Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง -…
บทที่ 10 การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
ความหมาย
กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติต่างๆ ของผู้เรียนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ผลการเรียนรู้หรือมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา
ความสำคัญ
1) กระตุ้นความสนใจ
2) เปิดโอกาสให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3) ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย การใช้ทักษะชีวิต
4) ฝึกความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน
5) ส่งเสริมทักษะกระบวนการต่างๆ
6) ฝึกการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์
7) สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน กับครู
8) เข้าใจบทเรียนและส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนในทุกๆ ด้าน
หลักการ
1 ลักษณะการจัดการเรียนรู้
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
ผู้สอนต้องใช้ทั้งวิชาการ (ศาสตร์) และทกัษะ/เทคนิค (ศิลป์)
2 หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เลือกประสบการณ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
เลือกประสบการณ์ที่ผู้เรียนพึงพอใจ สนุก น่าสนใจ
เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถทางด้านร่างกายของผู้เรียน
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้หลายๆ ด้าน
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงควรจัดกิจกรรมให้หลากหลาย
3 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ ลักษณะเนื้อหาวิชา
เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
จัดเรียงเนื้อหาตามลำดับขั้นตอน
ใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสม
ผู้เรียนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมและการประเมินผล
ส่งเสริมกระบวนการคิดและทักษะต่างๆ
ใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
มีการวัดและประเมินผลหลากหลาย
ผู้เรียนมีความสุข มีเจตคติที่ดีและอยากเรียนรู้มากขึ้น
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีหลากหลายกระบวนการ เช่น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการสร้างเจตคติ กระบวนการสร้างค่านิยม กระบวนการกลุ่ม กระบวนการความรู้ความเข้าใจ กระบวนการสร้างความตระหนัก กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการความคิด สร้างสรรค์ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางภาษา และกระบวนการจัดการเรียนรู้ 9 ประการ
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมีคุณภาพ
ด้านนโยบาย
การกำหนดนโยบายควรสอดคล้องกับบริบทของสังคม มีความต่อเนื่อง ชัดเจน สามารถชี้นำสังคมเป็นที่ยอมรับและไม่มุ่งประโยชน์ทางการเมือง
มีการทบทวน ตรวจสอบ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
ด้านการบรหิารจัดการ
ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์มีคุณธรรม ยึดมั่นและบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาล
มีระบบการคัดกรองและการประเมินผลที่มีคุณภาพและเหมาะสม
สถานศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการและในการจัดการศึกษามีอิสรภาพในการบริหารจัดการ
ด้านสถานที่และงบประมาณ
มีอาคารสถานที่และบริเวณที่สะอาด ถูกสุขอนามัย สวยงาม กระตุ้น จูงใจให้อยากมาเรียน และเพียงพอต่อความต้องการ
สื่อ อุปกรณ์ เช่น ห้องสมุดที่ทันสมัย หนังสือจำนวนมากให้ค้นคว้าในสิ่งที่อยากรู้ อยากเห็น อยากทำความเข้าใจ มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงห้องเรียนกับโลกกว้างได้
ด้านการเรียนการสอน
มีการ “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน” โดยเน้นให้ผู้เรียน เรียนผ่านการปฏิบัติหรือ ประสบการณ์ตรง
เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง และผู้เรียนสามารถนำไปประกอบ วิชาชีพได้จริง
มีคณาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ และเพียงพอต่อการจัดการเรยีนการสอน รวมถึงสามารถกำกับดูแลให้เป็นไปตามข้อกำหนด
ห้องเรียนต้องเป็นห้องเรียนที่มีชีวิต มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ขนบประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
คุณภาพการประเมิน
การประกันคุณภาพภายใน
เป็นกระบวนการที่บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาร่วมกันวางแผนกำหนดเป้าหมายและวิธีการลงมือปฏิบัติตามแผนในทุกขั้นตอน มีการบันทึกข้อมูล เพื่อร่วมกันตรวจสอบผลงาน หาจุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง และร่วมกันปรับปรุงแผนงานนั้นๆ โดยมุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ สถานศึกษาที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
การประเมินคุณภาพภายนอก
เพื่อกระตุ้นให้ สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการสะท้อน จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เงื่อนไขความสำเร็จของสถานศึกษานั้นๆ พร้อมเสนอแนะ แนวทาง ปรับปรุงใหก้ับสถานศึกษา และรายงานผลให้หนว่ยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบต่อไป
การประเมินเพื่อพัฒนา
การประเมินของ สมศ.เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา เพราะหากสถานศึกษามีการวาง ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของการทำงานตามปกติอย่างต่อเนื่อง และมี การนำผลจากการประเมินไปวางแผนพัฒนาสถานศึกษาตามข้อเสนอแนะแล้ว การประเมินก็จะ ไม่เป็นภาระหรือสร้างความกังวลให้กับสถานศึกษาหรือบุคลากรในองค์กรอีกต่อไป
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการประเมิน
การสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง
ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก เกี่ยวกับการประเมินมีผลต่อคุณภาพการประเมิน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงเป้าหมายการประเมินที่แท้จริง ว่าเป้าหมายการประเมิน คือ “การ พัฒนา” ซึ่งหากเข้าใจตรงกันแล้วจะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของการประเมิน
การสะท้อนสภาพจริง
การประเมินที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจะต้องเป็นการประเมินที่สะท้อนสภาพจริงของสถานศึกษาที่สะท้อนจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ด้านคุณภาพ ผู้เรียน ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การมีส่วนร่วมในการประเมิน
การประเมินที่มีคุณภาพ ต้องมาจากการมีส่วนร่วมการประเมิน มี 2 ด้าน คือ ตนเอง ประเมินตนเอง กับคนอื่นประเมินเรา เพื่อเป็นการตรวจสอบยืนยันซึ่งกันและกัน (Cross Check)
การนำผลประเมินไปใช้
สำหรับสถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ควรมีการพัฒนาให้ต่อเนื่องและยั่งยืน
สำหรับสถานศึกษาที่มีผลการประเมินตั้งแต่ระดับพอใช้ลงมา ควรมีการวิเคราะห์ จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา โดยนำขอ้เสนอแนะจากการประเมินไปจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา และพัฒนาตามแผนให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน
การสร้างวิถีชีวิตคุณภาพ
เป็นกระบวนการที่ผู้มีส่วนร่วมเข้ามาร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาซึ่งมีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการพัฒนาโดยการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
การใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาดเป็นกระบวนการนำข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ที่สถานศึกษามีอยู่มาใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน หรือด้าน อื่น ๆ
การจัดการความรู้
การจัดการความรู้เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปตามวงจรคุณภาพ PDCA และทำให้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมีการพฒันาอย่างต่อเนื่อง
การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายเป็นกลุ่มของบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้
การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
การใช้ผลการประเมินในเชิงความคิด
การใช้ผลการประเมินในเชิงตรวจสอบยืนยัน
การใช้ผลการประเมินในเชิงสัญลกัษณ์
การใช้ผลการประเมินในเชิงปฏิบัติ
การพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน โดยใช้แนวคิดชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ความหมาย
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การมีส่วนร่วมของคนในสถานศึกษาที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดยร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้สมาชิกเกิดความอยากรู้อยากเห็น ลงมือ ปฏิบัติ ปรับปรุง และพัฒนาในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน
กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1.เตรียมครู
2.ระดมความคิด
3.ออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหา หรือวิธิปฏิบัติ เพื่อเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
4.ลงมือปฏิบัติและสะท้อนคิด
5.เผยแพร่และต่อยอดความรู้
ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
วิสัยทัศน์ร่วม
ทีมร่วมแรงร่วมใจ
ภาวะผู้นำร่วม
การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ
ชุมชนกัลยาณมิตร
โครงสร้างสนับสนุนชุมชน