Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 เรื่อง การนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล, นางสาวโยษิตา…
บทที่ 11 เรื่อง การนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล
ความหมาย
การนำผลการวิจัยไปใช้เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษสองคำ คือ research utilization (RU) และ evidence-based practice (ESP) ความหมายของทั้งคู่ค่อนข้างคาบเกี่ยวกันบางครั้งใช้เหมือนกันซึ่งความเป็นจริงแล้วทั้งสองคำมีความหมาย ดังนี้
การนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติ (Research utilization: RU) คือ การนำสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัยหรือหลักฐานเชิงวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติ
การปฏิบัติโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based practice: EBP) คือ การตัดสินใจในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดีที่สุดมาใช้ในคลินิกซึ่งส่วนใหญ่มาจากงานวิจัย แต่ในบางกรณีสามารถนำมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ประเภทของการนำผลการวิจัยไปใช้ การนำผลการวิจัยไปใช้ ในการปฏิบัติ
จำแนกได้ 3ประเภท
2.การประยุกต์ใช้ ผลงานวิจัย หมายถึ งการดัดแปลง หรือประยุกต์ ความรู้ จากผลการวิจัยโดยอาจจะ เลือกผลงานวิจัยบางขั้นตอนไปใช้ และสร้างขึ้นบางส่วนซึ่งมีส่วนคล้ายหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยเพื่อสามารถนำไปใช้
3.การใช้ผลงานวิจัยทางอ้อม หมายถึ งการสะสมและเพิ่มพูนความรู้ ที่ได้ รับจากผลการวิจัยทำให้ มีผล ต่อความคิดและประสบการณ์
1.การนำผลงานวิจัยไปใช้ โดยตรง หมายถึ งการนำความรู้ ที่ได้ จากผลการวิจัยไปใช้ ในการปฏิบัติงานโดยไม่ มีการดัดแปลง
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการนำผลการวิจัยไปใช้ (Theory of utilization)
1.ทฤษฏีRoger theory of diffusion of innovation (1995) Roger กระบวนการดังกล่าว ประกอบด้วย 5 ระยะ คือ
3.Decision stage: การตัดสินใจที่จะรับเอาข้อต้นพบนี้ไปใช้ หรือไม่
4.Implementation stage: การนำผลการวิจัยไปใช้
2.Persuasion stage: การเกิดความรู สึกเชื่อในข้อค้นพบจาก ผลการวิจัยว่าสามารถนำไปสู่ การ เปลี่ยนแปลงได้
5.Confirmation stage: การทดสอบประสิทธิผลของการนำข้อค้นพบไปใช้ ก่อนตัดสินใจว่าจะ นำไปใช้ ต่อไปหรือไม่
1.Knowledge stage: การตระหนักว่ามีข้อค้นพบที่เป็นความรู้ใหม่
กระบวนการหรือขั้นตอนการนำผลการวิจัยไปใช้ ในการปฏิบัติ
1.การระบุปัญหา
สืบค้นหางานวิจัยจากระบบฐานข้อมูลโดยการตั้งประเด็นตามปัญหาและสรุปรวบรวมประเด็นที่สนใจกำหนดคำสำคัญ
3.คัดเลือกงานวิจัย เลือกเฉพาะงานวิจัยที่ ตรงประเด็นปัญหาที่ต้องการ
วิเคราะห์ ผลงานวิจัยและรวบรวมอย่างเป็นระบบหลังจากได้ เอกสารทั้งหมดนำมาอ่าน และ วิเคราะห์ งานวิจัยแต่ ละเรื่อง
ตัดสินใจเลือกข้อค้นพบที่จะนำมาใช้ ในการแก่ปัญหา โดยการสร้างข้อสรุปของความรู้ ใน ภาพรวม จากขั้นตอนข้างต้นมาพิจารณาความเพียงพอของความรู้ น่าเชื่อถือว่าเพียงพอ ถ้าเพียงพอหรือน่าเชื่อถือก็ตัดสินใจคัดเลือกเพื่อนำมาใช้
6.วางแผนและนำผลการวิจัยไปใช้ ประโยชน์
7.ประเมินผลการนำไปใช้เมื่อแผนการหรือกิจกรรมที่ได้ จากผลการวิจัยถูกนำไปใช้ ตามระยะเวลาที่ กำหนด ควรมีการติดตามและประเมินผลว่ามีปัญหา อย่างต่อเนื่อง
การประเมินและการวิพากษ์รายงานวิจัย ประกอบ 5 ด้าน
1.ทฤษฎีหรือแนวคิด
2.ระเบียบวิธีวิจัยวิเคราะห์ ความเหมาะสมของการออกแบบการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างและ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ ความเที่ยง ความตรงของเครื่องมือที่ใช้ วิธีการดำเนินการวิจัยละสถิติที่ใช้ มีความสอดคล้อง เหมาะสมหรือไม่อย่างไร
3.จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
4.การแปลผลการวิจัยจะต้องพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของการแปลผลการสรุปผลและการอภิปรายผล
5.การนำเสนอและรูปแบบการนำเสนอในรายงานการวิจัยต้องมีรายละเอียด ความเป็นเหตุเป็นผล
เกณฑ์การเลือกผลการวิจัยที่จะนำมาใช้ (Criteria for research utilization) ประกอบด้วย 8 ประการ
1.การทดลองซ้ำ(Replication)
2.ระเบียบวิธีวิจัยที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific merit)
3.โอกาสเสี่ยง(Risk) การประเมินเสี่ยงจึงต้องกระทำควบคู่ ไปกับการประเมินความเป็นวิทยาศาสตร์ของระเบียบวิธีวิจัยนั้นๆ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานที่ต้องมีความระมัดระวังเรื่องของความเสี่ยงสูงมากๆ
4.ความเป็นไปได้ ในการนำผลการวิจัยมาใช้ ทางคลินิก ( Clinical merit)
5.ความเป็นอิสระในการนำผลการวิจัยไปสู่ การปฏิบัติ(Clinical control)
6.ความคุ้มทุนเมื่อเทียบกับประโยชน ที่ได้รับ(Cost/Benefit Ratio )
7.ความสมเหตุสมผล(Feasibility) ก่อนนำผลการวิจัยไปใช้ พยาบาลจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
8.ประเมินผลในทางปฏิบัติได้หรือไม่ (Potential for clinical evaluation) ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัยสามารถวัดได้จริงหรือไม่ เมื่อนำไปปฏิบัติหากตัวแปรเหล่านั้นไม่สามารถปฏิบัติได้จริง การนำผลการวิจัยไปใช้ย่อมไม่เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ
อุปสรรคของการนำผลการวิจัยไปใช้ ในการปฏิบัติการพยาบาล
1.ลักษณะของรายงานวิจัย(Research characteristics)
2.ลักษณะของพยาบาล(Nurses’ characteristics)
3.ลักษณะขององค์กร หรือหน่วยงาน(Organizational characteristics)
4.ลักษณะวิชาชีพพยาบาล(Characteristics of Nursing Profession)
อุปสรรค 3 ด้าน ดังนี้
1.ด้านการสื่อสาร
2.ด้านองค์กร
3.ด้านพยาบาลและงานวิจัย
แนวทางในการแก้ไขอุปสรรคในการนำผลงานวิจัยไปใช้
1.นักวิจัย ควรเป็นผู้รับผิดชอบนำผลการวิจัยไปใช้ โดยมุ่งเน้นใช้ ผลงานที่มีคุณภาพมีการทำการ วิจัยซ้ำ
2.หลักสูตรการศึกษาต้องมีการจัดหลักสูตรที่มีการเรียนเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยการใช้ ได้
3.การเผยแพร่ ผลงานวิจัย ควรสนับสนุนให้ มีการทำวิจัยและเผยแพร่ ในหลายๆ รูปแบบ หลายเวที
4.ผู้บริหารสนับสนุนบุคลากรในการค้นหาความรู้ และนำความรู้ ที่ได้ ไปใช้ ในการปฏิบัติงาน
นางสาวโยษิตา รัตนะลัย ( 613101070 )