Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อเข่าเสื่อม osteoarthritis of knee - Coggle Diagram
ข้อเข่าเสื่อม osteoarthritis of knee
กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม
ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ และจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โรคข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจากการเสื่อมตามอายุขัย ส่วนใหญ่เกิดกับข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูป
สาเหตุหลัก
ความอ้วน น้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด
เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน
โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุที่มีผลต่อข้อเข่าเสื่อม
ความสูงลดลง จากการยุบตัวของกระดูกไขสันหลังและช่วงระหว่าง กระดูกไขสันหลังคอ หัวไหล่แคบลง กระดูกเชิงกรานกว้างขึ้น สัดส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางหน้าหลังและด้านข้างมากขึ้น
กล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลง รูปร่างเปลี่ยนจากกระดูก และข้อที่เปลี่ยนแปลง อ่อนแอ เคลื่อนไหวช้า
กล้ามเนื้อ ความแข็งแรงลดลง กรลดลงของเส้นใย อันตราการสร้าง กล้ามเนื้อลายช้าลง มีการแทนที่ด้วยเส้นใยเหนียว
กระดูกนูน เช่นกระดูกสันหลังเชิงกราน กระดูกซีกโครงและสะบัก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
กิจกรรมการพยาบาล
4.แนะนำการออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยลดแรง ที่ กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารสามารถทำได้โดย นั่งบนเก้าอี้เหยียดขาเกร็งไว้ 10 วินาที่แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็ว หรือการว่ายน้ำ จะช่วยกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรง เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะมีพื้นกันกระแทกเพื่อลดการกระทบกระเทือน
3.ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม เช่น การยกของหนัก การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การ ใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำเพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับเข่า หลีกเลี่ยง การขึ้นบันได บ่อยๆ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
5.แนะนำการประคบอุ่นเวลาปวดเข่าเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนให้ดีขึ้น
6.การทำกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่า เพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิด รูปรวม ทั้งทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี
2.ผู้ป่วยที่มี BMI เกิน 23 แนะนำให้ลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับใกล้เคียงมาตรฐานเพื่อที่จะลดอาการปวดและช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้
1.ประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจ้าวันพื้นฐานและการใช้อุปกรณ์อำนวย ความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การหิ้วของ การเดินทางโดยพาหนะ