Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 11, นางสาวจันทราทิพย์ แก้วไข่…
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 11
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 1 (2504 – 2509)
ปราบปรามและควบคุมโรคติดต่อนั้น ได้ดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ยกเว้นในเรื่องการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และพยาบาลในชนบทห่างไกล
เน้นการขยายสถานบริการสาธารณสุขได้แก่ โรงพยาบาลและสถานีอนามัยให้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ มีการก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่ๆเพิ่มขึ้นหลายแห่ง
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (2510 – 2514)
เน้นการวางแผนกำลังคนและการกระจายการพัฒนาสู่ชนบท เร่งรัดการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข การปรับปรุงบริการสาธารณสุขโดยขยายขอบเขตการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในชนบทห่างไกล มีการบังคับนักศึกษาแพทย์ให้ทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็นครั้งแรกใน ปี 2508
การส่งเสริมสุขภาพมีอัตราความก้าวหน้าสูงกว่าช่วงแผน ฯ 1 เช่น ผลงาน BCG เพิ่มเป็น 3 เท่า การรักษาพยาบาล ครอบคลุมประชากรได้ร้อยละ 11 สถานบริการระดับอำเภอเพิ่มจากร้อยละ 42.3 เป็นร้อยละ 54.9 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (2520 – 2524)
มุ่งเน้นที่การแก้ไขและลดช่องว่างของปัญหาสาธารณสุข การให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสานแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงโดยเริ่มตั้งเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าใน ปี 2543 ด้วยกลยุทธ์สาธารณสุขมูลฐาน
ด้านสถานบริการเริ่มมีโรงพยาบาลประจำอำเภอแทนศูนย์การแพทย์และอนามัยและมีโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานเป็นครั้งแรกใน ปี 2521 มีการอบรม ผสส /อสม ครั้งแรกใน ปี 2520
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 3 (2515 – 2519)
เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น กำหนดนโยบายประชากรเป็นครั้งแรก มุ่งเน้นการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การควบคุมโรคติดต่อ การปรับปรุงและขยายการบริการ รักษา
พัฒนาความร่วมมือของประชาชนและมีนโยบายการให้บริการ
รักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้รายได้น้อยเป็นครั้งแรก ในปี 2518
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)
เน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก เน้นการพัฒนาชนบทอย่างผสมผสานโดยชุมชนมีส่วนร่วมภายใต้ระบบของคณกรรมการ
การจัดตั้ง โรงพยาบาลระดับอำเภอให้ครบทุกอำเภอรวมทั้งยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ให้เป็นสถานีอนามัยทั้งหมด
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 6 (2530 – 2534)
ขยายสถานบริการสาธารณสุขให้ครบตามเป้าหมาย การยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและการรณรงค์ควบคุมโรคเอดส์เพื่อมิให้กระทบต่อความมั่นคงของชาติ
และเริ่มแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้นเป็น 60.8 ปี และ 64.8 ปี ในเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ อัตราการตายของมารดาและทารกลดลง
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545 – 2549)
“คนในสังคมไทยทุกคนมีหลักประกันที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ และเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ อย่างเสมอภาค รวมทั้งอยู่ในครอบครัวชุมชนและสังคมที่มีความพอเพียงทางสุขภาพ มีศักยภาพ มีการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทยได้อย่างรู้เท่าทัน”
พันธกิจหลัก: การระดมพลังทั้งสังคมเพื่อสร้างสุขภาพ (All for Health) ระดมพลังทั้งสังคมเพื่อร่วมสร้างสุขภาพโดยจะต้องทำให้เกิดสำนึกสุขภาพในสังคมทุกส่วนอย่างทั่วถึง และเปิดโอกาสให้ส่วนต่างๆ ในสังคมมีบทบาทและได้ใช้ศักยภาพของตนในการพัฒนาเพื่อบรรลุสู่สังคมแห่งสุขภาวะ
เน้น สุขภาพคือสุขภาวะ พัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับสุขภาพ:ระบบสุขภาพพอเพียง ภาพลักษณ์ของสังคมและระบบสุขภาพที่พึงประสงค์
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 7 (2535 – 2539)
เน้นการพัฒนาสถานีอนามัยให้เป็นจุดเชื่อมของงานสุขภาพดีถ้วนหน้าและการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพมาตรฐาน
เน้นความพยายามในการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพแก่คนไทยทุกคนเริ่มหันมาเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการและการแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคติดต่อโดยเฉพาะการให้วัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กอายุต่ ากว่า 1 ปี มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 จึงทำให้อัตราการปุวยจากโรคดังกล่าวลดลง
แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 8 (2540 – 2544)
เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นวัตถุประสงค์หลัก เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนในด้านสุขภาพโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพ
เน้นเรื่องความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพด้วยบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ มีการปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ด้านสาธารณสุขให้สอดคล้องกับวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 – 2559)
หลักการมุ่งพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการอภิบาลระบบสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมมุ่งเน้นการสร้างหลักประกันและการจัดบริการที่ครอบคลุมเป็นธรรมเห็นคุณค่าของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
พันธกิจ: พัฒนาระบบสุขภาพพอเพียงโดยยึดหลักธรรมาภิบาล สร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยคุกคาม และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการใช้ภูมิปัญญาไทย
วิสัยทัศน์: “ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี ร่วมสร้างระบบสุขภาพพอเพียง เป็นธรรมนำสู่สังคมสุขภาวะ”
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550 – 2554)
แนวคิดน้อมนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพ และยึดหลักการสุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดีวิสัยทัศน์มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง เพื่อสร้างให้สุขภาพดี บริการดี สังคมดีชีวิตมีความสุขอย่างพอเพียง
พันธกิจ สร้างเอกภาพทางความคิด สร้างจิตส านึกสุขภาพใหม่ สร้างระบบจัดการที่โปร่งใส สร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
นางสาวจันทราทิพย์ แก้วไข่ เลขที่ 91 รหัส 602601013