Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง -…
บทที่ 10
การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Learning and Classroom Management)
เป็นบทบาทสำคัญของครูทุกคน เริ่มจากการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์ผู้เรียน นำมาวางแผน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุด
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมีคุณภาพ
ด้านนโยบาย
การกำหนดนโยบายควรสอดคล้องกับบริบทของสังคม มีความต่อเนื่อง ชัดเจน
มีการทบทวน ตรวจสอบ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สม่่ำเสมอ
ด้านการเรียนการสอน
มีการ “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน” โดยเน้นให้ผู้เรียน เรียนผ่านการปฏิบัติหรือประสบการณ์ตรง
เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง และผู้เรียนสามารถนำไปประกอบวิชาชีพได้จริง
มีคณาจารย์ประจ าหลักสูตรที่มีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
ห้องเรียนต้องเป็นห้องเรียนที่มีชีวิต มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ขนบประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
ด้านการบริหารจัดการ
ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรม ยึดมั่นและบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาล
มีระบบการคัดกรองและการประเมินผลที่มีคุณภาพและเหมาะสม
สถานศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการและในการจัดการศึกษามีอิสรภาพในการบริหารจัดการ ให้ค าชี้แนะและเป็นที่พึ่งของสังคมได้
ด้านสถานที่และงบประมาณ
มีอาคารสถานที่และบริเวณที่สะอาด ถูกสุขอนามัย สวยงาม กระตุ้น จูงใจให้อยากมาเรียน และเพียงพอต่อความต้องการ
สื่อ อุปกรณ์ เช่น ห้องสมุดที่ทันสมัย หนังสือจ านวนมากให้ค้นคว้าในสิ่งที่อยากรู้อยากเห็น อยากท า ความเข้าใจ
คุณภาพการประเมิน
การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance)
เป็นกระบวนการที่บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาร่วมกันวางแผนก าหนดเป้าหมายและวิธีการลงมือปฏิบัติตามแผนในทุกขั้นตอน มีการบันทึกข้อมูล เพื่อร่วมกันตรวจสอบผลงาน หาจุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง
การประเมินคุณภาพภายนอก (External Quality Assessment)
เพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการสะท้อนจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เงื่อนไขความส าเร็จของสถานศึกษานั้นๆ พร้อมเสนอแนะ
การประเมินเพื่อพัฒนา
มีเกณฑ์และวิธีการประเมินที่มีคุณภาพเข้ากับบริบทของสถานศึกษาและได้รับการ
ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
มีกระบวนการประเมินที่มีคุณภาพ ทั้งก่อนการประเมิน ระหว่างการประเมิน และหลังการประเมิน รวมทั้งการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดท ารายงานที่มีผลประเมินตรงตามสภาพจริง ไม่บิดเบือน เชื่อถือได้
มีผู้ประเมินภายนอกที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และ
ประเมินด้วยรูปแบบกัลยาณมิตร
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการประเมิน
การสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง
ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก เกี่ยวกับการประเมินจึงมีผลต่อคุณภาพการประเมิน
การสะท้อนสภาพจริง
การประเมินที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจะต้องเป็นการประเมินที่สะท้อนสภาพจริงของสถานศึกษาที่สะท้อนจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
การมีส่วนร่วมในการประเมิน
การประเมินที่มีคุณภาพ ต้องมาจากการมีส่วนร่วม การประเมิน มี 2 ด้าน คือ ตนเอง ประเมินตนเอง กับคนอื่นประเมินเรา เพื่อเป็นการตรวจสอบยืนยันซึ่งกันและกัน (Cross Check)
การนำผลประเมินไปใช้
สำหรับสถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ควรมีการพัฒนาให้ต่อเนื่องและยั่งยืน
สำหรับสถานศึกษาที่มีผลการประเมินตั้งแต่ระดับพอใช้ลงมา ควรมีการวิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาและปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผน
การสร้างวิถีชีวิตคุณภาพ
การร่วมกันทำชีวิตจะเป็นการบ่มเพาะ “อัตลักษณ์” เฉพาะของสถานศึกษาแต่ละแห่งต่อไป ดังนั้น เมื่อได้
ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องก็จะนำไปสู่ “วิถีชีวิตคุณภาพ” ที่เป็นปกติงานจนเป็นวิถี
ความสัมพันธ์ของวงจรคุณภาพ PDCA กับหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
การจัดการความรู้เป็นแนวคิดที่สามารถน าไปปฏิบัติเพื่อให้การด าเนินงานของโรงเรียน
เป็นไปตามวงจรคุณภาพ PDCA และท าให้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในขั้นตอน A (Act) : ::ซึ่งการดำเนินงานอย่างเหมาะสมจ าเป็นจะต้อง
พิจารณาข้อมูลต่าง ๆที่มีอยู่ในโรงเรียนอย่างรอบด้าน เพื่อน าไปสู่การปรับปรุง พัฒนา และ
แก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ แล้วน าไปสู่การก าหนดแผนงานและการปฏิบัติงานตามลำดับ
การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Networking)
เครือข่ายเป็นกลุ่มของบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในกลุ่มหรืออาจมี
การเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของบุคคลด้วยความสมัครใจ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ประสานงานเชื่อมโยงกัน สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือ
ทำกิจกรรมร่วมกันากิจกรรมร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันภายใต้รูปแบบหรือระเบียบโครงสร้างที่บุคคล
องค์กร หรือสมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระต่อกัน
กระบวนการพัฒนาโดยการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
(Data Wise Improvement Process)
การใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาดเป็นกระบวนการนำข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ที่สถานศึกษา
มีอยู่มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียน
การสอน หรือด้านอื่น ๆโดยข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากผลการประเมินจากแหล่งต่าง ๆ
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น ผลการประเมินการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการทดสอบระดับท้องถิ่น ผลการทดสอบระดับชาติ เป็นต้น
การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ (Evaluation Utilization)
การนำผลการประเมินไปใช้เป็นแนวคิดหนึ่งสำหรับการปฏิบัติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่แล้วสถานศึกษาจะใช้กระบวนการของวงจร PDCA ในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษาวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายในที่นี้ก็คือมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งจะช่วยให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาสามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแนวทางในการน าผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ คือการน าผลการประเมินด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษามาใช้ในการก าหนดแผนการปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องเหมาะสม และทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้นั่นเอง
การพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
ความเป็นมาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
เป็นแนวคิดที่มีต้นก าเนิดมาจากภาคธุรกิจที่เชื่อมั่นว่าองค์กรสามารถเรียนรู้ได้ โดยในปี ค.ศ.1990
ความหมายและหลักการของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง “การมีส่วนร่วมของคนในสถานศึกษาที่มีความ
ชำนาญเฉพาะทางโดยร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้สมาชิกเกิดความอยากรู้อยาก
เห็น ลงมือปฏิบัติ ปรับปรุง และพัฒนาในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย