Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลในระยะที่ 2 ของการคลอด, B6128661 นางสาวธัญลักษณ์ ครึ้มค้างพลู -…
การพยาบาลในระยะที่ 2 ของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะที่ 2 ของการคลอด
1.แรงผลักดันเด็ก
การหดรัดตัวของมดลูกที่แรงขึ้น ถี่ขึ้น
Interval 2-3 นาที Duration 60-90 วินาที ความรุนแรงระดับ 2+,3+
ส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำไปถ่างขยายปากช่องคลอดเกิด Ferguson’s reflex ทำให้มดลูกหดรัดตัวถี่มากยิ่งขึ้น
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และ diaphragm (แรงเบ่งแม่ Pushing reflex)
เพิ่มแรงขับดันภายในโพรงมดลูกกว่าระยะที่ 1 ถึง 3 เท่า
แม่อยากเบ่งเพราะส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมากดทับ Pelvic floor และ Rectum
มดลูกหดรัดตัวเป็น Voluntory ระยะแรก
Pelvic floor ถูกยืดมากเป็น Involuntory
2.การเปลี่ยนแปลงที่ตัวทารก
ถุงน้ำคร่ำแตก ทำให้ตัวทารกสัมผัสผนังมดลูกมากขึ้น
3.การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นเชิงกราน
พื้นเชิงกรานยืดขยาย ช่องทางคลอดฉีกขาด/ฝีเย็บและทวารหนักโป่งตึง
อาการแสดงว่าผู้คลอดเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
1.Probable signs
รู้สึกอยากเบ่ง
ตรวจทวารหนักไม่พบขอบ Cx.
พบ Bloody show มากขึ้น
Membrane rupture
ฝีเย็บโป่งตึง
ทวารหนักตุง
ปากช่องคลอดอ้าเล็กน้อย
มองเห็นส่วนนำทางช่องคลอด
2.Positive signs
ตรวจภายในไม่พบขอบปากมดลูก
การประเมินภาวะสุขภาพในระยะที่ 2 ของการคลอด
1.ประเมินสภาวะทั่วไปของผู้คลอด: ด้านร่างกาย
V/S, Weekness, Bladder ful
2.ประเมินความก้าวหน้าการคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก ทุก 15 นาที(ไม่มีภาวะเสี่ยง) ทุก 5 นาที(มีภาวะเสี่ยง)
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำและการหมุนภายในตัวทารก
Latent phase
ระยะพัก มดลูกหดรัดตัวลดลง ไม่รู้สึกอยากเบ่งคลอด 15-30 นาที
Active phase
ระยะอยากเบ่งจาก Ferguson’s reflex และ Pushing’s reflex 20-50 นาที
Transitional phase
ระยะนี้มองเห็นศีรษะทารก มีแรงเบ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เกิดการคลอดศีรษะทารก เจ็บปวดมาก ควบคุม ตัวเองไม่ได้ 5-15 นาที
ประเมินระยะเวลาของการคลอด
ครรภ์แรก
ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง
ครรภ์หลัง
ใช้เวลา 30 นาที-1 ชั่วโมง
3.สภาวะการเบ่งของผู้คลอด
ประเมินประสิทธิภาพการเบ่งของผู้คลอด การเบ่งอย่างถูกต้อง เบ่งเมื่อมดลูกหดรัดตัว สูดลมหายใจเข้าลึกๆเบ่งยาว 6-8 วินาที ขณะเบ่งทวารหนักตุงและถ่างขยาย มองเห็นส่วนนำทางช่องคลอดมากขึ้นเรื่อยๆ
ระวังการเกิด
Valsalva maneuver
ความดันช่องอกช่องท้องเพิ่ม เลือดไหลไปเลี้ยงมดลูกและรกลดลง
ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน
4.ปฏิกิริยาตอบสนองด้านจิตสังคม
ครรภ์แรก
เกิดความกลัว รู้สึกว่าบริเวณฝีเย็บจะขาดควรอยู่เป็นเพื่อน
ครรภ์หลัง
พฤติกรรม ส่งเสียงร้อง ท้อแท้หมดหวัง โกรธ ก้าวร้าว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อคำบอกเล่าสั้นๆ สนใจตนเองมากกว่าทารก
5.ประเมินสภาวะทารกในครรภ์
ฟัง FHS ทุก 5 นาที ใช้ Drop tone ฟังขณะมดลูกคลายตัว
ปกติ 100-160 ครั้งต่อนาที ถ้าต่ำหรือสูงกว่านั้น ให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจน 4-5 ลิตรต่อนาที
6.ประเมินการปรับตัวทารกตามกลไกการคลอด
เป็นกลไกที่เกิดขึ้นขณะที่ทารกผ่านช่องเชิงกรานในแนวล่าง ได้แก่ กลไก internal rotation และ Extension
ประเมินด้วยการ PV
โดยประเมิน Position, Attitude, Synclitism/Asynclitism, molding และ Caput succedaneam
การดูแลมารดาในระยะที่ 2 ของการคลอด
การดูแลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด
การสังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
การสังเกตการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การเบ่งคลอด
การเตรียมด้านร่างกายและจิตใจเพื่อการคลอด
การเตรียมสถานที่และเครื่องมือ เครื่องใช้
สถานที่
เตียงคลอด ควรสะอาดอยู่เสมอ บางสถานที่ต้องใช้โคมไฟส่อง
อุปกรณ์ใน Set คลอด
Set ผ้า
Set อุปกรณ์ในการทำคลอด
Set อุปกรณ์เย็บแผล
Set scrub
การเตรียมตัวผู้ทำคลอด
สวมหมวก ผูก Mask ใส่แว่นตาทำคลอด
ใส่ผ้ายางกันเปื้อน
ใส่รองเท้าบู๊ท
ล้างมือแบบ sterile
สวมเสื้อกาวน์ ใส่ถุงมือสั้ย-ยาว
เปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า สำหรับปฏิบัติงานในห้องคลอด
การเตรียมผู้คลอด
การจัดท่าคลอด นอนหงายชันเข่า/นอนหงายขึ้นขาหยั่ง/นอนตะแคง/ท่าศีรษะลำตัวสูง
การทำความสะอาดผู้คลอด การ Scrub perineum
สำลีก้อน 1 Mon pubis หัวเหน่าถึงหน้าท้อง
สำลีก้อน 2 ต้นขาไกลตัวจากโคนขาถึง 2/3 ขาท่อนบน
สำลีก้อน 3 ต้นขาใกล้ตัว
สำลีก้อน 4 Labia minera ใกล้ตัว กลับด้านเช็ด Labia majora
สำลีก้อน 5 Labia minera ไกลตัว กลับด้านเช็ด Labia majora ไกลตัว
สำลีก้อน 6 Vestible ผ่านปากช่องคลอดถึง Anus
การคลุมผ้า Sterile แก่ผู้คลอด
สวมถุงเท้าด้านไกลตัว ใกล้ตัว
ปูผ้าสี่เหลี่ยมรองคลอด
ปูผ้า drap หน้าขาทั้งสองข้าง
ปูผ้าสี่เหลี่ยมคลุมหน้าท้อง ให้ด้านที่เป็นสันอยู่ด้านบน
เตรียมเชียร์เบ่ง
เป้าหมายการพยาบาลที่สำคัญระยะนี้
ช่วยให้ผู้คลอดเบ่งคลอดด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีส่วนร่วมในกะบวนการคลอด
ผู้คลอดและทารกปลอดภัยจากการคลอด
ผู้คลอดได้รับความสุขสบาย ได้รับความเจ็บปวดจากการคลอดน้อยที่สุด
การได้รับสนับสนุนจากสามี/ญาติ/บุคลากรทางสุขภาพขณะคลอด
การป้องกันการติดเชื้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
การทำคลอดปกติ
วัตถุประสงค์ของการทำคลอดปกติ
เพื่อช่วยให้ทารกคลอดออกมาอย่างปลอดภัย
เพื่อให้มารดาปลอดภัย ลดความบอบช้ำจากการคลอด
การพิจารณาย้ายผู้คลอดเข้าห้องคลอด
ครรภ์แรก ย้ายเมื่อเข้าระยะที่ 2 ของการคลอด คือ เมื่อปากมดลูกเปิด 10 cm. อยากเบ่ง/เจ็บครรภ์ถี่/ฝีเย็บตุง
ครรภ์หลัง ย้ายเมื่อก่อนเข้าระยะที่ 2 คือ ตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 7-8 cm.
รายที่มีประวัติคลอดเร็ว (Precipitated labor) ย้ายเมื่อปากมดลูกเปิด 5-6 cm.
การเข้า Case ทำคลอด
ครรภ์แรก เข้าเมื่อพบ head seen
ครรภ์หลัง เข้าเมื่อพบปากมดลูกเปิด 10 cm.
รายที่มีประวัติคลอดเร็ว เข้าเมื่อปากมดลูกเปิด 7-8 cm.
การทำคลอดศีรษะทารก
ผู้ทำคลอดยืนอยู่ด้านขวาของผู้คลอด
เมื่อศีรษะทารกมี Crowning (มองเห็นมีขนาด 3-4 cm. ฝีเย็บตึง บาง มันใส รูทวารหนักบาน) ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ข้างซ้าย ช่วยกด Flex ที่ยอดศีรษะ vertex เพื่อให้ทารกเงยขึ้นอย่างช้าๆ มือขวาถือผ้า Safe perineum (ห่าง fourchette 1 cm.) วางมือทาบบนฝีเย็บให้นิ้วหัวแม่มือและอีก 4 นิ้วอยู่คนละด้าน
เมื่อ Sub occiput มายันใต้ขอบล่างกระดูกหัวเหน่า ใช้มือขวาช่วยดันให้ศีรษะเงยขึ้นช้าๆ จน Biparietal diameter คลอดออกมา ให้หยุดเบ่ง
ใช้มือซ้ายจับศีรษะเด็กที่อยู่เหนือ Perineum ให้เงยขึ้น พร้อมกับมือขวารวบบริเวณ Perineum และดันที่ 2 ข้างของรูทวารหนักให้หน้าผากเงยขึ้น
เมื่อหน้าผากคลอดออกมา มือขวาช่วยรูด Perineum ผ่านหน้าคางทารก และรวบผ้า safe perineum ทิ้งขยะทันที
หลังศีรษะทารกคลอดในท่า Extention ทารกจะหมุน occiput ไปทางเดิม ถ้าไม่หมุนให้ผู้ทำคลอดช่วยหมุน เพื่อให้เกิด Restitution, External rotation
ใช้สำลีแห้ง หรือชุบ NSS 2 ก้อนเช้ดตาทารก
สอดนิ้วชี้เข้าไปในช่องปาก เพื่อดูดมูกในปากและจมูกทารก
การตรวจสายสะดือพันคอทารก
สอดนิ้วเข้าไปคลำรอบคอทารก
ถ้าสายสะดือพัน 1 รอบให้สอดนิ้วเข้าไปแล้วรูดผ่านทายทอยมาด้านหน้าทารก
ถ้าพัน 2-3 รอบใช้ Artery clamp 2 ตัวหนีบแล้วตัด
การทำคลอดไหล่และลำตัวทารก
การทำคลอดไหล่หน้า
จับศีรษะทารกให้อยู่ระหว่างอุ้งมือ 2 ข้าง
ค่อยๆโน้มศีรษะทารกลงมาตามแนวช่องเชิงกรานส่วนบน เมื่อเห็นซอกรักแร้จึงหยุด
ห้ามดึงรั้งใต้คางทารก ระวังเกิดภาวะคอเอียง (Coginital torticollis)
การทำคลอดไหล่หลังและลำตัวทารก
จับศีรษะเหมือนการทำคลอดไหล่หน้าโน้มศีรษะขึ้นในทิศ 45 องศากับแนวดิ่ง
เมื่อเห็นซอกรักแร้ ให้ดึงทารกออกมาในแนวตรงโดยเปลี่ยนมือซ้ายที่วางบนศีรษะทารกมารองรับลำตัวแล้วค่อยดึงทารกออกมา
ห้ามสอดนิ้วดึงใต้รักแร้ ระวัง Erb-Duchenne Paralysis
การผูกและตัดสายสะดือ
ผูกเชือกชิด Vulva เพื่อดูการเคลื่อนต่ำของสายสะดือ
ใช้ Artery clamp ตัวแรกที่ใส่ cord ring หนีบ cord ห่างจากตัวทารก 2-3 cm. รีดเลือดที่ cord ก่อนใช้ Artery clamp ตัวที่ 2 หนีบห่างกัน 2-3 cm.
ทำความสะอาดบริเวณที่จะตัดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
วาง cord พาดบนนิ้วกลางและนิ้วนางของมือซ้าย นิ้วชี้และนิ้วก้อยวางทับที่ cord สอดสำลีที่ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อรองใต้ตำแหน่งที่จะตัด
ตัด cord โดยหันปลายกรรไกรเข้าหาอุ้งมือเรา และกำมือขณะตัด วาง cord ที่ตัดแล้วบนผ้าคลุมหน้าท้อง
ใช้ Tooth forceps รูด cord ring จาก Artery clamp รัด cord และ บีบ cord ว่ามีเลือดซึมออกมาหรือไม่
เช็ดคราบเลือดจากตัวทารกโดยใช้ผ้าแห้งสะอาด
อุ้มทารกให้มารดาดูเพศ หน้า และ Bonding
การช่วยเหลือทารกหลังคลอดทันที
เช็ดตัวทารกด้วยผ้าขนหนูแห้ง กระตุ้นให้ทารกร้อง
ดูดมูกจากปากและจมูก จนกว่าทารกจะหายใจดี
วางทารกที่ผ้ารองคลอด ตะแคงหันหลังให้ชิดปากช่องคลอด หันศีรษะมาทางผู้ทำคลอด ให้สายสะดือพาดบนลำตัว
ประเมินสภาวะแรกเกิดด้วย APGAR score นาทีที่ 1, 5, 10
เมื่อทารกคลอดหมดตัวให้ดูและขานเวลาเกิด ผู้ช่วยคลอดเขียนป้ายผูกข้อมือ (ชื่อสกุล ผู้คลอด เพศทารก วันที่ เวลาเกิด น้ำหนัก)
การทำคลอดศีรษะจนลำตัวคลอด ควรใช้เวลา 2-3 นาที
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดการคลอดล่าช้าเนื่องจากผู้คลอดเหนื่อยล้า และเบ่งไม่ถูกวิธี
มีโอกาสเกิดการฉีกขาดบริเวณฝีเย็บ เนื่องจากผู้คลอดไม่สามารถควบคุมแรงเบ่งได้
มีโอกาสเกิดการฉีกขาดแผลฝีเย็บเนื่องจากมีการฉีกขาดต่อของแผลฝีเย็บ
มารดาและทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเบ่งไม่ถูกวิธี
มีความเจ็บปวดมากเนื่องจากการยืดขยายของฝีเย็บ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีการแตกของถุงน้ำคร่ำนานหรือฉีกขาดของฝีเย็บ
ความรู้สึกมีคุณค่าลดลงเนื่องจากไม่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ
หน้าที่ผู้ช่วยคลอด
ช่วยจัดท่าผู้คลอด
เตรียมและดูแลความครบถ้วนของอุปกรณ์การทำคลอด
ช่วยเชียร์เบ่งคลอด
ดูแลความสุขสบายทั่วไปของผู้คลอด
ฟังเสียงหัวใจทารก ประเมินการหดรัดตัวมดลูกทุก5 นาที ลงบันทึก
บันทึกเวลาคลอด ชั่งน้ำหนัก เขียนและผูกป้ายข้อมือ เช็ดตัวทารก
รายงานหัวหน้าเวรเมื่อมีความผิดปกติ
วัดความดัน หลังรกคลอด
ถ้า BP ≤ 130/90 mmHg. ฉีด Methergin 0.2 mg.
ถ้า BP > 130/90 mmHg. ฉีด Syntocinon 10 ยูนิต
นำทารกไปดูดนมมารดาบนเตียงคลอด
เช็ดตา ป้ายตา(Terramycin) เช็ดสะดือทารก
ฉีดวิตามิน K1, ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
B6128661 นางสาวธัญลักษณ์ ครึ้มค้างพลู