Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis, นางสาวอัจฉรา อุประ…
การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis
โครงสร้างของกระดูก
กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม
เป็นการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ มีการเสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของ น้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อ เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการ บวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อเป็นมากขึ้นจะทำให้ข้อเข่าโก่งงอ
ข้อเข่าประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้ายึดติดกันด้วยเส้นเอ็น ทำให้กระดูกข้อเข่าแข็งแรง ผิวสัมผัสของกระดูกทั้งสามมีเยื่อบุของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก และมีกระดูกอ่อนลักษณะเรียบ มันวาว ผิวลื่น พร้อมน้ำไขข้อ เพื่อรองรับน้ำหนักและช่วยหล่อลื่นขณะมีการเคลื่อนไหวข้อ
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอริยาบทต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่ง พับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ เพราะเร่งให้เกิดความเสื่อมในข้อเข่าเร็วขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยลดอาการปวดและเกร็งของกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยใช้ความร้อนประคบรอบๆเข่า นาน 15 - 30 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
แนะนำให้ผู้สูงอายุใช้ไม้เท้า จะช่วยแบ่งเบาแรงที่กระทำต่อข้อเข่าได้ และช่วยเพิ่มความมั่นคงในการยืนเดิน บางรายอาจใช้ร่มแทน ให้ใช้จุกยางอุดปลายร่มเพื่อกันลื่น
แนะนำให้นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง และควรมีที่รองแขนเพื่อช่วยในการพยุงตัวลุกขึ้นยืนได้สะดวก
แนะนำให้ออกกำลังกาย เช่น การเดิน หลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือเต้นแอโรบิคที่มีท่ากระโดดหรือบิดงอหัวเข่า เพื่อเป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อเข่า ให้กล้ามเนื้อ และเอ็นรอบเข่าแข็งแรง เพิ่มความทนทานในการใช้งาน ช่วยป้องกันและลดความพิการที่อาจเกิดขึ้นกับข้อเข่า
ดูแลและแนะนำให้ลดน้ำหนัก เนื่องจากเวลายืนเดิน เข่าต้องรับน้ำหนัก 3-4 เท่าของน้ำหนักตัว ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เข่าจะยิ่งต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ดังนั้นการลดน้ำหนักจะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่าได้มาก
ดูแลไม่ให้เดินบนทางที่ขรุขระเพราะจะทำให้น้ำหนักตัว ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
แนะนำญาติให้จัดบริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่างไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน เพื่อป้องกันการสะดุด
แนะนำญาติให้ดูแลภายในห้องน้ำควรเป็นส้วมที่เป็นชักโครก ใช้วัสดุกันลื่น มีราวจับ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำ เพื่อพิ่มความปลอดภัย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
การสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่า ที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
อายุที่มากขึ้น พบว่าอายุ 40-60 เริ่มมีข้อเข่าเสื่อม
เพศหญิงพบมากกว่าเพศชายเพราะเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ระบบต่อมไร้ท่อในร่างกาย
น้ำหนักตัวที่เกิน
ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน
การอักเสบติดเชื้อ หรือ โรคไขข้อบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์
อาการ
เริ่มจากปวดตื้อๆ เป็นๆ หายๆ เมื่อได้พักการใช้เข่า อาการปวดก็จะทุเลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ในรายที่เป็นมากอาการปวดจะเป็นตลอดเวลา
ข้อฝืด มักเป็นตอนเช้า มักไม่เกิน30นาที ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด
ข้อผิดรูป เข่าบวมโต บางรายมีขาโก่งออก
มีปัญหาในการใช้งานข้อเข่า เช่น ลุกนั่งม้าเตี้ย ขึ้นลงบันได รวมทั้งการเดิน
การตรวจร่างกาย
กล้ามเนื้อลีบ
ความมั่นคงแข็งแรงของข้อ
ข้อบวมหรือข้อผิดรูป ลักษณะการอักเสบ บวม แดง
ลักษณะการเดิน เสียงดังดรอบแกรบในข้อเวลาเคลื่อนไหว
น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจภาพถ่ายรังสีในท่ายืน หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ
ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตรวจน้ำไขข้อ, ESR, CT-Scan, MRI เป็นต้น
เกณฑ์การวินิจฉัย
อายุเกิน 50 ปี
อาการฝืดแข็งในตอนเช้านานน้อยกว่า 30 นาที
ภาพรังสีแสดงกระดูกงอก
มีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวเข่า จากการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อหรือเอ็นที่หนาตัวขึ้น
มีอาการปวดเข่า
นางสาวอัจฉรา อุประ เลขที่ 73 ห้องA