Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง, นางสาวน้ำทิพย์ …
การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
บทนำ
การศึกษาในทศวรรษที่ 21 ต้องประกอบด้วย “สี่เสาหลัก” ทเี่ป็นรากฐาน
การเรียนเพื่อปฏิบัติ (Learning to do) เน้นการพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เรียน ช่วยสร้าง ความสามารถในการดำรงชีพอยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทดลองและพัฒนาความสามารถของตน โดยมีส่วนร่วมในโครงการประสบการณ์ในงานอาชีพ หรืองานทางสังคม
การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to be) เน้นให้มนุษย์สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วโดยมีส่วนในการจรรโลงสิ่งดีๆ และระงับยับยั้งสิ่งไม่ดี ไม่เหมาะสมได้อย่างมีความสุข
การเรียนเพื่อรู้ (Learning to know) เน้นการรวมความรู้ที่สำคัญเข้าด้วยกัน มีการศึกษาลงลึกในบางวิชา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับให้คนที่ชอบแสวงหาความรู้อยู่ ตลอดเวลา
การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน (Learning to live together) เน้นให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่าง สันติ มีความรักและเคารพซึ่งกันและกัน สร้างความรู้ความเข้าใจในผู้อื่นทั้งแง่ประวัติศาสตร์ ธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยมทางจิตใจที่เหมาะที่ควรต่อมวลมนุษย์
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Learning and Classroom Management)
ความสำคัญ
1) กระตุ้นความสนใจ สนุกสนาน ตื่นตัวในการเรียน มีการเคลื่อนไหว
2) เปิดโอกาสให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3) ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย การใช้ทักษะชีวิต
4) ฝึกความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลตามศักยภาพ และ คุณลักษณะที่ดี
5) ส่งเสริมทักษะกระบวนการต่างๆ เช่น การคิดสร้างสรรค์การสื่อสาร การแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม การบริหารจัดการ ฯลฯ
6) ฝึกการใชเ้ทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7) สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดรีะหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนกับครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
8) เข้าใจบทเรียนและส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนในทุกๆด้าน
หลักการ
หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
1) เลือกประสบการณ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ หากเป็นทักษะ ควรเป็นทักษะที่ปฏิบัติแล้วผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ฯ
2) เลือกประสบการณ์ที่ผู้เรียนพึงพอใจ สนุก น่าสนใจ ไม่ซ้ำซาก มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
3) เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถทางด้านร่างกายของ ผู้เรียนที่จะปฏิบัติได้ และควรคำนึงถึงประสบการณ์เดิม เพื่อจัดกิจกรรมใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
4) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมจุดมงุ่หมายในการจัดการเรียนรู้หลายๆ ด้าน
5) คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงควรจัดกิจกรรมให้หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้มากที่สุด
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร จุดประสงค์การจัดการ เรียนรู้ ลักษณะเนื้อหาวิชา
2) เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
3) จัดเรียงเนื้อหาตามลำดับขั้นตอน
4) ใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสม
5) ผู้เรียนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมและการประเมินผล
6) ส่งเสริมกระบวนการคิดและทักษะต่างๆ
7) ใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
8) มีการวัดและประเมินผลหลากหลายและเหมาะสมสอดคล้องกับ
กิจกรรม
9) ผู้เรียนมีความสุข มีเจตคติที่ดีและอยากเรียนรู้มากขึ้น
ลักษณะการจัดการเรียนรู้
2) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
3) ผู้สอนต้องใช้ทั้งวิชาการ (ศาสตร์) และทักษะ/เทคนิค (ศิลป์)
1) กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ความหมาย
กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติต่างๆ ของผู้เรียนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่าง มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ผลการเรียนรู้หรือมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา หรืออีกความหมายหนึ่ง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการ/ กิจกรรมที่ครูหรือผู้เกี่ยวข้อง นำมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
7) กระบวนการความรู้ความเข้าใจ
8) กระบวนการสร้างความตระหนัก
6) กระบวนการกลุ่ม
9) กระบวนการแก้ปัญหา
5) กระบวนการสร้างค่านิยม
10) กระบวนการความคิดสร้างสรรค
4) กระบวนการสร้างเจตคติ
11) กระบวนการทางคณิตศาสตร์
3) กระบวนการปฏิบัติ
12) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2) กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
13) กระบวนการทางภาษาศาสตร์
1) กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
14) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 9 ประการ
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมีคุณภาพ
ด้านการเรียนการสอน
3.คณาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ และเพียงพอต่อการจัดการเรยีนการสอน
มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ กระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
2.หลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ขนบประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
1.เน้นให้ผู้เรียน เรียนผ่านการปฏิบัติหรือ ประสบการณ์ตรง
ด้านการบริหารจัดการ
มีระบบการคัดกรองและการประเมินผลที่มีคุณภาพและเหมาะสม
สถานศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการและในการจัดการศึกษามีอิสรภาพในการบริหารจัดการ
ผู้บริหารมวีิสัยทัศน์ มีคุณธรรม ยึดมั่นและบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาล
ด้านนโยบาย
การกำหนดนโยบายควรสอดคล้องกับบริบทของสังคม มีความต่อเนื่อง ชัดเจน สามารถชี้นำสังคมเป็นที่ยอมรับและไม่มุ่งประโยชน์ทางการเมือง
มีการทบทวน ตรวจสอบ และปรับปรุงอย่างตอ่เนื่อง สม่ำเสมอ
ด้านสถานที่และงบประมาณ
มีอาคารสถานที่และบริเวณที่สะอาด ถูกสุขอนามัย สวยงาม กระตุ้น จูงใจให้อยากมาเรียน และเพียงพอต่อความต้องการ
สื่อ อุปกรณ์ เช่น ห้องสมุดที่ทันสมัย หนังสือจำนวนมากให้ค้นคว้าในสิ่งที่อยากรู้ อยากเห็น อยากทำความเข้าใจ มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงห้องเรียนกับโลกกว้างได้
คุณภาพการประเมิน
การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance) เป็นกระบวนการที่บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาร่วมกันวางแผนกำหนดเป้าหมายและวิธีการ ลงมือปฏิบัติตาม แผนในทุกขั้นตอน มีการบันทึกข้อมูล เพื่อร่วมกันตรวจสอบผลงาน หาจุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง และร่วมกันปรับปรุงแผนงานนั้นๆ
การประเมินคุณภาพภายนอก (External Quality Assessment) เพื่อกระตุ้นให้ สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการสะท้อน จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เงื่อนไขความสำเร็จของสถานศึกษานั้นๆ พร้อมเสนอแนะ แนวทาง ปรับปรุงให้กับสถานศึกษา และรายงานผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบต่อไป
การประเมินเพื่อพัฒนา
การประเมินของ สมศ.เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา เพราะหากสถานศึกษามีการวางระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของการทำงานตามปกติอย่างต่อเนื่อง โดยมีระบบการประเมินที่มีคุณภาพ ดังนี้
มีเกณฑ์และวิธีการประเมินที่มีคุณภาพเข้ากับบริบทของสถานศึกษาและได้รับการ ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
มีผู้ประเมินภายนอกที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และ ประเมินด้วยรูปแบบกัลยาณมิตร
มีกระบวนการประเมินที่มีคุณภาพ ทั้งก่อนการประเมิน ระหว่างการประเมิน และ หลังการประเมิน รวมทั้งการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงานที่มีผลประเมิน ตรงตามสภาพจริง ไม่บิดเบือน เชื่อถือได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการประเมิน
การสะท้อนสภาพจริง
การประเมินที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจะต้องเป็นการประเมินที่สะท้อนสภาพจริงของสถานศึกษาที่สะท้อนจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ด้านคุณภาพ ผู้เรียน ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การมีส่วนร่วมในการประเมิน
การประเมิน มี 2 ด้าน คือ ตนเอง ประเมินตนเอง กับคนอื่นประเมินเรา การประเมินภายนอก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ สมศ. ผู้ประเมินภายนอกหน่วยประเมินภายนอก ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ
การสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง
การประเมินภายนอกที่ผ่านมามักจะถูกนำไปตีความในแง่ที่ไม่ตรงกับเป้าหมายการประเมินที่แท้จริง มักจะนำไปใช้เพื่อการให้คุณให้โทษ เพื่อการจับผิด ซึ่งทำให้ผู้รับการ ประเมินมีทัศนคติไม่ดีต่อการประเมิน
การนำผลประเมินไปใช้
1.สำหรับสถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ควรมีการพัฒนาให้ ต่อเนื่องและยั่งยืน และต่อยอดโดยการนำข้อเสนอแนะจากทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตไปจัดทำเป็นแผนมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา
สำหรับสถานศึกษาที่มีผลการประเมินตั้งแต่ระดับพอใช้ลงมา ควรมีการวิเคราะห์ จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา โดยนำขอ้เสนอแนะจากการประเมินไปจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา และพัฒนาตามแผนให้มึความต่อเนื่องและยั่งยืน
การสร้างวิถ๊ชีวิตคุณภาพ
กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถที่จะนำเข้าไปปฏิบัติในการทำงานปกติ เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นใน ส่วนของการส่งเสริมสนับสนุน
“การประเมินที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษาและ ผู้เกี่ยวข้องจะต้องเป็นการประเมินที่สะท้อนสภาพจริงของสถานศึกษา การประเมินคุณภาพ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา จะบรรลุเป้าหมายได้หากสถานศึกษาตระหนักที่จะนำผลการประเมินไปใช้พัฒนา สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ประกอบด้วย 4 แนวคิด
แนวคิดที่ 1 กระบวนการพัฒนาโดยการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
ระยะที่ 3 การลงมือปฏิบัติงาน เป็นระยะที่สถานศึกษาลงมือปฏิบัติงานตามแนวทางและแบบแผนที่กำหนดไว้ข้างต้น
ระยะที่ 2 การสืบเสาะเพื่อวางแผนการใช้ข้อมูล เป็นระยะที่สถานศึกษาต้องกำหนด ออกแบบ หาแนวทาง และแบบแผน
ระยะที่ 1 การจัดเตรียมข้อมูล เป็นระยะที่สถานศึกษาจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง ๆ สำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น ข้อมูลการบริหารจัดการ ข้อมูล จัดการเรียนรู้ เป็นต้น
แนวคิดที่ 2 การจัดการความรู้
ความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาที่ไม่ได้อยู่ในรูปของเอกสาร
ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) คือ ความรู้/ข้อมูลที่บันทึกไว้เป็นลายลักอักษร และมีการเผยแพร่ในรูปแบบที่เป็นทางการ
แนวคิดที่ 3 การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
ชุมชน เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ที่หมายถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กร หน่วยงาน สถาบัน สถานประกอบการ ฯลฯ
บ้าน/ครอบครัว เป็นเครือข่ายการเรียนรู้แห่งแรกและมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมาก ที่สุด
เครือข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แก่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโทรคมนาคม มัลติมีเดีย ฯลฯ
แนวคิดที่ 4 การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
การใช้ผลการประเมินในเชิงตรวจสอบยืนยัน
การใช้ผลการประเมินในเชิงสัญลักษณ์
การใช้ผลการประเมินในเชิงความคิด
การใช้ผลการประเมินในเชิงปฏิบัติ
กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน โดยใช้แนวคดิชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
หลักการสำคัญ 3 หลักการของ PLC
วัฒนธรรมแห่งความร่วมมือ (A Culture of Collaboration) พึงตระหนักเสมอว่า การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมายแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
มุ่งที่ผลลัพธ์ (A Focus on Results) การวัดประสิทธิผลของ PLC พิจารณาได้จาก ผลลัพธ์ของการท างาน
ต้องมั่นใจได้ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ (Ensuring that Students Learn) ต้อง ปรับเปลี่ยนแนวคิดของครูและผู้บริหารจากมุ่งเน้นการสอนเป็นมงุ่เน้นการเรียนรู้
นางสาวน้ำทิพย์ ยอดช้าง 60204091 Sec.7