Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกระดูกพรุน(Osteoporosis) - Coggle Diagram
โรคกระดูกพรุน(Osteoporosis)
เป็นโรคที่ร่างกายมีความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลง จนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และแตกหักได้ง่าย บางรายทำให้ส่วนสูงลดลงด้วยเพราะกระดูกผุกร่อน รวมทั้งอาจไม่สามารถทำงานหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ทนรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้น้อยลง เนื่องจากความเจ็บปวดจากรอยแตกร้าวภายใน หรืออาจเกิดการแตกหักของกระดูกส่วนสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้พิการได้ อย่างบริเวณกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
อาการ
กระดูกข้อมือ แขน สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย แม้ถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง
หลังค่อม หรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
อาจมีอาการปวดหลังเรื้อรัง
ความสูงลดลง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
เพศหญิง
อายุที่มากขึ้น
กรรมพันธุ์
ได้รับแคลเซียมน้อย
ได้รับวิตามินน้อย
ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายนาน
สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
ใช้ยาบางประเภท
การรักษา
การดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูก
บำรุงกระดูกและดูแลร่างกายให้กลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงโดยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนและมีค่าความเป็นกรดสูง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้แรงกายอย่างหักโหม รวมถึงควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
การเสริมแคลเซียม
รับประทานยาเม็ดเสริมแคลเซียมและรับวิตามินดีที่ช่วยเสริมสร้างการดูดซึมแคลเซียม รวมทั้งรักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือด เพื่อรักษามวลกระดูกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยอาจสังเคราะห์วิตามินดีได้เองทางผิวหนังด้วยการรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า
การเพิ่มฮอร์โมน
เพิ่มระดับฮอร์โมนบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างกระดูก อย่างการฉีดหรือให้ยาเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนแก่ผู้ป่วยเพศหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนหรือผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกไป ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ในระดับปกติ เช่น ยาราลอคซิฟีน เป็นต้น ซึ่งยานี้มีฤทธิ์ป้องกันการดูดซึมแคลเซียมออกจากกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้กระดูกแตกหักง่าย รวมถึงอาจมีผลรักษาและป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมบางชนิดด้วย แต่ผลข้างเคียงหลังใช้ยา คือ ผู้ป่วยอาจมีอาการร้อนวูบวาบ ครั่นเนื้อครั่นตัว และมีความเสี่ยงในการจับตัวจนเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากขึ้น
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้แรงหักโหมจนเกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อกระดูกและร่างกาย ส่วนผู้ที่ออกกำลังอย่างหนักหรือเลือกออกกำลังกายแบบที่ใช้พละกำลังสูง อย่างการยกน้ำหนัก ควรหมั่นตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกายอยู่เสมอ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ บริโภคโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมทั้งโปรตีนจากพืชและสัตว์ และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่สำคัญต่อการสร้างกระดูก โดยควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม น้ำส้ม เต้าหู้ งา กุ้งฝอย ปลาตัวเล็ก ถั่วต่าง ๆ และผักใบเขียวอย่างผักคะน้า ผักกระเฉด ใบยอ ใบชะพลู สะเดา กะเพรา ตำลึง เป็นต้น และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ตับ ไข่แดง นม เนื้อ ปลาทู ฟักทอง เห็ดหอม เป็นต้น
รับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้าเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูงอย่างแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชาหรือกาแฟ
ไม่สูบบุหรี่และไม่ใช้สารเสพติด
ระมัดระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
วินิจฉัยโดยการตรวจค่าความหนาแน่นกระดูก T score ต่ำกว่า -2.5
หรือมี non-trauma fractures
หรือ มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักซึ่งคำนวนโดยอาศัยความเสี่ยงสัมบูรณ์ของการเกิดกระดูกหัก(Absolute risk of fracure) เช่นการใช้ FRAX tool
การประเมินทางการพยาบาล
การซักประวัติ การเปลี่ยนแปลงความสูงและน้ำหนักตัว รูปแบบการทำกิจกรรมและการพักผ่อนอาหารโดยเฉพาะแคลเซี่ยมและวิตามินดี การใช้ยาปัจจัยเสียงแวดล้อม ประวัติการหกล้มการได้รับบาดเจ็บ ปัญหาทางระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อ อาการปวด ข้อติดมอ่อนแรงชา ตะคริว กดเจ็บ อ่อนล้า และการทรงตัว
การตรวจร่างกาย น้ำหนัก ตัวส่วนสูงท่าทางการเดิน การทรงตัว การประเมินรูปร่างการเคลื่อนไหวที่ควบคุมได้และไม่ได้ ความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อ รีเฟล็กซ์ การตรวจข้ออาการบวมแดง ผิดรูป รอยตามร่างกายต่างๆ
การพยาบาล
ให้นอนพักบนที่นอนที่แน่นไม่อ่อนนุ่ม
จัดท่านอนให้ถูกต้อง โดยหนุนหมอนเตี้ยๆ พยุงบริเวณคอและหัวไหล่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง
ให้ยาบรรเทาปวด และยายับยั้งการสลายกระดูก
ใช้ความร้อนร่วมกับการนวด พลิกตะแคงตัวด้วยความระมัดระวัง
แนะนำให้ใช้ส้วมแบบโถนั่ง
ให้เดินด้วย Walker หรือ Cane เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ให้รับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง เช่น นม เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
ให้รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม
ออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก หากมีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
ดูแลให้ร่างกายได้รับแสงแดดในยามเช้า 30 นาที 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์
ระมัดมะวังไม่ให้หกล้มเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ โดยควรจัดทำบ้านให้ดีมีราวจับ ตรวจดูลานสายตาและการทรงตัวของผู้สูงอายุด้วย
พยาธิสรีรภาพโรคกระดูกพรุน
ในกระบวนการทางสรีระวิทยาไของกระดูกที่แข็งแรง จะต้องมีการปรับแต่งกระดูก(bone remodeling) มีการสลายกระดูกเก่า(bone resorption) และมีการสร้างกระดูกใหม่(bone formation) โดยกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดชีวิตของเราซึ่งในผู้ใหญ่กระบวนการเปลี่ยนกระดูกเก่าเป็นกระดูกใหม่ทั้งร่างกายใช้เวลาประมาณ7-10 ปีเซลล์ในกระดูที่มีบทบาทอยู่3ชนิดคือ
Osteocytes ดูแลกระดูก
Osteoclasts ทำหน้าที่สลายกระดูก
Osteoblasts ทำหน้าที่สร้างกระดูก
Post menopausal osteoporosis
หญิงวัยหมดประจำเดือนestrogensจะยับยั้งการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกโดยหากขาดestrogens จะทำให้osteoclasts เพิ่มจำนวนมากขึ้นและมีอายุยืนยาวขึ้นโดยเกิดจากRANKL เพิ่มการทำงานมากขึ้น OPGทำงานลดลงและทำให้osteoblast และ ostreocyte มีอายุสั้นลงอีกด้วย การที่ ostreocyte ภายในการดูกตายapoptosis ทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับความเสียหาย (microdamage)ของกระดูกและทำให้ความเสียหายนั้นไม่ได้รับการซ่อมแซม