Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis), unnamed, osteoporosis-day, images,…
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ความหมาย
:tada:โรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในสตรีสูงอายุ :tada:
กลไกการเกิดกระดูกพรุน
:checkered_flag:ภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน จะทำให้เซลล์กระดูกสร้างและหลั่งไชโตไคน์ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ทำลายกระดูก (Osteoclast) ทำให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่าง การสร้างกระดูกและการสลายกระดูก มวลกระดูกจึงลดลง นำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้:checkered_flag:
:checkered_flag:นอกจากนี้ผู้สูงอายุบริโภคแคลเซียมน้อยลงและกลไกการสังเคราะห์วิตามินดีก็เสื่อม ก็เสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเช่นกัน เพราะวิตามินดีจะคอยช่วยดูดซึมแคลเซียม เมื่อปริมาณแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายจึงอาศัยแคลเซียมจากกระดูก โดยกระตุ้นให้มีการหลั่งพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก ทำให้มีการสลายกระดูกมากขึ้น :checkered_flag:
:checkered_flag:ในผู้สูงอายุมีแคลชิโตนินลดลง จึงไม่สามารถควบคุมการสลายกระดูกของเซลล์ทำลายกระดูกได้เหมือนเดิม มวลกระดูกจึงลดลง โดยเฉพาะที่บริเวณ กระดูกสันหลัง ข้อมือ สะโพก เป็นต้น ทำให้ผู้สูงอายุมักมีส่วนสูงลดลง เนื่องจากกระดูกบางลงทำให้ไม่สามารถรับแรงได้ตามปกติ จึงเสี่ยงต่อการหักได้ง่าย ทำให้มีอาการปวด และเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ตามปกติ :checkered_flag:
กิจกรรมการพยาบาล
:pencil2:ให้รับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง เช่น นม เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้
:pencil2:ให้เดินด้วย Walker หรือ Cane เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
:pencil2:ออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก หากมีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
:pencil2:แนะนำให้ใช้ส้วมแบบโถนั่ง
:pencil2:ดูแลให้ร่างกายได้รับแสงแดดในยามเช้า 30 นาที 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์
:pencil2:ใช้ความร้อนร่วมกับการนวด พลิกตะแคงตัวด้วยความระมัดระวัง
:pencil2:ให้ยาบรรเทาปวด และยายับยั้งการสลายกระดูก
:pencil2:เลิกบุหรี่ จำกัดสารคาเฟอีน งดดื่มสุรา เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะทำให้เพิ่มการสลายแคลเซียม
:pencil2:จัดท่านอนให้ถูกต้อง โดยหนุนหมอนเตี้ยๆ พยุงบริเวณคอและหัวไหล่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง
:pencil2:ระมัดมะวังไม่ให้หกล้มเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ โดยควรจัดทำบ้านให้ดีมีราวจับ ตรวจดูลานสายตาและการทรงตัวของผู้สูงอายุด้วย
:pencil2:ให้นอนพักบนที่นอนที่แน่นไม่อ่อนนุ่ม
:pencil2:ให้รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม
อ้างอิง
T. Songpatanasilp a, Thai Osteoporosis Foundation (TOPF) position statements on management of osteoporosis
พญ.ปียฉัตร คงเมือง, โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)(
https://www.srth.moph.go.th/re...11_journal/document/Y32N2/6_Porous_bone.pdf
)
รศ.นพ.ประเสริฐ อัสสัตชัย, โรคกระดูกพรุน(
http://www.si.mahidol.ac.th/si
... สิงหาคม 2560