Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคการบริหารทางการพยาบาล - Coggle Diagram
เทคนิคการบริหารทางการพยาบาล
1.การเจรจาต่อรอง (Negotiation)
การเจรจาต่อรอง ( Negotiation) หมายถึง กระบวนการที่บุคคลระหว่าง ๒ คน หรือ
มากกว่าขึ้นไป มีการติดต่อสื่อสารกลับไป
กลับมาเพื่อหารือความต้องการ หรือ
ผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน เพื่อหาข้อสรุป
ร่วมกันหรือบรรลุความต้องการและ เป็นที่พอใจของทั้ง ๒ ฝ่าย
จุดประสงค์ของการเจรจาต่อรอง
เพื่อขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือข้อเสนอที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้เจรจาได้สิ่งที่ต้องการ ขณะเตียวกันก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย
องศ์ประกอบของการเจรจาต่อรอง
๑. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีความคิดเห็น หรือความต้องการที่แตกต่างกัน
๒. กระบวนการ การเจราจาต่อรองเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ วางแผน และช่วงเจรจา
๓. ความพยายามที่จะแก้ปัญหา เรื่องที่จะเจรจา คือจุดประสงค์ของการที่ทั้งสองฝ่ายต้องประชุมตกลงกัน
๔. ความแตกต่าง แต่ละฝ่ายต้องตระหนักว่าทั้งคู่มีความแตกต่างกัน หรือมีสิ่งที่แตกต่างกันจะเสนอ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจในแต่ละฝ่ายก่อน
กระบวนการเจรจาต่อรอง
(The negotiation process)
๑. ขั้นเตรียมการและวางแผน
( preparation and planning)
๒. ขั้นกำหนดกฎกติกาพื้นฐาน
(definition of ground rules)
๓. ขั้นทำความชัดเจนและหาเหตุผลสนับสนุน (clarification and justification)
๔. ขั้นการต่อรองและแก้ปัญหา ( bargaining and problem solving)
๕. ขั้นจบการเจรจาและนำไปสู่การปฏิบัติ (closure and implementation)
เทคนิคการเจรจาต่อรอง
๑. การต่อรองแบบนุ่ม คือ ผู้ต่อรองยินดีเสนอและยินยอมคู่เจราจาในบางประเด็น ไว้ใจกันมองคู่เจรจาเป็นมิตร และยอมตามเพื่อหลีกเสี่ยงการทะเลาะเบาะแว้ง
ข้อดี คือ สามารถส่งเสริมและรักษาสัมพันธ์ภาพของทั้ง ๒ ฝ่ายไว้ได้ และเรื่องสามารถลงเอยด้วยดี
ข้อเสีย การต่อรองอาจทำให้เสียเปรียบและถูกครอบงำโตยคู่เจรจาที่ใช้การต่อรองแบบแข็ง
๒. การต่อรองแบบแข็ง คือ ผู้เจรจายึดจุดยืนของตนเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงข้อเจรจาของฝ่ายตรงข้ามมองคู่เจรจาเป็นศัตรู เรียกร้องเพื่อต้องการเอาชนะฝ่ายเดียว
ข้อดี คือ ข้อตกลงอาจยุติโดยที่ตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
ข้อเสีย ทำให้เสียสัมพันธ์ภาพ อาจเกิดการทะเลาะ ปะทะกัน
หัวใจสำคัญในการเจรจาต่อรอง
๑. เริ่มต้นด้วยการเปิดฉากเชิงบวก การเริ่มต้นด้วยการมีไมตรีที่ดีต่อกัน ใช้การคิดหรือมุมมองทางบวกมักเกิดบรรยากาศที่ดี มีการผ่อนปรนซึ่งกันและกัน สร้างบรรยากาศที่เปิดเผยและไว้ใจซึ่งกันและกัน หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำรุนแรง
๒. บุคคล แยกออกจากปัญหา มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอเมื่อมีการติดต่อสื่อสากัน เมื่อเอาอารมณ์มาเกี่ยวข้องก็จะยึดเอาจุดยืนของตนเป็นหลัก
๓. ความสนใจ เน้นเรื่องผลประโยชน์มากกว่าใครแพ้ใครชนะ เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่กลัวเสียหน้าหรือถูกดูหมิ่น จึงจะเกิดข้อตกลงสำหรับทุกฝ่ายได้
๔. ทางเลือก ควรหาทางเลือกที่มีประโยชน์ต่อทุกฝ่ายก่อนตัดสินใจ หรือยุติการเจรจา ทางเลือกควรเป็นชนิด win - win solution คือ แบบ ชนะ - ชนะเป็นผู้ชนะทั้งคู่ ได้ประโยชนทั้งคู่
๕. เกณฑ์ ต้องตกลงกันตามกฎเกณฑ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยข้อตกลงนี้จะเกิดจากการยอมรับของทุกฝ่ายมิใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้น
2.การตัดสินใจ (Decision making)
ความหมาย เป็นกระบวนการที่มีการคิดพิจารณา ไตร่ตรอง อย่างมีเหตุผล บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ เพื่อเลือกทางเลือกซึ่งมีอยู่หลายแนวทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากรบุคคล มีการสั่งการเพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการ
ความสำคัญของการตัดสินใจ
๑ ช่วยให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่มีคุณภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และช่วยให้งานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๒ ช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
๓. ช่วยให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากความวิตกกังวลและสภาพที่ถูกบังคับในจิตใจ
๔. ช่วยให้บุคคลเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเองที่การตัดสินใจนั้นๆก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อผู้อื่นได้
๕. ช่วยให้บุคคลมีความมั่นใจและมีการพัฒนาศักยภาพของตนให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
๖ ช่วยให้เกิดการประหยัดเวลา แรงงาน ทรัพยากรในการปฏิบัติ
ขอบเขตในการตัดสินใจ
๑. การตัดสินใจโดยอาศัยขอบเขตตามระเบียบข้อบังคับ และกฎหมาย มีการกำหนดหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ มอบหมายอำนาจหน้าที่ชัดเจน ตามสายงานและสายการบังคับบัญชา
๒. การตัดสินใจโดยอาศัยขอบเขตทางสังคม เป็นการอาศัยหลักทางคุณธรรม จริยธรรม ระบบค่านิยมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยืดถืออยู่
ปัญหาและอุปสรรคต่อการตัดสินใจ
ประกอบด้วย
๑. ขาดความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะตัดสินใจ จึงทำให้ผู้บริหารตัดสินใจในลักษณะการเดามากกว่า
๒. ขาดข้อมูลและข่าวสารที่มีคุณภาพ ที่จะนำมาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์เกี่ยวกับการตัดสินใจ
๓. ไม่มีเวลาเพียงพอในการตัดสินใจ ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะมาวิเคราะห์ข้อเท็จจริง
๔. ไม่ได้รับมอบหมายอำนาจในการตัดสินใจเต็มที่
๕. ลักษณะนิสัยส่วนตัวชอบปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่ขอบตัดสินใจเอง เพราะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น หรือใช้ประสบการณ์ของตนเองมากเกินไป
๖. ความยากลำบากในการคาดการณ์ในอนาคต เนื่องจากการตัดสินใจในวันนี้เป็นการมุ่งเห็นผลในอนาคต
๗. เหตุผลทางการเมืองหรือถูกอิทธิพลครอบงำ ไม่สามารถนำเหตุผลที่แท้จริงมาพิจารณาได้ ทำให้ขาดหลักการและเหตุผล
๘. ใช้ถ้อยคำกำกวม ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจและปฏิบัติผิดพลาดได้
๙. งบประมาณมีจำกัด
๑๐ ค่านิยมทางสังคมและค่านิยมส่วนตัวของผู้ตัดสินใจ
๑๑. จากตัวเจ้าหน้าที่ ความรู้ ความสามารถและบุคลิกภาพ ความรับรู้ การตัดสินใจสั่งการ
๑๒. เป้าหมายส่วนใหญ่มาจากระดับสูง
๑๓. การสื่อสาร เจ้าหน้าที่แตกต่างกันเลือกการสื่อสารต่างๆ กัน
๑๔. ระยะเวลา
๑๕. การใช้เทคโนโลยีที่ขาดการปรับปรุง แก้ไขดัดแปลงให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ
๑๖. การควบคุมอารมณ์ อารมณ์ของคนทำให้การตัดสินใจต่างๆ ผิดพลาดได้
๑๗. แรงจูงใจ การทำงานทุกคนก็หวังที่จะได้สิ่งตอบแทนไม่ว่าจะเป็นตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน
๑๘. ระบบการทำงาน หน่วยงานที่มีเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่างๆ อย่างมาก ระบบต่างๆ ที่ดีย่อมช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ดี
๑๙. ประเภทของผู้ตัดสินใจ ผู้บังคับบัญชามีลักษณะพิเศษเฉพาะของบุคคล เช่น ผู้บังคับบัญชาแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย มีอุปสรรคต่อการตัดสินใจไม่น้อย
๒๐. สถานที่
๒๑. ความคิดเดิมของผู้ตัดสิน ทำให้มีความเชื่อมั่นสูง ดื้อรั้น
๒๒. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก
กระบวนการตัดสินใจ
ประกอบด้วย
๑. การระบุปัญหาหรือกำหนดปัญหา
๒, เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
๓. หาวิธีการแก้ปัญหาวิเคราะห์ทางเลือก
๔. พิจารณาถึงผลตีผลเสียของแต่ละวิธี
๕. เลือกวิธีที่ดีที่สุดไปใช้
๖, ดำเนินการสั่งการ
๗. ประเมินผลการตัดสินใจ
3.การบริหารเวลา
ระบบการบริหารเวลา (Time Management System)
๑. การกำหนดความสำคัญ (Set Priorities) วิธีการพิจารณาความสำคัญก่อนหลังนี้ อาจใช้วิธี A-B-C(A-B-C Strategy)
A = มีความสำคัญมากต้องทำก่อน
B = มีความหมายสำคัญเช่นกัน ถ้ามีเวลาก็ควรทำ
C = ถ้าไม่ทำขณะนี้คงไม่เป็นไร เมื่อทำอย่างอื่นเสร็จแล้วจึงค่อยทำงาน
๒. การวางแผน (Planning)
๑.ลำดับงานที่จะทำ (The Sequence) หมายถึงการพิจารณางานที่มีความสำคัญ A ทั้งหมดก่อนว่า จะทำงานใดก่อนและหลัง
๒. ยึดหลัก ๔W (The Who What Where and When) หมายถึงการระบุลำดับงานที่จะทำให้ชัดเจน
๓. ทรัพยากรทางการบริหารที่ต้องการ (Resources Needed) หมายถึงการระบุทรัพยากรทางการบริหารอันได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ
๔. การติดตามผล (Follow - Up Required) การพิจารณาวิธีการติดตามผลเพื่อจะได้ทราบว่างานที่กำหนดไว้ตามแผนนั้นได้ดำเนินไปตามแผนหรือไม่
๕. แผนสำรอง (Contingency Plans) หมายถึง การพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการดำเนินตามแผนแล้วกำหนดเป็นแผนสำรองไว้
๓. การปฏิบัติตามตารางเวลาที่กำหนด (Protecting Schedule Times)
หมายถึง การปฏิบัติตามตารางการทำงานที่กำหนดไว้ในแผนซึ่งผู้บริหารจะต้องรู้จักใช้คำว่า "ไม่" หรือรู้จักการปฏิเสธงานเฉพาะหน้าที่ไม่มีความจำเป็น เร่งด่วน
กลยุทธการบริหารเวลา
ผู้บริหารที่ไม่มีเวลา เป็นผู้บริหารที่มักจะใช้เวลาการทำงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับการประชุม การโต้ตอบจดหมายการพูดคุยหรือเพื่อนร่วมงาน การอภิปรายปัญหาในการทำงาน การปฏิบัติงานเด่นที่ไม่อยู่ในแผน จะมีการใช้โทรศัพท์ติดต่องานน้อยมากและการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่คั่งค้างอยู่
ผู้บริหารที่มีเวลา เป็นผู้บริหารที่มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการวางแผนการประชุม รองลงมาคือการใช้โทรศัพท์ติดต่องาน การวางแผนมอบหมายงานให้ผู้อื่นปฏิบัติ การแก้ปัญหาในการทำงานและการอ่านหนังสือวารสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
เทคนิคการบริหารการใช้เวลาที่มีประสิทธิภาพ
๑. จดบันทึกการใช้เวลาประจำวันไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการสูญเสียเวลา
๒. วิเคราะห์สาเหตุของการรบกวนเวลาหรือการสูญเสียเวลาไปโดยไม่จำเป็นจากข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในแต่ละวันเพื่อหาข้อบกพร่องและสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียเวลาโดยไม่จำเป็น
๓. ปรับปรุงข้อบกพร่องหรือสาเหตุที่ทำให้เสียเวลาตามที่วิเคราะห์ได้
ประกอบด้วย
๓.๑ ทำการวางแผนก่อนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
๓.๒ จัดลำตับความสำคัญของงาน โดยพิจารณาตามหลักการ ABC ข้างต้นที่ได้กล่าวมา หรือ หลักความสำคัญและความรีบต่วนของงาน
๓.๓ ฝึกฝนตนเองให้มีสมาธิในการทำงาน ทำงานแต่ละชิ้นให้เสร็จก่อนเริ่มงานใหม่ ไม่ควรทำทิ้งไว้ครึ่งๆกลาง ๆ
๓.๔ หลีกเลี่ยง การผลัดวันประกันพรุ่ง ควรรีบลงมือปฏิบัติงานทันที อย่ารอไว้ใกล้หมดเวลาแล้วค่อยทำ
๓.๕ จัดหาอุปกรณ์ หรือเครื่องทุนแรง เทคโนโลยีใหม่ ๆมาใช้เพื่อประหยัดเวลา
๓.๖ คิดทุกครั้งในการทำกิจกรรม ว่ากิจกรรมใดควรใช้เวลามากน้อยเท่ได เช่น เวลาในการโทรศัพท์ เวลาในการประชุม ฯลฯ
๓.๗ ดูแลตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรง มีเวลาให้กับครอบครัวบ้าง
4.การบริหารความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง (Conflict) คือ สภาพการณ์ที่คนหรือกลุ่มคนเกิดความไม่เข้าใจกัน มีความรู้สึกไม่พึงพอใจ หรือคับข้องใจที่จะปฏิบัติงาน
ประเภทของความขัดแย้ง
๑ ความขัดยังตามแนวตั้ง (Vertical Conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับสายงานบังคับบัญชา นับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงขององค์การจนถึงผู้ปฏิบัติงาน
๒ ความขัดแย้งตามแนวนอน (Horizontal Conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในระดับเตียวกันซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีอำนาจตามตำแหน่ง (Authority) ของตนอง
๓. ความขัดแย้งตามแนวทแยงมุม (Diagonal Conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่งกับ ต่างระดับต่างสายงานบังคับบัญชา
สาเหตุของความขัดแย้ง
๑. ผลประโยชน์ ผลประโยชน์มักจะเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่พบมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
๒ บทบาทไม่ชัดเจน ซึ่งบางครั้งผู้ปฏิบัติงานอาจเกิดความไม่แน่ใจว่าเขามีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง
๓. เป้าหมายการทำงาน เป้าหมายในการทำงานขององค์การกับเป้าหมายการทำงานของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลมีความแตกต่างกันบางครั้งผู้ปฏิบัติงานอาจจะไม่เห็นด้วยหรือไม่ยอมรับในป้าหมายการทำงานที่องค์การกำหนดขึ้น
๔. อำนาจ อำนาจในที่นี้หมายถึงอำนาจตามตำแหน่ง (Authority) และอำนาจบารมี (Power)
๕ การเปลี่ยนแปลง การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพราะความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะดีขึ้นกว่าเติมหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ล้วนเป็นสาเหตุของความขัดแย้งได้ทั้งสิ้น
การบริหารความขัดแย้ง
๑. การชนะ-แพ้ (Domination) หมายถึง การแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีการที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการใช้อำนาจในการแก้ปัญหา
๒. การประนีประนอม (Compromise) หมายถึง การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยที่ต่างฝ้ายต่างได้เพียงบางส่วนที่ต้องการเท่านั้น
๓. การประสานประโยชน์ (integrated Solution) หมายถึง การแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เน้นความพอใจของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่มีการแพ้-ชนะ
ความขัดแย้งในงานการพยาบาล
๑. การมีพฤติกรรมที่ต่อต้านหรือฝ่าฝืน พฤติกรรมขัดขืนหรือฝ่าฝืน
๑.๑. กลุ่มที่ปฏิเสธการทำงาน
๑.๒. กลุ่มที่ยอมปฏิบัติตาม แต่มีท่าทีดูถูกหรือเย้ยหยัน
๑.๓.กลุ่มที่หลีกเลี่ยง
๒. ความเครียด การที่พยาบาลมีความเครียด จะเป็นเหตุให้การทำงานไม่ประสิทธิภาพ และไม่พึงพอใจในงานในที่สุด
๓. อำนาจหน้าที่ของแพทย์ แพทย์ได้รับการฝึกฝนให้มีอำนาจหน้าที่ไม่เหมือนพยาบาล ในปัจจุบันนี้พยาบาลต้องการความเป็นอิสระมากขึ้น มีความรับผิดชอบ และมีความสำนึกในความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย
๔. ความเชื่อ ค่านิยมและเป้าหมาย การที่ผู้ร่วมงานมีการรับรู้หรือทำกิจกรรมใดๆ ไม่สอดคล้องกันก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้
๕. สาเหตุอื่นๆ เช่นการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหอผู้ป่วย
ผลกระทบของความขัดแย้ง
ผู้บริหารจะต้องดูแลควบคุมให้องค์กรมีความขัดแย้งในระดับที่เหมาะสม หากหน่วยงานมีความขัดแย้งอยู่ในระดับที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดผลดีต่อหน่วยงาน เช่น เพิ่มแรงจูงใจหรือความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน มีผลผลิตหรือผลงานดี แต่ถ้าหน่วยงานไม่มีความขัดแย้งหรือมีน้อยเกินไปก็จะทำให้ขาดความคิดใหม่ๆ หรือการทำงานขาดประสิทธิภาพ และในกรณีที่หน่วยงานมีความขัดแย้งในระดับที่สูงมาก จะทำให้บรรยากาศในการทำงานตึงเครียด ผู้ปฏิบัติงานจะขาดกำลังใจ
5.การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)
ความหมาย เป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคคล โดยผู้บังคับบัญชาถ่ายโอนอำนาจ ให้อิสระในการตัดสินใจ และจัดหาทรัพยากรในการปฏิบัติงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และส่งเสริมให้บุคคลเกิดความสามารถในทำงานและแก้ปัญหาต่างๆได้บรรลุผลสำเร็จของตนเองและองค์กร
ความสำคัญของการเสริมสร้างพลังอำนาจ
การเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นการแบ่งปันอำนาจระหว่างผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนมีความสามารถที่จะไปถึงเป้าหมายของงานหรือขององค์กรและเสริมสร้างให้กับผู้อื่นเพื่อให้เขามีความสามารถที่จะไปถึงจุดหมายเช่นกัน การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานแก่บุคลากรพยาบาล ถือเป็นกลยุทธ์การบริหารที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ
๑. ความสำคัญต่อบุคคลในองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจมีความสำคัญกับบุคคลทั้งระดับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารงานในองค์กรพยาบาล ตังนี้
๑.๑ การเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคลระดับผู้ปฏิบัติงาน คือ การที่ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับโอกาส ในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจร่วมกับผู้บริหารในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งอาจจะเป็นหอผู้ป่วย แผนก หรือ ฝ่ายการพยาบาลตามความเหมาะสมแก่ระดับของผู้ปฏิบัติการนั้น ๆ การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับผู้ปฏิบัติงานโดยเฉพาะพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล บุคคลกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะนำกลยุทธ์ต่างๆไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยทำงานที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งต้องปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง งานดังกล่าวเป็นงานที่ก่อให้เกิดความเครียดสูง เนื่องจากเป็นงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น
๑.๒ การเสริมสร้างพลังอำนาจระดับผู้บริหาร การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับนี้จะมีความแตกต่างจากผู้ปฏิบัติ คือ ต้องเป็นทั้งผู้ที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจและเป็นผู้เสริมสร้างพลังอำนาจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา กล่าวว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจถือเป็นเครื่องมือการบริหารงานอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารหรือผู้นำใช้บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เนื่องจากการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นการแบ่งปันพลังอำนาจแก่ผู้อื่นเพื่อให้เขามีความสามารถ ที่จะไปถึงเป้าหมาย เป็นการอยู่ร่วมกันของบุคคลในองค์กรที่ให้ประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันและเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสตงความสามารถของตนในการปฏิบัติงานเมื่อได้รับโอกาสหรือได้รับการส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความก้าวหน้าและมีศักยภาพในงานเพิ่มขึ้น
๒. ความสำคัญต่อทีมงาน ทีมงานหรือทีมในการทำงาน คือผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยปกติลักษณะทีมจะมีหัวหน้าทีม และสมาชิกทีม ในการดำเนินงานของทีมอาจจะมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งหรือมีความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกัน มีการเกี่ยงกันทำงาน เป็นเหตุให้สัมพันธภาพในทีมไม่ตี แต่ถ้าทีมงานไต้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในการทำงาน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งก็ทำให้ ทุกคนในทีมรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและรับผิดชอบร่วมกันในผลงานที่จะเกิดขึ้น มีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของทีมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลิตผลจากการทำงานเพิ่มสูงขึ้น
๓. ความสำคัญต่อระดับองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นแนวคิดในการพัฒนาบุคลากรและทีมงานในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร โดยมีผู้บริหารเป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือเป็นผู้แนะนำแก่ผู้ปฏิบัติในการทำงานให้บรรลุความสำเร็จของงาน ซึ่งการเสริมสร้างพลังอำนาจมีส่วนช่วยให้องค์กรดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และการเสริมสร้างพลังอำนาจยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นจากการได้กระทำบางสิ่งที่ผู้ปฏิบัติคิดว่าตนเองไม่สามารถทำได้ ว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำงานนั้นได้สำเร็จ การให้ข้อมูลข่าวสารและการเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาตนเอง คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆมาไข้ในหน่วยงาน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานและพัฒนางาน การส่งเสริมให้มีการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้เกิดประสิทธิผลขององค์กร
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารการพยาบาล
๑. ระบบโครงสร้างองค์กร จะขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่และตำแหน่ง องค์กรใดที่มีการบริหารงานแบบรวมอำนาจ ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดทุกอย่างโดยไม่ได้เกิดจากความต้องการของผู้ปฏิบัติ ออกคำสั่งโดยไม่ฟังเสียประชาคม กล่าวคือ ไม่มีการกระจายอำนาจไปพร้อมๆกับการมอบหมายงาน องค์กรนั้นจะมีการเสริมสร้างพลังอำนาจน้อย
๒. วัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมองศ์กรแบบสร้างสรรค์ที่ให้ความสำคัญต่อค่านิยมที่สร้างความพึงพอใจในบุคคลขององค์กร คือต้องการความสำเร็จบนพื้นฐานของการส่งเสริมความรักและสัมพันธภาพที่ดีในองค์กร เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายร่วมกัน ลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจ
๓. ผู้บริหารองค์กร นอกจากจะต้องมีความสามารถในการบริหารงานแล้ว ยังต้องมีภาวะผู้นำที่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกน้อง สร้างแรงบันตาลใจในการปฏิบัติงาน คำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลและกระตุ้นให้ลูกน้องใช้สติปัญญาในการสร้างสรรค์งาน
๔. บุคลากร มีบุคลากรที่มีความแตกต่างกัน ยิ่งในองค์กรใหญ่ก็ยิ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา แต่ถ้าผู้บริหารสามารถเชื่อมโยงค่านิยมที่ หลากหลายเข้าด้วยกันและชี้ให้บุคลากรเห็นคุณค่าในพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ ก็จะทาให้เกิดการเสริมสร้างพลัง อำนาจได้เช่นกัน
๕. ความไว้วางใจในองค์กร ความไว้วางใจ เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อมั่นระหว่างกันว่าทุกคนเห็นพ้องต้องกัน ในเป้าหมายขององค์กร ภายในองค์กรมีบรรยากาศของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
๖. ลักษณะงาน กล่าวถึงลักษณะงานที่ทาให้เกิดการเสริมสร้างพลังอำนาจไว้ ต้องมี ลักษณะดังนี้ คือ เป็นงานที่ยึดกฎระเบียบในหน่วยงานน้อย มีความยืดหยุ่นในบางโอกาส งานที่ยึดระบบอาวุโสน้อยและเปิด โอกาสให้ทุกคนได้แสดงความรู้ความสามารถ
๗. สัมพันธภาพระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เป็นการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์และการตอบแทนซึ่งกันและกัน โดย ที่หัวหน้าให้ความไว้วางใจและยอมรับในความสามารถของลูกน้อง มีความผูกพันทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว