Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกแตก (Uterine rupture / Rupture of the uterus) - Coggle Diagram
มดลูกแตก
(Uterine rupture / Rupture of the uterus)
ความหมาย
ภาวะที่มีการฉีกขาดของผนังมดลูกในขณะตั้งครรภ์หลังจากทารกโตพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้
หรือหลังอายุครรภ์28 wksและเกิดการฉีกขาดระหว่างตั้งครรภ์ระหว่างเจ็บครรภ์
หรือระหว่างการคลอด
ลักษณะของมดลูกแตก
มดลูกแตกไม่สมบูรณ์ (Incomplete rupture)
รอยแตกไม่ทะลุชั้น peritoneum คือมีการฉีกขาดของชั้นกล้ามเนื้อมดลูกเท่านั้น ส่วนชั้น peritoneum ยังคงปกติ
มดลูกปริ (Dehiscence)
พบในรายที่เคยผ่าตัดมดลูกแผลเก่าอาจปริแยกจากกันโดยเยื่อหุ้มรกยังไม่แตก อาการอาจดําเนินอย่างค่อยๆ เป็นค่อยๆไปและในระยะคลอดมดลูกปริอาจจะกลายเป็นมดลูกแตกได้
มดลูกแตกสมบูรณ์(Complete rupture)
รอยแตกทะลุชั้นเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum)
ทําให้ทารกมักจะหลุดเข้าไปอยู่ในช่องท้อง
ชนิดของมดลูกแตก
การแตกเองของมดลูก
(Spontaneous rupture of the intact uterus)
การแตกเองของมดลูกเป็นภาวะที่ค่อนข้างรุนแรง เพราะมีอันตรายต่อมารดาและทารกมาก พบได้บ่อยในมารดาตั้งครรภ์หลังอายุมาก ได้รับยากระตุ้นการหดรัดของมดลูกและยังพบในรายที่มีการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและช่องเชิงกรานมารดา ท่าและส่วนนำผิดปกติเด็กหัวบาตร ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทําให้ทารกหลุดเข้าไปในช่องท้อง มารดาเสียเลือดมากและทารกขาดออกซิเจน ทําให้เสียชีวิตทั้งมารดาและทารกได้
การแตกของแผลเป็นที่ตัวมดลูก
(Rupture previous uterine scar)
มดลูกแตกจากแผลผ่าตัดพบได้ประมาณร้อยละ 25-55 ส่วนใหญ่มดลูกแตกจากแผลเป็นของการผ่าท้องทําคลอดในการผ่าตัดชนิดคลาสสิคัล (classical) ซึ่งพบมากเป็น 3-4 เท่าของชนิด low transverse โดยชนิด classical มดลูกจะแตกในระหว่างตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 ส่วนชนิด low transverse จะแตกในระหว่างการเจ็บครรภ์ low transverse
การแตกของมดลูกที่เป็นปกติเนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน (Traumatic rupture of the intact uterus)
การแตกชนิดนี้พบได้น้อยระหว่างตั้งครรภ์เกิดจากอุบัติเหตุและมีการบาดเจ็บที่บรเิวณช่องท้อง
ส่วนมากจะพบรกลอกตัวก่อนกําหนดเท่านั้น แต่อาจพบการแตกชนิดนี้ในระหว่างการคลอด
จากการทําสูติศาสตร์หัตถการต่างๆ หรือแม้แต่การกดดันบริเวณยอดมดลูกเพื่อช่วยเหลือการคลอด
สาเหตุ
3.การบาดเจ็บบรเิวณช่องท้องอย่างรุนแรง (severe abdominal trauma)
ได้รับอุบัติเหตุ
4.เคยผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรจํานวนมาก (grand multiparty)
คลอดบุตร 7 ครั้งขึ้นไป
2.การทําสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
สูติศาสตร์หัตถการทําลายเด็ก
การหมุนเปลี่ยนท่าเด็กจากภายใน
การทําคลอดท่าก้น
การทําคลอดด้วยคีม
5.การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
1.รอยแผลผ่าตัดเดิมจากแผลผ่าท้องคลอดหรือแผลผ่าตัดอื่นๆ
การผ่าตัดเอาเนื้องอกในมดลูกออก
6.รกฝังตัวลึก
7.การคลอดติดขัด (obstructed labor)
Cephalopelvic disproportion ( CPD )
hydrocephalus
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
เนื้องอก เช่น เนื้องอกรังไข่หรือมดลูก ครรภ์แฝด
contracted pelvis
อาการและอาการแสดง
1.อาการและอาการแสดงเตือนว่ามดลูกจะแตก
(threatened uterine rupture)
1.1 มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา (tetanic uterine contraction) ไม่สัมพันธ์กับความก้าวหน้าของการคลอด
1.4 กดเจ็บบริเวณเหนือหัวเหน่า โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก
1.5 พบ Bandl’s ring หรือ pathological retraction ring จากการตรวจหน้าท้องเห็นมดลูกเป็นสองลอน ซึ่งเป็นรอยคอดส่วนต่อระหว่างมดลูกส่วนบนและมดลูกส่วนล่าง (upper and lower uterine segment)
1.2 ปวดท้องน้อยบริเวณเหนือหัวเหน่าอย่างรุนแรง
1.3 กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว หายใจไม่สม่ำเสมอ
1.6 จากการตรวจภายในช่องคลอด พบปากมดลูกลอยสูงขึ้น เนื่องจากถูกดึงรั้งขึ้นไปและอาจพบปากมดลูกบวม
1.7 อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ไม่สม่ำเสมอ
1.8 อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
2.อาการและอาการแสดงของมดลูกแตก
(uterine rupture)
2.1 อาการปวดท้องน้อยจะทุเลาลงภายหลังจากที่มารดาบางรายบอกว่ารู้สึกเหมือนกับมีการแยกออกของอวัยวะในช่องท้อง
2.2 พบมีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
2.3 อาจเกิด hypovolemic shock มารดาจะมีอาการกระสับกระส่าย ชีพ จร เบาเร็ว ความดันโลหิต ตา เหงื่อออก ตัวเย็น หายใจไม่สม่ำเสมอ และหมดความรู้สึก
2.4 คลําส่วนของทารกได้ชัดเจนมากขึ้นและอาจคลำได้ส่วนของมดลูกอยู่ข้างๆทารก
2.5 อาจพบเสียงหัวใจทารกจะเปลี่ยนแปลง
2.7 อาจคลําได้ก้อนหยุ่นๆ ข้างมดลูก ถ้ามีเลือดเข้าไปขังอยู่ในbroad ligament
2.6 การตรวจภายในพบว่า ส่วนนําถอยกลับ หรือส่วนนําลอยสูงขึ้น
หรือตรวจไม่ได้ส่วนนําและอาจคลําพบรอยแตกของมดลูก
2.9 ปวดท้องอย่างรุนแรง รู้สึกอึดอัดเนื่องจากเลือดน้ำคร่ำและตัวทารก ก่อความระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องท้อง
2.8 สวนปัสสาวะอาจได้เลือดปนในปัสสาวะ
ถ้ามีการฉีกขาดของกระเพาะปัสสาวะ
ผลกระทบ
มารดา
พบอัตราตายของมารดาจากมดลูกแตกเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเสียเลือดทั้งก่อนและหลังคลอดและเกิดการติดเชื้อ
ทารก
พบอัตราการตายปริกำเนิดของทารกจากภาวะมดลูกแตกร้อยละ 50-70 เนื่องจากทารกขาดออกซิเจน
การรักษา
การผ่าตัดเปิดช่องท้อง (exploratory laparotomy
รายงานกุมารแพทยเ์พื่อช่วยฟื้นคืนชีพทารก
ในกรณีที่ทารกยังมีชีวิต
แก้ไขภาวะช็อค
การเ็ยบซ่อมแซมหรือตัดมดลูก
ถ้าเลือดออกอีก อาจต้องผ่าตัด เพื่อผูก hypogastric arteries ทั้งสองข้างร่วมด้วย ภายหลังการตัดมดลูกออกแล้ว
ใหเ้ลือดทดแทนและให้ยาปฎิชีวนะ
การพยาบาล
1.การพยาบาลเพื่อการป้องกันภาวะมดลูกแตก
1.2 มารดาที่เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ควรแนะนำให้คุมกําเนิดและเว้นระยะในการตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปีและเมื่อตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ครั้งแรกควรส่งพบแพทย์ เพื่อประเมินสภาพและอายุครรภ์
1.1 มารดาที่มีประวัติคลอดยาก ผ่าตัดมดลูก และเคยได้รับการทําสูติศาสตร์หัตถการควรแนะนำให้ฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอและแนะนําให้มาคลอดทีรพ.
1.3 ในระยะคลอดต้องเฝ้าดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด
1.3.1 ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก ถ้าพบว่าผิดปกติคือ interval ‹ 2 นาที, duration › 90 วินาที resting period ‹ 1 นาที, 30 วินาทีและ intensity +4
1.3.2 สังเกตลักษณะมดลูก ถ้าพบว่า มีลักษณะ Bandl’s ring คือมดลูกแบ่งเป็นสองลอน หน้าท้องแข็งตลอดเวลามารดากระสับกระส่าย ปวดท้องมาก แน่นอึดอัดในท้องฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้ยินให้รายงานแพทย์
1.4 ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ผิดปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ควรรายงานแพทยเพื่อพิจารณาผ่าท้องคลอด
2.การพยาบาลเมื่อมีภาวะมดลูกแตกแล้ว
2.1 เตรียมมารดาเพื่อทําผ่าตัดในรายที่มีภาวะเสี่ยงต่อมดลูกแตกหรือในรายที่มดลูกแตก
2.2 เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ
2.3 ให้การดูแลจิตใจมารดาและครอบครัวในกรณีที่สูญเสียบุตร
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกแตกเนื่องจากเคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
2.ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจน
เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่และรุนแรง
4.มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากมดลูกปริหรือแตก
3.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค เนื่องจากเสียเลือดมากจากภาวะมดลูกแตก
5.มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลหรือกลัว
เนื่องจากมีภาวะมดลูกปริหรือแตก