน้าที่ การงาน
1.9 ผู้ติดการพนันมักอยู่ภายใต้อาณัติของผู้ให้เงิน
internet use and gaming disorder
เกณฑ์วินิจฉัยโรค DSM-V
1.ใช้อินเทอร์เน็ตนานมากเกินไป
ใช้อินเทอร์เน็ตนานขึ้นเรื่อยๆ (tolerance) หรือหมกมุ่นสนใจ application ใหม่ๆ เว็ปใหม่ๆ
มีอาการผิดปกติเมื่อไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต (withdrawal) เช่น หงุดหงิด โมโห กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ ดื้อ ไม่ฟังเพตุผล บางคนซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น
เกิดผลเสียหายตามมาจากการใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป เช่น ขาดความรับผิดชอบในการเรียน การทำงาน ขาดเรียน/ขาดงาน ผลการเรียนตก โกหก มีปัญหาสุขภาพ มีปัญหาสัมพันธภาพกับผู้อื่น แยกตัว
การรักษาผู้ที่ติดการพนัน/ติดอินเทอร์เน็ต
การรักษาด้วยยา (Pharmacological treatment)
ยา bupropion พบว่า สามารถลดการเล่นอินเทอร์เน็ตลงได้ พร้อมกับช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
ยา Methylphenidate (เมทิลเฟนิเดต) ซึ่งเป็นยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ถูกใช้รักษาโรคสมาธิสั้น และลด ความรุนแรงของการติดเกมออนไลน์
การรักษาด้านจิต-สังคม (Psycho-social treatment) ใช้วิธีคล้ายกับการรักษาผู้ตดิสารเสพติดอื่น เช่น 12-step self-help approaches, Motivation enhancement (MI), Cognitive Behavioral Therapy (CBT), Family therapy เป็นต้น
แนวทางในการช่วยเหลือสำหรับครอบครัว
สิ่งที่ครอบครัวควรปฏิบัติ
แสวงหาความช่วยเหลือจากผู้ที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน เช่น self-help group for families
ยอมรับข้อดี/คุณสมบัติที่ดีของผู้ที่ติดการพนันและ ติดอินเทอร์เน็ต
ใช้น้ำเสียงสงบเมื่อพูดกับผู้เสพติดเกี่ยวกับการติดการ พนัน หรือติดอินเทอร์เน็ตของเขา/เธอ และผลที่ตามมาจากการติดพนัน
บอกให้ผู้เสพติดทราบว่าครอบครัวกำลังค้นหาความ ช่วยเหลือเกี่ยวโรคติดการพนัน/โรคติดอินเทอร์เน็ตของเขา
อธิบายปัญหาที่เกิดจากการติดการพนัน/การตดิ อินเทอร์เน็ตกับสมาชิกครอครัว
สิ่งที่ครอบครัวไม่ควรปฏิบัติ
1.สอนหรือยินยอมให้ตัวเองสูญเสียการควบคุมความ โกรธ
2.แยกผู้ที่ติดการพนัน/ติดอินเทอร์เน็ตออกจากการเป็น สมาชิกและกิจกรรมของครอบครัว
3.คาดหวังว่าการฟื้นฟูทันที หรือปัญหาต่างๆ จะได้รับ การแก้ไขเมื่อหยุดการพนันฝหยุดการใช้อินเทอร์เน็ต
4.จ่ายเงิน (เคลียร์เงิน) ให้นักการพนัน
5.ปกปิดหรือปฏิเสธปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ครอบครัว หรือคนอื่นๆ
7.3 Psychiatric Nursing with Behavioral Disorders patients
Personality Disorders
Cluster B Personality Disorders
Borderline Personality Disorder (บุคลิกภาพแบบกึ่ง)
พฤติกรรม : เมื่อบุคคลกลุ่มนี้ต้องพึ่งพาบุคคลใดจะมีความรู้สึกว่าบุคคลนั้นดีมากๆ แต่หากมีเรื่องที่ทําให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจก็จะรู้สึกโกรธ ไม่เห็นความดีของบุคคลเดิมอีกเลย (Splitting: A good - Aubad)
ไม่สามารถทนเหงา หรืออยู่คนเดียวได้ ส่งผลให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถสร้างความสนิทสนมกับคนแปลกหน้าได้ในระยะเวลาอันสั้น
เกิดความรู้สึกว่างเปล่า อ้างวาง เบื่อหน่าย ซึมเศร้า มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายซ้ําๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ
Histrionic Personality Disorder
การแสดงออกทางอารมรณ์ที่รุนแรง เอาแต่ใจ ต้องการที่จะได้รับความสนใจจากบุคคลอื่นอย่างมาก
จะพยายามเรียกร้องความสนใจโดยอาศัยรูปร่างหน้าตาของตนเอง โดยแสดงพฤติกรรมยั่วยวนหรือกวนโทสะ และจะรู้สึกเสียใจมากหากรู้ว่าตนเองไม่ได้รับการยอมรับหรือเป็นที่สนใจ
การประเมิน : ะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พยายามที่จะให้ข้อมูลรายละเอียด ต่างๆ ลักษณะท่าทางจะเหมือนกับกําลังแสดงละคร มีลักษณะพูดจาจีบปากจีบคอและมีการใช้ภาษากายร่วมด้วยอย่างมากและมีสีสัน
Antisocial Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม)
พฤติกรรม : ไม่เคารพกฎเกณฑ์ของสังคมและละเมิดสิทธิ์ของ ผู้อื่น ประวัติในวัยเด็กจะมีตั้งแต่ โกหก หนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน มีเรื่องชกต่อยทะเลาะวิวาท ใช้สารเสพติด ทําเรื่องที่ผิดกฎหมาย โดยพฤติกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ําไปซ้ํามา
ประเมิน : ให้ความ ร่วมมือและน่าเชื่อถือเป็นอย่างดี แต่ลึกๆ แล้วจะมีความรู้สึกเครียด หงุดหงิดและโกรธอยู่
Narcissistic Personality Disorder
มีความคิดและเชื่อว่าตนเองมีความสําคัญกว่าผู้อื่น มีความคาดหวังการยอมรับและให้ความสําคัญจากบุคคลอื่น เป็นอย่างมาก
ไม่สามารถยอมรับหรือทนคําวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคล อื่นได้ บุคคลกลุ่มนี้มีความทะเยอทะยานสูง มักเพ้อฝันถึงความสําเร็จ ชื่อเสียงคือความสวยงามของตนเอง
Cluster C Personality Disorders)
Dependent Personality Disorder (บุคลิกภาพแบบพึ่งพา)
ลักษณะพึ่งพาผู้อื่น ไม่สามารถตัดสินใจหรืออยู่ได้ด้วยตนเอง แม้แต่เรื่องที่มีความสําคัญก็ยอมให้บุคคลอื่นตัดสินใจแทน ถ้าจําเป็นต้องตัดสินใจจะต้องการคําแนะนําและการสนับสนุนจากบุคคลอื่นเป็นอย่างมาก
มีความสุขกับการเป็นผู้ตามเพราะกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับ หรือกลัวว่าตนเองจะไม่ได้รับการ ดูแลหรือมีใครให้พึ่งพา
หากสัมพันธภาพเก่าสิ้นสุดลงก็จะพยายามหาสัมพันธภาพใหม่มาทดแทนทันที
Obsessive-Compulsive Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบย้ําคิดย้ําทํา)
ลักษณะหมกมุ่นกับความเป็นระเบียบและเคร่งครัดกับกฎเกณฑ์ จะต้องทําทุกสิ่งทุกอย่างให้เรียบร้อยสมบูรณ์ (Perfectionism) ขาดความยืดหยุ่น (Inflexibility)
ผู้ป่วยจะย้ําคิด มีพฤติกรรมทําซ้ําๆ
Avoidant Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง)
ลักษณะ : มีความรู้สึกอยากเข้า สังคม อยากมีสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นแต่ไม่กล้าที่จะเป็นฝ่ายเริ่มเพราะกลัวการถูกปฏิเสธ
ไม่กล้า กลัวถูกปฏิเสธ แต่ที่จริงแล้วต้องการที่จะมีเพื่อน ต้องการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
Cluster A Personality Disorders)
Schizoid Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบเก็บตัว)
การประเมิน : มีความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจในการให้สัมภาษณ์ จะไม่ค่อยสบตา หลีกเลี่ยงการสนทนาในเชิงพูดคุย ถามคําตอบคําหรือตอบคําถามสั้นๆ อารมณ์เฉยเมย เย็นชา
พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ความรู้สึกกับผู้อื่น มีลักษณะเย็นชา ไม่สนใจคนอื่น ชอบ ทํางานคนเดียวและอยู่คนเดียว มีความสนใจในกิจกรรมที่ไม่ต้องติดต่อกับบุคคลอื่น
Schizotypal Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบจิตเภท)
ขาดการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีพฤติกรรมแปลกประหลาด มีการรับรู้และความคิดที่ผิดปกติ
ส่วนใหญ่ จะเชื่อถืออํานาจวิเศษ ผีสาง โชคลาง เชื่อเรื่องทางจิตหรือประสาทสัมผัสที่หก
การประเมิน : มีอารมณ์หรือพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล มีคําพูดที่แปลกๆ บางครั้งพูดวกวน เลื่อนลอยไร้สาระ
Paranoid Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบหวาดระแวง)
การประเมิน : มีความตึงเครียด ไม่มีอารมณ์ขัน และคอยระแวดระวังสิ่งแวดล้อม อยู่บ่อยๆ ลักษณะการพูดจาเหมือนมีจุดมุ่งหมายและเป็นเหตุเป็นผลถึงแม้จะไม่เป็นความจริงก็ตาม
ไม่ให้ความร่วมมือและต่อต้านการ ช่วยเหลือรักษา
บุคลิกภาพ : ช่างระแวงสงสัย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น มักเข้าใจว่าบุคคลอื่นจงใจ ทําลายหรือข่มขู่ตนเอง และคิดว่าตนเองกําลังถูกเอาเปรียบ ถูกตักตวงผลประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มักกลัว ว่าจะถูกบุคคลอื่นมาทําร้าย ไม่เต็มใจให้ข้อมูลของตนแก่บุคคลอื่น มักจะไม่ให้อภัยและตอบโต้กลับอย่าง รวดเร็วเมื่อเข้าใจว่าถูกกระทํา
แนวทางการบําบัดรักษา
Thiothixine ช่วยลดระดับของ อาการประสาทลวง (Musion) ความคิดอ้างอิง (Ideas of References)
อาการย้ําคิดย้ําทํา (Obsessive Compulsive symptoms) และ อาการตื่นตระหนกตกใจ (Phobia Anxiety) ได้
Haloceridol ช่วยลดอาการประสาทหลอน หลงผิด ความคิดหวาดระแวง วิตกกังวล และความไม่เป็นมิตรได้
เน้นที่กระบวนการคิดวิเคราะห์ทางจิต เน้นที่การใช้ประโยชน์จากกลุ่ม และการบําบัดพฤติกรรม
กระบวนการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
ระยะสั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้ป่วยและผู้อื่นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการทําร้ายตนเอง และการทําร้ายผู้อื่น / ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ระยะยาว
พัฒนาทักษะต่างๆ ที่จําเป็นในการดํารงชีวิต
ช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนเองได้อย่างมีความมั่นใจ
มีการสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม
การปฏิบัติการพยาบาล
Paranoid ไม่แสดงท่าที่ใกล้ชิดหรือแสดงความเป็นกันเองกันผู้ป่วยมากกว่าปกติ ให้ความสม่ําเสมอและรักษาสัญญา
Schizotypal ไม่แสดงท่าทีขบขันต่อความคิดหรือพฤติกรรมที่ดูแปลกประหลาดของผู้ป่วย
Antisocial เน้นการปรับหรือลดพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่า
Borderline พยาบาลควรมีความมั่นคงทาง อารมณ์ รักษาระห่างที่เหมาะสมกับผู้ป่วย สื่อสารด้วยคําพูดที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
Histrionic แสดงออกถึงความมั่นคง และชัดเจนถึงขอบเขตของการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
Avoidant ควรแสดงท่าที่ยอมรับ และมี ความระมัดระวังในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย
Dependent พยาบาลควรเน้นการเป็นแบบอย่างที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้พฤติกรรม การแสดงออกที่เหมาะสม
Obsessive-Compulsive ตระหนักรู้ในตน อดทนและเข้าใจถึงลักษณะของผู้ป่วย
ควรสื่อสารและโน้มน้าวให้ผู้ป่วย เข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง
การประเมินและรวบรวมข้อมูล
การวินิจฉัยการพยาบาล
การประเมินผล
ปัญหาการนอน - การตื่น (Sleep-Wake Disorders)
ลักษณะอาการทางคลินิก
ความผิดปกติของวงจรเวลาการนอนหลับและการตื่น (Circadian rhythm sleep-wake disorders)
Delayed Sleep Phase Type คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกง่วงช้ากว่าคนทั่วไป
Advanced Sleep Phase Type คือ ผู้ป่วยง่วงนอนและตื่นเร็วกว่าคนทั่วไป
Irregular Sleep-Wake Type พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
Shift Work Type คือ มีปัญหานอนไม่หลับ รู้สึกไม่สดชื่น ง่วงนอนขณะทํางานอันเนื่องมาจากการ ทํางานเป็นผลัด หรือทํางานช่วงกลางคืน
โรคการตื่นตัวผิดปกติขณะนอนหลับในช่วงไม่มีการกลอกลูกตาอย่างรวดเร็ว
(Non-Rapid eye movement sleep arousal disorders)
ชนิด ละเมอเดิน (Sleep walking type)
ชนิดฝันผวา (Sleep terror type) จากการที่มีอาการในช่วงของ NREM
ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถจดจําได้ว่าตนเองทําอะไรลงไปบ้าง และเมื่อถูกปลุกให้ตื่นในขณะที่มีอาการจะ เกิดอาการสับสนได้
กลุ่มโรคนอนหลับจากปัญหาการหายใจ
(Breathing-Related sleep disorder)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนถูกกีดขวาง
ศูนย์ควบคุมการหายใจที่สมองส่วนเมดุลลาทําหน้าที่ผิดปกติ
โรคทางหู จมูก คอ
ความผิดปกติของทางเดินหายใจส่วนบน โรคทางระบบประสาท เช่น โปลิโอ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคหัวใจ
ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหาการหายใจ
ด้านร่างกาย เช่น ปวดศีรษะบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอน อ่อนเพลียมากอาจผล็อยหลับในขณะ เดินทาง หรือขับรถ หรือกําลังคุยกับผู้อื่น ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
ด้านจิตใจ เช่น หงุดหงิดง่าย สับสน สมาธิเสีย มีปัญหาในการคิด ความจําบกพร่อง
โรคฝันร้าย (Nightmare disorder)
วงของ REM sleep จะสามารถจดจําความฝันที่เกิดขึ้นได้
โรคลมหลับ (Narcolepsy)
เกิดภาวะง่วงหลับ ในช่วงของ REM sleep ในขณะกําลังตื่นอยู่ เช่น ขณะกําลังรับประทานอาหาร กําลังสนทนา หรือขณะกําลัง ขับรถ
อาการสําคัญของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยง่วงนอนและงีบหลับ โดยจะเกิดขึ้นซ้ําๆ ใน 1 วัน เป็น การง่วงที่ยากจะฝืน เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการมากกว่า 3 เดือน
โรคความผิดปกติของพฤติกรรมการนอนหลับในช่วง REM sleep Rapid eye movement sleep behavior disorder
กล้ามเนื้อจะไม่ผ่อนคลาย จะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายตามความฝัน
โรคนอนหลับมากผิดปกติ (Hypersomnolence disorder)
สาเหตุ
การอดนอนจากรูปแบบการดําเนินชีวิตหรือตารางการนอนหลับที่ไม่ปกติ
จากโรคทางกาย
ยาหรือสิ่งที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
โรคจิตโรคประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท บุคลิกภาพผิดปกติชนิด borderline
ปัญหาทางจิตใจเช่น เบื่อหน่าย ท้อถอยซึมเศร้าเกียจคร้าน เครียด เป็นต้น
Menstrual-related hypersomnia
โรคขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome)
สาเหตุ
ด้านร่างกาย การมีปัญหาสุขภาพกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมองแตก-ตีบตัน ไตวาย โรคทางระบบประสาท โรคอ้วน โรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจความผิดปกติของลิ้นไก่ ขากรรไกร การได้รับยาต้านเศร้า การหยุดยานอนหลับ การอดนอนเป็นเวลานาน เป็นต้น
ด้านจิตใจ เกิดจากการประสบกับเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดความเครียด ความสูญเสีย การถูกคุกคาม แล้วเก็บไปฝันหรือคิดกังวลต่อการมีปัญหาจิตใจ เช่น เด็กขาดความอบอุ่น ถูกรังแก เกิดความอิจฉาริษยา
ด้านสังคม ขาดการได้รับการยอมรับทางสังคม เกิดความผิดพลาดในการทํางาน หรือการทําหน้าที่ ทางสังคม การเปลี่ยนงาน ปัญหาการหย่าร้าง
ผลที่เกิดจากความผิดปกติ
ด้านร่างกาย เช่น เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับอันตรายจากการเดินละเมอ การอุดตันของการเดินหายใจ การหยุดหายใจ
ด้านจิตใจ เช่น หวาดระแวง กลัว วิตกกังวล เครียด รู้สึกตนเองแปลกแตกต่างจากผู้อื่น รู้สึก โดดเดี่ยวทางอารมณ์และสังคม
ด้านสังคม เช่น แยกตัวจากสังคมเนื่องจากความอับอาย กลัวได้รับอันตราย มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมลดลง ทํางานบกพร่อง
Insomnia disorder
สาเหตุ
สภาพแวดล้อมขณะนอน
การปรับเปลี่ยนเวลาการทํางาน (Shift work) หรือ Jet tag
ความไม่สุขสบายจากโรคทางกาย
การใช้ยา เช่น ยากลุ่ม Stimulant หรือสิ่งที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
โรคจิตประสาท
ปัญหาทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศร้า เป็นต้น
ผลที่เกิดจากการนอนไม่เพียงพอ
ด้านร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย ง่วงซึม ไม่กระฉับกระเฉงเฉื่อยชา หมดแรง สมองไม่แจ่มใส อาจพบว่า จะหลับง่ายในสถานการณ์ที่ไม่ได้ตั้งใจจะนอนหลับ
ด้านจิตใจ เช่น หดหู หงุดหงิดง่ายซึม ขาดสมาธิ ความจําบกพร่อง ขาดความสามารถในการจัดการกับปัญหาแม้ในปัญหาที่ง่ายๆ และไม่ซับซ้อน
ด้านสังคม เช่น แยกตัว ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นลดลง ประสิทธิภาพของการทํางานหรือการทํา กิจกรรมอื่นๆ ลดลง
โรคการนอนที่เกิดจากสารหรือยา (Substance/Medication-induced sleep disorder)
การบําบัดรักษาและการช่วยเหลือ
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่นอนไม่เพียงพอ (Insomnia)
สิ่งที่ควรทําเพื่อการนอนหลับที่ดี
ใช้เตียงสําหรับการนอนหลับเท่านั้น ไม่อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ หรือทํางาน
ควรจัดเวลานอนให้เป็นเวลา รักษาเวลานอนให้สม่ําเสมอ
ออกกําลังเป็นประจํา (ในตอนเย็น) แต่งดก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
อาบน้ําอุ่นหรือน้ําร้อน 90 นาทีถึง 2 ชั่วโมงก่อนนอนจะช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น
ก่อนนอน 30 นาทีให้ทํากิจกรรมเพื่อการผ่อนคลาย เช่น การทําสมาธิ โยคะ อ่านหนังสือ เดินจงกรม เปิดเพลงบรรเลงที่ใช้เพื่อผ่อนคลาย
จัดสิ่งแวดล้อมในการนอนให้เหมาะสม เช่น ห้องเงียบ ปิดไฟ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะ ใช้ที่อุดหู
รับประทานอาหารเย็นให้เสร็จก่อนนอน 4-5 ชั่วโมง
หากเข้านอนแล้ว 15-20 นาทียังไม่หลับให้ลุกไปห้องอื่นเพื่อทํากิจกรรม เช่น อ่านหนังสือ จนกว่าจะ ง่วงแล้วจึงเข้านอน
จัดตารางเวลาให้คิดในช่วงกลางวันเพื่อคิดประเด็นต่างๆ ของชีวิต การเขียนระบายความกังวลจะ ช่วยลดความหมกมุ่นก่อนนอนได้
หากคู่นอนรบกวนการนอน เช่น การส่งเสียงดังอาจมีการแยกห้องหรือเปลี่ยนที่นอนเป็นบางวัน
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
การนํางานขึ้นทําบนเตียง
การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ที่ย่อยยากก่อนนอน
การนอนหลับช่วงหัวค่ํา
การดื่มชา กาแฟ น้ําอัดลม หรือสิ่งเสพติดช่วงเย็นหรือช่วง 6-8 ชั่วโมงก่อนนอน
การออกกําลังกายก่อนนอน
การไม่อาบน้ําก่อนนอน
การมีสิ่งกระตุ้นให้ตื่น เช่น มีนาฬิกาที่มีเสียงดังทุกชั่วโมงในห้องนอน การเปิดหนังต่อสู้ หรือทําให้ตื่นเต้น หรือการเล่นเกมที่มีการแข่งขันหรือตื่นเต้นก่อนนอน การสูบบุหรี่
การช่วยเหลือสําหรับผู้ที่นอนหลับมาก (Hypersomnia)
พิจารณาสาเหตุแล้วจึงแก้ไขตามสาเหตุ
ดูแลเรื่องความปลอดภัย เพราะการนอนมากหรือง่วงตลอดเวลามีความสัมพันธ์กับการขาดสมาธิ และปัญหาด้านความจํา
ให้ผู้ป่วยหรือให้คนใกล้ชิดบันทึกเวลาที่ง่วงเวลากับเวลาตื่น เพื่อพิจารณาว่าอาการง่วงที่ผู้ป่วยรับรู้ นั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือผิดปกติ
ให้ผู้ป่วยจัดตารางการทํากิจกรรมและการพักผ่อน เพื่อช่วยในการควบคุมอาการง่วง
พยายามอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างมากหากง่วงให้ลุกเดินหรือเปลี่ยนสถานที่หรือทํากิจกรรรมที่ทําให้ เกิดความเพลิดเพลิน
ตั้งนาฬิกาปลุกช่วยและเปิดหน้าต่างผ้าม่านให้แสงสว่างผ่านเข้ามา
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างนอนของกลุ่ม Parasomnias
การฝันร้ายพิจารณาว่าเกิดขึ้นเพียงครั้งคราวหรือเป็นความผิดปกติ
.
คำถาม
ต้องตื่นนอนเนื่องจากฝันร้ายที่น่ากลัวบ่อยๆ
สามารถจํารายละเอียดของฝันร้ายได้หรือไม่
การฝันร้ายหรือนอนต่อไม่ได้มีผลกระทบต่อตนเองอย่างไร
หากคําตอบเป็นไปในทางลบ ต้อง ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางเพื่อหาสาเหตุของการฝันร้าย ทําจิตบําบัด จิตวิเคราะห์ ฝึกเทคนิคการ คลายเครียด อาจใช้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีพื้นขนาดต่ํา ยาต้านเศร้าช่วย
การเดินละเมอ หาสาเหตุ ถ้าเกิดจากปัญหาทางจิตใจอาจต้องทําจิตบําบัดฝึกการผ่อนคลาย หรือใช้ ยาคลายกังวลช่วย
แนะนําให้ญาติสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดระหว่างการนอนและป้องกันอันตรายที่เกิดจากการ เดินละเมอ การกรน การอุดกั้นทางเดินหายใจ ไม่ควรใช้ยาที่มีฤทธิ์ทําให้หลับกับผู้ที่มีความผิดปกติของทางเดิน หายใจ หรือนอนกรน
ระยะของการนอนหลับ (Stage of Sleep)
Non-rapid eye movement: NREM sleep
การนอนขั้นที่ 2 (N2) Stightly deeper sleep
ระยะที่การหลับจะลึกกว่าระดับแรก
คลื่นสมองจะกว้างขึ้น และมีการขึ้นลงตามการกระจุกตัวของคลื่นไฟฟ้า Spindle wave
การนอนขั้นที่ 3 (N3) Slowing of pulse and respiration
ระยะที่มีการหลับที่ลึกมากขึ้น
คลื่นมองจะช้าเป็นแบบ slow wave หรือ Delta wave
การนอนขั้นที่ 1 (N1) Transitory period
ระยะหลับตื้นที่สุด
คลื่นสมองจะผลิตคลื่นไฟฟ้าที่เร็วและไม่คงที่ มีลักษณะที่เรียกว่า Low amplitude และมีความถี่ลักษณะ ผสม Alpha / Theta wave
กล้ามเนื้อจะมีการอ่อนตัว การหายใจราบเรียบและคงที่
การนอนขั้นที่4 (N4) Deeper sleep
เป็นระยะที่มีการหลับลึกมากที่สุด
คลื่นไฟฟ้า สมองจะช้าลงและกว้างขึ้น
Rapid eye movement: REM sleep
ระยะที่มี สมองจะเปลี่ยนไปอยู่ในภาวะที่กระตือรือร้นมากขึ้น มีการกลอกของลูกตาอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อโดยทั่วไป ผ่อนคลายมากที่สุด
กล้ามเนื้อลําตัว แขน ขา ไม่เคลื่อนไหวได้ แต่นิ้วมือและนิ้วเท้าอาจมีการกระตุก มีการ หายใจที่เร็วขึ้น การไหลของเลือดผ่านเข้าสมองเร็วขึ้น
ระยะนี้จะฝันที่ให้ภาพเสมือนเหตุการณ์จริง สามารถจําความฝันได้
หลังจากหลับในระยะ NREM ได้ประมาณ 60-90 นาทีจะเริ่มเข้าสู่ระยะ REM
กระบวนการพยาบาลสําหรับผู้ที่มีปัญหาการนอน - การตื่น
การพยาบาล
วิธีการจัดการกับปัจจัยที่รบกวนการนอนได้อย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยสามารถหลับได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ
การปฏิบัติการพยาบาล
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบแผนการนอนแปรปรวนเนื่องจากไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม - หน้าที่การงานบกพร่อง เนื่องจากนอนไม่เพียงพอ
แบบแผนการนอนแปรปรวนเนื่องจากไม่สามารถจัดการกับความปวดได้
การประเมินผล
สามารถพักผ่อนนอนหลับได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่
ไม่เกิดอันตรายที่เป็นผล จากความผิดปกติด้านการนอน
สามารถดําเนินชีวิตและทํากิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติหรือไม่
การประเมินผลและรวบรวมข้อมูล
Sexual Disorders
ความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ
Sexual Dysfunctions
โรคในกลุ่ม Sexual Dysfunctions
Female Sexual Interest/Arousal Disorder เพศหญิงมีความสนใจในกิจกรรมทาง เพศลดลง
Genito-Pelvic pain/Penetration Disorder
Female Orgasmic Disorder
Male Hypoactive Sexual Desire Disorder เพศชายมีความต้องการทางเพศลดลง
Erectile Disorder
Premature (Early) Ejaculation เป็นอาการหลั่งอสุจิเร็วเกินไป
Delayed Ejaculation (ภาวะหลั่งซ้า)
Substance/Medication-Induced Sexual Dysfunction
วินิจฉัยของ DSM-5
มีอาการต่อเนื่องติดต่อกันนาน 6 เดือนขึ้นไป
อาการดังกล่าวต้องเกิดเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 75 ขึ้นไป) ของกิจกรรมทางเพศของบุคคลนั้น
อาการดังกล่าวส่งผลให้เกิดความตึงเครียด ทุกข์ทรมาน
ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางด้านร่างกาย เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน ไม่ได้เป็นผลอันเนื่องมาจากการใช้สารเสพติตหรือยา ไม่เกี่ยวข้องกับอาการแสดงของโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า และไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่รุนแรง เช่น การถูกทําร้ายร่างกายจากอีกฝ่าย
การบําบัดรักษาและการช่วยเหลือ
ด้านร่างกาย
การหลีกเลี่ยงการใช้สารที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ เช่น บุหรี่ สุรา และสารเสพติด
กรณีที่ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนยา
กรณีที่เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ เช่น Testosterone ต่ํา อาจพิจารณาในการเพิ่ม ระดับฮอร์โมน โดยการฉีดหรือการใช้แผ่นแปะ หรือใช้ยา Bromocriptine เพื่อรักษาระดับของ ฮอร์โมน Prolactin ที่เพิ่มมากไป เป็นต้น
การใช้ยาบางชนิดเพื่อช่วยในเรื่องการแข็งตัว เช่น Viagra หรือการเพิ่มเลือดมาเลี้ยงบริเวณอุ้ง เชิงกรานและอวัยวะเพศของเพศหญิง หรือใช้สารหล่อหลิ่นต่างๆ
การผ่าตัด เช่น การสอดใส่วัสดุเข้าไปในอวัยวะเพศชายเพื่อช่วยในการแข็งตัว
การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น การใช้เครื่องปั้มสูญญากาศเพื่อช่วยการแข็งตัว Vibrator
การออกกําลังกาย การพักผ่อนนอนหลับที่เพียงพอ การออกกําลังบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (ฝึกขมิบ)
ด้านจิตใจ
สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สํารวจความรู้สึกของตนเองกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ให้ความรู้ ปรับทัศนคติ และฝึกทักษะหรือเทคนิคที่จําเป็นต่างๆ เช่น
การฝึกเทคนิกการจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล การจัดการกับปัญหา
การฝึกเทคนิค Sensata focus exercise ที่เน้นการฝึกให้ความสนใจกับความรู้สึกสัมผัส การเห็น การได้กลิน และการสร้างความพึงพอใจซึ่งกันและกัน
การฝึกเทคนิคหรือวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การเล้าโลมก่อนสอดใส่ การใช้ท่าที่ เหมาะสมขณะร่วมเพศเพื่อชะลอการหลั่ง หรือ stop-start technique
การทําพฤติกรรมบําบัดแบบลดความวิตกกังวลอย่างเป็นระบบ (Systematic desensitization) เช่น การฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานร่วมกับการค่อยๆ สอดใส่ dilator ทางช่องคลอดจน สามารถสอดใส่ได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ
การบําบัดคู่สมรส เช่น เทคนิคการสื่อสารระหว่างคู่ (สมรส) ความคาดหวัง ทัศนคติ
การทําจิตบําบัดแบบปรับความคิดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (CBT)
ปัญหาเอกลักษณ์ทางเพศ Gender Dysphoria
เพศวิถี (Sexuality)
การรักเพศตรงข้าม (Heterosexuality)
การรักเพศเดียวกัน (Homosexuality)
การรักสองเพศ (Bisexuality)
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย DSM-5
มีการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความไม่สอดคล้องกันของเพศที่แสดงออกหรือเพศที่ต้องการเป็นกับเพศ ที่ถูกกําหนดมาหรือเพศที่เป็นอยู่ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ภาวะในข้อ 1 ส่งผลให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกทุกข์ใจอย่างมากหรือทําให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ ทางสังคม การงาน/การเรียน หรือหน้าที่สําคัญอื่นๆ
ลักษณะอาการและอาการสําคัญของผู้ที่มีความผิดปกติด้านเอกลักษณ์ทางเพศ
อบเล่นเป็นเพศตรงข้ามมากในการละเล่นบทบาทสมมุติ หรือมีจินตนาการว่าเป็นเพศตรงข้าม
ต้องการที่จะมีเพื่อนเล่น/เพื่อนคู่หูเป็นเพศตรงข้ามอย่างมาก
แสดงออกทางพฤติกรรมในลักษณะของเป็นเพศตรงข้ามอยู่เสมอ หรือยืนยันว่าตนเองเป็นเพศตรง ข้าม
รู้สึกอึดอัดไม่สบายใจกับเพศตามร่างกายของตน หรือรู้สึกว่าบทบาทตามเพศของตนเองนั้น ไม่เหมาะสมอยู่ตลอด
องการอย่างมากที่จะทําให้ผู้อื่นเชื่อว่า ตนเองมีความรู้สึกและการแสดงออกแบบเดียวกับเพศตรง ข้ามกับเพศที่ถูกกําหนดมา
มีความไม่ชอบอย่างมากในอวัยวะเพศของตน ต้องการอย่างมากที่จะกําจัดลักษณะทางเพศ
การบําบัดรักษาและการช่วยเหลือ
ช่วงวัยรุ่น
เน้นการ ประคับประคองด้านจิตใจ การให้ความรู้ทั้งแก่วัยรุ่นและครอบครัว บางรายอาจพิจารณาให้ฮอร์โมนเพื่อชะลอ การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยรุ่น เช่น Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) ทําให้วัยรุ่นได้ค้นหา อัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงของตน
ช่วงวัยผู้ใหญ่
รายที่ไม่มีความสุขในการมีเพศทางกายที่ไม่สอดคล้องกับภาวะจิตใจและต้องการได้รับการบําบัดด้วยการทดแทนฮอร์โมน หรือการแปลงเพศก็ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจถึงกระบวนการดังกล่าวและให้พิจารณาอย่างรอบคอบเพราะแปลงเพศเมื่อทําผ่าตัดแล้วไม่สามารถกลับคืนสู่เพศเดิมของตนได้อีก
เน้นการเกิดความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตน การ เรียนรู้ที่จะปรับตัวในการใช้ชีวิตตามเพศที่ต้องการได้อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องแปลงเพศ
ช่วงวัยเด็ก
ไม่มองว่า Gender Dysphoria นี้เป็นความผิดปกติ โดยดูแลประคับประคองทางด้านจิตใจ การสร้างความเข้าใจในความต้องการของเด็กแก่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู เพื่อน และลดตราบาปที่สังคมมีให้กับเด็ก
ให้เด็กและครอบครัวได้ทําหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ และรอเวลาให้อัต ลักษณ์ทางเพศของเด็กได้พัฒนาเต็มที่ในช่วงวัยรุ่น แล้วค่อยประเมินซ้ําว่า Gender dysphoria
พยายามให้เด็กได้มีการแสดงออกที่สอดคล้องกับเพศที่ตนเป็นอยู่ให้ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ลดความตึงเครียด และลดการติเตียนจากสังคม
ภาวะพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต หรือกามวิปริต
Paraphilic Disorders
การบําบัดรักษาและการช่วยเหลือ
การใช้ยา เช่น กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น Depo-Provera (medroxyprogesterone acetate), Lupron Depot (leuprolice) ยากลุ่ม SSRls, Anticonvulsant
การช่วยเหลือทางด้านจิตสังคม
การทําจิตบําบัดรายบุคคล
การทำพฤติกรรมบำบัด
การทำเพศบำบัด
การพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
Sexual dysfunction
การมีแบบแผนการแสดงออกทางเพศที่มีประสิทธิภาพ
การมีสัมพันธภาพที่ดีกับคู่สมรส
มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
Gender Dysphoria
เข้าใจและยอมรับความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของตน
สามารถใช้ชีวิตตามเพศที่ถูกกําหนดมาหรือตามเพศที่ต้องการเป็นได้อย่างมีความสุข
Paraphilic Disorders
สามารถควบคุมตนเองได้เมื่อมีความตื่นเต้นทางเพศ
มีการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสม
การปฏิบัติการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การประเมินผล
การประเมินผลและรวบรวมข้อมูล
ประเภทของภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ
Anomalous Activity Preferences
a. Voyeurism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการแอบดูผู้อื่นเปลือยกาย หรือ ร่วมเพศ
b. Exhibitionism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการอวดอวัยวะเพศให้คนแปลกหน้าเพศตรงข้าม
C. Frotteurism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการถูไถอวัยวะเพศกับเพศตรงข้ามที่ยังสวมเสื้อผ้าและไม่ได้ยินยอม
d. Sexual masochismการเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อตนเองได้รับความเจ็บปวด/เกิดความทุกข์ทรมาน
e. Sexual Sadism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการทําให้ผู้อื่นเจ็บปวดหรือเกิดความทุกข์ ทรมานทางกายหรือจิตใจ
Anomalous Target Preferences
a. Pedophilia การเกิดอารมณ์ทางเพศกับเด็ก (อายุไม่เกิน 13 ปี) โดยผู้กระทําจะต้องมีอายุ อย่างน้อย 16 ปีขึ้นไป และอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 5 ปี
b. Fetishism การเกิดอารมณ์ทางเพศกับวัตถุหรืออวัยวะ ที่ไม่ได้ใช้เพื่อกิจกรรมทางเพศ เช่น เท้า เส้นผม
C. Transvestic fetishism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการสวมใส่เครื่องแต่งกายของเพศตรงข้าม
Other specified paraphilic disorder
a. โทรศัพท์ลามก (telephone Scatophilia or telephone Scatologia) วิธีแก้ปัญหา คือ รับฟัง โดยสงบ ไม่แสดงอาการตื่นเต้น
b. เพศสัมพันธ์ระหว่างบุคคลร่วมสายโลหิต Incest)
C. การมีเพศสัมพันธ์กับศพ (Necrophilia)
d. การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ (Zoophilia)
e. เวจกาม (Coprophilia) การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการถ่ายอุจจาระรดบนคู่ร่วม หรือให้คู่ ร่วมเพศถ่ายอุจจาระรดบนร่างของตน
f. ปัสสาวะรดูกาม (Urophilia) การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการถ่ายปัสสาวะรดคู่ร่วม หรือให้คู่ ร่วมเพศถ่ายปัสสาวะรดบนร่างของตนหรือดื่มปัสสาวะ
นางสาวสิริกัญญา จำอินถา 6031901092
นางสาวสิริกัญญา จำอินถา 6031901092
นางสาวสิริกัญญา จำอินถา 6031901092
Psychiatric Nursing with Behavioral Disorders patients