Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเตรียมและการช่วยเหลือมารดาและทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ -…
การเตรียมและการช่วยเหลือมารดาและทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ
1.ความหมาย
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยเครื่องมือพิเศษ จะทำในรายที่ทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดออกซิเจนในครรภ์ เพื่อลดอัตราตายทารกปริกำเนิด
2.Biochemical Assessment
2.1 การเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ (Amniocentasis)
ข้อบ่งชี้
ตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซม
มารดาที่มีอายุ >35 ปี
มารดาที่เคยคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ
บิดาหรือมารดามีความผิดปกติทางโครโมโซม
มารดาที่มีประวัติแท้งเป็นอาจิณ
ตรวจเลือดมารดาได้ผลผิดปกติ
U/S พบความพิการของทารก
ตรวจพบทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การค้นหาโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
การนำน้ำคร่ำมาวิเคราะห์ DNA
ตรวจหาความสมบููรณ์ของปอด
ช่วงเวลาในการเจาะน้ำคร่ำ
อายุครรภ์ที่เหมาะสมคือ 16-18 Wks.
การแปลผล
รายงานเป็นแบบแผนและลักษณะของโครโมโซมทั้ง 23 คู่
ภาวะแทรกซ้อน
ถุงน้ำคร่ำรั่วและมีเลือดออกทางช่องคลอด
การติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำ
ทารกบาดเจ็บจากการถูกเข็มเจาะ
การสูญเสียทารกแรกเกิดทารกตายหรือแท้งบุตร
ความพิการแต่กำเนิดทางออร์โธปิดิกส์ของทารก
การพยาบาล
ก่อนการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
1.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางพันธุกรรมที่มีข้อบ่งชี้ตามแนวทางการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม
2.ให้ผู้รับบริการตัดสินใจว่าจะรับการตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำหรือไม่
3.นัดตรวจล่วงหน้า เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคืออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
4.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจและการแก้ปัญหา ในกรณีที่มีความผิดปกติ
5.ให้ลงนามในใบอนุญาตการยอมรับการตรวจ
6.ก่อนทำการตรวจ เตรียมผู้รับบริการถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง จัดให้นอนในท่านอนราบบนเตียง คลุมผ้าบริเวณหน้าท้องและทาเจลบริเวณที่หน้าท้องในตำแหน่งที่แพทย์จะใช้คลื่นความถี่สูงหาตำแหน่งของถุงน้ำคร่ำ
7.ทำความสะอาดหน้าท้องโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
ขณะเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
อยู่กับผู้รับบริการขณะแพทย์ทำหัตถการ
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจจะพบได้ เช่น supine hypotension syndrome เนื่องจากนอนหงายเป็นเวลานาน
ภายหลังการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
ภายหลังการตรวจให้ผู้รับบริการนอนหงาย กดแผลหลังจากแพทย์เอาเข็มออกด้วยก๊อซนานประมาณ 1 นาที และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
ดูแลให้ผู้รับบริการพักผ่อนประมาณ 30 นาที –1 ชั่วโมง
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
ถ้าปวดแผลบริเวณที่เจาะสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดแผลได้
ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดแผลบริเวณที่เจาะ สามารถเปิดแผลได้ในวันถัดไปและอาบน้ำได้ตามปกติ
หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนหน้าท้อง 1 - 3 วันหลังเจาะ เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกาย การเดินทางไกล
งดมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการเจาะ 7 วัน
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตอาการแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำคร่ำแตกรั่ว มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องเป็นพักๆ และมีไข้
การตรวจความสมบูรณ์ของปอด L/S ratio
เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย L/S ratio เพื่อดู lung maturity
ค่าปกติของ L/S ratio
ใน 26 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ค่า S>L
อายุครรภ์ 26-34 สัปดาห์ ค่า L/S = 1: 1
อายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ ค่า L จะเพิ่มแต่ S ลดลงค่า L/S = 2: 1
ถ้า L/S ratio > 2 แสดงว่าปอดของทารกสมบูรณ์เต็มที่
Shake test
วิธีที่ 1
ใช้หลอดทดลองขนาด 13 x 100 มิลลิลิตร 2 หลอดโดยหลอดที่ 1 ใส่น้ำคร่ำ 1 มิลลิลิตรและ ethanol 95% 1 มิลลิลิตร หลอดที่ 2 ใส่น้ำคร่ำ 0.5 มิลลิลิตร NSS 0.5 มิลลิลิตร และ ethanol 95% 1 มิลลิลิตรจากนั้นเขย่าหลอดทั้งสองอย่างแรงนาน 15 วินาที แล้วตั้งทิ้งไว้ 15 นาที
การแปลผล
ถ้าเกิดฟองอากาศเกิดขึ้นและคงอยู่นาน 15 นาทีทั้ง 2 หลอด แสดงว่าได้ผลบวก บ่งชี้ว่าทารกมีโอกาสเกิด RDS น้อย แต่ถ้าพบฟองอากาศเฉพาะหลอดที่ 1 แสดงว่าได้ผลลบ ปอดของทารกยังไม่สมบูรณ์
วิธีที่ 2
จะสามารถให้ผลที่แน่นอนขึ้นโดยใช้หลอดทดลอง 5 หลอดใส่น้ำคร่ำจำนวน 1,0.75, 0.5, 0.25 และ 0.2 มิลลิลิตรตามลำดับแล้วเติม normal saline solution ในหลอดที่ 2, 3, 4 และ 5 ทำให้ส่วนผสมเป็น 1 CC ทุกหลอดแล้วเติม ethanol 95% ทุกหลอดเขย่านาน 15 วินาทีและทิ้งไว้นาน 15 นาที
การแปลผล
ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้น 3 หลอดแรกแสดงว่าได้ผลบวกปอดของทารกเจริญเต็มที่ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้น 2 หลอดแรกแสดงว่าได้ผล intermediate ปอดทารกยังเจริญไม่เต็มที่
2.4 การเก็บเนื้อรกส่งตรวจ CVS
ข้อบ่งชี้ในการทำ
การตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
ตรวจดูความผิดปกติของฮีโมโกลบินทารกก่อนคลอด
มารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ
ภาวะทารกพิการแต่กำเนิด
การแท้ง
ถุงน้ำคร่ำรั่ว
บทบาทพยาบาล
วัดสัญญาณชีพ
จัดเตรียมอุปกรณ์ให้สะอาดปราศจากเชื้อ น้ำยาเพาะเลี้ยงเซลล์ (culture media)
ให้กำลังใจและอยู่เป็นเพื่อนหญิงตั้งครรภ์ขณะแพทย์ทำการตรวจ
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่านอนขึ้นขาหยั่ง (lithotomy) กรณีจะตรวจโดย transcervical route
การตรวจวิธีนี้ แพทย์จะนิยมให้ปัสสาวะเหลืออยู่บ้างในกระเพาะปัสสาวะจึงไม่จำเป็นต้องทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
จัดเตรียมภาชนะใส่พร้อมฉลากที่เขียนชื่อ เสกุล HN วัน เวลาที่เจาะและช่วยแพทย์เก็บเนื้อรก โดยเนื้อรกที่เก็บไม่ควรต่ำกว่า 10 – 30 มิลลิกรัม เพื่อเพียงพอสำหรับการตรวจหาโครโมโซม DNA และ Enzyme
อธิบายให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการทำ และการปฏิบัติตนภายหลังทำ
ภายหลังตรวจเสร็จดูแลให้หญิงตั้งครรภ์นอนพักวัดสัญญาณชีพ
แนะนำให้งดทำงานหนักอย่างน้อย 1 วันและงดการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 1-2 สัปดาห์
10.ถ้ามีอาการผิดปกติภายหลังการทำ เช่น ปวดท้องรุนแรง มีเลือดออก ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
2.2 การตรวจหาระดับ estriol
การตรวจหาระดับ estriol ในปัสสาวะ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
สตรีที่มีเบาหวานขณะตั้งครรภ์
สตรีที่เป็นความดันโลหิตสูง
อายุครรภ์เกินกำหนด
มีประวัติทางสูติกรรมไม่ดี
วิธีการตรวจ
เก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เริ่มเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์และตรวจ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จนอายุครรภ์ครบกำหนด
การแปลผล
ค่า estriol ลดลงฉับพลันอย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่าทารกอยู่ในภาวะอันตราย
ค่า estriolต่ำอย่างเรื้อรัง คือต่ำกว่า 2 SD ของค่าเฉลี่ยทุกครั้งที่ตรวจ ซึ่งเกิดจาก IUGR ทารกพิการแต่กำเนิด ทารกติดเชื้อเรื้อรัง
ค่า estriol ค่อยๆลดต่ำลงเรื่อยๆ
2.3 การตรวจหา alpha-fetoprotien (MSAFP)
เป็นการตรวจเลือดของมารดาเพื่อประเมมินความพิการแต่กำเนิดและความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
ระดับ MSAFP สูงผิดปกติพบในทารก
open neural tube defect
congenital nephrosis
หลอดอาหารอุดตันแต่กำเนิด
Turner's syndrome
ระดับ MSAFP ต่ำผิดปกติพบในทารก
Down's syndrome
AFP ค่าโปรตีนที่สร้างจากรก
ค่าปกติ 2.0-2.5 MOM
ค่า AFP สูงขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ 15 แสดงว่ามีความผิดปกติของ Open neural tube
anencephaly
meningomyelocle
spinabifida
2.5 การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก (FBS)
ความหมาย
การใช้เครื่องมือใส่ผ่านผนังหน้าท้องมารดาและใช้เข็มเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ Cordocentesis ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ขึ้นไปหากทำอายุน้อยกว่านี้สามารถทำได้ แต่จะพบภาวะแพและอัตราการแท้งจากการทำสูงขึ้น
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ Cordocentesis
การวินิจฉัยโรคทารกก่อนคลอด
มารดาอายุมากที่มาฝากครรภ์ช้า
ความผิดปกติที่พบจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงที่สงสัยความผิดปกติทางโครโมโซม
ตรวจดูความผิดปกติของระบบเลือด เช่น ภาวะเลือดออกผิดปกติ โรคธาลัสซีเมีย
การประเมินทารกในครรภ์
ความผิดปกติทางโครโมโซมในทารก
Red cell isoimmunization
ภาวะทารกบวมน้ำ
การติดเชื้อในครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน
Immune thrombocytopenic purpura
ครรภ์แฝดน้ำ
ทารกในครรภ์มีภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ภาวะแทรกซ้อน
การคลอดก่อนกำหนด
การปะปนของเลือดมารดาสู่ทารกในครรภ์
ภาวะหัวใจทารกเต้นช้าซึ่งพบได้บ่อย
ภาวะติดเชื้อ
การเสียเลือดมากเกินไปจนอาจเกิดอันตรายต่อทารกหรืออาจมีลิ่มเลือดกดสายสะดือทารกซึ่งอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้
บทบาทการพยาบาล
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ตรวจสอบการดิ้นของทารก
การฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารก
ประเมินสภาพทารกในครรภ์โดยใช้เครื่อง Electronic monitoring
การประเมินภาวะเลือดออกจากสายสะดือจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงและ fetal monitoring 30 60 นาทีภายหลังการตรวจ
3.Biophysical Assessment
3.1 Ultrasound
ข้อบ่งใช้
วินิจฉัยอายุครรภ์
ติดตามการเจริญเติบโตของทารก
ตรวจวินิจฉัยความพิการแต่กำเนิดของทารก
การวินิจฉัยครรภ์แฝด
ตรวจวินิจฉัยสาเหตุการมีเลือดออกทางช่องคลอด
การวินิจฉัยเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
ตรวจตำแหน่งความผิดปกติและภาพรก
ใช้ศึกษาหลอดเลือดหลักของทารก
ระยะเวลาที่เหมาะสม
GA 7-10 Wks.
บทบาาทพยาบาล
4.เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ตรวจ
5.เปิดผ้าคลุมเฉพาะหน้าท้อง
3.ถ้าหญิงตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 1 ดูแลให้มี bladder full ในรายที่ต้องตรวจหน้าท้อง
6.ทำความสะอาดหน้าท้องหลังตรวจ
2.งดน้ำงดอาหารบางกรณี เช่น ครรภ์นอกมดลูก
7.บันทึกผล
1.ให้คำปรึกษา
3.2 Amniotic fluid volume measurement
วิธีที่ 1 วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ
เป็นการวัดความลึกของน้ำคร่ำบริเวณที่ลึกที่สุดในแนวตั้ง โดยตั้งหัวตรวจตั้งฉากกับหน้าท้องมารดาโดยที่ระยะทางที่วัดไม่ให้มีสายสะดือหรือส่วนต่างๆของทารกในครรภ์ขวางอยู่
ค่าปกติ 2.1-8 cm.
ค่าที่อยู่ระหว่าง 0-2 cm. มีภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
ค่ามากกว่า 8 cm. มีภาวะน้ำคร่ำมาก (polyhydramnios)
วิธีที่ 2 วัดดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ
เป็นการประเมินโดยการแบ่งหน้าท้องมารดาออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกันโดยอาศัยแนวของสะดือและ linear nigra และวัดความลึกที่ลึกที่สุดในแนวตั้งของแต่ละส่วน นำค่าที่ได้มาบวกกันทั้ง 4 ค่า
ค่าปกติ 5-24 cm.
ถ้าน้อยกว่า 5 cm. มีภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
ถ้ามากกว่า 25 cm. มีภาวะน้ำคร่ำมาก (polyhydramnios)
3.3 การตรวจ Biophysical profile (BPP)
เป็นการตรวจประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยอาศัยหลักการว่า เมื่อทารกขาดออกซิเจน ศูนย์ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกายที่ระบบประสาทส่วนกลางก็ขาดออกซิเจนด้วย ทำให้การทำงานของร่างกายบกพร่อง ซึ่งอาจจะแสดงออกมาจากการตรวจต่างๆ โดยใช้ parameters จากการตรวจ ultrasound 4 อย่างร่วมกับผลการตรวจ NST รวมเป็น 5 parameters
ระยะเวลาที่เหมาะสม
GA 28-30 Wks.
ข้อบ่งชี้
หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
เบาหวาน
ครรภ์เกินกำหนด
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
การแปลผล
คะแนนเต็ม 10
4-6 คะแนน ผิดปกติ ติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
0-2 คะแนน ผิดปกติ ควรยุติการตั้งครรภ์
8-10 คะแนน ปกติ
ข้อดี
หญิงตั้งครรภ์ไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ค่าใช้จ่ายไม่สูง
ไม่มีความเจ็บปวด
ข้อจำกัด
ใช้ระยะเวลานานในการตรวจ
บทบาทพยาบาล
พยาบาลผดุงครรภ์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจวิธีการตรวจแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อเป็นแนวทางในการข้อมูลแก่หญิงตั้งครรภ์การขอความร่วมมือในการตรวจและผ่อนคลายความวิตกกังวลและความกลัวต่าง ๆ นอกจากนี้ควรมีการติดตามผลการตรวจเพื่อจะช่วยให้สามารถนำมาวางแผนการให้การพยาบาลอย่างเหมาะสมกับปัญหาของหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย
3.5 การฉายรังสีเอ๊กซเรย์ (Radiography)
การใช้รังสีวินิจฉัยทำได้เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไปเพื่อดู fetal skeletal ทารก ครรภ์แฝดในไตรมาส 2 ถ้าตรวจในช่วงไตรมาสที่ 3 อาจตรวจหาความผิดปกติบางอย่างของทารกได้ เช่น anencephaly, hydrocephalus และใช้วินิจฉัยภาวะทารกตายในครรภ์ โดยจะพบอาการแสดงเช่น Spaldings sign และ Deuel's sign เป็นต้น
บทบาทพยาบาล
ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีควรอธิบายให้ทราบถึงความจำเป็นและการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจเมื่อทราบผลการตรวจแล้วพยาบาลควรเตรียมวางแผนการพยาบาลอย่างเหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายเช่นในกรณีทารกตายในครรภ์ควรให้การพยาบาลเหมือนการพยาบาลมารดาที่สูญเสียทารก
3.4 การนับจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์
1.Daily Fetal Movement Record
นับรวมการดิ้นในช่วง 12 ชั่วโมง (08.00-20.00)
นับ 3 ช่วง ได้แก่ 1 ชั่วโมงตอนเช้า 1 ชั่วโมงตอนเที่ยงและ 1 ชั่วโมงตอนเย็น รวมผล 3 ครั้งเป็นการดิ้นต่อวัน
แต่ละช่วงถ้าดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งนับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง
ถ้าน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมงใน 2 วันติดถืว่าเป็นสัญญาณอันตราย
2.The Cardiff
เป็นการนับจำนวนทารกเคลื่อนไหวตั้งแต่ 09.00 น. จนครบ 10 ครั้งซึ่งไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง ถ้าเด็กดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง แสดงว่าเกิดภาวะ decrease of fetal movement (DFM)
Liston
เทคนิคการนับเหมือนวิธีของ Pearson แต่เริ่มทำตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ถ้าเด็กดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง แสดงว่าเกิดภาวะ DFM
4.Electronic Fetal monitoring
การวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์โดยใช้เครื่องรับสัญญาณ (tranducer) การเต้นของหัวใจทารกต่อนาทีแล้วบันทึกลงในกระดาษต่อเนื่องโดยเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวของทารกหรือการหดรัดตัวของมดลูกซึ่งจะบันทึกลงในกระดาษแผ่นเดียวกัน
ชนิดการตรวจ
Internal or direct monitoring
External monitoring
4.1 Non Stress test (NST)
ตรวจการตอบสนองของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เมื่อทารกในครรภ์ตื้นหรือเคลื่อนไหวจะตอบสนองโดยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เรียกว่า Acceleration คือเพิ่มจาก baseline เท่ากับหรือมากกว่า 15 ครั้ง / นาทีและคงอยู่นานเท่ากับหรือมากกว่า 15 วินาทีเมื่ออัตราการเต้นของหัวใจทารกมี acceleration ขณะเคลื่อนไหวแสดงว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพดีเมื่อทารกขาดออกซิเจนจึงขาดความสมดุลของประสาทส่วนกลางและหัวใจทารกทำให้ไม่มี acceleration
วิธีตรวจ
ให้หญิงตั้งครรภ์นอนในท่า semi-fowler หรือนอนตะแคง แล้วต่อ External electronic fetal monitoring ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจทารกจะถูกบันทึกด้วยหัวตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
การแปลผล
Uninterpretable
Suspicious
Non-reactive
Reactive
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจทารก
อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
ด้านมารดา
มีไข้
ไทรอยด์เป็นพิษ
ได้รับยา Atropine
ด้านทารก
ขาดออกซิเจนเรื้อรัง
มีการเคลื่อนไหว
อัตราการเต้นของหัวใจลดลง
ด้านมารดา
ความดันโลหิตต่ำ
ยาชาเฉพาะที่
โปรแทสเซียมต่ำ
ด้านทารก
ขาดออกซิเจน
Congenital heart block
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับการเต้นของหัวใจ
Variability เพิ่มขึ้น
ด้านมารดา
การคลอดระยะที่ 2
ด้านทารก
ขาดออกซิเจนเฉียบพลัน
มีการเคลื่อนไหว
Variability ลดลง
ด้านมารดา
Acidosis
รกเสื่อมสภาพเรื้อรัง
ด้านทารก
ทารกขาดออกซิเจนเรื้อรัง
ทารกไม่ครบกำหนด
tachycardia
บทบาทพยาบาล
บันทึก FHR ไปเรื่อย ๆ ตลอดการทดสอบ
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์กด marker เพื่อบันทึกเมื่อรู้สึกว่าเด็กดิ้น
ดูแลให้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ เพื่อบันทึกของมดลูกที่เกิดขึ้นเองหรือการดินของทารกระวังไม่ให้สายยึดที่คาดบริเวณหน้าท้องหลุด
ขณะตรวจควรสังเกตอาการและอาการแสดงของ Supine hypotension
วัดความดันโลหิต
เมื่อตรวจเสร็จควรเช็ดเจลออกจากหน้าท้องและควรดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ลุกช้าๆติดตามการคำแนะนำที่เหมาะสม
จัดท่านอนในลักษณะ Semi-fowler หรือนอนตะแคง
9 ถ้าผล reactive ให้ตรวจติดตามสุขภาพทารกตามความเสี่ยงเดิม แต่ถ้าผล nonreactive ให้ยืนยันด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเช่น contraction stress test (CST) หรือ biophysical profile (BPP) หรือ ultrasound เป็นต้นร่วมกับการตรวจ ultrasound ประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ปริมาณร่วมด้วย แต่ถ้าผล Suspicious ควรทำซ้ำใน 24-48 ชั่วโมง
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการตรวจ
4.2 Contraction stress test (CST)
หลักการของ CST เมื่อมดลูกหดรัดตัวจะทำให้ทารกขาดเลือดหรือออกซิเจนชั่วคราวถ้าทารกมีปริมาณออกซิเจนสำรองเพียงพอ จะสามารถทนต่อภาวะขาดออกซิเจน ถ้าทารกมีออกซิเจนสำรองไม่เพียงพอ จะเกิดภาวะขาดออกซิเจน ถ้าระดับ PO2 ต่ำกว่า 17-18 mmHg จะมีการกระตุ้น Chemoreceptor ให้ส่งสัญญาณไปที่ brain stem กระตุ้นให้หลอดเลือดส่วนปลายตีบความดันโลหิตสูงขึ้นเลือดจะไปสู่สมองและหัวใจมากขึ้นเมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นจะมีการกระตุ้น baroreceptor ส่งสัญญาณไปที่ brain stem จะทำให้เกิด late deceleration โดยส่งตามคำสั่งมาตาม vagus neve ถ้าขาดออกซิเจนตลอดเวลาจะเกิดผลบวกของ stress test แต่ถ้าเกิดเป็นครั้งคราวจะเกิดเป็นแบบสงสัย
วิธีการทำ
ให้ Oxytocin 5 U ในน้ำเกลือ 500 ML
ให้ Oxytocin เริ่มต้นด้วย 5-10 หยด / นาทีจนกระทั่งมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อย 3 ครั้งในเวลา 10 นาทีมดลูกหดรัดตัวแต่ละครั้งนาน 40- 60 วินาที แต่ถ้ายังไม่มีการหดรัดตัวของมดลูกภายหลังการให้ยา 15-20 นาทีพิจารณาให้เพิ่มยาเป็น 2 เท่าทุก 15 นาทีจนกว่าจะมีการหดรัดตัวของมดลูกดี
บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารก 15-20 นาที
หากไม่ใช้ยา Oxytocin อาจใช้วิธี nipple stimulation โดยใช้มือคลึงที่หัวนมทั้งสองข้างอย่างต่อเนื่องหรือคลึงไปมาที่หัวนมข้างเดียวนาน 2 นาทีแล้วหยุด 5 นาทีถ้าการหดรัดตัวยังไม่ถึงเกณฑ์ให้กระตุ้นแบบเดิมต่อการ
ให้หญิงตั้งครรภ์นอนในท่า Semi-fowler หรือนอนตะแคงวัดความดันโลหิตทุก 10 นาทีเพื่อไม่ให้เกิดภาวะ Supine hypotension
การแปลผล
Suspicious
Hyperstimulation
Positive
Unsatisfactory
Negative
ข้อบ่งชี้
ประวัติทารกตายในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ
การไม่เข้ากันของเลือดมารดาและทารก
น้ำคร่ำน้อยหรือครรภ์แฝด
มารดาติดยาเสพติด
ครรภ์เกินกำหนด
น้ำคร่ำปนขี้เทา
สงสัยว่าทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มารดามี Hemoglobin ผิดปกติ
ทารกเคลื่อนไหวลดลง
ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
ข้อห้าม
การตั้งครรภ์ที่เกรงว่าจะเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเช่นครรภ์แฝด, ปากมดลูกไม่แข็งแรง, ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด
รกเกาะต่ำ
เคยผ่าตัดคลอดชนิด Classical Cesarean section
แนวทางการดูแลรักษา
Reactive NST และ Positive CST พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอดและต้องทำ internal fetal heart rate
Non reactivellas Positive CST> 32 สัปดาห์ควรทำ C / S <32 สัปดาห์และ long term variability ปกติดูแลเช่นเดียวกับ Reactive NST และ Positive CST แต่ไม่มี long term variability ควรตรวจ fetal biophysical profile
Non reactive และ Suspicious CST ควรทำซ้ำภายใน 24 ชั่วโมงและหาสาเหตุของ Non reactive
Reactive NST และ Suspicious CST ให้ตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
Non reactive NST และ Negative CST ให้ตรวจซ้ำ 24 ชั่วโมงและหาสาเหตุของ Non reactive
Reactive NST และ Negative CST ให้ตรวจซ้ำทุกสัปดาห์
บทบาทพยาบาล
สังเกตอาการทุก 15-20 นาทีประเมิน FHR reactivity และอาจจะมีการหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดขึ้นเองประมาณร้อยละ 10-15 โดยกำหนดให้มดลูกมีการหดรัดตัว 3 ครั้งใน 10 นาที duration 40-60 วินาที
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูกถ้ามีการหดรัดตัวของมดลูกเองไม่ต้องให้ Oxytocin
ดูแลให้ได้รับ Oxytocin ทางหลอดเลือดดำตลอดจนสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ดูแลการปรับหยด Oxytocin ในอัตรา 0.5 มิลลิยูนิต / นาทีโดยเพิ่มอัตราการให้ช้าๆจนกว่าจะมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ tocodynamometer และ Dropplertranducer ติดกับหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์
วัดความดันโลหิต
จัดท่านอนในลักษณะ Semi-fowler หรือนอนตะแคงในท่าศีรษะสูงประมาณ 20 องศา
ถ้าพบว่ามี late deceleration เกิดขึ้นทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัวให้สรุปว่าเป็นผลบวกและให้หยุดทดสอบ
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการตรวจ