Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกพรุน (Osteoporosis) - Coggle Diagram
กระดูกพรุน (Osteoporosis)
ความหมาย
โรคที่เกิดจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง และมีการเสื่อมสลายของโครงสร้างภายในกระดูก ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยลง จึงเสี่ยงกับการเกิดกระดูกหัก บาดเจ็บได้ง่าย
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง
หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
กระดูกหักจากกระดูกบาง
ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนปริมาณมากๆ เป็นประจำ
ผู้ที่กินยาบางชนิด ซึ่งทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาว
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน
โรคของต่อมหมวกไต หรือการเข้าเฝือกเป็นระยะเวลานาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
การรักษา
รักษาไม่ใช้ยา
รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
งดสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำลายกระดูก
ตรวจร่างกายเป็นประจำ
รักษาโดยใช้ยา
ยาลดการสลายเนื้อกระดูก (antiresorptive drugs) ได้แก่ bisphosphonate, ฮอร์โมนเอสโตรเจน, Estrogen agonist/antagonist หรือ Selective Estrogen Receptor Modulators (SERMS), calcitonin, Denosumab, แคลเซียม
ยาเพิ่มการสร้างเนื้อกระดูก ได้แก่ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Teriparatide, PTH 1-84)
ยาออกฤทธิ์ทั้งเพิ่มการสร้างและลดการสลายเนื้อกระดูก ได้แก่ Strontium, วิตามินดี
ยา BISPHOSPHONATES
alendronate, risedronate, ibandronate และ zoledronic acid) เป็นยาที่แนะนาให้ใช้เป็นตัวแรกในการรักษาโรค กระดูกพรุน
ผลข้างเคียง
ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียงต่อไต ทำให้ค่าการทำงานของไตลดลงได้
กระดูกขากรรไกรตาย (osteonecrosis of the jaw: ONJ)
ก่อนจะเริ่มยา bisphosphonate ควรจะตรวจฟันและควรทาหัตถการเช่น ถอนฟัน หรือผ่าตัดให้เสร็จก่อนเริ่มยา
กระดูกต้นขาหักแบบผิดปกติ (atypical femoral fracture)
การวินิจฉัย
โดยตรวจความหนาแน่นของกระดูด Bone Mineral Density หรือ BMD
ใช้แสงเอกซเรย์ปริมาณน้อยมาก ส่องตามจุดที่ต้องการแล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวนหาความหนาแน่นของกระดูก เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานโดยการเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของผู้หญิงอายุ 25 ปี
การตรวจเลือดเพื่อค้นหาปริมาณการสร้าง และการสลายของกระดูก
การตรวจค่าความหนาแน่นกระดูก T score ต่้ากว่า -2.5 2
อาการและอาการแสดง
กระดูกหักง่าย
การโค้งตัว
รูปร่างเปลี่ยน
ความสูงลดลง
ปวดจากการยุบตัวของไขสันหลัง
การพยาบาล
ซักประวัติผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก
การตรวจร่างกาย
การสังเกตอาการและอาการแสดงของโรคกระดูกพรุน
ปวดตามกระดูกโดยเฉพาะในกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก
อาจมีอาการปวดตามข้อ
ปวดหลังแบบเฉียบพลัน
ความสูงของลำตัวค่อยๆลดลง
หลังโก่งค่อม
ให้นอนพักบนที่นอนที่แน่นไม่อ่อนนุ่ม
จัดท่านอนให้ถูกต้อง โดยหนุนหมอนเตี้ยๆ พยุงบริเวณคอและหัวไหล่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง
ใช้ความร้อนร่วมกับการนวด พลิกตะแคงตัวด้วยความระมัดระวัง
แนะนำให้ใช้ส้วมแบบโถนั่ง
ให้เดินด้วย Walker หรือ Cane เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ระมัดมะวังไม่ให้หกล้ม เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ โดยควรจัดทำบ้านให้ดีมีราวจับ ตรวจดูลานสายตาและการทรงตัวของผู้สูงอายุด้วย