Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Aortic stenosis S_…
Aortic stenosis
โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด มีการตีบของลิ้นหัวใจAorta หรือมีการอุดกั้นของทางออกของ Lt. Ventricle (Left ventricular outflow tract obstruction)
หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวส่งเลือดแดงผ่านลิ้นAorticไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่สะดวก
สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ผู้ป่วยหมดสติ(Syncope)
ชนิดของAortic Stenosis
1.Vavular AS: ตีบบริเวณลิ้นAortic
2.Supravalvular AS: ตีบบริเวณเหนือลิ้นAortic
3.Subvalvular AS: ตีบบริเวณใต้ลิ้นAortic
พยาธิสรีรวิทยา
ลิ้นหัวใจAortic ตีบ หนาและแข็ง
ลิ้นหัวใจปิดไม่ได้
เกิดการอุดกั้นของทางออกของ Ventricle ซ้าย
เกิดแรงต้านทานต่อการบีบตัวของVentricle ซ้าย (pressure over load)
ผนังVentricle ซ้ายหนาขึ้น
Lt. sided heart failure
ความดันในAtriumสูงขึ้น
ความดันในหลอดเลือดดำPulmonary vein สูงขึ้น
1 more item...
อาการและอาการแสดง
-ลิ้นหัวใจตีบไม่มาก เด็กจะไม่มีอาการผิดปกติ การเจริญเติบโตปกติและออกกำลังกายได้ปกติ
-ล้นหัวใจตีบมาก จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายเวลาเล่น เจ็บหน้าอก
-ลิ้นหัวใจตีบรุนแรงมาก อาจถึงขั้นเป็นลม หมดสติ หรือเสียชีวิตทันทีทันใด ในขณะเล่นหรือออกกำลังกาย
-ในเด็กเล็กอาจมาด้วยอาการของภาวะหัวใจวาย คือ เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว
การวินิจฉัย
-มีประวัติออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมแล้วเหนื่อยง่าย/เป็นลมหมดสติหลังออกกำลังกาย/หน้ามืด
-ตรวจร่างกาย ชีพจรเบา หัวใจเต้นเร็ว BP↓ เวลาดูดนมจะหยุดเป็นพักๆ
-ตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า พบLt. Ventricle โต
-CXR
ตีบเล็กน้อยพบหัวใจโตเล็กน้อยหรือปกติ
ตีบปานกลาง-รุนแรง หัวใจโตไปทางซ้ายและพบLt. Atrium โตด้วย
-การสวนหัวใจ&ฉีดสารทึบรังสี ทำก่อนผ่าตัดหรือเพื่อทำ Balloon valvuloplasty
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เนื้อเยื่อของร่างกายมีโอกาสได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
-ในเด็กเล็กให้บิดามารดาดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ปล่อยให้ร้อง ในเด็กโตให้ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้แรงมาก
-ดูแลการรับประทานอาหาร ไม่ให้ท้องผูก ป้องกันการเบ่งถ่ายอุจจาระ
-จัดท่า Semi-Fowler’s position ปอดขยายได้ดี หายใจสะดวก
-ให้ออกซิเจน cannular หรือ mask
-ให้รับประทานอาหารอ่อน จืด ลดการคั่งของน้ำ ลดการทำงานของหัวใจ
-ดูแลให้ได้รับยา Digitalis เช่น lanoxin เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
-ให้ยาขยายหลอดเลือด
-Record V/S q 4 hr. ควรจับชีพจรขณะหลับเต็มนาที
-Observe สีผิว ลักษณะการหายใจ
-ชั่งน้ำหนักทุกวัน
-คลำตับเพื่อประเมินภาวะหัวใจวาย
-จัดกิจกรรมต่าง ๆให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้เต็มที่ เพื่อลดความต้องการใช้ออกซิเจน
2.อาจเป็นลมหมดสติ เนื่องจากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
-ประเมิน Conscious การทรงตัว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
-จำกัดกิจกรรมที่ต้องออกแรง
-กรณีเป็นลม ยกปลายเท้าสูงกว่าหัวใจ
3.เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอด เนื่องจากมีเลือดไปปอดมาก
-รักษาความสะอาดปากฟันของเด็ก หลังให้นมเอาสำลีหรือผ้าชุบน้ำหรือ NSS เช็ด
4.มีโอกาสติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ เนื่องจากมีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดที่ทำให้มีการไหลลัดของเลือด
-ดูแลgeneral hygiene care ให้สะอาดโดยเฉพาะสุขภาพช่องปาก
-ดูแลให้ได้รับยา ATB ก่อนทำหัตถการ1 hr.
-Observe อาการเยื้อบุหัวใจอักเสบ