Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปการเรียนรู้ การเข้ากลุ่มครั้งที่ 2 - Coggle Diagram
สรุปการเรียนรู้ การเข้ากลุ่มครั้งที่ 2
การทำคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติ
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การปูผ้า
กรณีที่ไม่เร่งด่วน
ผืนที่ 1 ปูหน้าท้องโดยจับผ้าที่สันทบ
บนสุดกับล่างสุดแล้วยกผ้า คลี่ออกจะได้เป็นผ้าครึ่งผืน ปูให้สันทบอยู่ด้านบน
สวมปลอกขา โดยสอดมือเข้าไปใต้ผ้าที่พับตลบกลับด้านโคนขาสวมด้านไกลตัวก่อน จากนั้นสวมถุงเท้าหรือคลุมผ้าด้านไกลตัว
ปูผ้ารองก้นบนผ้ายางรองคลอด โดยพับผ้าเข้ามา 1ใน 4 ส่วน หงายมือทั้งสอง
ข้างสอดเข้าใต้ผ้าที่พับไว้แล้วสอดเข้าใต้ก้นของผู้คลอด
การวางเครื่องมือในการช่วยคลอด
กรรไกรตัดฝีเย็บ,ก๊อซ safe perineum,ลูกสูบยางแดง,สำลีเช็ดลูกตา,กรรไกร clamp สายสะดือ และกรรไกรตัดสะดือ,ชุดเย็บฝีเย็บ
การเชียร์เบ่ง
ให้ผู้คลอดเบ่งเมื่อปากมดลูกเปิดหมดและเบ่งในขณะที่มดลูกมี
การหดรัดตัว
เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดสูดลมหายใจเข้าทางจมูกและเป่าลมหายใจออกทางปากหนึ่งครั้ง
สูดลมหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นลมหายใจไว้ยกศีรษะจนคางจรดหน้าอก (Cshaped, Up-right position)
ออกแรงเบ่งลงก้นเหมือนการเบ่งถ่ายอุจจาระ ประมาณ 6 – 8 วินาทีไม่ควรเกิน 10 วินาทีต่อครั้ง
การให้กำลังใจผู้คลอดโดยการบอกว่า ผู้คลอดเบ่งได้ถูกต้องแล้ว ทำได้ดีมาก
การตัดฝีเย็บ
เพื่อสะดวกแก่การเคลื่อนผ่านของทารก
ตัดเมื่อ ฝีเย็บบาง หลังการ Crowning
ขอบแผลจะเรียบ เย็บง่าย และติดเร็ว
การทำคลอด
การทำคลอดศีรษะ
ให้ผู้คลอดเบ่งพร้อมกับการหดรัดตัวของมดล
เมื่อมีการ Crowning แล้ว ใช้มือซ้ายกดศีรษะบริเวณ vertex ส่วนอุ้งมือขวา จับผ้า safe perineum วางทาบลงบนฝีเย็บ
หมุนศีรษะทารกตาม Restitution และใช้
ลูกสูบยางแดงดูดมูกออกจากปาก ลำคอ และจมูกของทารกจนหมด
ใช้สำลีชุบ N.S.S. บีบพอหมาด เช็ดตาทารกโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา
การทำคลอดไหล่และลำตัว
การทำคลอดไหล่หน้า
ค่อยๆ โน้มศีรษะทารกลงมาข้างล่างตามแนวทิศทางของช่องเชิง
กรานส่วนบน ค่อยๆ โน้มศีรษะทารกลงมาข้างล่างตามแนวทิศทางของช่องเชิงกรานส่วนบน ประมาณ 45 องศา
การทำคลอดไหล่หลัง
จับศีรษะทารกให้อยู่ระหว่างอุ้งมือทั้งสองข้างยกศีรษะทารกขึ้นในทิศทางประมาณ 45 องศากับแนวดิ่ง
การทำคลอดลำตัว
ดึงตัวทารกออกมาช้าๆ เพื่อให้มดลูกปรับขนาดได้
ตามธรรมชาติ
เมื่อทารกคลอดหมด ทั้งตัวแล้วให้ดูเวลาทารกคลอดและ วางทารกลงบนผ้า sterile โดยวางทารกให้ตะแคงหันหลังเข้าหาปากช่องคลอดของมารดาและจัดให้สายสะดือวางพาดอยู่บนลำตัว
Suction,เช็ดตัว,กระตุ้นให้ร้องให้
การตัดสายสะดือ
ตำแหน่งที่ 1 จะ clamp ห่างจทารกประมาณ 2 - 3 ซม clamp ตัวที่ 2 ห่างจากตัวที่ 1 ประมาณ 3-4 ซม.
ทำความสะอาดสายสะดือบริเวณที่จะตัด
ระหว่าง clamp ที่ 1 และที่ 2 ด้วยน้ ายาฆ่าเชื้อ
มือข้างที่ถนัดถือกรรไกรตัดสายสะดือโดยหันปลายกรรไกรเข้า
หาอุ้งมือที่พาดสายสะดือไว้ แล้วกำอุ้งมือข้างนั้นไว้ขณะตัด
วางสายสะดือบนนิ้วกลางและนิ้วนางของมือข้างที่ไม่ถนัด ส่วนนิ้วชี้และนิ้วก้อยให้วางทับบนสายสะดือ
การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิดทันท
Apgar Score
สีผิว (Appearance: A)
สีชมพูตลอดทั้งตัว ให้ 2 คะแนน
ปลายเท้าเป็นสีเขียว ให้ 1 คะแนน
เขียวคล้ำ ซีดตลอดตัวให้ 0 คะแนน
ชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse or heart rate: P)
มากกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 2 คะแนน
ต่ำกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 1 คะแนน
หัวใจไม่เต้นเลยให้ 0 คะแนน
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (Grimace or reflex irritability: G)
ร้องเสียงดังให้ 2 คะแนน
แสยะหน้าหรือขมวดคิ้วให้ 1 คะแนน
ไม่มีการตอบสนองเลยให้ 0 คะแนน
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity or muscle tone ; A)
คลื่อนไหวดี งอแขนขาได้เต็มที่ ให้ 2 คะแนน
งอแขนขาได้เล็กน้อย ให้ 1 คะแนน
ไม่มีการตอบสนองเลยให้ 0 คะแนน
การหายใจ (Respiration: R)
ถ้าหายใจดีให้ 2 คะแนน
หายใจไม่สม่ำเสมอให้ 1 คะแนน
ไม่หายใจเลยให้ 0 คะแนน
ผลรวมของค่าคะแนน Apgar score
7-10 (Good condition) ทารกกลุ่มนี้ถือว่าเป็นทารปกติ
4-6 (Mild asphyxia) เป็นทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจน ระดับปานกลาง
0-3 คะแนน (severe asphyxia) เป็นทารกที่ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง
สรีรวิทยาของการคลอดรก
กลไกการลอกตัวของรก
การลอกตัวของรก
รกลอกตัวได้โดยอาศัยการหดรัดตัว (Contraction) และคลายตัว (Retraction) เป็นระยะๆของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนบน
การคลอดรก
ระยะที่ 1 รกผ่านจากโพรงมดลูก ภายหลังจากรกลอกตัวได้หมดแล้ว รกจะยังค้างอยู่ภายในโพรง
มดลูก
ระยะที่ 2 รกคลอดออกมาภายนอก
ชนิดของการลอกตัวของรก
Schultze’s method การลอกตัวของรกจะเกิดขึ้นตรงกลางของรก ไม่มีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอด
Matthews duncan’s method การลอกตัวของรกจะเกิดขึ้นโดยเริ่มที่บริเวณริมรกก่อนส่วนอื่น และเลือดที่เกิดจากการฉีกขาดของผนังมดลูกจะไหลซึมออกมาภายนอก
การควบคุมการเสียเลือด
มีการหดรัดตัวและคลายตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก เป็นการบีบเส้นเลือดที่แทรกอยู่ระหว่าง
กล้ามเนื้อให้ตีบตัว ทำให้เลือดหยุด
อาการแสดงว่ารกลอกตัว
Uterine sign
มดลูกลอยด้านไหนด้านหนึ่ง
มดลูกหดตัวแข็ง
เปลี่ยนรูปร่างจากแบนเป็นกลม
Cord sign
สายสะดือจะเหี่ยว
ไม่มี Pulsation
Vulva sign
เลือดไหลออกให้เห็นทางช่องคลอด
การทำคลอดรก
Medified crede Maneuver
ต้องตรวจพบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้วโดย Cord sign, Uterine sign
คลึงมดลูกให้แข็ง
ใช้อุ้งมือดันมดลูกส่วนที่หดตัวแข็งลงมาที่ทาง Promontory
ของกระดูก Sacrum คือกดลงที่มุม 30 องศากับแนวดิ่ง
ให้ใช้มือที่เหลือรองรับไว้ และเปลี่ยนมือที่ดันมดลูกมาโกย
มดลูกส่วนบนขึ้น
Brandt-Andrews Maneuver
จับสายสะดือให้ตึง ใช้มือที่ถนัดโกยมดลูกสวนขึ้นไปทางสะดือถ้ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้วจะไม่รู้สึกว่าสายสะดือถูกรั้งขึ้นไป
ใช้มือที่ถนัดดันมดลูกส่วนบนขึ้นไปเล็กน้อยแล้วเปลี่ยนมากดที่บริเวณ
ท้องน้อยเหนือรอยต่อกระดูกหัวหน่าว ดันลงล่างจนเห็นรกโผล่ที่
ปากช่องคลอดมือที่ดันเปลี่ยนไปดันมดลูกส่วนบนขึ้นไปเพื่อรั้งให้เยื่อหุ้มทารกลอกตัว
เมื่อเห็นรกโผล่ที่ปากช่องคลอดแล้วมือที่จับสายสะดือจึง
ช่วยดึงรกออกมาได้
Controlled cord traction
ดึงสายสะดือเพื่อให้รกคลอดออกมา ทำเมื่อรกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว