Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid embolism/AFE) - Coggle…
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid embolism/AFE)
การป้องกัน
จัดท่านอนศีรษะสูง ให้ออกซิเจน 6-8ลิตรต่อนาทีทางหน้ากาก
การเจาะถุงน้ำควรทำไม่ให้ถูกปากมดลูกและไม่เจาะก่อนปากมดลูกดปิดหมด
ไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป โดยหากใช้ Oxytocin drip ควรดูการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด
ไม่ควรทำ stripping membranes จากคอมดลูก เพราะจะทำให้เส้นเลือดดำบริเวณปากมดลูกด้านในฉีกขาดได้
่มีภาวะรกเกาะต่ำควรตรวจภายในอย่างระมัดระวัง
ถ้าผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่มากเกิน รายงานแพทย์
ปัจจัยส่งเสริม
การเร่งคลอด
ทารกตายในครรภ์เป็นเวลานาน
การคลอดเฉียบพลัน
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก
การบาดเจ็บในช่องท้อง
การคลอด c/s
มารดามีบุตรหลายคน
มารดาครรภ์หลังอายุ> 35 ปี
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
การเบ่งคลอดขณะถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การรูดเพื่อเปิดขยายปากมดลูก
การตรวจน้ำคร่ำก่อนคลอด
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายในและภายนอกครรภ์
อาการและอาการแสดง
หนาวสั่น (chill)
เหงื่อออกมาก
คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล
หายใจลำบาก (dyspnea) เกิดภาวะหายใจล้มเหลวทันทีทันใด
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
ความดันโลหิตต่ำมาก
ชัก
หมดสติ
มีอาการ>1 ชั่วโมง ทำให้เกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรงได้
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงที่สำคัญ 5 อย่าง
ระบบหายใจล้มเหลว
อาการเขียว
เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง
เลือดออก
ไม่รู้สติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาเซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน (lanugo hair) เมือกของทารกหรือเซลล์จากรก (fetal squamous cell, fetal debris, trophoblasts) ซึ่งต้องอาศัยการย้อมสีพิเศษโดยตรวจได้จาก
การชันสูตรศพ (autopsy)
เลือดจากกระแสเลือดไปปอดของมารดา หรือจากในสายของซีวีพี (CVP line)
เสมหะ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก พบลักษณะ pulmonary edema
การตรวจคลื่นไฟฟูาหัวใจ (ECG) จะพบลักษณะ tachycardia STและ T wave เปลี่ยนแปลง และ มี RV strainได้
ตรวจการไหลเวียนของเลือดในปอดอาจพบความบกพร่องperfusion defect ได้
การตรวจหา Sialy 1TH antigen จะพบมีระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเปื้อน
ผลกระทบ
ทารก
เสียชีวิตแต่หากรอดชีวิตส่วนมากจะมีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท
มารดา
เสียชีวิตจากการเสียเลือด ช็อคหากรอดชีวิตมักมีอาการทางระบบประสาท
การรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยจัดให้นอน Fowler ‘ s position ให้ออกซิเจน100%
ดูแลระบบการไหลเวียนเลือดโดยการให้สารละลายทางหลอด เลือดดำ
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูกโดยให้ยา oxytocin หรือ methergin ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าทารกยังไม่คลอด ประเมินFHS เละรีบให้การช่วยเหลือโดยการC/S เร่งด่วน
เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอดถ้ามีความดันโลหิตต่ำเช่น Dopamine, Norepinephrine, Epinephrine
เจาะเลือดเพื่อประเมินความเข้มข้นของเลือดและการแข็งตัวของเลือด
รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (DIC) โดยให้ยา Heparin
ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด
9.ให้ Morphin เพื่อลดการคั่งของเลือดดำในปอด อาการ หอบและเขียว
10.ให้ Digitalis ช่วยให้หัวใจบีบตัวช้าลง แรงขึ้น เลือดออกจากหัวใจมากขึ้น
11.ให้ยา Hydrocortisone 1 gm. ช่วยภาวะหดเกร้งหลอดเลือดแดงฝอย ทำให้การดูดซึมกลับของสารน้ำในเนื้อเยื่อต่างๆดีขึ้น
12.ให้ยา Isoprensline 0.1 gm. เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดในปอดและการทำงานของหัวใจดีขึ้น
13.หากPPH ให้ยาช่วยการหดรัดตัวมดลูก/คลึงมดลูกตลอดเวลา หากไม่ได้ผลพิจารณาตัดมดลูกออก
การพยาบาล
เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ถ้ามีอาการและอาการแสดงมีภาวะชักเกร็งโดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนมี ภาวะเขียวทั่วทั้งตัว หรือเริ่มเขียวเป็นบางส่วนของร่างกาย ควรปฏิบัติดังนี้
2.1 จัดให้มารดานอนในท่า fowler
2.2 ให้ออกซิเจน
2.3 ให้สารน้ำและเลือดตามแผนการรักษา
2.4 เฝ้าระวังการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
2.5 สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
2.6 เตรียมช่วยเหลือการคลอดโดยคีมหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
2.7 เตรียมช่วยฟื้นคืนชีพ
2.8 ใช้เครื่องช่วยหายใจใน 2-3 วันแรก
2.9 ดูแลและให้กำลังใจต่อครอบครัว
พยาธิสรีรวิทยา
ถุงน้ำคร่ำมีรูรั่วหรือแตกส่งผลให้ส่วนประกอบของน้ำคร่ำเช่นเซลล์ผิวหนังทารก ผม ขนอ่อน ไข ขี้เทาจะผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของผู้คลอด ผ่านเข้าสู่หัวใจและปอด
เกิดการอุดตันในหลอดเลือดฝอยในปอด ทำให้หลอดเลือดหดเกร็งทำเลือดมายังปอดและหัวใจซีกซ้ายลดลงทันที เกิดภาวะช็อคจากหัวใจ (cardiogenic shock)
ความดันในหลอดเลือดปอดสูงขึ้น เกิดเลือดคั่งในปอด ส่งผลให้หัวใจซีกขวาไม่สามารถบีบตัวดันเลือดให้ผ่านปอดได้ จึงเกิดภาวะปอดบวมน้ำ
เกิดการไหลเวียนของเลือดในปอดลดลง ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในหลอดเลือดแดง
ภาวะการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเล็กๆ แพร่กระจายในหลอดเลือด (Disseminated intravascular clotting, DIC)
ผู้คลอดจะเสียเลือดมากและเสียชีวิตในที่สุดจากภาวะระบบหายใจและระบบหัวใจล้มเหลว