Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Osteoarthritis (ข้อเสื่อม) - Coggle Diagram
Osteoarthritis (ข้อเสื่อม)
โรคข้อเสื่อมคือ
โรคข้อเสื่อมเป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อยในช่วงเข้าสู่วัยกลางคนและพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะของโรคเกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงอย่างช้าๆจนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของข้อ ซึ่งได้แก่ มีน้ำสะสมในข้อเพิ่มขึ้น กระดูกงอกผิดปกติ กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อหย่อนยาน การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดังกล่าวจะทำให้เคลื่อนไหวข้อได้จำกัดรวมทั้งทำให้เกิดอาการปวดและบวมที่ข้อได้
การเกิดโรคข้อเสื่อม
ตามปกติภายในข้อประกอบไปด้วยเยื่อบุข้อ น้ำไขข้อ และกระดูกอ่อนผิวข้อ กระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อและป้องกันมิให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกอีกฝั่ง แต่ปัจจัยที่น่าจะมีส่วนร่วมทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายได้แก่
กิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้ข้อต้องรับแรงกดมากจนเกินไปเช่น การนั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ
ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติข้อและกระดูกอ่อนผิวข้ออ่อนแอ
น้ำหนักตัว การที่มีน้ำหนักตัวมากจะส่งผลให้เกิดแรงกดภายในข้อที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อายุ อายุมากมีโอกาสพบโรคข้อเสื่อมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายก็ไม่พบโรคข้อเสื่อม
โอกาสเป็นโรคข้อเสื่อม
จริงๆแล้วโรคข้อเสื่อมสามารถพบได้ทุกวัย แต่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยกว่ามาก จากการศึกษาพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี ตรวจพบลักษณะข้อเสื่อมจากภาพถ่ายรังสีได้ร้อยละ 70 แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีอาการผิดปกติ โรคข้อเสื่อมพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายโดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อมและข้อนิ้วมือเสื่อม
วินิจฉัยโรคข้อเสื่อม
คือผู้ที่มีอาการปวดข้อในขณะที่มีการใช้งาน แพทย์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายพบปุ่มกระดูกบริเวณข้อ ข้อบวมขึ้น มีเสียงลั่นในข้อเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อ กล้ามเนื้อรอบข้อลีบหรืออ่อนแรง และข้อขาดความมั่นคง โดยภาพถ่ายรังสีที่ผิดปกติจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น อย่างไรก็ตามบางรายมีความจำเป็นต้องตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยแยกว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นๆ
การรักษาโรคข้อเสื่อม
คือ ลดอาการปวดและรักษาการทำงานของข้อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ การรักษาจึงไม่เพียงแค่ให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดเท่านั้น แต่จะต้องรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมรุนแรงการรักษาด้วยการผ่าตัดจะมีบทบาทสำคัญเพื่อทำให้การทำงานของข้อดีขึ้นได้
การรักษาทางยา
ในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อมหลายรูปแบบ ทั้งชนิดทาภายนอก ฉีดเข้าข้อและรับประทาน ยาทาภายนอกได้แก่ เจลที่ทำจากส่วนประกอบของพริกหรือ capsaicin gel ยารับประทานได้แก่ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดและลดอาการข้อบวม สำหรับอาการปวดที่รุนแรงอาจต้องพึ่งยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอนุพันธ์ของมอร์ฟีน สำหรับการฉีดยาสเตียรอยด์หรือน้ำไขข้อเทียม (hyaluronic acid) นั้นจะมีประโยชน์ในโรคข้อเสื่อมบางชนิดและในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
การผ่าตัด
แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมในผู้ที่มีการทำลายของข้ออย่างมากหรือมีการสูญเสียการทำงานของข้อแล้วเท่านั้น
การทำกายภาพบำบัด
การรักษาที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเสื่อมได้แก่ การออกกำลังกายโดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อ การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง และการใช้ความร้อน สำหรับการบำบัดด้วยการทำสปา การนวด หรือการฝังเข็มนั้นพบว่าช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเสื่อม
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมสามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมขึ้นได้ เช่น การปรับเตียงให้สูงขึ้น เปลี่ยนจากส้วมซึมชนิดนั่งยองๆเป็นชักโครกแทน เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการทำให้ข้อบาดเจ็บซ้ำๆหรือการกระทบกระแทกต่อข้อ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรงขึ้น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีรูปร่างอ้วนการลดน้ำหนักลงจะช่วยลดอาการปวดและชะลอการทำลายข้อลงได้
ภาวะแทรกซ้อนของข้อเสื่อม
อาการของ Osteoarthritis อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา การขยับท่าทางหรือการเคลื่อนไหวร่างกายจะถูกจำกัดลง ทำให้ขาดอิสระในการใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ ภาวะแทรกซ้อนของ Osteoarthritis อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อต่อที่มีอาการ และความรุนแรงของอาการด้ว
เส้นเอ็นและเอ็นยึดข้อต่อขาดความเสถียร,เลือดออกภายในข้อต่อ
ข้อต่อติดเชื้อ,กระดูกหักล้า,กระดูกตายจากการขาดเลือด
ภาวะขาดเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อ เพราะกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ หรือสลายตัวเร็วเกินไป
เส้นประสาทถูกกดทับ (เกิดขึ้นใน Osteoarthritis บริเวณกระดูกสันหลัง)
มีอาการปวดเรื้อรัง,เสียการทรงตัว,เสี่ยงต่อการหกล้ม
กล้ามเนื้ออ่อนแรง มักเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อเจ็บปวดจนไม่สามารถใช้งานได้ (โดยเฉพาะข้อเข่า)
ข้อต่อผิดรูป (ปุ่มกระดูกเล็ก ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อกระดูก 2 ชิ้นมาบรรจบกัน)
การป้องกันข้อเสื่อม
แม้ยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน เพราะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่ผู้ป่วยอาจลดความเสี่ยงในการเกิด Osteoarthritis ได้
ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว แอโรบิค ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือ 2 ชั่วโมงครึ่ง)
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ข้อต่อบาดเจ็บ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก เพราะอาจทำให้ข้อต่อรับแรงกระแทก หรือรับน้ำหนักมากเกินไป
ลดน้ำหนัก เพื่อช่วยลดอาการตึงบริเวณข้อต่อ,ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ควรปรับความสูงเก้าอี้ให้เหมาะสม และขยับเปลี่ยนท่าเป็นระยะ
การพยาบาล
ให้ข้อที่อักเสบได้พักมากๆ โดยอาจจะจำกัดเรื่องการเคลื่อนไหวข้อที่อักเสบรุนแรงและมีอาการปวด
ดูแลให้ผู้ป่วยใช้เครื่องกายอุปกรณ์อย่างถูกต้อง และเวลาที่ใส่อย่างเหมาะสม เช่น ใส่เมื่อทำงานหรือเดินทาง
ประคบด้วยความร้อนที่บริเวณข้อที่ปวด เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และหลังการประคบ ควรดูแลให้ผู้ป่วยได้มีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อ
ควรหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็นในที่มีอากาศเย็นควรใส่ถุงมือเพื่อความอบอุ่น
ออกกำลังกล้ามเนื้อที่พยุงข้อที่เสื่อมให้แข็งแรงออกกำลังกล้ามเนื้อ หน้าขา (Quadriceps exercise) ให้แข็งแรง เพราะกล้ามเนื้อส่วนนี้ เป็นหลักในการทรงตัวการบริหารกล้ามเนื้อหน้าขา บริหารได้ทั้งท่านอนและท่านั่ง
ท่านั่ง
จัดให้นั่งบนเก้าอี้มีผ้าม้วนเล็กๆ รองใต้เข่า เหยียดเข่าให้ตรง ขนานกับพื้น พร้อมทั้งกระดกเท้าขึ้นนับ 1 -5 แล้ววางลง การบริหาร กล้ามเนื้อ ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดที่ รับผิดชอบผู้ป่วย
ท่านอน
ให้นอนหงายราบเหยียดเข่าตรง แล้วเกร็งขา หรือลูกสะบ้าให้เข่า ติดกับพื้นที่นอน ขณะเดียวกันก็กระดกข้อเข่าขึ้นเกร็งแล้วนับ 1-5 แล้วค่อยๆ คลายออก
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านการอักเสบ ตามแผนการรักษา พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา