Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปความรู้กลุ่ม หยุดเชื้อเพื่อชาติ - Coggle Diagram
สรุปความรู้กลุ่ม หยุดเชื้อเพื่อชาติ
ประเภทของการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
จำนวนผุ้สื่อสาร
1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
(interpersonal communication)
การเขียนจดหมาย
การโทรศัพท์
การประชุมกลุ่มย่อย
การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(large group communication)
การอภิปรายในหอประชุม
การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
การปราศรัยในงานสังคม
การบรรยายทางวิชาการ
ณ ศูนย์เรียนรวม
1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(Intrapersonal communication)
การคิดถึงงานที่จะทำ
การพูดกับตัวเอง
การร้องเพลงฟังเอง
การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
1.4 การสื่อสารในองค์กร
(organizational communication)
การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
การสื่อสารในโรงงาน
การสื่อสารในบริษัท
การสื่อสารของธนาคาร
1.5 การสื่อสารมวลชน
(mass communication)
วิทยุ
โทรทัศน์
หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
ภาพยนตร์
การเห็นหน้ากัน
2.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(face to face communication)
การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
การเรียนการสอนในชั้นเรียน
การประชุมสัมมนา
การประชุมกลุ่มย่อย
การสนทนาต่อหน้ากัน
2.2 การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า
(interposed communication)
เอกสารการสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชน
ทุกชนิด
หนังสือพิมพ์
จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชน
ทุกชนิด
วิทยุ
โทรทัศน์
อินเตอร์เน็ต
ความสามารถในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว
(one-way communication)
การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด
วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน
โทรเลข/โทรสาร
ภาพยนตร์
3.2 การสื่อสารสองทาง
(two-way communication)
การสื่อสารในกลุ่ม
การพูดคุย / การสนทนา
การสื่อสารระหว่างบุคคล
ความแตกต่างระหว่าง
ผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(gosscultural communication)
ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา
การสื่อสารระหว่างคนไทยในภาคต่าง ๆ
4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ
(international communication)
การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล
การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
(interracial communication)
ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศ
มาเลเซีย สื่อสารกัน
การใช้ภาษา
5.1 การสื่อสารเชิงวัจนภาษา
(verbal communication)
การพูด, การบรรยาย
การเขียนจดหมาย, บทความ
5.2 การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา
(non-verbal communication)
การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ และคำพูด
เช่น อาการภาษา/กาลภาษา/เทศภาษา/สัมผัสภาษา/เนตรภาษา/
วัตถุภาษา และปริภาษา เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญ และ อุปสรรค ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของการสื่อสาร
การสื่อสารทุกขณะเกิดขึ้นภายใต้บริบท (Context) หรือสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น สิ่งแวดล้อมในการสื่อสารจึงมีผลต่อการสื่อสารของมนุษย์ด้วย ซึ่งสิ่งที่อาจมีผลต่อการสื่อสารได้แก่ เวลา สถานที่ บุคคล อุปกรณ์ต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้ที่มาสื่อสารที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้น การสื่อสารจะราบรื่นและเกิดผลดี เมื่อผู้สื่อสาร สื่อสารได้เหมาะสมกับกาลเทศะ และสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยด้านสภาพการสื่อสาร
2.1 การสื่อสารทางเดียวหรือสองทาง
การสื่อสารสองทาง (ทุติยวิถี หรือ two-way communication) จะให้ผลดีกว่าการสื่อสารทางเดียว (เอกตวิถี หรือ one-way communication) ทั้งในด้านความเข้าใจต่อเนื้อหา และสัมพันธภาพระหว่างคู่สื่อสาร
2.2 การสื่อสารหลายทอด
การสื่อสารที่ถูกส่งต่อกันไปหลายทอดมากขึ้น มักเกิดปัญหาความบิดเบือนของสาร (distortion) มากตามไปด้วย ความคลาดเคลื่อนบิดเบือนของสาร อาจเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ “ความหมายของสารที่สื่อ” ในความรู้สึกกับความเป็นจริง บ่อยครั้งที่คนเรามีความสับสนระหว่างความรู้สึกกับความเป็นจริง คือ แทนที่จะพูดอะไรออกไปตามความเป็นจริงที่พบเห็น กลับพูดออกไปตามความรู้สึกของตน ซึ่งตนอาจรู้สึกหรือเข้าใจผิดได้
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
อุปสรรคที่เกิดจากสาร
สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ด
การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
ขาดความรู้ในสารที่จะรับสาร
ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
เทคนิคที่สำคัญและจำเป็นใช้ในการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
การฟัง (Listening) เป็นการฟังอย่างตั้งใจ ใส่ใจ ทั้งคําพูด สีหน้า ท่าทาง การแสดงออก เพื่อเปิด โอกาสให้ผู้รับ บริการเล่าความคิด ความรู้สึก โดยที่พยาบาลไม่ใช้ประสบการณ์ของตนเองเข้าไปตัดสินการฟังอย่าง ตั้งใจจะสามารถประเมินได้ว่า ท่าทางหรือการแสดงออกของผู้รับบริการมีความสอดคล้องกับเรื่องที่ผู้รับบริการ
กําลังสนทนาหรือไม่
การใช้ความเงียบ (Using Silence) การใช้ความเงียบในจังหวะที่เหมาะสม (การเงียบทางบวก) จะ ช่วยให้ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลาย ไม่รู้สึกว่าถูกเร่งรัด จะช่วยให้ผู้รับบริการได้คิดทบทวนเพื่อที่จะพูดระบาย ความคิด ความรู้สึกของเขา สําหรับความเงียบที่แสดงถึงการไม่สนใจในเรื่ องที่กําลังสนทนา เป็นความเงียบที่ไม่ก่อ ประโยชน์ในการบําบัดรักษา (การเงียบทางลบ)
การยอมรับ (Accepting) การยอมรับผู้รับบริการ และสิ่งที่ผู้รับบริการพูด อาจแสดงออกด้วยท่าทาง น้ําเสียง หรือ คําพูด เช่น การพยักหน้า การฟังโดยไม่โต้แย้ง /คัดค้าน ไม่แก้ตัวแทนบุคคล ที่ผู้รับบริการกล่าวถึง ตลอดจนการใช้คําพูด เช่น “ค่ะ” “ค่ะ ดิฉันกําลังฟังอยู่ค่ะ”
การเสนอตัวเพื่อให้การช่ วยเหลือ (Offering Self) เป็นการเสนอตนเองเพื่อรับฟังปัญหา ให้การ ช่วยเหลือ หรืออยู่เป็นเพื่อนผู้รับบริการในยามที่เขากําลังรู้สึกไม่ดี /เศร้า/หวาดกลัว/ไม่แน่ใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น “หากคุณมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ ดิฉันยินดีรับฟังนะคะ” “คุณกําลังสะเทือนใจ ฉันจะนั่งอยู่เป็นเพื่อนคุณ”
การจาได้ หรือ การระลึกถึง (Giving Recognition) เป็นการแสดงถึงการให้ความสําคัญกับ ผู้รับบริการในฐานะที่เขาเป็นบุคคลคนหนึ่ง มีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า โดยการแสดงการรู้จัก การจําผู้รับบริการและ เรื่องราวของผู้รับบริการได้ หรือการบอกถึ งการเปลี่ยนแปลงที่พยาบาลเห็น ทําให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าพยาบาลให้ ความสําคัญและยอมรับในตัวเขา เช่น การ เรียกชื่อผู้รับบริการถูกต้อง “สวัสดีค่ะ คุณ .....” “วันนี้คุณดู สดชื่น แจ่มใสขึ้น” “เมื่อวานนี้คุณเล่าว่า คุณนอนไม่หลับมา 2-3 วันแล้ว”
การใช้คากล่าวกว้าง ๆ (Giving Broad Openings) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเป็นฝุายเริ่มต้นใน การสนทนา เลือกหัวข้อในการสนทนา หรือเลือกพูดถึงในสิ่งที่ คิดหรือไม่สบายใจอยู่ เช่น “คุณกําลังคิดอะไรอยู่ ” “คุณมีเรื่อง อะไรจะเล่าให้ดิฉันฟังบ้าง”
การพูดนาเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับบริ การพูดต่อ (Giving General Leads or Using General Leads)
การใช้ คําพูด หรือแสดงออกว่า เรากําลังฟัง สนใจในสิ่งที่ผู้รับบริการ พูดและอยากให้เขาพูดต่อ เช่น “ค่ะ” “แล้ว อย่างไรต่อคะ” หรือ ในกรณีที่มีเหตุการณ์มาขัดจังหวะในระหว่างสนทนากับผู้รับ บริการ พยาบาลอาจจะทบท วน/ สรุปเรื่องเดิมแล้วใช้เทคนิคนี้ กระตุ้นให้ผู้รับบริการเล่าต่อ เช่น “เมื่อครู่นี้คุณเล่าว่าคุณไปหา แฟนที่บ้าน แล้ว พบว่าเขาอยู่กับผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วอย่างไร ต่อคะ”
การบอกถึงสิ่งที่สังเกตเห็น (Making Observation or Sharing Observation) การบอกในสิ่งที่ พยาบาลสังเกตเห็น เกี่ยวกับตัวผู้รับบริการให้ผู้รับบริการทราบ เพื่อแสดงว่า พยาบาลใส่ใจ /สนใจเขา และช่วยให้ ผู้รับริการสํารวจตนเอง เข้าใจตนเองมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้ผู้รับบริการพูดถึงความรู้สึก ที่แท้จริงของเขา เช่น “คุณ กํามือแน่น เมื่อพูดถึงเรื่องคุณพ่อ ของคุณ” “ท่าทางของคุณดูเครียด ๆ”
การถามถึงสิ่งที่ผู้รับบริการรับรู้มา (Encouraging Description of Perception) เพื่อให้ ผู้รับบริการได้บรรยาย/ เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขาตามที่เขารับรู้มาด้วยตนเองช่วยให้ พยาบาลเข้าใจผู้รับบริการและ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และช่วยให้ ผู้รับบริการได้ทบทวนเหตุการณ์และเข้าใจเหตุผลของการแสดงพฤติกรรม เช่น “เสียงที่คุณได้ยิน นั้นเป็นอย่างไร”
การทวนซ้า /การสะท้อนเนื้อหา (Restating) เป็นการพูดทวนเนื้อหาหรือใจความสําคัญในสิ่งที่ ผู้รับบริการพูด อาจจะทวนซ้ําทั้ งหมดหรือเฉพาะข้อความสคัญเพื่อให้ผู้ปุวยได้ทบทวนทําความเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด อีกครั้งหนึ่ง ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้เล่าเรื่อ งราวของเขาต่อไป
การสะท้อนความรู้สึก (Reflecting) เป็นการรับรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ และสะท้อนความรู้สึก นั้นให้ผู้รับบริการรับรู้เพื่อให้ผู้รับบริการทําความเข้าใจกับอารมณ์ควา ม รู้สึกที่แท้จริงของตนเองช่วยให้ผู้รับบริการ เข้าใจตนเองมากขึ้น เช่น ผู้รับบริการ: “ฉันอยากให้เขา (สามี) สนใจ ใส่ใจฉันบ้าง” พยาบาล: “คุณ (รู้สึก) น้อยใจ และรู้สึกว่าสามีไม่สนใจคุณ”
การมุ่งความสนใจไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง (Focusing) เป็นการเลือกประเด็นในการสนทนา อาจจะ เป็นการเสนอให้ผู้รับบริการเป็นผู้พิจารณาเลือกด้วยตนเอง หรือ พยาบาลเป็นผู้เลือกประเด็นที่คิดว่าอาจจะเป็น ต้นเหตุ/ประเด็น ปัญหาในปัจจุบันที่น่าจะนํามาพิจารณาหาแนวทางแก้ไข เช่น “เรื่องที่คุณเล่ามาทั้งหมด ...เรื่อง ไหนที่ทําให้คุณกังวลใจมาก ที่สุด” “เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เราน่าจะคุยกันเรื่องนี้สัก หน่อย”
การค้นหาข้อมูลหรือปัญหา (Exploring) เป็นการสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูล /ปัญหา/รายละเอียด เกี่ยวกับผู้รับ บริการและเรื่องราวของเขามากขึ้น เพื่อที่จะทําความเข้าใจในเรื่องราวของเขามากขึ้น เช่น “คุณมา โรงพยาบาลด้วยอาการอะไร” “ที่คุณว่านอนไม่หลับนั้นมันเป็นอย่างไร ช่วยอธิบายอีกสักนิด”
การขอความกระจ่าง (Clarifying or Seeking Clarification) เป็นการขอคําอธิบายเพิ่มเติม ใน กรณีที่ผู้รับบริการพูดคลุ มเครือ/มีความหมายไม่ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถเข้าใจเรื่องราวของผู้รับบริการได้อย่าง ถูกต้อง ทั้งยังช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจตนเองมากขึ้นด้วย เช่น “ที่คุณพูดว่า ....... คุณหมายความว่า อย่างไร” “เขา ที่คุณพูดถึงหมายถึงใคร”
การตรวจสอบความเข้าใจ (Validating or Seeking Consensual Validation) เป็นการ ตรวจสอบว่า ความเข้าใจของพยาบาลตรงกับความคิด ความรู้สึก หรือ ความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่ เช่น “เขาที่คุณพูดถึงนั้น หมายถึงสามีของคุณ” “ที่คุณพูดนี้ หมายถึง........”
การขอให้ผู้รับบริการประเมินป ระสบการณ์ หรือสถานการณ์ที่เขาเผชิญ (Encouraging Evaluation) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการคิดพิจารณาประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วย ตนเอง เช่น “เหตุการณ์นี้....ทํา ให้คณุ รู้สึกอย่างไร” “การที่คุณ หนีออกจากบ้านไปอยู่กับเพื่อน มีผลอย่างไรกับคุณบ้าง”
การให้ผู้รับบริการเปรียบเทียบความเหมือนหรือ ความแตกต่าง (Encouraging Comparison)
เช่น “การมาอยู่ โรงพยาบาลครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนอย่างไร ” “ช่วงที่คุณขาดยา กับตอนนี้ที่รับประทานยาทุกวัน มันมีความแตกต่างกันอย่างไร บ้าง”
การเรียงลาดับเหตุการณ์ก่อนและหลัง (Placing the Event in Time or in Sequence) เช่น “เรื่องนี้เกิดขึ้น ก่อนหรือหลังเรื่องนั้น” “มีอะไรเกิดขึ้นก่อนที่เหตุการณ์ ..... จะเกิดขึ้น” “อาการหน้ามืดจะเป็นลม ที่คุณพูดถึงนี้ เกิดขึ้นก่อน หรือหลังรับประทานยา”
การให้ข้อมูล/ข้อเท็จจริง (Giving Information) เป็นการให้ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริงที่จําเป็น และเป็นจริงเพื่อประกอบการทําความเข้าใจกับปัญหาการพิจารณาทางเลือก และการตัดสินใจในการแก้ปัญหา เช่น การแนะนําให้ผู้รับบริการ รู้จักสถานที่และกิจกรรมต่าง ๆ ของหอผู้ปุวย การแนะนําตัวให้ ผู้รับบริการรู้จัก การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การเจ็บปุวย และ ทางเลือกในการรักษา
การบอกความจริง (Presenting Reality) เป็นการให้ความจริงแก่ผู้รับบริการในกรณีที่ผู้รับบริการ มีความคิดหรือการรับรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน แปลความหมายสิ่งเร้าผิดไป จากสภาพความเป็นจริง พยาบาลจะชี้ให้ผู้รับบริการเห็นถึงสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันขณะ โดยที่ไม่โต้แย้ง / คัดค้าน/ตําหนิผู้ปุวย
การชี้ผลที่ตามมา เป็นการชี้ให้ผู้รับบริการเห็น ผลที่ตามมาจากความคิดและการกระทําของเขาทั้งใน แง่บวกและลบ เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจสาเหตุของปัญหาและผลกระทบที่ตามมา “คุณเสพยา ทําให้คุณเกิดความ ระแวง หงุดหงิด โกรธง่าย ควบคุมตัวเองไม่ได้ เลยทะเลาะ ตบตีกับคุณ แม่ของคุณ”
การสนับสนุนให้ผู้รับบริการวางแผนในอนาคต (Encouraging Formulation of a Plan of Action) เป็นการเตรียมผู้รับบริการให้วางแผนเลือกพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในอนาคต โดยพยาบาลมี บทบาทในการเอื้ออํานวยให้ผู้รับบริการคิด พิจารณาและวางแผนร่วมกับผู้รับบริการ อาจเป็นการเตรียม ผู้รับบริการด้วยการคิดหาวิธีการ/ลองกระทํา/แสดงบทบาทสมมุติ ฯลฯ เช่น “คราวต่อไปถา้ คุณ โกรธอีก คุณจะทํา อย่างไร” “ถ้าเพื่อนชวนไปเสพยาอีก คุณจะ ปฏิเสธอย่างไร” “คุณไม่รู้จะพูดกับคุณแม่อย่างไร เรามาลอง ซ้อมพูด กันดีไหม”
การสรุปความ (Summarizing) เป็นการสรุปเนื้อหา ด้วยคําพูดสั้น ๆ เพื่อให้ได้ใจความทั้งหมด หรือสรุปประเด็นการสนทนา /การให้ความช่วยเหลืออาจจะใช้เมื่อผู้รับบริการพูด /เล่า เรื่องราวยาว ๆ หรือสรุป ประเด็น เมื่อสิ้นสุดการสนทนา เช่น “คุณเล่าว่า.....” “วันนี้เราได้พูดกันถึงเรื่อง.............”
เกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพการสื่อสาร
เกณฑ์การสื่อสารขึ้นอยู่กับตัวผู้รับสารนั้นๆว่า ผู้รับสารสามารถเข้าใจ ฟังได้ศัพท์ รู้เรื่อง ในสิ่งที่ผู้ส่งสารกล่าวหรือไม่ ถ้าการสื่อสารมีประสิทธิภาพที่ดี ผู้รับสารก็สามารถสร้างความเข้าใจจากสารที่ผู้ส่งสารสื่อได้ สามารถร่วมมือ ควบคุมการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น
รูปแบบ/วิธีการ ในการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
ยกตัวอย่างการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล คือ การรับ-ส่งเวรแบบ SBAR พยาบาลวิชาชีพผสู้ง่เวรใชว้าจาในขณะรายงานขอ้มลูของผู้ป่วยแต่ละรายโดยยึดหลกัการรายงาน ตามแนวคิดSBAR (S = Situation, B = Background, A = Assessment, R = Recommendation) เป็น กรอบ ในการรายงานเปลี่ยนเวรดังนี้คือ
S = Situation เป็นการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การเจ็บป่วยที่ทำให้ต้องรายงานข้อมูล ได้แก่ ระบุตัวผู้ป่วยได้แก่ชื่อ-นามสกลุอายุและหมายเลขห้องของผู้ป่วย ระบุวันที่เดือนและเวลาแรกรับผู้ป่วยไว้ในหน่วยงาน การวินิจฉัยโรคของแพทย์ อาการสำคัญ ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบันที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาพร้อมระบุเวลาท่เีจ็บป่วย การรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับและผลการรักษาพยาบาล ผลการตรวจพิเศษ/ผลการตรวจทางห้องปฏิบัต ิการต่าง ๆ รายงานสัญญาณชีพล่าสดุของผู้ป่วย
B=Backgroundการรายงานเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้แก่ ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต/ประวัติการได้ร้บบาดเจ็บ/ประวัติการผ่าตัดพร้อมระบุเวลาที่เจ็บป่วยและการรักษาที่ได้รับ ประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย(ถ้ามี)
A=Assessmentการรายงานเกี่ยวกบัการประเมินสถานการณข์องพยาบาลวิชาชีพได้แก่ การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยตามหลักวิชาการข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลหรือภาวะเสี่ยงท่ีอาจจะเกิดขนึ้แก่ผปู้่วย
R=Recommendationการรายงานเกี่ยวกบัความตอ้งการของพยาบาลวิชาชีพไดแ้ก่ ความต้องการของพยาบาลวิชาชีพท่ีต้องการให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเน่ือง ความ ตอ้งการแผนการรกัษาของแพทย์การใหข้อ้มลูแก่ผปู้่วย/ญาติการเฝา้ระวงัความเสี่ยงต่างๆท่อีาจเกิดขนึ้หรือสิ่งที่ต้องเตรียมให้กับผู้ป่วย
ลักษณะการสื่อสารที่ดีในการสื่อสารของพยาบาล
การสื่อสารที่ดีควรนำการสื่อสารแบบ 6C’s มาประยุกต์ใช้
สมบูรณ์ (Complete) ข่าวสารควรมีความสมบูรณ์และเป็นจริงตามที่ผู้รับต้องการ ข่าวสารที่ไม่ สมบูรณ์มักทาให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและสับสนได้ ผู้ส่งสารเป็นผู้รับผิดชอบ (ก่อนส่งสารออกไป ) ว่าข้อมูล ที่จะส่งมีความสมบูรณ์ตามเปูาหมายที่ต้องการ
ชัดเจน (Clear) ข่าวสารที่ชัดเจน หมายถึง การใช้คาตรงไปตรงมา เหมาะสมกับสถานการณ์และ หลีกเลี่ยงคาที่มีความหมายกากวม ซึ่งความชัดเจนในการสื่อสารทาให้ข่าวสารนั้นง่ายต่อการเข้าใจ และเพิ่ม ความหมายของข่าวสาร
ถูกต้อง (Correctness) ความถูกต้องในการสื่อสาร หมายถึง ถูกต้องทั้งตัวสะกดและถูกไวยากรณ์ 4. สั้นกะทัดรัด (Concise) หมายถึง การตัดคาฟุุมเฟือย สื่อสารเฉพาะสิ่งที่ต้องการสื่อสาร
เข้าใจ (Consideration) ความเข้าใจ บ่งชี้ถึงการเอาตัวเราเข้าไปในจิตใจของผู้อื่น การสื่อสารที่มี
ประสทิธิภาพจาเป็นต้องเข้าใจผู้รับสาร (มุมมองของผู้รับสาร ภูมิหลัง จิตใจ ระดับการศึกษา) ผู้ส่งสารควรพยายาม ทาความเข้าใจผู้ฟัง อารมณ์และปัญหาของผู้รับสาร รวมถึงให้ความนับถือโดยไม่ทาร้ายความรู้สึกของผู้รับสาร
มีมารยาท (Courtesy) มารยาทในการสื่อ สาร ควรแสดงความรู้สึกรวมถึงให้ความนับถือผู้รับสาร โดยการใช้คาสุภาพ ไม่เลือกปฏิบัติลาะท้อนความคิดเห็น
จริยธรรมการสื่อสารที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล / วิชาชีพพยาบาล
คุณธรรมในการสื่อสารทําให้การสื่อสารนั้นราบรื่นขึ้น หากสื่อสารกันอย่างขาดคุณธรรมแล้วอาจทําให้เกิด ความขัดแย้ง ความโกรธได้ หรือบางทีทําให้สิ่งที่เราต้องการสื่อไปนั้นเกิดผลเสียต่อผู้ส่งสาร ดังนั้นบางอย่างไม่ควร จะสื่อให้ผู้อื่นรู้ ซึ่งต้องอาศัยหลักธรรมในการพิจารณา วาจานั้นสามารถทําให้เกิดผลเสียก็ได้ผลดีก็ได้ ทําให้คนมี อนาคตก็ได้ ฆ่าคนก็ได้ หากสื่อสารกันโดยไม่มีคุณธรรมแล้วจะทําให้เกิดความเดือดร้อนมากมาย ซึ่งบทความนี้แบ่ง คุณธรรมในการสื่อสารเป็น 2 พวก คือ พวกที่ใช้ในการพิจารณาสารว่าควรจะส่งในผู้รับสารหรือไม่ และหลักธรรม ที่ช่วยให้การส่งสารมีประสิทธิภาพคือ เมื่อสารได้รับการพิจารณาแล้วว่าเป็นสารที่เหมาะสมแก่การส่งให้แก่ผู้รับสาร เราควรจะส่งสารนั้นอย่างไร
หลักธรรมในการพิจารณาสารที่จะส่ง
1.1 ปฏิจฺจสมุปบาท เป็นวิธีคิดที่ว่าด้วยเหตุผล คือคิดจากเหตุไปหาผล ตัวอย่างเช่น เวลาจะพูด
อะไรออกไปต้องคิดว่าพูดอย่างนี้แล้วจะทําให้เขารู้สึกอย่างไร เมื่อเขารู้สึกอย่างนี้แล้ว เป็นผลดีสําหรับตัวเขา และตัวเราหรือไม่ ถ้าตรึกตรองดีแล้ว จะเกิดผลเสียก็ไม่ควรพูดออกไปไม่ว่าจะเป็นความจริงก็ตาม ปฏิจฺจสมุป บาทนี้เป็นการคิดแบบป้องกันปัญหา ใช้เฉพาะเมื่อตอนยังไม่เกิดปัญหาขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วเราต้อง ใช้อริยสัจ4ในการแก้ปัญหาซงึ่เป็นการคิดจากผลไปหาเหตุ
1.2 ศีล 5 นอกจากใช้วาจาที่สุภาพอ่อนหวานแล้วข้อมูลที่เราได้ส่งให้กับผู้รับสารนั้น ต้องเป็นข้อมูล จริง การส่งสารที่เป็นเท็จให้กับผู้ที่รับสารนั้นเป็นการทําผิดคุณธรรมของการสื่อสาร และอาจทําให้ผู้ที่รับสารได้รับ ความเดือดร้อน และไม่ควรพูดในขณะที่ไม่มีสติครบถ้วน เช่น คนเมาส่งสาร ทําให้สารที่ส่งอาจเกิดความผิดเพี้ยน เป็นผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น
หลักธรรมที่ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
2.1 สัคหวัตถุ 4 หลักธรรมนี้เป็นหลักธรรมที่เราคุ้นเคยกันดี เป็นหลักธรรมที่ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ใน เรื่องการสื่อสารนี้เราจะใช้หัวข้อเดียวของหลักธรรมนี้คือ ปิยวาจา เป็นการพูดอย่างสุภาพ อ่อนหวาน ไม่ว่ากับผู้ใด ก็ตาม จะทําให้การสื่อสารของเราเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลสําเร็จ
2.2 สติ สัมปชัญญะ สติและสัมปชัญญะ ไม่ได้เป็นคํา ๆ เดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่จะเกิดขึ้น ควบคู่กันไป สติ คือ ความรับรู้ ความระลึกได้ ซึ่งทําให้เรารู้ตัวว่าเรากําลังทําอะไรอยู่ เราจะสื่อสารอย่างไร้ ประสิทธิภาพเมื่อขาดสติเพราะไม่ว่ารู้ตัวว่าต้องจะสื่ออะไรให้ผู้รับสารทราบ ดังนั้นหากจะสื่อสารแล้วต้องมีสติเสมอ สัมปชัญญะ คือ ตัวที่เลือกว่าจะสนใจอะไร เมื่อรู้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว จะสนใจหรือไม่นั้นขึ้นกับสัมปชัญญะ ตัวอย่าง ถ้าผู้รับสารได้รับสารหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น เวลานักเรียน ไปท่องบทร้อยกรองให้ครูฟัง ครูจะต้องมีสติ และสัมปชัญญะในการฟังทั้งสองคน หากมีสติและสัมปชัญญะเกิดพร้อมกันแล้วเราสามารถพูดได้ว่าเกิดสมาธิแล้ว และทําให้การส่งสารและรับสารเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุด
หลักธรรมที่เราสามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารนั้นมีอีกมาก หากแต่ธรรมที่ได้ยกมาแล้วนี้ พอเพียงแล้ว แต่จะใช้ธรรมอื่น ๆ เสริมอีกก็ได้ เช่น วาจาสุภาษิต ในมงคลชีวิต 38 ธรรมะในศาสนาพุทธมีเรื่องของ การสื่อสารมากเนื่องจากกรรมที่เกิดจากมโนหรือจิตนั้นสําคัญที่สุด รองลงมาเป็นกรรมจากวาจา และสําคัญน้อย ที่สุดคือการกระทํา
•ตัวอย่าง Dialouge บทสนทนาโต้ตอบกัน ในสถานการณ์สมมุติ สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง สั้น ๆ
“ดิฉันนางสาว ข. พยาบาล In charge ผู้ป่วยในขอรายงาน Cause ผู้ป่วยชื่อนาย ก. ห้องพิเศษ1
มีอาการหายใจแบบหอบ โดย Oxygen saturation ลดเหลือ 88% อัตราการเต้นของหัวใจ 110 ความดันโลหิต 85/50”
“นาย ก. เพศชาย อายุ70 ปี รับเข้าไว้ในโรงพยาบาลเมื่อ3วันที่แล้ว ด้วยอาการติดเชื้อที่ปอด ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการมี WBC15,000 (PMN 80%,Lym10%,Eo5%Mono5%) และได้รับยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดจนถึงตอนนี้ซึ่งมีแนวโน้มการตอบสนองต่อยา แต่อาการยังทรงๆอยู่”
ความหมายของการสื่อสารทางการพยาบาล
กระบวนการการปฏิบัติในการรับ-ส่ง หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล การคิดและตัดสินใจร่วมกันในทีมดูแลสุขภาพ และระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยหรือญาติ ผ่านการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยและข้อมูลสุขภาพ การบันทึกและการรายงานข้อมูล โดยเป็นการสื่อสารในสถานการณ์ในโรงพยาบาล ได้แก่ ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยใน ห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ หอผู้ป่วยวิกฤต และการสื่อสารเพื่อป้องกันการร้องเรียนและการฟ้องร้อง อันจะนำไปสู่คุณภาพในการปฏิบัติงานและความปลอดภัยของผู้ป่วย
ความสำคัญของการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
การสื่อสารเป็นกระบวนการที่สำคัญในการปฏิบัติการพยาบาล การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพทำให้เกิด....
●ความไว้วางใจระหว่างผู้รับบริการกับพยาบาล
●ความพึงพอใจในวิชาชีพ
●เป็นหนทางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น พยาบาลรับฟัง พูดและทำในการเจรจาเพื่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการเสริมสร้างสุขภาพของผู้รับบริการ
●เป็นพื้นฐานของสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและสมาชิกของทีมสุขภาพ
●ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของการจัดการ
●ทำให้เกิดการประสานงานกันในทีมสุขภาพ