Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติทาง ด้านพฤติกรรม - Coggle Diagram
ความผิดปกติทาง
ด้านพฤติกรรม
ความผิดปกติที่สัมพันธ์กับสารเสพติด
(Substance-Related Disorder)
Substance Use Disorders
ความผิดปกติของการใช้สารเสพติด
ความผิดปกติของการใช้สารเสพติด หรือ ภาวะติดสารเสพติด เป็นการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม
เกณฑ์การวินิจฉัย DSM-V
ใช้สารในปริมาณที่มากกว่าหรือนานกว่าที่ตั้งใจ
มีความตั้งใจอยู่เสมอที่จะลดปริมาณการเสพลง แต่ไม่ประสบผลสําเร็จ
ใช้เวลาอย่างมากและหมดไปกับการได้สารมา การเสพ หรือการพักฟื้นจาการใช้สาร
มีความกระหายหรือความต้องการเป็นอย่างมาก หรือมีแรงขับดันที่จะต้องการเสพสาร
เสพสารซ้ําๆ จนไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจําวัน บกพร่องในบทบาททั้งที่บ้าน การงาน การเรียน หรือต่อครอบครัว
ยังคงเสพอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดปัญหาต่อเนื่องหรือเกิดปัญหาซ้ําๆ ไม่ว่าเป็นปัญหาทาง สังคมหรือปัญหาทางมนุษยสัมพันธ์ อันเป็นผลมาจากการเสพสาร
มีความลดลงหรือบกพร่องในกิจกรรมหลักที่เกี่ยวกับสังคม อาชีพการงาน หรือการพักผ่อนหย่อน ใจ
เสพสารซ้ําๆ แม้ในสถานการณ์ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย
ยังเสพอย่างต่อเนื่อง แม้จะทราบว่าเกิดปัญหาทางร่างกายหรือจิตใจต่อเนื่องหรือซ้ําๆ โดยที่ ปัญหานั้นๆ น่าจะเป็นผลมาจากการใช้สาร
อาการดื้อยา (Tolerance) โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
เพิ่มปริมาณของสารเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา
ผลของสารลดลงอย่างมาก แม้จะเสพอย่างต่อเนื่องในปริมาณเท่าเดิม
อาการขาดยา (Withdrawal symptom) เมื่อหยุดใช้ และดีขึ้นเมื่อใช้สารนั้นเพิ่ม โดยมีอาการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
มีอาการซึ่งมีลักษณะเฉพาะเจาะจงของการขาดสารนั้น
เสพสารเพื่อให้อาการขาดยาลดน้อยลง หรือเพื่อไม่ให้มีอาการดังกล่าว
โดยแพทย์สามารถระบุความรุนแรงของภาวะติดสารเสพติดได้จาก
อาการแสดงที่เกิดขึ้นดังนี้
มีอาการ 2-3 ข้อ ถือเป็นการติดสารเสพติดขั้นต้น หรือระดับเล็กน้อย
มีอาการ 4-5 ข้อ ถือเป็นการติดสารเสพติดขั้นปานกลาง
มีอาการมากกว่า 6 ข้อถือเป็นการติดสารเสพติดขั้นรุนแรง
In early remission
ผู้ป่วยเคยมีอาการเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยแล้วไม่มีอาการใดๆ ของความผิดปกตินี้
อย่างน้อย 3 เดือน แต่ ไม่ถึง 12 เดือน
In sustained remission
ผู้ป่วยเคยมีอาการเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยแล้วไม่มีอาการใดๆ ของความผิดปกตินี้
อย่างน้อย 12 เดือนหรือมากกว่า
Substance Induced Disorders
ความผิดปกติที่เกิดจากสารเสพติด
การเสพสารในทางที่ไม่ถูกต้อง
ผู้เสพสารอย่างผิดปกติจนทําให้เกิด ความผิดปกติหรือปัญหาสําคัญ ๆ หรือ รู้สึกไม่สบายใจ โดยมี
อาการต่อไปนี้ 1 อย่าง หรือมากกว่า ในช่วงเวลา ติดต่อกัน 12 เดือน
เสพสารเป็นประจําจนทําให้ไม่ สามารถทํางานสําคัญที่จําเป็น การศึกษาหรืองานบ้านได้ เช่น มีการ ขาด หรือผลการทํางานไม่ดีอันเป็นผล มาจากการใช้สาร ได้แก่ ขาดงานจาก การใช้สาร ถูกพักหรือให้ออกจาก สถานศึกษา ละเลยการดูแลบุตรหรือ งานบ้าน
เสพสารเป็นประจําในสถานการณ์ที่ อาจก่ออันตรายต่อร่างกาย เช่น ขับ รถยนต์ หรือใช้เครื่องจักรขณะอยู่ใน สภาพไม่พร้อมจากการเสพสาร
มีปัญหาทางกฎหมายอันเกิดจาก การเสพสารเป็นประจํา เช่น ถูกจับกุม เนื่องจากมีพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิด จากการเสพสาร
ยังคงมีการเสพอย่างต่อเนื่องแม้จะ ก่อให้เกิดหรือกระตุ้นปัญหาทางสังคม หรือปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่ตลอดหรือบ่อย ๆ เช่น ทะเลาะ กับคู่สมรส หรือมีการทําร้ายร่างกาย กัน
ภาวะพิษจากการใช้สารเสพติด
การวินิจฉัย
มีอาการและอาการแสดงอย่าง เฉพาะเจาะจงของสารจากการที่เพิ่งจะใช้ สารนั้น
มีพฤติกรรมหรือจิตใจเปลี่ยนแปลง ผิดปกติอย่างมีนัยสําคัญจากคลินิกที่ เกี่ยวข้องกับภาวะพิษของสารนั้น ความ ผิดปกติทางร่างกายที่เกิดขึ้นมีลักษณะ เฉพาะที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เกิดขึ้นไม่นานขณะหรือหลังการเสพสาร
อาการไม่ได้เกิดจากความเจ็บป่วย ทางการอื่น และไม่สามารถอธิบายด้วย ความผิดปกติทางจิตอื่นได้ดีกว่า
การติดสารเสพติด
ผู้ป่วยเสพสารผิดปกติจนเกิดความผิดปกติของ พฤติกรรม หรือรู้สึกไม่สบายใจ โดยมีอาการ ต่อไปนี้
อย่างน้อย 3 อย่าง หรือมากกว่าใน ช่วงเวลาติดต่อกัน 12 เดือน
อาการดื้อยาหรือสาร (tolerance) โดยมี อาการต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ก.มีความต้องการใช้สารเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้เกิดอาการมึนเมาหรือได้รับผลตามที่ ต้องการ
ข. ได้ผลจากสารลดลงอย่างมากหากคง การใช้สารนั้นในขนาดเท่าเดิม
อาการขาดยาหรือสาร (withdrawal) โดย มีอาการต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอาการขาดยาที่เป็นลักษณะจําเพาะ จากการหยุดสารนั้น
เสพสารเพื่อให้อาการขาดยา หรือสาร น้อยลง หรือเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว
มีการใช้สารนั้นปริมาณมาก หรือเป็นเวลา ติดต่อกันเป็นเวลานาน
มีความต้องการสารอยู่ตลอด หรือไม่ สามารถหยุดหรือควบคุมการใช้สารได้หรือ มี ความตั้งใจอยู่เสมอที่จะลดปริมาณการเสพลง มา แต่ไม่ประสบผลสําเร็จ
ใช้เวลานาน ๆ หมดไปกับ (1) การได้สารมา (2) การเสพ (3) การพัdฟื้นให้หาย จากอาการมึนเมา หรือฤทธิ์ของสาร
มีความบกพร่องในกิจกรรมที่เกี่ยวกับสังคม อาชีพการงาน หรือการพักผ่อนหย่อนใจ
เสพอย่างต่อเนื่องแม้ทราบว่าการเสพทําให้ เกิดปัญหาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
ภาวะถอนพิษสารเสพติด
การวินิจฉัย
1.มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมกับสภาพ ร่างกายและความคิดอย่างเฉพาะเจาะจง ของสารจากการหยุดหรือลดการใช้สารนั้น หลังจากเสพสารนั้นอย่างมากเป็นเวลานาน
2.อาการและอาการแสดงอย่าง เฉพาะเจาะจงของสารก่อให้เกิดความทุกข์ ทรมานอย่างมีนัยสําคัญทางคลินิก หรือมี ความบกพร่องทางสังคม การงาน การทํา หน้าที่ด้านอื่นที่สําคัญ
อาการไม่ได้เกิดจากภาวะความเจ็บป่วย ทางกายอื่นและไม่สามารถอธิบายด้วยความ ผิดปกติทางจิตอื่นได้ดีกว่า
สารเสพติดที่พบได้บ่อย
ในประเทศไทย
Alcohol – Related Disorders
อาการติดสุรา
ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการแสวงหาและดื่มสุรา
อาการพิษสุรา
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50-150 mg%
การตัดสินใจช้าลง
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 151-300 mg%
เดินเซ พูดอ้อแอ้ มองเห็นภาพไม่ชัด
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 300 mg%
ตาพร่า มองเห็น
ภาพซ้อน แขนขาเกร็ง
อาการขาดสุรา
ในกรณีหยุดดื่ม 48-72 ชั่วโมง (2-3 วัน) จะพบอาการ delirium tremens (DT) มักเกิดในผู้ที่ดื่มสุราหนักมาหลายปี ผู้ป่วยจะมีอาการ กระสับกระส่ายมาก อยู่ไม่นิ่ง ตัวสั่น/ มือสั่นมากขึ้น
แนวทางการรักษา
การใช้วิธีการล้างพิษ (Detoxification)
การรักษาโดยการใช้ยา
การทำบำบัด เช่น บำบัดรายกลุ่ม AA
Amphetamines
อาการติด
พฤติกรรมก้าวร้าว หรือ รุนแรง และมีอาการวิตก กังวลอย่างมาก
อาการพิษ
ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและจิตใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ม่านตาขยาย ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นหรือลดลง เหงื่อออก หรือสั่น คลื่นไส้/อาเจียน น้ําหนักลด
อาการขาด
นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ฝันร้าย
อาการโรคจิต
หูแว่วหรือหลงผิด มีประสาทหลอนสัมผัส
แนวทางการรักษา
เน้นการรักษาทางจิตสังคม การทำบำบัด ป้องกันการกลับเป็นเสพซ้ํา
เน้นป้องกันการทําร้ายตนเองและผู้อื่น
ลดอาการกระวนกระวายโดยให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ
ยากลุ่ม Tricyclics เช่น Imipramine เพื่อรักษาอาการเศร้า
Cocaine
อาการติด
หน้าที่และความรับผิดชอบจะบกพร่อง เช่น ขาดงาน หรือละเลย ความคิด หวาดระแวง พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง วิตกกังวล อาการซึมเศร้า และน้ําหนักลด
อาการพิษ
หัวใจเต้นเร็วหรือช้า ม่านตาขยาย ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กระวนกระวาย พูดมาก วิตกกังวล เครียด
อาการขาด
ผู้ป่วยมีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่าย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ หรือหลับมาก รับประทานจุ
แนวทางการรักษา
ใช้ยารักษาโรคจิต ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์เพิ่ม dopaminergic transmission
Opioid and Heroin
อาการติด
ขาดการยับยั้งช่างใจ
อาการพิษ
มีอาการร่าเริงสนุกสนานในระยะแรก แล้วเปลี่ยนมาเป็นเฉยเมย รู้สึกไม่สบายใจพลุ่งพล่าน กระวนกระวาย หรือเชื่องช้า
อาการขาดฝิ่น
ไวต่ออาการปวด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตาม
ตัวโดยเฉพาะหลังและขา วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย อยากเสพฝิ่น
แนวทางการรักษา
รักษาอาการพิษ : ยาที่ใช้รักษาอาการพิษจากฝิ่น คือ naloxone ฉีดเข้าหลอดเลือดดํา โดยฉีดซ้ําทุก 3 ชั่วโมง
การล้างพิษ: เมธาโดน (methadone) และคลอดินิน (clodinine)
Cannabis
อาการติด
ผู้ป่วยที่ติดกัญชามักจะเสพมากเป็นพัก ๆ และมักไม่เกิด
อาการติดสารทางสรีรวิทยา
อาการพิษ
ตาแดง รับประทานจุ ปากแห้ง และหัวใจเต้นเร็ว ง่วง ขาดการควบคุมตัวเอง การตัดสินใจเสีย แยกตัวออกจากสังคม
อาการขาด
นอนไม่หลับ ความอยากอาหารลดลง
น้ําหนักตัวลดโกรธ ก้าวร้าว วิตกกังวล เศร้า
แนวทางการักษา
การทําจิตบําบัดรายบุคคล ครอบครัวบําบัด และกลุ่มจิตบําบัด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ
รักษาโดยการใช้ยา: ใช้ยากลุ่มคลายวิตกกังวล และ ยารักษาโรคจิต
Inhalants
อาการติด
ผู้ป่วยมีอาการขาดสารภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังจากหยุดเสพและมี อาการนาน 2-5 วัน มีอาการได้แก่ นอนไม่หลับ มือสั่น หงุดหงิด เหงื่อออกมาก คลื่นไส้และแปลสิ่งเร้าผิด
อาการพิษ
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ทําร้ายบุคคลอื่น อารมณ์ครื้นเครงหรืออารมณ์เฉยเมย การตัดสินใจเสีย การเรียนตกต่ำ
แนวทางการรักษา
การให้การปรึกษา การให้ความรู้
-ให้อาหาร วิตามินและน้ํา อย่างเพียงพอ
รักษาโดยการใช้จิตบําบัด พฤติกรรมบําบัด และครอบครัวบําบัด
Sedative,
Hypnotic or Anxiolytic drugs
อาการติด
ระยะเวลาที่จะติดและความรุนแรงของอาการ
ขาดยาขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของยาแต่ละชนิด
อาการพิษยา
เช่น พฤติกรรมทางเพศ
อย่างไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย พูดไม่ชัดเสียการทรงตัว นัยน์ตากระตุก ความจําเสีย ขาดสมาธิ
อาการขาดยา
หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูง หรืออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น มือสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล คลื่นไส้อาเจียน และพลุ่ง พล่านกระวนกระวาย
แนวทางการรักษา
ค่อยๆลดขนาดยาและให้ยากลุ่มคลายกังวลที่มีฤทธิ์นาน เช่น diazepam ทดแทน
จิตบำบัด
Caffeine
อาการติด
ผู้ที่ติดคาเฟอีนจะมีอาการเหล่านี้ อย่าง น้อย 3 ใน 4 อาการ
ภาวะดื้อคาเฟอีน (caffeine tolerance) พบว่า มีการเพิ่มปริมาณการ ดื่มที่มากขึ้น เพื่อให้ได้ฤทธิ์ในการกระตุ้น ระบบประสาทหรือ เกิดความสบายใจ ดังเดิม
มีความต้องการดื่มคาเฟอีนตลอด หรือไม่สามารถลดปริมาณการดื่มได้
เมื่อหยุดดื่มจะเกิด caffeine withdrawal
มีการใช้คาเฟอีนอยู่ ถึงแม้ว่าจะมี ผลข้างเคียงต่อ ร่างกายหรือจิตใจ
อาการพิษ
มากกว่า 250 มก. ขึ้นไป จะกระวนกระวาย ตื่นเต้น นอนไม่หลับ หน้าแดง ปัสสาวะมาก และมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร
มากกว่า 1 กรัมต่อวัน จะมีอาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อกระตุก พูดมาก ความคิดเปลี่ยนเรื่องเร็ว หัวใจเต้นเร็ว
อาการขาด
ไม่ได้รับคาเฟอีนภายใน 12-24 ชั่วโมง
มีอาการปวดศีรษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย หาวมากกว่าปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ต้องการดื่มมากกว่าปกติความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ําหนัก ตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีอารมณ์เกียจคร้าน ซึมลงเล็กน้อย
แนวทางการรักษา
ค่อยๆ ลดปริมาณคาเฟอีนที่ดื่มลงมาตามลําดับ จนสามารถหยุดดื่มในที่สุด ไม่ควรหยุดให้คาเฟอีนทันที
Nicotine
อาการติด
นอกจากนี้ผู้เสพอาจรู้สึกว่าอารมณ์ดีขึ้น
ความเครียดลดลง คลื่นไส้ อาเจียน น้ําลายไหลมากขึ้น ซีด อ่อนแรง ปวดท้อง ท้องเดิน มีนงง ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว
อาการขาด
มีอารมณ์เศร้า นอนไม่หลับ หงุดหงิด หรือ โกรธง่ายวิตกกังวล สมาธิเสีย กระวนกระวาย หรือขาดความอดทน
แนวทางการรักษา
ให้ความรู้ข้อดี-ข้อเสียเกี่ยวกับนิโคติน
ให้คำแนะนำในการพิจารณาเลิก
ให้เข้ารับการรักษาด้วยนิโคตินทดแทน
ใช้หลักการ 5As เลิกบุหรี่ Ask, Advice, Asses, Assist, Arrange
ความผิดปกติในการเสพติด
(Addictive Disorders)
การเสพติดการพนัน
(Gambing disorder)
การวินิจฉัยโรค
ผู้ที่เป็นโรคติดการพนันมีพฤติกรรมต่อไปนี้
4 ข้อขึ้นไปใน 1ปีที่ผ่านมา*
และ แม้แต่มีพฤติกรรมเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ปัญหาจากการเล่นพนัน
ต้องเพิ่มจํานวนเงินในการเล่นพนันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ความตื่นเต้นที่ต้องการ
เมื่อพยายามลดหรือหยุดเล่น จะมีความรู้สึกกระวนกระวายและหงุดหงิด
ไม่ประสบความสําเร็จในความพยายามซ้าแล้วซ้ําเล่าในการควบคุม ลด หรือหยุดเล่การ พนัน
หมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับการพนัน (เช่นการทบทวนประสบการณ์การพนันที่ผ่านมา การ วางแผนการพนันต่อไป การคิดวิธีหาเงินเพื่อเล่นพนัน)
บ่อยครั้งเล่นการพนันเมื่อเกิดความทุกข์ เล่นเพื่อหลบเลี่ยงปัญหา เพื่อไม่ให้คิดถึงปัญหา ของตน หรือ เพราะรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ
เมื่อเสียเงินจาการเล่นพนัน บ่อยครังจะกลับมาเล่นต่อไปเพื่อได้เงินที่เสียไปคืนมา
พูดปดเพื่อปกปิดการเล่นพนันของตนเอง เมื่อมีผู้ถามถึงการเล่นพนัน
การเล่นพนัน ทําให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ในสังคมและหน้าที่ การงาน
ผู้ติดการพนันมักอยู่ภายใต้อาณัติของผู้ให้เงิน
การเสพติดอินเทอร์เน็ตและเกม
(internet use and gaming disorder)
การเสพติดอินเทอรเน็ต แบ่งเป็น 7 กลุ่ม
การติดเกมออนไลน์ (online gaming addiction)
การติดสื่อสังคมออนไลน์ (online social media or blogging addiction) เช่น การติด facebook ติดบล็อกต่างๆ
การติดซื้อขายสินค้าออนไลน์ (online shopping addiction)
การติดเว็ปโป๊ สื่อลามกออนไลน์ (cybersex or online pornography addiction)
การติดการพนันออนไลน์ (online gambling addiction)
การติดค้นหาข้อมูลหรือเล่นอินเทอร์เน็ตไปเรื่อยๆ
การติดชมภาพยนตร์/การ์ตูน/คลิปวิดีโอ เช่น ติด youtube
การวินิจฉัยโรค
ใช้อินเทอร์เน็ตนานมากเกินไป ใช้เวลาในอินเนอร์เน็ตมากกว่าที่ตั้งใจไว้ และไม่สามารถหยุด ตัวเองหลังจากใช้อินเทอน์เน็ตไปแล้วเป็นเวลานาน
ใช้อินเทอร์เน็ตนานขึ้นเรื่อยๆ (tolerance) หรือหมกมุ่นสนใจ application ใหม่ๆ เว็ปใหม่ๆ ต้องการเพิ่มความเร้วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตให้ไวขึ้นเรื่อยๆ
มีอาการผิดปกติเมื่อไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต (withdrawal) เช่น หงุดหงิด โมโห กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ ดื้อ ไม่ฟังเพตุผล บางคนซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น
เกิดผลเสียหายตามมาจากการใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป เช่น ขาดความรับผิดชอบในการเรียน การทํางาน ขาดเรียน/ขาดงาน ผลการเรียนตก โกหก มีปัญหาสุขภาพ มีปัญหาสัมพันธภาพกับผู้อื่น แยกตัว
การรักษาผู้ที่ติดการพนัน/ติดอินเทอร์เน็ต
การรักษาด้วยยา
ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อ mu-opioid receptors หรือ กลุ่มglutamatergic activity หรือยากลุ่มต้านเศร้า เช่น ยา bupropion พบว่า สามารถลดการเล่นอินเทอร์เน็ตลงได้ พร้อมกับช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
ยา Methylphenidate ซึ่งเป็นยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
การรักษาจิตสังคม
12-stepself-help approaches, Motivation enhancement (MI), Cognitive Behavioral Therapy (CBT), Family therapy
บุคลิกภาพผิดปกติ
(Personality Disorders)
Cluster A
Paranoid Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบหวาดระแวง)
บุคลิกภาพช่างระแวงสงสัย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น มักเข้าใจว่าบุคคลอื่นจงใจ ทําลายหรือข่มขู่ตนเอง และคิดว่าตนเองกําลังถูกเอาเปรียบ บุคคลกลุ่มนี้จะมีความตึงเครียด ไม่มีอารมณ์ขัน และคอยระแวดระวังสิ่งแวดล้อม อยู่บ่อยๆ
แนวทางการพยาบาล
ห้ความสม่ําเสมอและรักษาสัญญาซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่จะทํา ให้ผู้ป่วยไว้วางใจในพยาบาล
Schizoid Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบเก็บตัว)
มีลักษณะเย็นชา ไม่สนใจคนอื่น ชอบทํางานคนเดียวและอยู่คนเดียว มีความสนใจในกิจกรรมที่ไม่ต้องติดต่อกับบุคคลอื่น อึกอัด/ลำบากสร้างสะมพันธภาพ
แนวทางการพยาบาล
ตระหนักถึงความต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย
การสร้างสัมพันธภาพควรรักษาระดับที่ไม่ทําให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว เพราะอาจทําให้ผู้ป่วยไม่วางใจและไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาได้
Schizotypal Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบจิตเภท)
มีพฤติกรรมประหลาด มีความคิดและความเชื่อแปลกๆ และมักจะนับถืออำนาจวิเศษ ผีสาง โชงลาง คำพูดเลื่อนลอยไร้สาระ
แนวทางการพยาบาล
ไม่แสดงท่าทีขบขันต่อความคิดหรือพฤติกรรมที่ดูแปลกประหลาดของผู้ป่วย
Cluster B
Antisocial Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม)
โกหก หนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน มีเรื่องชกต่อยทะเลาะวิวาท โดยพฤติกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ําไปซ้ํามา ไม่รู้สึกวิตกกังวลหรือ เสียใจกับพฤติกรรมของตน และควบคุมบงการเพื่อให่้ได้มาซิ่งผลประโยชน์ของตนเองโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น
แนวทางการพยาบาล
พยาบาลควรแสดงความจริงใจและสม่ําเสมอในการให้การพยาบาล
เน้นการปรับหรือลดพฤติกรรมก้าวร้าว
Borderline Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบกึ่ง)
ลักษณะทุ่มเท ถ้าไม่ได้ตามคาดหวังอารมณ์จะเปลี่ยนทันที (all good-all bad)
mood swings
โหยหาความรัก
Fear being alone
กรีดข้อมือตัวเอง เพื่อเรียกร้องความสนใจ
แนวทางการพยาบาล
พยาบาลควรมีความมั่นคงทางอารมณ์และรักษาระห่างที่เหมาะสมกับผู้ป่วย สื่อสารด้วยคําพูดที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
Histrionic Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบฮีสทีเรีย)
จะมีการแสดงออกทางอารมรณ์ที่รุนแรง เอาแต่ใจ ต้องการที่จะได้รับความสนใจจากบุคคลอื่นอย่างมาก และพยายามดึงดูดเพศตรงข้ามให้สนใจ
ชักจูงโน้มน้าวง่าย และขาดความมั่นใจ
แนวทางการพยาบาล
พยาบาลต้องตระหนักในตนเอง แสดงออกถึงความมั่นคง และชัดเจนถึงขอบเขตของการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
Narcissistic Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง)
ไม่สามารถยอมรับหรือทนคําวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคล คิดว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น และคิดว่ามีอภิสิทธิ์มากกว่าคนอื่น
ถ้าสื่งที่ทำเกิดความผิดหวังสามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
แนวทางการพยาบาล
การสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมา (Assertive)
Cluster C
Avoidant Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง)
ขาดความมั่นใจในตนเองจึงพยายามที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องพบปะกับผู้คน
อยากเข้าสังคมแต่ไมกล้า เพราะกลัวถูกตำหนิ
บุคคลิกขี้อาย
แนวทางการพยาบาล
แสดงท่าที่ยอมรับ และมีความระมัดระวังในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย
ไม่ควรใช้วิธีการบังคับหรือการเผชิญหน้ากับผู้ป่วยกลุ่มนี้
Dependent Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบพึ่งพา)
ไม่สามารถตัดสินใจหรืออยู่ได้ด้วยตนเอง ต้องมีเพื่อนตลอดเวลา และหากสัมพันธภาพเก่าสิ้นสุดลงก็จะพยายามหาสัมพันธภาพใหม่มาทดแทนทันที
บุคลิกภาพแบบพึ่งพานี้มีโอกาสสูงที่จะติดสารเสพติด และมีพฤติกรรมที่มีปัญหา เช่น ติดเกม ติดการพนัน
แนวทางการพยาบาล
เน้นการเป็นแบบอย่างที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
Obsessive-Compulsive Personality Disorder
(บุคลิกภาพแบบย้ําคิดย้ําทํา)
หมกมุ่นกับความเป็นระเบียบและเคร่งครัดกับกฎเกณฑ์ จะต้องทําทุกสิ่งทุกอย่างให้เรียบร้อยสมบูรณ์ (Perfectionism) ขาดความยืดหยุ่น (Inflexibility) ใส่ใจรายละเอียดมากเกินไป
มักโตมาจากครอบครัวที่มีความเข้มงวดมาก
แนวทางการพยาบาล
พยาบาลจึงต้องใช้ความ ตระหนักรู้ในตน อดทนและเข้าใจถึงลักษณะของผู้ป่วย
ควรสื่อสารและโน้มน้าวให้ผู้ป่วย เข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยโดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจและร่วมมือในการเปลี่ยนตนเอง
ความผิดปกติทางเพศ (Sexual Disorders)
ความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ
(Sexual Dysfunctions)
เกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-5
มีอาการต่อเนื่องติดต่อกันนาน 6 เดือนขึ้นไป
อาการดังกล่าวต้องเกิดเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 75 ขึ้นไป) ของกิจกรรมทางเพศของบุคคลนั้น
อาการดังกล่าวส่งผลให้เกิดความตึงเครียด ทุกข์ทรมาน
ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางด้านร่างกาย เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน ไม่ได้เป็นผลอันเนื่องมาจากการใช้สารเสพติตหรือยา ไม่เกี่ยวข้องกับอาการแสดงของโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า และไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่รุนแรง เช่น การถูกทําร้ายร่างกายจาก อีกฝ่าย
ความผิดปกติในความต้องการทางเพศ
Female sexual interest/arousal disorder
Male hypoactive sexual desire disorder
ความผิดปกติในการตื่นตัวทางเพศ
Female sexual interest / arousal disorder
Erectile disorder
ความเจ็บปวดทางเพศที่ผิดปกติ
Genito-Pelvic pain / penetration disorder
ปัญหาทางเพศในระยะมีความสุขสุดยอด
Delayed ejaculation
Female orgasmic disorder
Premature (early) ejaculation
แนวทางการช่วยเหลือ
การช่วยเหลือด้านร่างกาย
การหลีกเลี่ยงการใช้สารที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ เช่น บุหรี่ สุรา และสารเสพติด
การออกกําลังกาย การพักผ่อนนอนหลับที่เพียงพอ การออกกําลังบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การใช้ยาบางชนิดเพื่อช่วยในเรื่องการแข็งตัว
การช่วยเหลือด้านจิตสังคม
สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สํารวจความรู้สึกของตนเองกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ให้ความรู้ ปรับทัศนคติ และฝึกทักษะหรือเทคนิคที่จําเป็นต่างๆ เช่น
การฝึกเทคนิกการจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล การจัดการกับปัญหา
การฝึกเทคนิค Sensata focus exercise ที่เน้นการฝึกให้ความสนใจกับความรู้สึกสัมผัส การเห็น การได้กลิน และการสร้างความพึงพอใจซึ่งกันและกัน
การฝึกเทคนิคหรือวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การเล้าโลมก่อนสอดใส่ การใช้ท่าที่ เหมาะสมขณะร่วมเพศเพื่อชะลอการหลั่ง หรือ stop-start technique
การบําบัดคู่สมรส หรือ CBT
ปัญหาทางด้านเอกลักษณ์ทางเพศ
(Gender Dysphoria)
เกณฑ์ในการวินิจฉัย DSM-5
ได้แยกเกณฑ์วินิจฉัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สําหรับเด็กและสําหรับผู้ใหญ่ โดยในที่นี้จะกล่าวถึง เฉพาะเกณฑ์ร่วมที่สําคัญ ได้แก่
มีการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความไม่สอดคล้องกันของเพศที่แสดงออกหรือเพศที่ต้องการเป็นกับเพศ ที่ถูกกําหนดมาหรือเพศที่เป็นอยู่ โดย
มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ภาวะในข้อ 1 ส่งผลให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกทุกข์ใจอย่างมากหรือทําให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ ทางสังคม การงาน/การเรียน หรือหน้าที่สําคัญอื่นๆ
ลักษณะอาการและอาการสําคัญ
แสดงออกทางพฤติกรรมในลักษณะของเป็นเพศตรงข้ามอยู่เสมอ หรือยืนยันว่าตนเองเป็นเพศตรงข้าม
เด็กชายพบว่าชอบแต่งตัวชุดเด็กผู้หญิง หรือคล้ายผู้หญิง
เด็กหญิง มีการยืนยันว่าจะใส่แต่ชุดที่ใส่กันในเด็กชาย และมักปัสสาวะแบบเพศตรงข้าม
ชอบเล่นเป็นเพศตรงข้ามมากในการละเล่นบทบาทสมมุติ หรือมีจินตนาการว่าเป็นเพศตรงข้าม
ต้องการที่จะมีเพื่อนเล่น/เพื่อนคู่หูเป็นเพศตรงข้ามอย่างมาก
มีความรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจกับเพศตามร่างกายของตน หรือรู้สึกว่าบทบาทตามเพศของตนเองนั้น ไม่เหมาะสมอยู่ตลอด
ต้องการอย่างมากที่จะทําให้ผู้อื่นเชื่อว่า ตนเองมีความรู้สึกและการแสดงออกแบบเดียวกับเพศตรง
มีความไม่ชอบอย่างมากในอวัยวะเพศของตน
แนวทางการช่วยเหลือ
วัยเด็ก
มีการประเมินและซักประวัติให้ครอบคลุมทั้งจากเด็ก ผู้ปกครอง หรือครู
การให้สุขภาพจิตศึกษากับผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสมตามเพศเป็น
วัยรุ่น
ปรับตัวในการใช้ชีวิตแบบเพศที่ต้องการในชีวิตประจําวัน เพื่อกําหนดแนวทางในการช่วยเหลือ
เน้นการประคับประคองด้านจิตใจ
การให้ความรู้ทั้งแก่วัยรุ่นและครอบครัว
วัยผู้ใหญ่
เน้นการเกิดความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตนเอง
เน้นการเรียนรู้ที่จะปรับตัวในการใช้ชีวิตตามเพศที่ได้การได้อย่างมีความสุข
ภาวะพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต หรือกามวิปริต
(Paraphilic Disorders)
การวินิจฉัยเกณฑ์ของ DSM-5
1. Anomalous Activity Preferences
ความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นจากลักษณะของกิจกรรมที่
ทําให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
Voyeurism แอบดู
Exhibitionism อวดอวัยวะเพศให้คนแปลกหน้าเพศตรงข้าม
Frotteurism ถูไถอวัยวะเพศกับเพศตรงข้ามที่ยังสวมเสื้อผ้า
Sexual masochismตนเองได้รับความเจ็บปวด/ความทุกข์ทรมาน
Sexual Sadism ทําให้ผู้อื่นเจ็บปวดหรือเกิดความทุกข์ทรมานทางกายหรือจิตใจ
2. Anomalous Target Preferences
ความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นจากลักษณะของเป้าหมายที่มี
กิจกรรมทางเพศ
Pedophilia การเกิดอารมณ์ทางเพศกับเด็ก (อายุไม่เกิน 13 ปี)
โดยผู้กระทําจะต้องมีอายุ อย่างน้อย 16 ปีขึ้นไป และอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 5 ปี
Fetishism การเกิดอารมณ์ทางเพศกับวัตถุหรืออวัยวะ เช่น เท้า เส้นผม
Transvestic fetishism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการสวมใส่เครื่องแต่งกายของเพศตรงข้าม
3. Other specified paraphilic disorder
โทรศัพท์ลามก (telephone Scatophilia or telephone Scatologia) พูดลามกทางโทรศัพท์กับคนที่ไม่เคยรู้จัก เพื่อสําเร็จความ ใคร่ของตน
เพศสัมพันธ์ระหว่างบุคคลร่วมสายโลหิต
การมีเพศสัมพันธ์กับคพ (Necrophilia)
การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ (Zoophilia)
เวจกาม (Coprophilia) การถ่ายอุจจาระรดบนคู่ร่วม หรือให้คู่ร่วมเพศถ่ายอุจจาระรดบนร่างของตน
ปัสสาวะรดูกาม (Urophilia) การถ่ายปัสสาวะรดคู่ร่วม หรือให้คู่ ร่วมเพศถ่ายปัสสาวะรดบนร่างของตนหรือดื่มปัสสาวะ
แนวทางการรักษา
การใช้ยา เช่น กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น Depo-Provera (medroxyprogesterone acetate), Lupron Depot (leuprolice)
ยากลุ่ม SSRls, Anticonvulsant
ระบุเกี่ยวกับความคิดที่บิดเบือน ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถบอก ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และวิธีการแสดงออกในกิจกรรมทางเพศอย่างเหมาะสม และมีการพัฒนาประสิทธิภาพของ การป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
ทําจิตบําบัดรายบุคคล ทำพฤติกรรมบำบัด และการทำเพศบำบัด
ปัญหาการนอน - การตื่น
(Sleep-Wake Disorders)
โรคนอนไม่หลับ
(Insomnia disorder)
อาการ
หลับยากเมื่อเข้านอน (Difficulty initiating sleep)
นอนหลับไม่สนิทหรือตื่นขึ้นบ่อยๆกลางดึก (Difficulty maintaining sleep)
การตื่นเร็วกว่าปกติ (Early morning awakening)
ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับมานานอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน
มีอาการอย่างน้อย 3 คืนต่อสัปดาห์
โรคนอนหลับมากผิดปกติ
(Hypersomnolence disorder)
มีอาการง่วงนอนในตอนกลางวันเป็นอย่างมาก หรือนอนหลับมากกว่าปกติ แต่จะรู้สึก ว่านอนไม่พอ ไม่สดชื่นทั้งที่ได้นอนหลับในช่วงกลางคืนอย่างเต็มที่ (มากกว่า 7 ชั่วโมงขึ้นไป)
โรคลมหลับ
(Narcolepsy)
มีอาการง่วงนอนที่มากเกิน ไม่สามารถต้านทานความง่วงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ โดยเกิดภาวะง่วงหลับ ในช่วงของ REM sleep ในขณะกําลังตื่นอยู่ เช่น ขณะกําลังรับประทานอาหาร กําลังสนทนา หรือขณะกําลังขับรถ
เกิดขึ้นซ้ําๆ ใน 1 วัน เป็น การง่วงที่ยากจะฝืน เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการมากกว่า 3 เดือน
กลุ่มโรคนอนหลับจากปัญหาการหายใจ
(Breathing-Related sleep disorder)
การกรน การหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ในระยะสั้นๆ ประมาณ 10-60 วินาที อาจเป็นหลายครั้งในหนึ่งคืน
ความผิดปกติของวงจรเวลาการนอนหลับและการตื่น
(Circadian rhythm sleep-wake disorders)
Delayed Sleep Phase Type
คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกง่วงช้ากว่าคนทั่วไป ทําให้มีปัญหาหลับยาก แต่ถ้าได้นอนตื่นสายจะรู้สึกสดชื่น
Advanced Sleep Phase Type
คือ ผู้ป่วยง่วงนอนและตื่นเร็วกว่าคนทั่วไป
Irregular Sleep-Wake Type
พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ป่วย Alzheimer โดยจะนอนเป็น ช่วงสั้นๆ กระจายอยู่ในเวลา 24 ชั่วโมง
Shift Work Type
คือ มีปัญหานอนไม่หลับ รู้สึกไม่สดชื่น ง่วงนอนขณะทํางานอันเนื่องมาจากการ ทํางานเป็นผลัด หรือทํางานช่วงกลางคืน
โรคการตื่นตัวผิดปกติขณะนอนหลับในช่วงไม่มีการกลอกลูกตาอย่างรวดเร็ว
(Non-Rapid eye movement sleep arousal disorders)
เป็นการตื่นตัวที่ผิดปกติขณะนอนหลับที่เกิดขึ้นในช่วงของ NREM sleep ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถจดจําได้ว่าตนเองทําอะไรลงไปบ้าง และเมื่อถูกปลุกให้ตื่นในขณะที่มีอาการจะ เกิดอาการสับสนได้
โรคฝันร้าย
(Nightmare disorder)
ในช่วงของ REM sleep จะสามารถจดจําความฝันที่เกิดขึ้นได้ หากผู้ป่วยถูกปลุกให้ตื่นช่วงนี้จะไม่สับสน สามารถถูกปลุกได้ง่าย
โรคขาอยู่ไม่สุข
(Restless legs syndrome)
ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความรู้สึกไม่สบายที่ขาทั้ง ข้าง โดยเฉพาะนั่งหรือนอนพัก ทําให้ต้องขยับขาเพื่อบรรเทา 2 อาการทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติดังกล่าว เช่น ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนมีตัวอะไรมาไต่ที่บริเวณขา ทําให้เกิดอาการ คัน หรือบางคนอาจเกิดความรู้สึกเหมือนโดนไฟช็อต ปวดตื้อๆ
มักเกิดขึ้นซ้ําๆ เป็นช่วง สั้นๆ ตลอดเวลา
พบบ่อยในคนที่ขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคไต และ Parkinson
โรคการนอนที่เกิดจากสารหรือยา
(Substance/Medication-induced sleep disorder)
เกิดจากการที่ผู้ป่วยใช้สารหรือยาที่มีฤทธิ์ทําให้นอนไม่หลับ เช่น ยาบ้า
มีฤทธิ์กระตุ้นทําให้ไม่ง่วง แอลกอฮอล์จะทําให้หลับง่ายแต่หลับไม่สนิท ตื่นบ่อย หรืออาจเนื่องมาจากช่วงภาวะเป็นพิษจากยา (Intoxication)
หรือช่วงขาดยา (withdrawal) ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ
แนวทางการรักษา
พิจารณาหาสาเหตุของการนอนไม่หลับว่าเกิดจากสาเหตุใดเพื่อแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
Sleep hygiene
ปรับเวลานอนและจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน การหลับช่วงหัวค่ำ
หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ