Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด, -, จัดทำโดยนางสาวน้ำทิพย์…
บทที่ 6 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดภาวะตกเลือดหลังคลอด (POSTPARTUM HEMORRHAGE)
Early postpartum hemorrhage
หมายถึงเกิดการตกเลือดภายใน 24 ชั่งโมงแรกหลังคลอด
Late postpartum hemorrhage
หมายถึงเกิดการตกเลือด ภายหลัง 24 ชั่งโมง หลังคลอดไปแล้วจนถึง สปัดาห์หลังคลอด
ในรายที่คลอดปกติมีเลือดออกทางช่องคลอดมากกว่าเท่ากับ 500 ml
ในรายที่ผ่าตัดคลอดมีเลือดออกทางช่องคลอดมากกว่าเท่ากับ 1000 ml.
การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Early postpartum hemorrhage)
สาเหตุ
1.1.มดลูกไม่หดรัดตัว
1.2 การฉีกขาดของช่องทางคลอดและปากมดลูก
1.3 รกหรือเศษรกค้างในโพรงมดลูก
1.4 การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การดูแลรักษาการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ระวังอย่าให้การคลอดเร็วกว่าปกติหรือมีระยะการคลอดที่ ยาวนาน
-การผ่าตัดในกรณีที่มีข้อบ่งชี้
-ใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกในระยะที่ 3 ของการคลอด ก่อนที่รกจะคลอด
-ทําคลอดรกอย่างถูกวิธี -ถ้ามีรกค้างในโพรงมดลูกไม่สามารถคลอด ได้ให้ทําการล้วงรก
-สวนปัสสาวะเมื่อปัสสาวะเต็มสวน -หลังทารกคลอดควรคลึงมดลูกให้หดรัดตัวดี
-ควรระวังการใช้ยาแก้ปวดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
-ประเมินว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
1.มีเลือดออกซึ่งอาจจะไหลออกมาให้เห็น
2.ตรวจคลํามดลูกอยู่เหนือกว่าระดับสะดือ
3.มีอาการของการเสียเลือดมาก
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
สาเหตุ
-มีเศษรกค้างหรือเศษเยื่อหุ้มทารกค้าง (Retained products of conception)
-การอักเสบในโพรงมดลูก (Endometritis)
-มดลูกไม่เข้าอู่ (Subinvolution of uterus
-เนื้องอกของมดลูก (Myoma of uteri)
อาการและภาวะแทรกซ้อน
-เกิดภาวะซีด
-ขาดเลือดไปเลี้ยงต่อมใต้สมองส่วนหน้าเกิดภาวะ
-การตกเลือดที่ควบคุมไม่ได้อาจต้องตัดมดลูกหรือเสียชีวิต
การรักษา
-ให้การรักษาเบื้องต้นตามข้อบ่งชี้ในกรณีที่เลือดออกมาก
-ให้ยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม
-การขูดมดลูกในกรณีที่มีรกค้าง (Dilatation and Curettage)
-กรณีเลือดออก ไม่หยุดอาจต้องทําการผ่าตัดผูกเส้นเลือดแดง หรือตัดมดลูกออก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีการฉีกขาด ของช่องทางคลอด, หรือมีรกค้างในโพรงมดลูก
-เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Hypovolemic shockนื่องจากการ เสียเลือดในระยะหลังคลอดเป็นจํานวนมาก
-เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
-เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีเศษรกค้างในโพรง มดลูก
-เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีความผิดปกติของ การแข็งตัวของเลือด
-เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ภาวะมีเลือดคั่งที่แผลฝีเย็บ
หมายถึงภาวะที่มีเลือดออกในชั้นเนื้อเยื่อบริเวณช่อง คลอดและบริเวณฝีเย็บอาจจะเกิดจากการฉีกขาดของ หลอดเลือดดํามักมีขนาดใหญ่และสามารถคลําได้เป็นก้อน
สาเหตุ
มีการบาดเจ็บจากการคลอดทั้งในรายคลอดปกติหรือสูติศาสตร์หัตถการ
เย็บซ่อมบริเวณที่มีการฉีกขาดหรือตัดฝีเย็บไม่ดี
3.บีบคลึงมดลูกรุนแรงทําให้เลือดคั่งที่ Connective tissue ใต้เยื่อบุช่องท้องและใน Broad ligament อาจเกิด จากการกระทบกระแทกบริเวณช่องคลอดและบริเวณฝีเย็บ เช่นจากการขี่จักรยาน อุบัติเหตุทางรถยนต์
การให้การพยาบาล
บริเวณช่องคลอดและฝีเย็บมีอาการบวมมากขึ้นอาจพบมีก้อนเลือดและมีขนาดโตมากขึ้น
มีอาการปวดบริเวณช่องคลอดและฝีเย็บเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆปวดเมื่อคลอด
มีอาการปวดหน่วงบริเวณทวารหนักคล้ายกับความรู้สึกปวดในระยะที่ 2 ของการคลอด
ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวด
ปัสสาวะลําบากหรือไม่สามารถปัสสาวะได้
การรักษา
ในกรณีที่ก้อนเลือดมีขนาดเล็กจะสามารถดูดซึม Absorb) ได้เองอาจประคบโดยใช้ความเย็นและความร้อนเพื่อ ลดอาการบวม
ในกรณีที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่จําเป็นต้องได้รับการตัดระบายเอาก้อนเลือดออก
การให้การพยาบาล
Observe Vulva Hematoma
Retained Foley catheter
ดูแลความสุขสบายของผู้ป่วย ในกรณีให้ยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา
ให้ยา Antibiotics ตามแผนการรักษา
ภาวะมดลูกเข้าอู่ช้า (Subinvolution of Uterus)
เป็นภาวะที่มดลูกหยุดการยุบตัวลง (Arrest)
อาการ
ระดับยอดมดลูกยังสูงกว่าระดับ กระดูกหัวหน่าว สัมผัสนุ่ม ระดับยอดมดลูก ไม่ต่ําลง น้ําคาวปลาผิดปกติ (สีไม่จางลงใน 2 สัปดาห์)
สาเหตุ
-ความดึงตัวของการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี
-มีเศษรกหรือเยื่อหุ้มรกค้าง
-มีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก
-ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
-น้ําคาวปลาใหลไม่ละดวก
-มีเนื้องอกที่มดลูก
การรักษา -กระตุ้นให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
-แนะนําให้ออกกําลังกาย โดยการใช้ท่านอนคว่ํา ทับหมอน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกกลับสู่สภาพปกติข้า เนื่องจากมี เศษรกหรือเยื่อหุ้มรกค้างใน โพรงมดลูก
-มดลูกกลับสู่สภาพปกติช้า เนื่องจากมีการติดเชื้อในเยื่อบุโพรง มดลูก
การติดเชื้อหลังคลอด (Postpartum infection/ Pureperal infection)
สาเหตุ
1.การติดเชื้อระบบอวัยวะสืบพันธ์และแผลผ่าตัด
1.1การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด มักเกิดจาก
มีภาวะอ้วน เบาหวาน
ซีด
การใช้ยา Steroid
เกิด Hermatoma บริเวณแผลผ่าตัด
1.2การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ ช่องคลอด และปากมดลูก
อาการและอาการแสดง มีไข้ ปวด บวม แดง ขอบแผลฝีเย็บไม่ชิดติดกัน มีdischarge ซึม
1.3การติดเชื้อลุกลาม(Necrotizing fascitis)
1.4การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
การพยาบาล
ดูแลให้ bed rest
ดูแลให้ทําความสะอาดร่างกาย
ดูแลให้เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆหรือทุก 3-4 ชั่วโมง โดยเปลี่ยนจาก ด้านหน้าไปด้านหลัง
กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะ ไม่กลั้นปัสสาวะ
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง แคลอรี่สูง ธาตุเหล็กสูงและอาหารที่มี วิตามินซีสูง
แยกมารดาหลังคลอดในกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง
2.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการ
มีไข้หลังคลอด หนาวสั่น - ปัสสาวะบ่อยแสบขัด - คลื่นไส้ อาเจียน
3.การติดเชื้อที่เต้านม
อาการ
มักเกิดใน 3-4สัปดาห์หลังคลอด - หนาวสั่น - หัวใจเต้นเร็ว -เต้านมแข็งแดง - มีอาการปวดมาก - มีไข้สูง 38.3-40 องศาเซลเซียส - บางรายมีหนอง
กระบวนการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะติดเชื้อ
1.การซักประวัติ : ระยาเวลาการคลอด ภาวะโลหิตจาง ภาวะตกเลือดหลังคา แตกก่อนเจ็บครรภ์จริง
2.การตรวจร่างกาย : ตรวจตามอวัยวะสืบพันธุ์ที่มีการติดเชื้อ
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ :ผลการตรวจเพาะเชื้อจากน้ํานม เลือด สิ่งคัดหลั่ง
ผลตรวจปัสสาวะ พบเชื้อแบคทีเรีย
ภาวะหลอดเลือดดําอักเสบ (Thrombophlebitis)
สาเหตุ
-มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือด
-ผนังชั้นในของหลอดเลือดถูกทําลาย
-ภาวะการแข็งตัวของเลือดมีมากกว่าปกติ
อาการและอาการแสดง
Superficial veins คลํารู้สึกอุ่น คล้ายเส้นด้ายและแข็ง กดเจ็บ อาจ มีขาบวม ซีดและเย็น Deep veins กดเจ็บที่กล้ามเนื้อลึกๆ กระดกเท้าขึ้น จะรู้สึกปวดที่น่องมาก (Homan' s signs = Positive) มีไข้ ปวดศีรษะ เมื่อยล้า
หากอาการอักเสบรุนแรงอาจทําให้ลิ่มเลือด (Emboli) เข้าสู่ กระแสเลือด เกิด Pulmonary embolism จนอาจทําให้เสียชีวิต
ภาวะเต้านมอักเสบและติดเชื้อ (Breastinflammation and infection)
สาเหตุ
หัวนมแตก ถลอก หรือมีรอยแตก
ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ดูดไม่เกลี้ยงเต้า
ท่อน้ํานมอุดตัน
อาการ
มักเกิดใน 3-4สัปดาห์หลังคลอด
หนาวสั่น
หัวใจเต้นเร็ว
เต้านมแข็งแดง
มีอาการปวดมาก
มีไข้สูง 38.3-40 องศาเซลเซียส
บางรายมีหนอง
การป้องกันภาวะเต้านมอักเสบและติดเชื้อ
แนะนําและดูแลให้มารดาทําความสะอาดหัวนมอย่างถูกวิธี
แนะนํามารดาให้ทารกดูดนมให้ถูกวิธี โดยให้บุตรอมหัวนมให้มิดถึงลานนม
แนะนํามารดาให้เอาหัวนมออกจากปากทารกให้ถูกวิธี
การรักษาและการให้การพยาบาล
อธิบายมารดาและช่วยเหลือในการจัดท่าที่มารดาถนัด
ดูแลให้มารดาสวมเสื้อชั้นในที่เหมาะกับขนาดเต้านม
งดการให้นมบุตร กรณีได้รับการผ่าเอาฝ่ออก
ดูแลให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ําอุ่นจัด อาบด้วยน้ําอุ่น
อธิบายให้มารดารับทราบถึงภาวะเต้านมอักเสบและแนวทางในการรักษา
ควบคุมการติดเชื้อสําหรับมารดาและทารก
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด(POSTPARTUM BLUES)
อาการภาวะนี้ไม่รุนแรงและหายได้เองเนื่องจากหลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
อาการที่สําคัญได้แก่อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด รําคาญ ร้องไห้ง่าย มีความวิตกกังวล กินไม่ได้นอนไม่หลับหรือกินมากนอนมากปกติ
2.โรคซึมเศร้าหลังคลอด (POSTPARTUM DEPRESSION)
ลักษณะที่สําคัญคือมีอาการรุนแรงรบกวนการดําเนินชีวิตความเป็นอยู่และการดูแลทารก อาการนี้จะอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
อาการ
มีอารมณ์ซึมเศร้า
หมดเรี่ยวแรง
มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ย้ําคิดย้ําทํา หรือ รําพึงว่าตนทําอะไรผิด
3.โรคจิตหลังคลอด(postpartum Psychosis)
อาการที่สําคัญ
ผุดลุกผุดนั่ง อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงเร็ว
มีพฤติกรรมวุ่นวาย หลงผิค ประสาทหลอน มีอาการสับสน
การรักษา
แบ่งตามระดับของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
การรักษาคือการให้ความมั่นใจให้กําลังใจแต่ถ้าอาการไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ให้มาพบแพทย์
โรคซึมเศร้าหลังคลอด
จะให้ยาแก้ซึมเศร้าในขณะที่พอเหมาะ
ภาวะเศร้าโศก (Grief)
เป็นภาวะตอบสนองภายหลังการสูญเสีย ซึ่งมีหลายอารมณ์ เช่นเศร้า วิตกกังวล โกรธ รู้สึกผิด หลักๆคือ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ความเป็นตัวของตัวเองในบางด้านหรือวัตถุสิ่งของที่มีความสําคัญต่อตนเอง
ปัจจัยสําคัญ
1.ระยะปฏิเสธและแยกตัว
2.ระยะ โกรธ
3.ระยะต่อรอง
4.ระยะซึมเศร้า
5.ระยะยอมรับ
กิจกรรมการพยาบาลที่สําคัญ
1.ดูแลให้พักผ่อน
เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดซักถามพูดคุยและระบายความรู้สึก
3.แนะนําให้สามีและญาติเข้าเยี่ยมอย่างใกล้ชิด
4.สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
5.ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตนหลังคลอด
Sheehan's syndrome
(โรคชีแฮน)
เป็นภาวะที่พบในสตรีหลังคลอดที่มีประวัติการตกเลือดอย่างรุนแรงทําให้ต่อมใต้สมองขาดเลือด เซลล์ บางส่วนตายไปเกิดภาวะHYPOPITUITARISM ทําให้มีอาการของต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยร่วมกับอาการของ โรคขาดประจําเดือนและเป็นหมัน
อาการ
ได้แก่อ่อนเพลียทํางานเชื่องช้าผิวหนังเหี่ยวแห้ง ความดันโลหิตต่ํา ประจําเดือนมาไม่ปกติ เป็นหมัน ขี้หนาว วิงเวียนศีรษะ ถ้าไม่รับการรักษาอาจทําให้เกิดภาวะต่อม
หมวกไตไม่ทํางานเฉียบพลันเป็นอันตรายได้
การรักษา
-หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลอาจต้องตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
-การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ (เช่น ยาสกัดไทรอยด์ หรือเอลทร็อกซิน) และ ไฮโดรคอร์ติโซน โดยต้อง กินยาไปจนตลอดชีวิต ในรายที่ยังต้องการ มีบุตร อาจต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้รังไข่ทํางาน
คําแนะนํา
ภาวะต่อมใต้สมองทํางานน้อย นอกจากเกิดจากการตกเลือดหลังคลอดแล้ว ยังอาจมีสาเหตุจากเนื้องอก ของต่อมใต้สมอง ศีรษะได้รับบาดเจ็บรุนแรงและอื่นๆบางคนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้
โรคนี้มีทางรักษาให้เป็นปกติได้ แต่ต้องรับประทานยาเป็นประจําทุกวันโดยห้ามหยุดรับประทาน
-
จัดทำโดยนางสาวน้ำทิพย์ สุดยอดสุข รหัสนักศึกษา 600015