Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของการไหลเวียน เลือดและน้ำเหลือง, Untitled, image, image,…
ความผิดปกติของการไหลเวียน
เลือดและน้ำเหลือง
:star:
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
การตรวจ
การตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดงABI (Ankle Brachial Index)
เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงส่วนปลายของขา
ค่าที่ได้มีความแม่นยำสูง มีความไว 90% ความจำเพาะ 98%
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย
อุปกรณ์คลื่นเสียงความถี่สูง
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบบีบ
เครื่องจะวัดความดันที่หลอดเลือดแขนทั้งสองข้างก่อน จากนั้นเครื่องจะวัดความดันหลอดเลือดที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง
ค่า ABI คือ อัตราส่วนระหว่างค่าความดันโลหิตตัวบนของข้อเท้าต่อค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตตัวบนของแขนข้างเดียวกัน ค่า ABI ที่น้อยกว่า 0.9 ถือว่ามีโรคของหลอดเลือดแดงของขา ค่ายิ่งต่ำบ่งบอกว่าหลอดเลือดตีบมาก
อาการ
ชาเท้า
อ่อนแรง
ตะคริว
โดยเฉพาะเมื่อเวลาเดิน อาการจะเป็นๆ หายๆ ทางการแพทย์เรียก Intermittent Claudicatioin เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น จะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก
ปวดน่อง
การป้องกัน
หยุดสูบบุหรี่
ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กระตุ้นให้เดิน จนกระทั่งเริ่มปวดแล้วหยุด เมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่
การเดินจะทำให้หลอดเลือดที่ขา มีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลง
รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การรักษา
การควบคุมโรคเบาหวาน
การผ่าตัด Bypass โดยการใช้เส้นเลือดเทียมต่อข้ามส่วนที่ตัน
การควบคุมความดันโลหิต
การให้ยาขยายหลอดเลือด
การควบคุมระดับไขมันในเลือด
การทำ Balloon Angioplasty แพทย์จะสอดสายเข้าไปหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แล้วเอาบอลลูนดันส่วนที่ตีบ ให้ขยายพร้อมทั้งใส่ขดลวด
การใช้ยาต้านเกร็ดเลือด และยาควบคุมอาการปวด
:star:
โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน
สาเหตุ
ผนังหลอดเลือดแดงมีไขมันและ/หรือหินปูนไปเกาะที่ผนังเส้นเลือดแดง จนเกิดการอักเสบและเกิดพังผืดเกาะสะสม
อาการ
ชนิดเรื้อรัง
เกิดขึ้นนานกว่า 2 สัปดาห์ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดขาเวลาเดิน บางรายมีอาการปวดเท้ามาก
ขณะพักโดยเฉพาะเวลากลางคืนอาจตรวจพบเท้ามีสีคล้ําลงตรวจคลําชีพจรที่ข้อเท้าไม่ได้ ผิวหนังเย็นซีดและนิ้วเท้าเน่าตายแผลเรื้อรังที่ไม่หาย
ชนิดเฉียบพลัน
เกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ผู้ป่วยมักมีอาการปวดขาขึ้นมาทันทีทันใด ปวดตลอดเวลาแม้ในขณะพัก
อาจมีอาการเหน็บชาและอาจตรวจพบผิวหนังซีด เย็น กล้ามเนื้ออ่อนแรงและคลําชีพจรที่ข้อเท้าไม่ได้
การรักษา
ชนิดเฉียบพลัน
การผ่าตัดขจัดลิ่มเลือด
ชนิดเรื้อรัง
การผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดแดง
การรักษาผ่านทางสายสวนหลอดเลือดแดง
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ผู้ที่สูบบุหรี่
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยสูงอายุ
โรคความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
:star:
หลอดเลือดดำอุดตัน
ภาวะที่มีลิ่มเลือดไปขวางการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำของร่างกาย
เกิดขึ้นได้ทุกบริเวณในร่างกาย
ช่องท้อง
ทำให้มีอาการปวดท้อง
ที่แขน
ทำให้แขนบวม
ในสมอง
ทำให้มีอาการปวดศีรษะ อาเจียนหรือชัก
เกิดที่ปอดทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดได้
เจ็บแน่นหน้าอก
ใจสั่น
มีอาการหายใจลำบาก
หรือไอเป็นเลือด
ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่บริเวณขา
อาการ
บวม
แดง
ปวด
อาจปวดได้ตั้งแต่น่องจนมาถึงต้นขา
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตัน
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดมีแนวโน้มที่เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายกว่าปกติ
ผู้ที่อยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ
ผู้โดยสารรถยนต์ที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายๆ ชั่วโมง
ผู้โดยสารเครื่องบินที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายๆ ชั่วโมง
ผู้ที่ทำงานออฟฟิศนานๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าทาง
อื่นๆ
หญิงตั้งครรภ์
คนที่กินยาคุมกำเนิด
ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ป่วยที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด
คนไข้ที่ต้องนอนติดเตียง
คนที่มีภาวะเลือดแข็งตัวง่าย
การรักษา
ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ช่วงแรกจะต้องใช้ยาแบบฉีด เพื่อจะได้ออกฤทธิ์ทันที
หากอาการดีขึ้นดีขึ้นจึงเปลี่ยนมาเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบรับประทาน
ปัจจุบันมียาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบรับประทานชนิดใหม่ (NOACs) ที่ออกฤทธิ์เร็ว บางชนิดไม่จำเป็นต้องเริ่มรักษาด้วยยาแบบฉีด
การป้องกัน
ผู้ป่วยบางส่วนที่สามารถป้องกันได้
กลุ่มเสี่ยง
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลนานๆ
แพทย์จะให้ยาป้องกันไว้ก่อน
ผู้ที่ต้องเดินทางไกล
ควรลุกขึ้นยืนเดินทุกๆ 2 ชั่วโมง
ดื่มน้ำมากๆ ไม่ควรให้ร่างกายขาดน้ำ
ควรมีการบริหารขา
การเหยียดขา
ขยับปลายเท้าขึ้นเอง
บีบนวดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
:star:
หลอดเลือดขอด - ปูด - พอง
สาเหตุ
เกิดจากการมีเลือดดำคั่งอยู่ในเส้นเลือดดำจึงส่งผลให้เส้นเลือดดำขยายตัว โป่งพอง และขดไปมา
เมื่อหลอดเลือดดำผิดปกติ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถกลับเข้าสู่หัวใจได้ทั้งหมดหรือเกิดการย้อนกลับของเลือดดำจากวาล์ว (Valve) รั่วชำรุดทำให้เลือดดำค้างในหลอดเลือดแล้วเกิดการขยายตัวกลายเป็นเส้นเลือดขอด
อาการ
หากเป็นมากขึ้นอาจทำให้มีอาการปวดเมื่อยในบริเวณนั้น ๆ
มีอาการเท้าบวมหลังจากยืนเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นในตอนบ่ายหรือเย็น
มองเห็นเส้นเลือดโป่งพองและคดเคี้ยวไปมา เห็นเป็นลายเส้นใต้ผิวหนัง
จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อนอนราบและยกขาขึ้นสูง
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนเกือบทั้งวัน หรือยกของหนัก
ท้องผูกเรื้อรัง
คนอ้วนหรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย/ขาดความเคลื่อนไหวของร่างกาย
ผู้หญิงตั้งครรภ์
สาเหตุอื่น ๆ
ผู้ป่วยโรคหัวใจ
ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะบริเวณสะโพก
ผู้ป่วยที่มีประวัติขาบวมหรือมีเส้นเลือดดำที่ขาอุดตันมาก่อนในอดีต
อายุมากเนื่องจากการเสื่อมสภาพของลิ้นในเส้นเลือดและเซลล์ผนังเส้นเลือด
การรักษา
ขณะที่นอนให้ยกปลายเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอกประมาณ 30 องศา เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและช่วยให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น
การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อให้เส้นเลือดตีบตัน(Sclerotherapy)
ใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด (Compression stocking) ตลอดเวลาที่ทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆเช่น ยืน เดิน นั่ง ยกเว้นในขณะนอนที่ไม่ต้องใส่
การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก (Varicose vein stripping)
การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์
การรักษาเส้นเลือดขอดโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Ablation - RFA)
ยารับประทานบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด
ยากลุ่มไดออสมิน (Diosmin
เฮสเพอริดิน (Hesperidin)
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน
4.ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงระบบไหลเวียนเลือดดี และลดการเกิดเส้นเลือดขอดได้
หากต้องนั่งนานให้ลุกขึ้นเดินทุก ๆ 30 นาที หรือยกเท้าให้สูงทุกครั้งที่มีโอกาส
ควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ
ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น โดยเฉพาะกางที่ฟิตและรัดบริเวณขาหนีบและเอว
ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน
หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดและสวมเครื่องป้องกันแสงแดด โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยได้
ลดการรับประทานอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม และรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
:star:
หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
อาการและอาการแสดง
อาจคลำพบก้อนในช่องท้องที่เต้นได้ตามจังหวะหัวใจ
อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อยมักเกิดจากที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียง
กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก
กดเบียดเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียงทำให้มีเสียงแหบ
กดหลอดลมหรือปอดทำให้หายใจลำบาก
อาจตรวจพบเจอโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจหาโรคอื่น
อาการที่บ่งบอกว่าเส้นเลือดมีการปริแตกแล้วขึ้นกับตำแหน่งของเส้นเลือดที่มีการโป่งพอง
ปวดหลัง
ปวดท้องแบบฉับพลัน
แน่นหน้าอก
เหงื่อออก
ใจสั่น
หน้ามืดหมดสติ
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงใดๆนำมาก่อน
ปัจจัยเสี่ยง
อายุมาก
ความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง
การสูบบุหรี่
โรคถุงลมโป่งพอง
ความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด
กลุ่มอาการ Marfan
การรักษา
การคุมความดันโลหิต
หยุดสูบบุหรี่
คุมระดับไขมันในเลือด
การผ่าตัดรักษา
การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบมาตรฐาน
การผ่าตัดโดยใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Stent Graft)
มีบาดแผลเล็กกว่า
ใช้เวลานอนพักฟื้นสั้นกว่า
การเลือกใช้วิธีการผ่าตัดใดนั้นขึ้นกับตำแหน่ง
พยาธิสภาพของโรค สภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย
เป็นภาวะความผิดปกติที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาดโตขึ้น
ผนังของหลอดเลือดแดงจะบางลงโอกาสที่หลอดเลือดจะแตกนั้นก็มากขึ้นซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดที่โตขึ้น
หากทิ้งไว้ต่อไปเส้นเลือดส่วนที่บางนั้นก็อาจปริและรั่วซึมทำให้มีเลือดคั่งในช่องอกหรือช่องท้องจนในที่สุดก็แตกออก
:memo:นางสาวสุทธิดา ศรียลักษณ์ เลขที่ 41 ห้อง 2 รุ่น 36/2